Customers Also Purchased
ท่ามกลาง แม่แรงยกรถ หลากหลายประเถท ต้องมีคนงงกันบ้างควรจะเลือกแบบไหน เพื่อให้เข้ากับรถของเรามากที่สุด ฉะนั้น บทความนี้จึงจะกล่าวถึง แม่แรง ที่เหมาะกับรถประเภทต่างๆ เพื่อช่วยไขความกระจ่างเหล่านั้น
ประเภท แม่แรง ถูกออกแบบมาให้มีฟังก์ชันแตกต่างกัน ระบบและการใช้งานต่างกัน ดังนั้น ประเภทของ แม่แรง จึงเป็นเรื่องรองในหัวข้อนี้ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องพิจารณาเลย แต่ให้พิจารณารองลงไป
>>> ดูเรื่อง แม่แรง แต่ละประเภทต่างกันยังไงบ้างนะ?
สิ่งที่ช่วยให้เลือก ->> แม่แรง <<- ได้เหมาะสมที่สำคัญที่สุดอันดับหนึ่งก็คือ ความสามารถในการรับน้ำหนัก ของ แม่แรง นั้นๆ ในที่นี่จะใช้แทนว่า ขนาดแม่แรง เพื่อให้เข้าใจตรงกัน โดย ขนาดแม่แรง จะมีหน่วยเป็น ตัน
ขนาด แม่แรง ที่เหมาะสมกับรถแต่ละประเภท
แม่แรงยกรถ ที่เหมาะสมควรมีขนาด 3 ใน 4 ของน้ำหนักรถเป็นอย่างน้อย แม้การใช้ แม่แรง จะเป็นการใช้งานชั่วคราว และใช้กับล้อรถแค่ข้างเดียว แต่การที่มันรองรับน้ำหนักส่วนใหญ่ของรถได้ก็จะช่วยให้ประสิทธิภาพการใช้งานดีขึ้น ยาวนานขึ้น และปลอดภัยมากขึ้น คนทำงานจะมั่นใจได้ว่าระหว่างนั้นมันจะไม่เอียง ล้ม หรือพัง ทำให้รถที่ยกหล่นกระแทกพื้น ซึ่งจะสร้างความเสียหายที่ใหญ่ขึ้น บานปลายขึ้นได้
1. ขนาด แม่แรง ที่เหมาะกับ จักรยานยนต์ (มอเตอร์ไซค์)
จักรยานยนต์จะหนักประมาณ 150 - 1,000 ปอนด์ เป็นค่าน้ำหนักของรุ่นทั่วไปตลอดจนรุ่นที่มีขนาดใหญ่อย่างชอปเปอร์หรือฮาเล่ย์ แปลงหน่วยแล้วไม่เกิน 0.6 ตัน ดังนั้น หากจำเป็นต้องใช้ แม่แรง ในการซ่อมก็สามารถเลือกรุ่นที่เล็กที่สุดได้
การซื้อ แม่แรง เพื่อรถประเภทแรกนี้ยุ่งยากน้อยที่สุด เพราะมีแบบที่ทำมาสำหรับมอเตอร์ไซค์และรถ ATV โดยเฉพาะ ซึ่งหน้าตาจะเป็นแท่นหรือคล้ายกับ แม่แรงตะเข้ ถ้าเป็นรุ่นไฮดรอลิค
2. ขนาด แม่แรง ที่เหมาะกับ รถยนต์ส่วนบุคคล (รถเก๋ง)
เป็นรถที่สามารถใช้ แม่แรง ได้หลายประเภทมาก เนื่องจาก แม่แรง ส่วนใหญ่จะยกได้ 2 - 2.5 ตัน ขึ้นไป แต่รถยนต์ทั่วๆ ไปมีน้ำหนักอยู่ที่ 1.5 ตัน เท่านั้น
ดังนั้น แม่แรง ขนาด 2 - 2.5 ตัน อย่าง แม่แรงกระปุก แม่แรงตะเข้ แม่แรงกรรไกร หรือ แม่แรงตั้งพื้น ก็ใช้ได้ทั้งนั้น เลือกตามความเหมาะสมและวัตถุประสงค์ที่จะใช้ได้เลย เช่น จะเอาไว้ใช้ที่บ้าน ที่ร้าน หรือจะพกพา หากจะพกพาก็ควรเลือกที่ไม่มีคานโยกยาวเกะกะ
แต่ไม่เหมาะจะใช้ แม่แรงกระปุก เนื่องจากท้องรถไม่ได้สูงจากพื้นมากนัก ยิ่งโดยเฉพาะรถหรูหรือรถสปอร์ต ถ้าซื้อ แม่แรงกระปุก อาจเอาเข้าไปใต้ท้องรถไม่ได้ แต่ถ้าต้องการก็ลองเลือกขนาดให้ดีๆ และควรรู้เสมอว่ารถตัวเองมีความสูงจากพื้นเท่าไหร่ เวลาซื้อจะได้เลือกง่ายขึ้น รถเก๋งส่วนใหญ่ ท้องรถจะห่างจากพื้นประมาณ 15 เซนติเมตร
3. ขนาด แม่แรง ที่เหมาะกับรถอเนกประสงค์ (SUV) / รถตู้
แม้รถทั้งสองแบบจะหน้าตาต่างกัน แต่น้ำหนักรถพอๆ กัน คือประมาณ 2 - 2.5 ตัน ดังนั้น แม่แรง 2 ตัน ขึ้นไปก็ใช้ได้แล้ว แต่เนื่องจากรถ 2 ประเภทนี้มักจะใช้บรรทุกอย่างอื่นด้วย อาจจะแค่ของ หรือทั้งคนและของ หากต้องใช้ แม่แรง เพื่อยกฉุกเฉินระหว่างเดินทางที่บรรทุกน้ำหนักค่อนข้างมาก แม่แรง 2 ตันก็อาจไม่เพียงพอได้
ดังนั้น ทางที่ดีควรจะเลือก แม่แรง ที่มีขนาด 2.5 ตัน ขึ้นไปเลยจะปลอดภัยกว่า แม่แรง จะได้ไม่เสี่ยงต่อการพัง ล้ม หรืออายุการใช้งานลดลง ทำให้ต้องซื้อใหม่บ่อยๆ และควรเลือกความสูงของ แม่แรง ที่เหมาะสมด้วย
เนื่องจากท้องรถ SUV จะมีความสูงจากพื้นมากกว่ารถตู้ แม่แรง ที่เหมาะสมคือ แม่แรงกระปุก เนื่องจากมีความสูงที่มากพอให้เลือกหลากหลาย ยกน้ำหนักได้มาก และพกพาง่าย หรือจะเลือก แม่แรงตั้งพื้น และ แม่แรงตะเข้ ก็ได้ หากไม่อยากพกพา
รถ SUV ท้องรถจะห่างจากพื้นประมาณ 22 เซนติเมตร ส่วนรถตู้ประมาณ 18 เซนติเมตร
4. ขนาด แม่แรง ที่เหมาะกับ รถกระบะ
น้ำหนักของรถกระบะอยู่ที่ 2 - 2.5 ตัน เช่นกัน แต่ที่แยกออกมาจากข้อก่อนหน้า ก็เพราะเป็นรถที่มักนิยมใช้บรรทุกกันหนักๆ เป็นส่วนใหญ่
โดยปกติ กรมขนส่งทางบกจะอนุญาตให้บรรทุกสินค้าได้ไม่เกิน 1.1 ตัน แต่ก็มีที่ทำเรื่องขอบรรทุกมากขึ้น จึงต้องดัดแปลงรถเพื่อให้แข็งแรงและบรรทุกได้มากขึ้น เช่น เปลี่ยนกะทะล้อ เสริมแหนบ เปลี่ยนเพลา แต่นั่นเป็นเรื่องเฉพาะคนที่กะเกณฑ์ไม่ได้ ดังนั้น จึงขอยึดตามน้ำหนักบรรทุกสูงสุดที่กรมขนส่งทางบกกำหนด
เมื่อคิดน้ำหนักรถบวกกับน้ำหนักที่บรรทุกได้ทั้งหมด ผลรวมก็จะมากถึง 3.6 ตัน ดังนั้น แม่แรงกระปุก จึงเหมาะสมกับรถประเภทนี้ เพราะมีขนาดให้เลือกหลากหลาย ตั้งแต่ 2 ตัน 5 ตัน 10 ตัน และ 20 ตัน หากไม่ได้บรรทุกของมากก็เลือกขนาด 2 ตัน ก็พอ แต่ถ้าขนของเยอะๆ เต็มอัตรา ก็ต้องเลือก แม่แรง ที่สามารถใช้ในยามฉุกเฉินได้ด้วย เช่น หากรถเสียระหว่างทางที่กำลังบรรทุก แม่แรง ขนาด 5 ตัน จะเหมาะสมและปลอดภัยกว่า โดยขนาด แม่แรง ที่มากขึ้นจะมีระยะยกที่สูงขึ้นด้วย
รถกระบะเตี้ย ท้องรถจะห่างจากพื้นประมาณ 18 เซนติเมตร ส่วนกระบะสูงประมาณ 22 เซนติเมตร
5. ขนาด แม่แรง ที่เหมาะกับ รถยนต์วิบาก (ออฟโรด) / รถในงานเกษตร
รถสองประเภทนี้เป็นรถที่ออกแบบมาให้ใช้งานอย่างสมบุกสมบัน ต้องเจอทั้งทางขรุขระ ลูกรัง ลุยน้ำลุยโคลน ดังนั้น จึงเป็นเรื่องง่ายที่ล้อจะติดหล่มติดโคลน ด้วยสภาพสถานที่ ล้อรถขนาดใหญ่ และน้ำหนักของรถที่มากกว่า 1.6 - 2 ตัน ก็ทำให้มีความยุ่งยากลำบากในการยกหรือแก้ไขสถานการณ์ด้วยตัวคนเดียว แต่ถ้ามี แม่แรง ก็จะช่วยให้งานง่ายขึ้นมาก ทุ่นแรง ทุ่นเวลา
แม่แรง ที่นิยมใช้กับรถประเภทนี้กันก็คือ Farm Jack หรือ แม่แรงฟาร์ม เป็น แม่แรง แบบใช้มือโยกคันโยก เป็นแม่แรงเชิงกล มีลักษณะเรียวยาว ใช้งานง่าย พกพาสะดวก ราคาไม่แพง และมีความสูงตั้งแต่ 20 - 60 นิ้ว ยกน้ำหนักได้มากถึง 3 ตัน
รถวิบากท้องรถจะห่างจากพื้นประมาณ 25 เซนติเมตร หรือประมาณ 9 นิ้ว ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบและลักษณะล้อของรถ แต่เวลาใช้ แม่แรง มักจะใช้เกาะกับกันชนหรือจุดต่างๆ รอบตัวรถ ดังนั้น แม่แรง ที่ยกสูงได้ 20 นิ้ว ขึ้นไปก็จะใช้งานได้สะดวกกว่า
6. ขนาด แม่แรง ที่เหมาะกับ รถบรรทุก / รถบัส
รถบรรทุกและรถบัส ถือเป็นรถที่ต้องใช้ขนส่งและรองรับน้ำหนักมากๆ เหมือนกัน และยังมีรูปแบบล้อกับเพลาเหมือนกันด้วย เช่น เป็นเพลาเดี่ยวหรือเพลาคู่ ยางเดี่ยวหรือยางคู่ 6 ล้อ หรือ 8 ล้อ
สำหรับรถประเภทนี้ จะมีน้ำหนักรถและการบรรทุกสูงสุดที่กรมทางหลวงกำหนดไว้ เราจึงจะอ้างอิงการเลือกขนาด แม่แรง ที่เหมาะสมตามน้ำหนักรวมสูงสุดที่กรมทางหลวงกำหนด ดังนี้
- รถบรรทุก 4 ล้อ ยาง 4 เส้น น้ำหนักรวมทั้งหมดต้องไม่เกิน 8.5 ตัน
- รถบรรทุก/รถบัส 4 ล้อ ยาง 6 เส้น น้ำหนักรวมทั้งหมดต้องไม่เกิน 12 ตัน
- รถบรรทุก/รถบัส 6 ล้อ ยาง 6 เส้น น้ำหนักรวมทั้งหมดต้องไม่เกิน 15.3 ตัน
- รถบรรทุก/รถบัส 6 ล้อ ยาง 8 เส้น น้ำหนักรวมทั้งหมดต้องไม่เกิน 18.3 ตัน
- รถบรรทุก 6 ล้อ ยาง 10 เส้น น้ำหนักรวมทั้งหมดต้องไม่เกิน 21 ตัน
- รถบรรทุก 8 ล้อ ยาง 8 เส้น 4 เพลา น้ำหนักรวมทั้งหมดต้องไม่เกิน 18.8 ตัน
- รถบรรทุก 8 ล้อ ยาง 12 เส้น น้ำหนักรวมทั้งหมดต้องไม่เกิน 25.2 ตัน
แม่แรง ที่เหมาะสม คือ แม่แรงลม (นิวเมติกส์) หรือ แม่แรงลมไฮดรอลิก หรือ แม่แรงไฮดรอลิคลม แล้วแต่ใครจะเรียก ซึ่งมีแรงยกมหาศาล สามารถยกรถบรรทุกได้สบายๆ ใช้งานง่ายๆ ด้วยการโยกคันโยกขึ้นลง หน้าตามีทั้งแบบที่เหมือน แม่แรงกระปุก และ แม่แรงตะเข้ หรือขนาดใหญ่ๆ ที่มาพร้อมรถเข็น มีขนาดหลากหลายให้เลือก เช่น 10, 20, 30, 40, 50, 80 ไปจนถึง 100 ตัน สามารถเลือกที่เข้ากับขนาดน้ำหนักที่บรรทุกได้ไม่ยาก (เลือกให้รับน้ำหนักได้ 3 ใน 4 ของรถบรรทุก)
ความสูงจากท้องรถถึงพื้นของรถบรรทุกประมาณ 70 เซนติเมตร ซึ่งเป็นค่ากลางๆ มีน้อยกว่านี้และน้อย และมากกว่าอีกมาก หากความสูงของ แม่แรง ไม่พอ บ้างครั้งก็อาจใช้อแดปเตอร์ช่วยได้
ข้อควรพิจารณาอื่นๆ ในการเลือก แม่แรง
1. วัสดุที่เหมาะสม
แม่แรง ที่ทำจากเหล็กจะแข็งแรง ทนทาน แต่ข้อเสียคือน้ำหนักเยอะ จึงอาจไม่เหมาะที่จะใช้พกพา เพราะเคลื่อนย้ายลำบาก ส่วนที่ทำจากอลูมิเนียมราคาจะสูงกว่า เบากว่า แต่อาจแข็งแรงไม่เท่า ใช้ได้ไม่นาน ฉะนั้น จึงมีตัวเลือกแบบไฮบริดที่ผสมผสานข้อดีทั้ง 2 อย่าง คือ ทั้งแข็งแรง เบา และทนทาน ใช้งานได้ยาวนานขึ้น ราคากลางๆ ไม่ถูกไม่แพงจนเกินไป คุ้มค่ากับคุณภาพ
2. ความสูงที่เข้ากับรถ
แม่แรง มีทั้งแบบตั้งและแบบกระดาน แบบสูงและแบบเตี้ย ก็เพื่อให้เข้ากับความสูงของพื้นรถ รถยนต์ทั่วไปก็ใช้ แม่แรง ทั่วไปได้ แต่รถที่ท้องรถต่ำมากๆ เช่น รถสปอร์ต หรือรถแต่ง ก็จะไม่เหมาะกับ แม่แรงกระปุก หรือรถที่ล้อสูงๆ อย่างโฟล์วีลและจี๊ปก็ใช้แม่แรงแบบทั่วไปไม่ได้ เพราะความสูงไม่พอ เมื่อติดหล่มก็ต้องใช้ แม่แรงยกสูง ที่มีคานสูงๆ จึงจะเหมาะ
3. ฟังก์ชันที่ตรงกับความต้องการ
ต้องถามตัวเองก่อนว่าจะซื้อ แม่แรง มาเพื่อใช้งานอย่างไร ใช้กับรถประเภทไหน ใช้ที่บ้าน ที่ร้าน หรือพกพาเผื่อฉุกเฉิน เพราะหากใช้ที่บ้าน ใช้กับรถยนต์ส่วนตัวก็สามารถเลือกขนาดเล็กหรือแบบไฮดรอลิคที่มีคันโยกยาวๆ และน้ำหนักค่อนข้างมากได้ ไม่ต้องห่วงเรื่องการจัดเก็บ เคลื่อนย้าย แต่หากจะพกพาก็ต้องเลือกแบบที่กะทัดรัดกว่า เคลื่อนย้ายง่าย และจัดเก็บง่าย ไม่เปลืองพื้นที่รถมากนัก
ดูเรื่องอื่นๆ ของ ->> แม่แรง <<-
>>> แม่แรง แต่ละประเภทแตกต่างกันยังไงบ้างนะ?