วิธีเลือก เครื่องเจาะดิน ยี่ห้อไหนดี?

Customers Also Purchased

      เครื่องเจาะดิน หรือ เครื่องขุดดิน ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Earth Auger ใช้สำหรับขุดดินเพื่อติดตั้งเสารั้ว เสาไฟ เสาค้ำยัน หรือเสาสิ่งก่อสร้างในงานวิศวกรรม หรือใช้ขุดเสาลงกล้า ลงต้นไม้หรือพุ่มไม้ที่โตแล้วในงานเกษตรสำหรับบ้านและสวน เครื่องเจาะดิน ใช้พลังงาน 2 แบบ คือ แบบใช้น้ำมันก๊าซ และแบบใช้แบตเตอรี่ 


วิธีเลือก เครื่องเจาะดิน

      สิ่งสำคัญที่ต้องดูเมื่อจะเลือก เครื่องเจาะดิน คือ รูปแบบตัวเครื่องและดอกขุดเจาะซึ่งมีลักษณะเป็นเกลียวคมๆ นอกจากนี้จะเป็นปัจจัยรอง เช่น ประเภทของดินและชั้นหินที่จะขุด เป็นต้น ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

      ☆ เลือกรูปแบบเครื่องยนต์ (Powerhead) ของ เครื่องเจาะดิน ที่ตรงกับความต้องการ ☆

          เครื่องยนต์ เป็นส่วนที่ประกอบด้วยเครื่องยนต์หรือมอเตอร์ กลไกขับเคลื่อนแกนหมุน หัวจ่ายพลังงาน และแหล่งบรรจุพลังงาน เครื่องเจาะดิน 2 จังหวะ ที่ใช้พลังงานก๊าซจะต้องมีที่บรรจุน้ำมันเครื่อง จึงอาจมีน้ำหนักมาก และเวลาใช้งานจะต้องป้องกันหูให้ดี เพราะเสียงเครื่องจะค่อนข้างดัง ถ้าต้องการตัวเลือกที่เบา ลดภาระกล้ามเนื้อ และเสียงไม่ดังมากต้องเลือกเครื่องยนต์ที่ใช้แบตเตอรี่ ซึ่งราคาจะสูงกว่าเครื่องยนต์พลังงานก๊าซ

          เครื่องเจาะดิน สำหรับการใช้งานหนึ่งคนจะมีน้ำหนักประมาณ 15 กก. ซึ่งยังไม่รวมน้ำหนักของใบมีดหรือดอกเจาะ แม้ว่า เครื่องเจาะดิน จะทำให้งานง่ายและเร็วขึ้นมาก แต่ก็ยังต้องใช้ความพยายามในการเคลื่อนที่ไปมารอบๆ และการควบคุมความเร็วหรือการเปิดปิดอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหาก เครื่องเจาะดิน นั้นมีแรงบิดหรือแรงหมุนมาก เป็นความคิดที่ดีถ้าหากจะมีผู้ช่วยเหลือสักคนเพื่อแบ่งปันงาน แม้ในขณะที่ใช้ เครื่องเจาะดิน สำหรับใช้งานคนเดียว

เครื่องเจาะดิน ประเภทเครื่องยนต์

      ☆ เลือกที่มีใบมีดหรือดอกเจาะ (Auger Bit) ของเครื่องเจาะดิน เข้ากับเครื่องยนต์และความลึกที่ต้องการขุด ☆

          ดอกเจาะดินหรือดอกสว่านขุดดิน มีลักษณะเป็นเกลียวใบมีดขนาดใหญ่ ทำงานเหมือนสว่าน ทำหน้าที่เจาะลงไปในดินด้วยการหมุนความเร็วสูง เศษดินจะถูกระบายออกทางเกลียวของใบมีด ขนาดดอกเจาะที่ดีจะต้องพอดีกับหัวเครื่องยนต์ ดอกเจาะขนาดมาตรฐานจะขุดได้ลึกประมาณ 3 ฟุต ถ้าต้องการความลึกที่มากขึ้นสามารถต่อกับก้านเพิ่มความยาวได้

          ควรเลือกดอกเจาะ เครื่องเจาะดิน ตามจำนวน ขนาด และความลึกของรูที่ต้องการ ดอกเจาะบางชนิดก็มีส่วนช่วยให้เจาะได้รวดเร็วขึ้น ขนาดของดอกเจาะไม่ได้หมายถึงความยาวเพียงอย่างเดียว ยังรวมถึงเส้นผ่านศูนย์กลางด้วย ดังนั้น เวลาดูดอกเจาะจึงต้องคำนึงทั้งความกว้างและความลึกของหลุมที่ต้องการขุด ก่อนจะเลือกขนาดดอกเจาะที่เหมาะสม โดยปกติจะต้องเลือกดอกเจาะที่ให้ความกว้างหลุมมากกว่าที่ต้องการ 3 เท่า เผื่อไว้สำหรับการอุดรอบๆ หลุม

เครื่องเจาะดิน ชนิดดอกเจาะ

      ☆ เลือกเส้นผ่านศูนย์กลางดอกเจาะของ เครื่องเจาะดิน ให้เหมาะสมกับงานที่จะทำ ☆

          วิธีการเลือกจับคู่งานที่ต้องการกับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอกเจาะที่เหมาะสมจะช่วยให้เห็นภาพและเลือก เครื่องเจาะดิน ที่รองรับดอกเจาะกับดอกเจาะที่ควรคู่กันได้ง่ายขึ้น ซึ่งมีตัวอย่างมาให้ดู ดังนี้

          - เส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 2-4 นิ้ว : เหมาะสำหรับใช้ขุดหลุมปลูกต้นกล้าหรือหว่านเมล็ดพืช

          - เส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 6 นิ้ว : เหมาะสำหรับงานติดตั้งเสารูปตัวยูหรือตัวที และเสาสำหรับทำรั้วสวนขนาดเล็กหรือรั้วลวดหนาม หรือลงไม้พุ่มและต้นไม้

          - เส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 10-12 นิ้ว : เหมาะสำหรับการขุดหลุมเพื่อตั้งเสาขนาด 4x4 ซึ่งใช้ในการตั้งกล่องจดหมายหรือรั้วบ้าน และขนาดนี้จะยังมีพื้นที่เหลือรอบหลุมให้อุดด้วยคอนกรีตหรือวัสดุอื่นๆ ได้ด้วย หรือจะใช้ในงานลงต้นไม้ขนาดใหญ่กว่า 5 แกลลอนก็ได้

          - เส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่กว่า 12 นิ้ว : เหมาะจะใช้กับงานติดตั้งเสาขนาด 6x6

เครื่องเจาะดิน ขนาดดอกเจาะ

      ☆ เลือก เครื่องเจาะดิน ที่ให้ความเร็วรอบ (RPM) เหมาะสม ☆ 

          ดินที่แตกต่างกันต้องใช้ความเร็วรอบในการหมุนที่แตกต่างกัน ถ้าต้องการให้เจาะได้เร็วจะต้องมีรอบหมุนที่เยอะ แต่ดินที่แข็งมากๆ ต้องใช้กำลัง (แรงบิด) และแรงดันต่ำ ค่อยๆ เจาะลงไป ดังนั้น ความเร็วรอบมากๆ ก็ไม่ใช่ว่าจะดีเสมอไป ต้องปรับได้ทั้งสูงและต่ำ สำหรับคนที่ยังมองภาพไม่ออก สามารถอิงจากความเร็วรอบในการหมุนที่เหมาะสมกับดินแบบต่างๆ ของ เครื่องเจาะดิน ตามข้อมูลด้านล่างนี้ได้ แต่ผลลัพธ์จะขึ้นอยู่กับความแข็งของหิน ประเภทดอกเจาะที่ใช้ และแรงกดของเครื่องจักร

          - ดินทั่วไป : ใช้ความเร็วรอบประมาณ 55-65 RPM

          - ดินเหนียว ดินแข็ง หินดินดาน : 45-55 RPM ผลลัพธ์จะดียิ่งขึ้นถ้าใช้กับดอกเจาะที่มีฟันเรียวบาง เกลียวถี่

          - ดินร่วน : ใช้ความเร็วรอบแค่ประมาณ 20-45 RPM ก็เพียงพอ และใช้กับดอกเจาะมาตรฐานได้เลย หรือถ้าอยากได้งานเร็วก็ปรับแบบความเร็วสูงได้ แต่ดินก็จะปลิวเยอะและไกล

เครื่องเจาะดิน RPM


เครื่องเจาะดิน ยี่ห้อต่างๆ ที่แนะนำ

      ขอแนะนำ เครื่องเจาะดินญี่ปุ่น ซึ่งมีขนาดเล็กและราคาย่อมเยากว่ายี่ห้อจากทางประเทศตะวันตก และเหมาะกับแรงและสรีระของคนเอเชียมากกว่า ซึ่งจะแนะนำ 3 ยี่ห้อด้วยกัน ได้แก่

      1. เครื่องเจาะดิน Makita 

      เป็นยี่ห้อที่คุ้นหูเพราะมีเครื่องมือจำหน่ายเยอะ ถือเป็นเจ้าใหญ่ในเรื่องเครื่องมือของแบรนด์ฝั่งเอเชีย ซึ่งก็มี เครื่องเจาะดิน ไร้สายจำหน่ายด้วย เหมาะสำหรับคนที่ต้องการทำงานนอกสนามได้อย่างคล่องตัว รวมทั้งมีดอกขุดดินที่จัดการดินเหนียวแบบเอาอยู่ให้เลือก ราคาอาจค่อนข้างแพงเพราะเป็นรุ่นใช้แบตเตอรี่ที่ให้กำลังไฟสูงสุดด้วยแบต 8.0Ah 40Vmax และยังเป็น BL motor เสียงการทำงานเบาและไม่เกิดการสปาร์ค ที่จับนุ่มมือ แรงสั่นสะเทือนน้อย ปุ่มเป็นแบบ Soft Start ปรับความเร็วได้ 2 ระดับ รอบการหมุนสูงสุด 1,400 RPM เหมาะกับงานในสวนและงานติดตั้งเสาต่างๆ สำหรับบ้านและสำนักงาน

      2. เครื่องเจาะดิน Maruyama

      Maruyama ไม่ได้มีแค่เครื่องตัดหญ้าเท่านั้น อย่างที่รู้กันแล้วว่าเครื่องยนต์ของ เครื่องเจาะดิน นั้นคล้ายกับเครื่องตัดหญ้า โดยเฉพาะเครื่องที่ใช้น้ำมันก๊าซเป็นเชื้อเพลิง เป็นตัวเลือกสำหรับใช้งานภายในครัวเรือนและงานก่อสร้างที่ราคาถูกกว่าเครื่องที่ใช้แบตเตอรี่

      Maruyama เครื่องเจาะดิน 2 จังหวะ รุ่น MAG500RS มาพร้อมกับดอกเจาะขนาดแกน 90 มม. เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 250 มม. ใช้เครื่องยนต์ 49.9 cc 1.94 แรงม้า ให้แรงบิดสูงแต่ออกแรงน้อย ระดับความดังขณะเปิดเครื่อง 112 เดซิเบล รองรับการเปลี่ยนดอกใช้งาน มีถังน้ำมันขนาด 1 ลิตร ใช้งานได้นาน รองรับทั้งการใช้งานทั่วไป งานในไร่ในสวน และงานก่อสร้าง

      3. เครื่องเจาะดิน Kasei

      Kasei รุ่น 3WT-300 เป็นตัวเลือกที่ราคาย่อมเยาที่สุด และเป็น เครื่องเจาะดิน 2 จังหวะ เช่นเดียวกับ Maruyama เครื่องยนต์เป็นแบบใช้น้ำมันก๊าซซึ่งมีถังบรรจุขนาด 1.4 ลิตร น้ำหนักจึงมากหน่อย เหมาะสำหรับใช้งานในไร่ในสวน มาพร้อมดอกเจาะขนาด 8 นิ้ว ใช้เครื่องยนต์ 43 cc 1.74 แรงม้า ความเร็วรอบสูงสุด 6,500 RPM สตาร์ตง่าย เปลี่ยนดอกง่าย ใช้งานต่อเนื่องได้นานต่อการเติมน้ำมัน 1 ครั้ง

เครื่องเจาะดิน makita


ดูเรื่อง >>> เครื่องเจาะดิน <<< เพิ่มเติม

      —>>> ความรู้และคู่มือการใช้ เครื่องเจาะดิน อย่างมีประสิทธิภาพ

      —>>> ประโยชน์ของ เครื่องเจาะดิน ที่คุณต้องรู้