​​​​​​​ความรู้และคู่มือการใช้ เครื่องเจาะดิน อย่างมีประสิทธิภาพ

Customers Also Purchased

      เครื่องเจาะดิน หรือ เครื่องขุดดิน (ภาษาอังกฤษ : Earth Auger) มีลักษณะเป็นตัวเครื่องยนต์ติดเกลียวใบมีดหรือที่เรียกกันว่าดอกเจาะดิน ใช้สำหรับคว้านหรือเจาะพื้นผิวต่างๆ เช่น ดิน ชั้นหิน ไม้ หรือน้ำแข็ง ดังนั้น แม้จะชื่อว่า เครื่องเจาะดิน แต่ก็ยังใช้กับงานอื่นๆ ได้ แต่ต้องเลือกดอกเจาะให้เหมาะสมกับงานด้วย เช่น ในประเทศแถบขั้วโลกหรือที่มีธารน้ำแข็งจะใช้ เครื่องเจาะดิน ขุดน้ำแข็งเพื่อตกปลา แต่สำหรับการใช้งานปกติจะใช้เพื่อขุดหลุมในงานเกษตรและงานก่อสร้าง 

      เครื่องเจาะดิน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือแบบถือและแบบเครื่องจักร แบบแรกใช้กับงานขนาดเล็ก ส่วนแบบเครื่องจักรจะใช้ในงานระดับกลางถึงระดับอุตสาหกรรม ทำงานได้หนักและนาน ขับเคลื่อนด้วยพลังงานแทบทั้งหมด มักใช้ต่อพ่วงกับรถไถหรือรถแทรกเตอร์ ใช้แรงคนน้อยมาก 

      เครื่องเจาะดิน แบบถือ หรือ Handheld Earth Auger เป็นรุ่นที่มีการซื้อขายกันมากกว่าแบบเครื่องจักร เพราะใช้ง่ายและต้นทุนต่ำ ซึ่งการใช้งานจะต้องใช้มือในการถือและเจาะไปยังจุดที่ต้องการ อาจเป็นแบบใช้งานคนเดียวหรือสองคน มีหลากหลายยี่ห้อให้เลือก มีรูปแบบและน้ำหนักที่แตกต่างกันออกไปตามการออกแบบและวัตถุประสงค์การใช้งาน และยังแบ่งออกเป็นรุ่นที่ใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่กับรุ่นใช้พลังงานก๊าซจากน้ำมันก๊าซ เช่น เบนซิน อีกด้วย

เครื่องเจาะดิน แบบใช้แบตเตอรี่


หลักการทำงานของ เครื่องเจาะดิน

      หลักการทำงานของ เครื่องเจาะดิน จะคล้ายกับสว่าน เนื่องจากใบมีดแบบเกลียวนั้นจะหมุนด้วยแรงเครื่องยนต์และคายเศษดินออกมาผ่านลักษณะของเกลียว จึงไม่แปลกที่จะมีการเรียก เครื่องเจาะดิน ว่าสว่านเจาะดินด้วยเหมือนกัน ความสามารถในการทำงานของ เครื่องเจาะดิน จะขึ้นอยู่กับรูปแบบเครื่องยนต์, ความเร็วรอบ (RPM), กำลังไฟ, แรงผลัก และชนิดของดอกเจาะดิน


คุณสมบัติของ เครื่องเจาะดิน

      เครื่องเจาะดินบางตัวใช้มอเตอร์ตรง บางตัวใช้มอเตอร์ไฮดรอลิคเพื่อให้มีแรงบิดและความถี่รอบต่อนาที (RPM) สมดุลกัน นอกจากนี้ยังมี เครื่องเจาะดิน ที่ใช้ระบบฟันเฟืองขับเคลื่อนเพื่อให้ได้แรงบิดที่สูงกว่าระบบอื่นๆ ด้วย เป็นการออกแบบมาให้สามารถขุดผ่านสภาพพื้นดินที่ยากลำบาก เช่น หิน หินดินดาน และดินเหนียว เป็นต้น

      เครื่องเจาะดิน ที่ใช้ต่อพ่วงกับรถแทรกเตอร์หรือเครื่องจักรอื่นๆ ที่มักใช้ในงานเกษตรจะสามารถดึงกำลังจากเครื่องยนต์ไปใช้ขับเคลื่อนเครื่องจักรได้ จึงให้ประสิทธิภาพการขุดเจาะที่มากกว่า เครื่องเจาะดิน แบบถือ แต่เพราะให้กำลังสูงเกินไปจึงต้องระมัดระวังการใช้งานมากยิ่งขึ้น เพราะถ้าเกิดอุบัติเหตุจะส่งผลร้ายแรงอย่างยิ่งทั้งกับผู้ใช้งานและทรัพย์สิน

      เครื่องเจาะดิน แบบถือสามารถพกพาหรือถอดประกอบได้ น้ำหนักค่อนข้างเบา ทุกรูปแบบจะขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์สันดาป (ใช้น้ำมันเครื่อง) เพื่อให้เกิดแรงขับไปข้างหน้า ดังนั้น แรงบิดและรอบต่อนาที (RPM) จะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับมอเตอร์และกำลังไฟของ เครื่องเจาะดิน นั้นๆ

      ดอกเจาะของ เครื่องเจาะดิน มักทำจากเหล็กกล้าที่มีคุณภาพและความทนทานสูง ซึ่งเหล็กกล้าก็ยังแบ่งย่อยออกไปอีก เช่น เหล็กกล้าไร้สนิมและเหล็กกล้าคาร์บอน เครื่องเจาะดิน หลายตัวมีปลายหรือแกนที่ทำจากวัสดุแข็งแรงเป็นพิเศษ เช่น เคลือบผงเพชร เพื่อให้เจาะผ่านของแข็งๆ ในชั้นหินได้ ดังนั้น ถ้าจะใช้ในเหมืองเพื่อขุดหาแร่ทางการค้าที่มีมูลค่าสูงจะต้องระมัดระวังในการเลือกดอกเจาะให้ดีๆ

เครื่องเจาะดิน แบบเติมน้ำมัน


วิธีการใช้ เครื่องเจาะดิน ให้มีประสิทธิภาพและทริคเพื่อความปลอดภัย

      1. ก่อนจะทำการขุดเจาะใดๆ ควรติดต่อบริษัทสาธารณูปโภคหรือเจ้าของพื้นที่ให้ช่วยตรวจสอบหาระบบสาธารณูปโภคที่ถูกฝังไว้ แล้วทำเครื่องหมาย เพื่อหลีกเลี่ยงการเจาะโดนให้เกิดความเสียหาย

      2. สวมอุปกรณ์นิรภัยก่อนทำงานเสมอ ซึ่งได้แก่ แว่นตานิรภัย อุปกรณ์ป้องกันการได้ยิน ถุงมือ และรองเท้านิรภัยหัวเหล็ก เพราะการใช้ เครื่องเจาะดิน ต้องอยู่ใกล้กับเครื่องที่มอเตอร์เสียงดังๆ ทำงานตลอดเวลา ที่ปิดหูจึงสำคัญมาก รองเท้าหัวเหล็กก็จะช่วยป้องกันดอกเจาะดินเฉือนเท้าได้ เพราะเวลาเจาะดินต้องวางเครื่องตั้งฉากกับพื้น ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ใกล้เท้ามาก

      3. สวมเสื้อผ้าที่กระชับ พอดีตัว ไม่แน่นหรือหลวมเกินไป เสื้อผ้าที่หลวมโคร่งจะรุ่มร่าม อาจเกิดการสะดุดได้ ส่วนเสื้อผ้าที่รัดแน่นเกินไปจะขยับตัวลำบาก ทำงานได้ไม่เต็มที่ อาจทำให้แก้ไขปัญหาหน้างานได้ไม่ทันท่วงที

      4. ก่อนเริ่มเจาะดินต้องเคลียร์หน้าดินก่อนเสมอ เพราะแม้แต่วัชพืชก็ส่งผลให้การเจาะติดขัดได้ จากนั้นกำหนดจุดที่ต้องเจาะทั้งหมดและทำเครื่องหมายไว้ เพื่อความรวดเร็วและแม่นยำ

      5. ควรขุดหลุมนำร่องตื้นๆ ด้วยพลั่วก่อน เพื่อให้การขุดง่ายขึ้น แม่นยำขึ้น คลาดเคลื่อนน้อย

      6. สตาร์ตเครื่องตามคำแนะนำของผู้ผลิตในคู่มือ หรือตามที่ร้านค้าแนะนำ หรือตามข้อปฏิบัติของ OSHA เพราะเครื่องมือมีความอันตราย จึงควรใช้งานให้ถูกวิธีที่สุด ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ในปี ค.ศ. 2020 มีผู้เสียชีวิต 2 ราย จากอุบัติเหตุการทำงานที่เกี่ยวข้องกับ เครื่องเจาะดิน

      7. ผู้ใช้ต้องรู้ว่าคันเร่งและปุ่มดับเครื่องอยู่ตรงไหน เพื่อให้สามารถหยุดเครื่องได้ทันท่วงทีหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น

      8. ในตอนแรกเริ่มการเจาะ ควรบีบคันเร่งให้พอดี ไม่เบาหรือแรงเกินไป สังเกตว่าดินจะเริ่มค่อยๆ ถูกสะบัดออกผ่านเกลียวของดอกเจาะ เมื่อเจาะได้ลึกประมาณหนึ่งฟุตแล้วค่อยเพิ่มความเร็ว (บิดคันเร่ง)

      9. ถ้าหากเจาะชนหินหรือดอกเจาะติด หมุนต่อไม่ได้ ควรปล่อยคันเร่งทันทีและปล่อยให้เครื่องทำงานเองไปเรื่อยๆ จนเมื่อเครื่องหยุดแล้วค่อยขุดสิ่งกีดขวางออก แล้วค่อยเจาะดินต่อ 

      10. ถ้าเจาะลงไปลึกแล้วให้หยุดและยกดอกเจาะออกเป็นครั้งคราว เพื่อล้างสิ่งสกปรกออกจากรูหรือเอาดินออก วิธีนี้จะช่วยให้เครื่องทำงานได้ลื่นไหลมากขึ้น ประสิทธิภาพการเจาะก็ดีขึ้นตาม

      11. ถ้าขุดเสร็จแล้วให้วัดความลึกของรูเป็นสิ่งสุดท้าย ตรวจเช็คความถูกต้องของงาน

      12. ล้างทำความสะอาดดอกเจาะ ผึ่งไว้ให้แห้งในอุณหภูมิปกติ เมื่อแห้งแล้วเหยาะน้ำมันตรงข้อต่อหรือส่วนที่ช่วยให้แกนหมุน ควรเก็บเครื่องไว้ในที่แห้งและพ้นแสงแดด เครื่องจะได้ไม่เกิดสนิม อายุการใช้งานยาวนาน

อุปกรณ์นิรภัยสำหรับการใช้งาน เครื่องเจาะดิน ให้ปลอดภัย


ประโยชน์ของ เครื่องเจาะดิน โดยสังเขป

      ★ ใช้ทำหลุมเพื่อเพาะเมล็ดพันธุ์และลงต้นไม้ 

      ★ ใช้ขุดดินติดตั้งเสารั้ว เสาไฟ หรือเสาสิ่งก่อสร้างต่างๆ 

      ★ ใช้ขุดดินเพื่อลงต้นไม้ขนาดใหญ่

      ★ ช่วยในการเคลื่อนย้ายเมล็ดพืชง่ายและรวดเร็วกว่าปกติ โดยการดันขึ้นผ่านท่อโลหะยาวในระหว่างการหมุนของเกลียว

      ★ ใช้ขุดเจาะในเหมืองถ่านหิน 

      ★ ใช้ขุดเจาะเชื้อเพลิง ฟอสซิล หรือหินดินดานที่แข็งๆ ตามชั้นหินต่างๆ

 ประโยชน์ของ เครื่องเจาะดิน


สิ่งที่ต้องพิจารณาถ้าจะเลือก เครื่องเจาะดิน

      ☆ ประเภทเครื่องยนต์

      ☆ ขอบเขตการใช้งาน (งานทั่วไป งานขนาดกลาง หรืองานระดับอุตสาหกรรม)

      ☆ อัตราทดเกียร์ (Ratio Gear)

      ☆ อัตราแรงบิด

      ☆ ชนิดเชื้อเพลิงและความจุ

      ☆ ความต้องการออกเทนหรือปริมาณออกเทนที่เครื่องต้องใช้

      ☆ ระบบคลัตช์ การหยุด การสตาร์ต และการเร่ง

      ☆ ประเภทดอกเจาะที่รองรับ

      ☆ สามารถทำงานต่อเนื่องได้นานที่สุดกี่นาที (Runtime)

      ☆ วัสดุแข็งแรงทนทานแค่ไหน


      ดูเรื่อง >>> เครื่องเจาะดิน <<< เพิ่มเติม