Customers Also Purchased
คีมตัด คืออะไร?
ก่อนอื่นมารู้จักลักษณะทั่วไปของ คีมตัด กันก่อน คีมตัด เป็นเครื่องมือช่างที่ใช้ในการตัดวัสดุต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเหล็กแผ่น ลวดเหล็ก ลวดสลิง สายเคเบิ้ล หรือสายไฟฟ้า วัสดุที่หล่อคีมจะมีค่าความแข็ง (HRC, HB, HV, HS) แตกต่างกัน มีด้ามจับหุ้มยางหรือพลาสติก ด้านคมจะเล็กและสั้นกว่าด้ามจับมาก ขนาดสิ่งของที่จะใช้ตัดได้จึงมีจำกัด ดังนั้น หลักการแรกถ้าคุณจะเลือก คีมตัด ก็คือการเลือกขนาดคีมให้พอดีกับขนาดและวัสดุที่จะใช้ตัดมากที่สุด
การที่ด้ามจับของ คีมตัด ยาวและใหญ่นั้นมีที่มาที่ไป นอกจากเรื่องความแข็งแรงก็คือการเพิ่มแรงตัดให้ส่งไปยังปากคีมมีมากพอจนสามารถตัดของแข็งๆ อย่างพวกลวดเหล็กหรือลวดสลิงได้นั่นเอง ดังนั้น จึงจะสังเกตเห็นได้ว่าด้ามของ คีมตัดเหล็ก หรือ คีมตัดลวดสลิง จะมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก
ข้อควรระวังในการใช้ คีมตัด
ก่อนจะไปดู คีมตัด แบบต่างๆ อยากให้ทุกคนปรับความเข้าใจในการใช้ คีมตัด ที่ดีกันก่อน เหล่านี้เป็นข้อควรระวังที่สำคัญมากๆ ไม่อยากให้ทุกคนมองข้ามเพราะเห็นแก่ความคุ้มค่าหรืออะไรก็ตาม ความปลอดภัยควรจะมาก่อนทุกสิ่งเสมอ เพราะถ้าคุณเกิดอันตรายเอาอะไรมาแลกก็ไม่คุ้ม
⧫ ไม่ควรใช้ คีมตัด อย่างอเนกประสงค์เกินไป ถ้าไม่อยากซื้อคีมใหม่บ่อยๆ เพราะการใช้งานเกินฟังก์ชันมากเกินไปแม้มันจะทำได้แต่ก็จะทำให้วัสดุเสื่อมคุณภาพเร็วขึ้น และเสี่ยงต่อการพังได้ง่าย
⧫ ควรใช้ คีมตัด ที่มีขนาดพอดีและเหมาะกับมือของคุณ เพราะขนาดคีมที่ไม่เหมาะสมนอกจากจะทำให้ใช้งานยากแล้ว ยังอาจทำให้บาดเจ็บที่เอ็นหรือกล้ามเนื้อที่มือและนิ้วได้
⧫ หลีกเลี่ยงการให้คีมโดนความร้อนมากเกินไป ความร้อนสามารถเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของวัสดุหรือสารเคลือบบนคีมได้ ทำให้คีมเปราะขึ้น บิ่นหรือแตกได้ง่ายกว่าคีมที่เก็บรักษาดี
⧫ ห้ามใช้คีมขันน็อตหรือตอกตะปู เพราะน็อตหรือตะปูมีหน้าที่ในการยึดสิ่งต่างๆ ให้มั่นคงแข็งแรง ถ้าใช้คีมขันแล้วไม่แน่น หากเป็นในงานโครงสร้างที่ต้องรับน้ำหนักก็จะเกิดอันตรายใหญ่หลวงตามมา
⧫ ใช้คีมที่หุ้มฉนวน VDE เสมอเมื่อทำงานใกล้กับสายไฟหรือชิ้นส่วนที่มีไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟกระชากและอันตรายอื่นๆ
⧫ สวมแว่นนิรภัยทุกครั้งที่ใช้งาน ป้องกันไม่ให้เศษวัสดุที่ถูกตัดออกกระเด็นเข้าตา โดยเฉพาะเมื่อตัดปลายลวดหรือตะปูที่มีความอันตรายมาก ถ้าเข้าตาอาจตาบอดได้
การใช้งาน คีมตัด ประเภทต่างๆ
1. คีมตัดข้าง หรือคีมปากเฉียง และคีมปากจระเข้ (Side Cutters)
เหมาะกับการใช้ตัดสายเคเบิ้ลหรือลวดเล็กๆ บนแผงวงจร เพราะให้รอยตัดที่สะอาดเรียบร้อย ไม่ควรใช้กับของที่มีค่าความแข็งมากกว่าปากคีม เช่น ตะปูหรือสกรู เนื่องจากวัสดุเหล่านี้อาจทำให้คีมเสียหายหรือคมบิ่น
การใช้งาน : ใช้จับ คีบ ดัด ตัด และปอกสายไฟ ใช้กับสายเคเบิ้ลและของที่ทำจากตะกั่วได้ (ค่าความแข็งของตะกั่วประมาณ 3-20 HB)
2. คีมตัดฟลัช หรือคีมปากแบน (Flush Cutters)
ชื่ออาจดูแปลก แต่มันคือ คีมตัด ที่ใช้งานคล้ายกับ คีมตัดข้าง เพียงแต่รูปร่างจะบางกว่าและมีช่องว่างด้านในสุดของคีม ใช้ถอนหมุดหรือปอกสายไฟได้ง่ายขึ้น เนื่องจากปากคีมบางและแหลมจึงตัดที่แคบๆ ได้ดีกว่า คีมตัดข้าง แต่ของที่ตัดจะกระเด็น เพราะไม่มีพื้นที่ยึดจับแบบ คีมตัดข้าง
การใช้งาน : ใช้ตัดสายไฟ หัวหมุด หรือลวด ถอนหมุดถอนตะปู
3. คีมตัดสายไฟ คีมตัดสายเคเบิ้ล (Cable Cutters)
ตามชื่อเลย คีมตัด ประเภทนี้ใช้กับสายไฟสายเคเบิ้ล โดยทั่วไปด้ามจะเป็นฉนวนเพื่อป้องกันไฟฟ้าช็อต อย่างไรก็ตาม ยางหรือพลาสติกที่หุ้มด้ามคีมไม่ควรมองว่าเป็นฉนวนกันไฟฟ้าได้ทั้งหมด บางอย่างก็มีคุณสมบัติแค่กันลื่นหรือเหมาะกับมือผู้ใช้เท่านั้น ถ้าต้องทำงานที่ไม่แน่ใจว่ามีกระแสไฟรั่วไหลหรือไม่ก็ให้เลือก คีมตัดสายเคเบิ้ล VDE ที่ออกแบบมาเพื่อการป้องกันไฟฟ้ารั่วไหลและได้มาตรฐานจากเยอรมันนีดีกว่า แม้ราคาจะสูงกว่าแต่ก็ปลอดภัยมากกว่าด้วย
บนคมของ คีมตัดสายเคเบิ้ล บางรุ่นจะมีร่องที่รองรับความโค้งมนของสายไฟได้ดี ทำให้สายไฟไม่ลื่นไถล ช่วยให้ตัดได้แม่นยำสวยงามมากกว่าคีมแบบไม่มีร่อง นอกจากนี้ยังมี คีมตัด แบบฟันเฟืองที่ให้การตัดเฉือนแบบกิโยตินสำหรับสายเคเบิ้ลขนาดใหญ่ด้วย
การใช้งาน : ใช้กับงานไฟฟ้า งานอุตสาหกรรม เช่น ซ่อมแซมสายไฟในตู้ควบคุมเครื่องจักร เป็นต้น
4. คีมตัดปลายลวดปลายตะปู หรือคีมปากนกแก้ว (End Cutters)
บ้างก็เรียก คีมตัด หัวแบน เป็นคีมที่คมตัดอยู่แนวขวางกับด้าม ต่างจาก คีมตัด แบบอื่นๆ ซึ่งมันช่วยให้ตัดได้แนบสนิทกับพื้นผิวของวัตถุได้โดยไม่ติดมือเวลาใช้งาน ตัวคีมตั้งฉากกับพื้นผิวจึงเข้าที่แคบๆ ได้ไม่มีปัญหา
การใช้งาน : ใช้ตัดของที่ทำจากตะกั่ว เช่น ตะปู สปริง น็อต หมุดย้ำ ลวด ลูกแม็กลม โดยไม่ต้องเจาะนำก่อน และไม่ติดมือ และใช้ถอนตะปูหรือลูกแม็กได้
5. คีมตัดลวดตัดสายไฟ (Diagonal Cutters)
เป็น คีมตัดสายไฟ ที่มีความแข็งแรงมาก เหมาะกับงานต่อวงจร ทำแผงวงจร เพราะตัดได้ทั้งสายไฟ น็อต ตะปู ลวด ทองแดง หมดปัญหาเวลาต่อขั้ววงจรแล้วต้องหยิบเครื่องมือหลายอัน แถมยังปอกสายไฟหรือใช้ดึงตะปูได้ด้วย ไม่ควรใช้ตัดตะปูที่ตัวใหญ่เกินไป เพราะคีมไม่ได้ใหญ่มาก ถ้าใช้ตัดของที่แข็งและหนาเกินไปคีมอาจจะพังได้
การใช้งาน : ใช้ตัดสายไฟ ปอกสายไฟ ตัดลวด ตัดน็อต ดึงตะปู
6. คีมตัดลวดสลิง (Wire Rope Cutters)
ปากคีมจะคมและแข็งแรงกว่า คีมตัด ด้านบนที่กล่าวมาทั้งหมด เพราะลวดสลิงเกิดจากลวดหลายๆ เส้นพันกันแน่นหนาคล้ายเชือก การตัดจึงต้องการแรงที่มากกว่า ขนาดคีมจะสัมพันธ์กับขนาดลวด การตัดที่ดีต้องไม่ทำให้เกลียวลวดสลิงแตกออกจากกันแล้วมีเศษเล็กเศษปลิวกระจายไปทั่ว
การใช้งาน : ใช้ตัดลวดสลิงหรือเหล็กที่มีความแข็งและหนาสัมพันธ์กับปากคีม เช่น โซ่ กรงขังสัตว์ คอแม่กุญแจ เป็นต้น ให้ดูค่าความแข็งของคีมให้ดีว่าสามารถตัดได้มากแค่ไหน
7. คีมตัดไฮดรอลิค (Hydraulic Cutters)
แค่ชื่อก็คงรู้กันแล้วว่ามันใช้งานยังไง คีมตัดไฮดรอลิค สามารถใช้กับตัวนำไฟฟ้า ลวดสลิง หรือแม้แต่เหล็กหนาๆ ได้หลายประเภท ใช้กลไกการตัดแบบกิโยติน ทำให้การตัดง่าย รอยตัดเรียบร้อย ตัดได้แม่นยำ สายไฟไม่ลื่นไหล มีให้เลือกหลายรุ่น เช่น หัวแบบแมนนวล แบบใช้แบตเตอรี่หรือแบบรีโมต เลือกได้ตามฟังก์ชันที่คุณสะดวก
การใช้งาน : ตัดลวด สายไฟ เส้นเหล็ก หรือสายเคเบิ้ลที่มีขนาดใหญ่ ใช้แรงคนบีบ คีมตัด เองไม่ได้
ดูเรื่อง คีมตัด เพิ่มเติม ->> <<-
-->>> 7 ประเภท คีมตัด ยอดนิยม มีอะไรบ้าง?
-->>> คีมตัด คีมตัดสายไฟ คีมตัดลวด เครื่องมือ Multipurpose ที่ช่างทุกประเภทควรมีไว้