รีวิว แม่แรงยกรถ 3 ตัน จาก SATA ใช้ง่ายและควรมีมากๆ

Customers Also Purchased

      SATA เป็นแบรนด์ดังที่ชื่อคงคุ้นหูใครหลายๆ คน แต่เค้าไม่ได้มีแค่เครื่องมือช่าง hand tool พวกไขควง ค้อน หรือประแจเท่านั้น แต่ยังมีเครื่องมืองานยานยนต์ทั้งเล็กและใหญ่อีกหลายอย่างด้วย ไม่ว่าจะเป็น ->> แม่แรง <<- เครื่องถ่วงล้อ เครื่องถอดยาง หรือลิฟท์ยกรถแบบเสาและแบบฝังพื้น

      บทความนี้จะพาทุกคนมารู้จักเครื่องมือประจำอู่ ประจำโรงรถ หรือประจำบ้านอย่าง แม่แรงยกรถ click ซึ่ง แม่แรง ที่นำมาแกะกล่องให้ดูกันวันนี้เป็น แม่แรงตะเข้ SATA SC97813A ที่ยกขึ้นเร็วและลงอย่างนุ่มนวล วัสดุแข็งแรงทนทาน และยกน้ำหนักได้มากถึง 3 ตัน

แม่แรง


สเป็กของ แม่แรง

      ◆ น้ำหนักที่ยกได้สูงสุด : 3 ตัน

      ◆ ความสูงในการยกต่ำสุด : 83 มม. (3 นิ้ว)

      ◆ ความสูงในการยกสูงสุด : 502 มม. (19.8 นิ้ว)

      ◆ ขนาดเครื่อง : 687 x 309 x 153 มม.

      ◆ น้ำหนักเครื่อง : 35 กก.

      ◆ ความยาวคันโยก : 100 ซม.

แม่แรง


สิ่งที่ได้มาในกล่อง แม่แรง

      ❐ ตัวเครื่อง

      ❐ คันโยก

      ❐ คู่มือการใช้งาน

      ❐ คู่มือการถอดและประกอบ

      ❐ ใบรับประกันสินค้า

      ❐ ชุดห่วงยาง (โอริง)

แม่แรง


      เปิดกล่องมาก็จะเห็นคันโยกก่อนเลย โดยเค้าจะแบ่งเป็น 2 ท่อนมาให้ เพื่อให้ขนส่งง่าย เราก็ต้องนำมาต่อกันให้เข้าล็อกก่อน แค่ต่อและหมุนให้รูเข้ากับจุดที่เค้ากำหนดมาเท่านั้นก็เป็นอันเสร็จ ไม่ต้องใช้น็อตหรือสกรูยึดเหมือนบางยี่ห้อ สะดวกมากทั้งตอนต่อและตอนถอด แล้วค่อยนำไปต่อกับตัว แม่แรง อีกที 

แม่แรง

แม่แรง

      คันโยกวัสดุแข็งแรงมาก และมีการทำร่องถี่ๆ ช่วยกันลื่น ทำให้จับอยู่มือมากขึ้น ถึงมือจะเปื่อนฝุ่นเปื้อนน้ำมันก็ยังจับได้อยู่ ความยาวทั้งหมด 1 เมตร ไม่มากไม่น้อยเกินไป ตอนจะใช้งานก็ต่อ ไม่ใช้งานก็ถอดออกง่ายๆ แค่หมุนเข้าหาตัว

แม่แรง

      ตัวเครื่องค่อนข้างหนักหากจะใช้แบบพกพา เนื่องจากเป็นเหล็กผสม แต่ก็เบากว่าประเภทที่ทำจากเหล็กอย่างเดียว เพราะโลหะผสมถูกออกแบบมาให้มีคุณสมบัติอยู่ตรงกลางระหว่างโลหะและอลูมิเนียม จึงเบากว่าเครื่องมือแบบโลหะ แต่ก็ยังไม่ต้องห่วงเรื่องความทนทาน 

      ตัวเครื่องขนาดกำลังดี ไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป ด้วยความสูงต่ำสุดของเครื่อง สามารถใช้งานกับรถประเภทที่ท้องรถต่ำๆ ได้หายห่วง 

      ล้อทั้งหน้าหลังก็ทำจากเหล็กเช่นกัน ด้านหน้าขนาดจะเล็กและเคลื่อนที่ได้แค่เดินหน้าถอยหลังเท่านั้น แต่ล้อหลังจะใหญ่ และหมุนได้รอบด้าน 

      แท่นยก จะยกได้สูงสุดประมาณ 19 นิ้ว นิดๆ ไม่ถึงกับตั้งฉากกับตัวเครื่อง มีแผ่นยางโลโก้ SATA สำหรับกันลื่นด้วย แต่เป็นแบบนูนต่ำ แนะนำว่าควรหาอะไรมารองเวลาใช้งานอีกทีดีกว่า เพื่อไม่ให้ท้องรถเป็นรอย และมั่นใจได้ว่าจะไม่ลื่นขณะที่กำลังยกรถอยู่

แม่แรง


ข้อดีของ แม่แรง

      - เวลาจะยกแท่นขึ้น ให้หมุนคันโยกไปตามเข็มนาฬิกาจนสุด แล้วโยกคันโยกขึ้นลงเรื่อยๆ ตอนจะเอาลงก็ให้หมุนไปทิศทางตรงกันข้าม แล้วปล่อยทิ้งไว้ เครื่องจะค่อยๆ ลดระดับลงเอง ไม่ต้องทำอะไร ใช้ง่ายมากๆ และไม่เปลืองแรง

     -  แม่แรง ตัวนี้ยกน้ำหนักได้สูงสุด 3 ตัน ดังนั้น จึงใช้ได้กับรถหลายประเภท ทั้งรถเก๋ง รถตู้ รถกระบะ สำหรับรถ SUV ที่ล้อใหญ่ๆ สูงๆ ก็อาจจะยกห่างจากพื้นได้ไม่มากนัก แต่ถึงอย่างนั้นมันก็เพียงพอสำหรับทำงานซ่อมเกี่ยวกับยางและล้อแล้ว

      - ในกรณีที่เครื่องมีปัญหา ต้องการซ่อมก็มีคู่มือการถอดประกอบให้ แม่แรง มาให้ด้วย บอกละเอียดว่าชิ้นส่วนไหนอยู่ตรงไหน และมีชุดโอริงให้เปลี่ยน หากชุดที่ติดมากับเครื่องเสื่อมสภาพ


ความรู้สึกในการใช้งาน แม่แรง ครั้งแรก

      ★ สำหรับคนที่ไม่เคยใช้ แม่แรง แบบนี้มาก่อน แรกๆ อาจจะงงนิดหน่อยกับทิศทางการหมุนคันโยก เพราะหากหมุนไม่ถูกเครื่องก็จะไม่ยก และคันโยกก็อาจจะหลุดออกมา ทำให้เกิดความรำคาญได้ แต่ถ้าไม่ต้องถอดๆ ใส่ๆ คันโยกอยู่เสมอก็จะไม่มีปัญหานี้

      ★ ในการยก ถือว่ายกได้รวดเร็ว และลงอย่างนุ่มนวล คันโยกไม่ฝืด แต่ถ้าใช้ไปนานๆ ก็ต้องคอยเหยาะน้ำมัน เพราะการจะยกหรือคลายต้องหมุนคันโยกซ้ายขวาเอา

      ★ น้ำหนักของเครื่องค่อนข้างมาก ยกลำบาก คุณผู้หญิงอาจต้องเรียกผู้ช่วยมาช่วยยก และถ้าต่อคันโยกแล้วก็จะยิ่งเทอะทะ ควรย้ายที่ให้เสร็จก่อนค่อยต่อ

      ★ ในการทดสอบ เราได้ลองยกรถมินิแวน ซึ่งหนักประมาณ 1.5 ตัน ช่วงล่างของรถค่อนข้างสูงจากพื้น ซึ่งก็ยกได้ไม่มีปัญหา แต่เนื่องจากรถจอดอยู่ในที่ลาดจึงไม่ได้ยกให้ดูสูงมากนัก เพราะแม้จะหาก้อนอิฐมาขัดล้อไว้แล้ว แต่ก็ไม่อยากเสี่ยงให้รถหน้าทิ่มไปข้างหน้า ใครที่จะใช้ แม่แรง ก็ควรระวังเรื่องที่จอดเช่นกัน ควรจอดในที่ราบเรียบเสมอกันจะดีกว่า

แม่แรง


คำแนะนำการใช้งาน แม่แรง

      ข้างๆ ตัวเครื่องจะมีป้ายเหลืองๆ อยู่ มันเป็นคำเตือนที่สำคัญในการใช้งาน คือ ห้ามไม่ให้ใช้ แม่แรง แทนเสาค้ำรถหรือขาตั้งยกรถ เพราะ แม่แรง เป็นเครื่องมือสำหรับใช้งานแค่ชั่วคราว ใช้ในช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น ไม่ได้ออกแบบมาให้ตั้งได้คงทนยาวนานเหมือนขาตั้งยกรถ 

     ถ้าหาก แม่แรง เกิดลดระดับลงกะทันหันด้วยความผิดพลาดบางประการ หรือเสื่อมสภาพ ผู้ที่ทำงานอยู่ใต้ท้องรถก็จะเป็นอันตราย แล้วรถเองก็จะพังหรือเสียหายมากกว่าเดิมด้วย จะเป็นการทำให้ปัญหาบานปลายโดยใช่เหตุ ดังนั้น หากจะยกรถฝั่งใดฝั่งหนึ่งเพื่อทำงานกับล้อทั้ง 2 ข้าง ก็ควรใช้เสาค้ำไว้ทุกครั้งจะดีกว่า

      แม่แรง


ดูเรื่องอื่นๆ ของ ->> แม่แรง <<- click

      >>> แม่แรง แต่ละประเภทแตกต่างกันยังไงบ้างนะ?

      >>> แม่แรง แบบไหน? ใช้กับรถอะไรบ้าง?

      >>> คำแนะนำการใช้งาน แม่แรง และความปลอดภัยประเภทต่างๆ