แม่แรง แต่ละประเภทแตกต่างกันยังไงบ้างนะ?

Customers Also Purchased

แม่แรง คืออะไร?

      ก่อนอื่นมารู้จัก ->> แม่แรง <<- หรือ แม่แรงยกรถ กันก่อน สำหรับใครที่เพิ่งเคยได้ยินเป็นครั้งแรก แม่แรง เป็นอุปกรณ์เชิงกลที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในการยกรถด้วยกำลังคน ลม หรือไฮดรอลิก ช่วยให้การเปลี่ยนยางล้อรถ ซ่อมแซม หรือการบำรุงรักษาต่างๆ เป็นไปได้ง่ายขึ้น ลดอุปสรรคเรื่องความแคบ มุมที่มองไม่เห็น

      เนื่องจากยานพาหนะมีหลายแบบ หลายขนาด แม่แรง click จึงมีหลายประเภทด้วยเช่นกัน ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เครื่องมือเสียหายจากการใช้งานผิดประเภท 

      ในบทความนี้ นอกจากจะมาบอกประเภทของ แม่แรง แล้ว ยังจะมาแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับวิธีการทำงานของ แม่แรง ว่าทำไมถึงต้องใช้มัน ต้องใช้เวลาไหน สถานการณ์แบบใด หวังว่าเรื่องราววันนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนได้ไม่มากก็น้อย


ประเภท แม่แรง

      หลักการทำงานของ แม่แรง ส่วนใหญ่จะมีบางอย่างคล้ายคลึงกัน ดังนั้น ในบทความนี้เราจึงจะแบ่ง แม่แรง ออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ แบบที่เป็นไฮดรอลิค และแบบที่ไม่ใช่ไฮดรอลิค

1) แม่แรง ประเภทที่ไม่ใช่ไฮดรอลิค

      คือ แม่แรง แบบใช้กลไกแมนวล ผู้ใช้ต้องออกแรงขัน โยก หรือดึงอุปกรณ์บางส่วน ส่วนใหญ่จะเป็นแบบที่พกพาง่าย การใช้งานไม่ซับซ้อน ดูแลง่าย แต่เนื่องจากเป็นโครงสร้างอย่างง่ายจึงไม่สามารถรองรับน้ำหนักได้มากนัก มีโอกาสจะหักหรืองอหากใช้งานไม่เหมาะสม ไม่ถูกวิธี

แม่แรง

      1.1 แม่แรง เกียร์/สกรู และ ขาตั้งยกรถ

      เป็น แม่แรง แบบดั้งเดิม พบได้ทั่วไป ใช้กันมายาวนาน เหมาะจะใช้ในการซ่อมรถ แค่หมุนหรือขันก็จะยกรถขึ้นได้ง่ายๆ ส่วนใหญ่จะเป็นแบบ 3 ขา เพราะช่วยรับน้ำหนักและบาลานซ์ดี ขนาดเล็ก พกพาง่าย ประหยัดพื้นที่       

      เนื่องจากเป็นการทำงานเชิงกลอย่างง่าย ต้องหมุนหรือขันเพื่อขับเคลื่อนฟันเฟือง จึงเป็นประเภทที่ใช้งานง่ายที่สุด ไม่ซับซ้อน ดูแลรักษาง่าย แต่ค่อนข้างเปลืองแรงอย่างยิ่งหากยกของหนักมากๆ 

      1.2 แม่แรง นิวเมติกส์

      เป็นประเภทที่ใช้พลังงานจากการอัดลมเข้าไปในถุงลมลักษณะพิเศษ สามารถยกและวางพาหนะหรือเครื่องจักรหนักๆ ได้อย่างง่ายดาย โดยต่อเข้ากับเครื่องเป่าลม 

      แม่แรง ประเภทนี้จะพบในอุตสาหกรรมการบำรุงรักษาเครื่องจักรหนัก ใช้เพื่อการยกรถบัส รถบรรทุก และรถก่อสร้างต่างๆ จึงพบเห็นได้น้อยในบรรดา แม่แรง ต่างๆ และเนื่องจากถุงลมอาจเสียหายหากเกิดการขีดข่วน จึงไม่เหมาะจะใช้ในพื้นที่ขรุขระ มีหินเหลี่ยมคม หรือของที่เป็นอันตราย

      1.3 แม่แรง ฟาร์ม

      หรือบางคนจะเรียกว่า Farm Jack เนื่องจากสามารถใช้ยกรถไถ รถออฟโรด หรือรถคันใหญ่ๆ ที่ตัวรถสูงจากพื้นมากๆ และมีล้อใหญ่ๆ ได้ ทั้งยังสามารถใช้แทนรอกหรือวินซ์ได้ด้วย ช่วยแก้ปัญหาเรื่องล้อติดโคลนติดหล่ม 

      การใช้งานก็ง่ายมาก แค่เกี่ยวกับกันชนหน้าหรือท้าย หรือจะใช้กับอุปกรณ์เสริมอื่นๆ เช่น เชือก โซ่ สปริงก็ได้ แล้วโยกคันโยก ซึ่งหากรถน้ำหนักมากก็จะต้องออกแรงมากหน่อย แต่ควรโยกให้ถูกวิธี ไม่อย่างนั้นคานจะล้มได้ 

      แม่แรง ชนิดนี้ใช้หลักการคานดีดและงัด มีสปริงล็อกตามรูของคาน ทำให้ค่อยๆ ไต่ความสูงขึ้นไป เวลาใช้งานต้องตั้งคานให้ตรง และออกแรงงัดอย่างถูกวิธี

      1.4 แม่แรง กรรไกร

      เป็น แม่แรง ประเภททั่วไปและเรียบง่าย มักใช้กับรถยนต์ขนาดเล็กที่หนักประมาณ 1 - 2 ตัน เพราะคานมีขนาดเล็กจึงยกล้อได้ทีละข้าง เครื่องมือมีขนาดเล็ก พกพาได้ง่ายสุดๆ จึงควรมีไว้ติดรถไว้ยามฉุกเฉิน 

      แม่แรง ชนิดนี้ใช้กลไกแบบสกรู ต้องออกแรงขันเพื่อให้ระดับค่อยๆ สูงขึ้น ใช้งานง่ายกว่าชนิดก่อนๆ ที่กล่าวมา น้ำหนักเบา และราคาถูกกว่า เวลาใช้งานควรหาเสาหรือของมาค้ำไว้อีกที เพื่อความปลอดภัย

      1.5 แม่แรง มอเตอร์ไซค์ (mini lift)

      แม้ว่าจักรยานยนต์จะมีขนาดเล็ก น้ำหนักไม่มาก และมีขาตั้งแบบคู่ที่ช่วยให้การทำงานง่าย สะดวก แต่บางครั้งดีไซน์ของรถบางรุ่นก็อาจทำให้ฟังก์ชันปกติที่กล่าวมาใช้ไม่ได้ หรือใช้ลำบาก ยิ่งโดยเฉพาะรถที่ทรงต่ำๆ จนแทบจะติดพื้น ช่างก็จะทำงานยาก 

      แม่แรง มอเตอร์ไซค์ จะช่วยให้เข้าถึงส่วนต่างๆ ที่สำคัญได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น นอกจากนี้ ยังสามารถใช้กับรถ ATV และสโนว์โมบิล ที่ผ่านการดัดแปลงได้ดีด้วย การใช้งานก็แค่หมุนคันที่ยื่นออกมา

      อย่างไรก็ตาม แม่แรงมอเตอร์ไซค์ ยังมีแบบที่เป็นไฮดรอลิคด้วย เครื่องจะใหญ่กว่า mini lift มาก ฐานยกรองรับรถทั้งคันได้


2) แม่แรง ประเภทไฮดรอลิค

      เป็นประเภทที่ใช้งานง่ายขึ้น ไม่ต้องออกแรงมากเหมือนประเภทกลไก โดยทั่วไปจะใช้งานด้วยการโยกไม้ หรือคาน หรือคันโยก ที่มักถอดเก็บแยกกับฐานยกได้ การโยกจะเป็นการอัดไฮดรอลิคในกระบอกดันฐานยกสูงขึ้น ข้อเสียคือค่อนข้างจะชำรุดง่ายกว่าแบบกลไก หากไม่ดูแลให้ดี หรือนำไปใช้งานไม่เหมาะสม 

แม่แรง

      2.1 แม่แรง ลมไฮดรอลิค

      หรือบางคนอาจเรียกแค่ว่า แม่แรงลม พัฒนาขึ้นมาจากแบบนิวเมติกส์ ผสมผสานการทำงานแบบไฮดรอลิค โดยจัดให้อยู่ในกระบอกคล้าย แม่แรงกระปุก หรือต่อฐานแบบ แม่แรงตะเข้ และใช้ระบบวงจรลมในการดันแท่นยกออกมา ทำให้ไม่เสียหายง่ายแบบถุงลม และยังมีพลังยกมหาศาล จึงใช้ยกรถหนักๆ อย่างรถบรรทุกต่างๆ ได้สบายๆ

      2.2 แม่แรง กระปุก

      มีลักษณะคล้ายกับขวดทรงกระบอกยาว สามารถวางตั้งพื้นได้อย่างมั่นคง รับน้ำหนักได้มากถึงหลายสิบตัน และยกได้สูงมากๆ แม้จะไม่เท่า Farm Jack แต่ก็ครอบคลุมรถเกือบทุกประเภท มีระบบป้องกันการยกน้ำหนักเกิน 

      ข้อเสียคือตัวเครื่องมือมีลักษณะสูง จึงไม่อาจใช้กับรถที่ท้องเตี้ยๆ อย่างรถสปอร์ตหรือรถที่ปรับแต่งล้อจนเตี้ยเกินไป แต่ราคาจะถูกกว่าแบบตั้งพื้น ทำให้เป็นที่นิยมมีติดบ้านไว้ ช่วยในงานซ่อมแซมเล็กๆ น้อยๆ ทั่วไปได้

      2.3 แม่แรง ตะเข้

      เป็น แม่แรง ชนิดที่มีความปลอดภัยและใช้งานง่ายที่สุด ขนาดไม่ใหญ่ แต่สามารถยกได้มากถึง 4 ตัน มีกลไกการเบรกและล้อสำหรับเคลื่อนที่ เคลื่อนย้ายได้สะดวก ถ้าจะใช้งานก็แค่โยกคันยาวๆ ที่ใช้ลาก แท่นสำหรับยกก็จะเลื่อนขึ้นมา คานโยกอัดไฮดรอลิคสามารถถอดเก็บได้ 

      2.4 แม่แรง ตั้งพื้น

      ลักษณะคล้ายกับ แม่แรงตะเข้ มาก แต่ตัวบอดี้จะสูงกว่า ทำให้เข้าไปใต้ท้องรถแคบๆ ได้ยากกว่า แม่แรงตะเข้ ความสูงที่ยกได้ก็มากกว่า  ในขณะที่ราคาจะแพงกว่าเล็กน้อย ตรงกึ่งกลางบอดี้อาจมีที่จับหรือยกสำหรับบางรุ่นเพื่อการเคลื่อนย้าย ขนาดล้อหน้ามักจะใหญ่กว่าล้อหลัง

      2.5 Strand Jack

      เป็น แม่แรง แบบเกลียวระบบกว้านเชิงเส้นชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับดึงหรือยกของหนักๆ จากด้านบน จึงใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น การสร้างสะพาน ท่าเรือ หรือโครงการซ่อมบำรุงโรงงานขนาดใหญ่ ซึ่งมีข้อดีมากกว่าการใช้เครน เพราะพื้นที่ติดตั้งน้อยกว่า ความเร็วและแรงในการยกและลดระดับแม่นยำมากกว่า และผู้ปฏิบัติงานยังสามารถควบคุมได้คนเดียว และยังคุมพร้อมกันหลายตัวได้ผ่านระบบคอมพิวเตอร์จากตำแหน่งศูนย์กลาง

      เส้นของ แม่แรง มีความแข็งแรงมากกว่าสายเคเบิ้ล เพราะในเกลียวมีเหล็กเส้นรวมกันถึง 84 เส้น แม่แรง ชนิดนี้มักจะวางในแนวตั้งบนคานค้ำ เหนือตำแหน่งที่ต้องการยก เครื่องทำงานด้วยระบบไฮดรอลิค ควบคุมได้ด้วยระบบไฟฟ้า


สถานการณ์ไหนถึงควรใช้ แม่แรง?

      แม่แรง เป็นแท่น แท่งไม้ กระบอก หรือกระดานเล็กๆ เท่านั้น ไม่สามารถใช้ยกรถทั้งคันได้ ใช้สำหรับยกล้อรถข้างใดข้างหนึ่ง หรือฝั่งใดฝั่งหนึ่ง ในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือการทำงานชั่วครั้งชั่วคราว ไม่ควรใช้งานค้างไว้นานๆ ใช้เพื่อเปลี่ยนยาง ซ่อมยาง หรือปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวกับล้อ หรืองานช่วงล่างบางอย่าง หากต้องการยกรถทั้งคันจะต้องใช้ลิฟท์ยกรถ


ข้อควรระวังด้านความปลอดภัยเมื่อใช้งาน แม่แรง

      1. ควรใช้ยกชั่วคราวหรือสถานการณ์ฉุกเฉินเท่านั้น ไม่ควรยกค้างไว้นานๆ

      2. ควรใช้กระดาษ ก้อนยาง หรือวัสดุที่พอจะหาได้รองระหว่างฐานยกกับท้องรถด้วย ป้องกันการขีดข่วน ถลอก หรือลื่นไถล

      3. ขณะใช้งานต้องแน่ใจว่าล้ออื่นๆ จะไม่เลื่อน ไม่อย่างนั้นจะทำให้ แม่แรง ล้มหรือเสียหายได้ และจะเป็นอันตรายกับคนที่ทำงาน ควรจะดึงเบรกมือ และหาอิฐหรือลิ่มไม้มายันล้อไว้อีกทีกันพลาด และไม่จอดในที่ลาดเอียง

      4. เลือก แม่แรง ตามน้ำหนักรถ เพื่อไม่ให้ แม่แรง ล้มหรือเสียหายจากการรับน้ำหนักมากเกินไป โดย แม่แรง ต้องรับน้ำหนักได้มากกว่า 3 ใน 4 ของน้ำหนักรถทั้งหมด


ดูเรื่องอื่นๆ ของ ->> แม่แรง <<- click

      >>> แม่แรง แบบไหน? ใช้กับรถอะไรบ้าง?

      >>> คำแนะนำการใช้งานแม่แรง และความปลอดภัยประเภทต่างๆ

      >>> รีวิว แม่แรงยกรถ 3 ตัน SATA ใช้ง่ายและควรมียังไง?