คีมตัด คีมตัดสายไฟ คีมตัดลวด เครื่องมือ multipurpose ที่ทุกช่างควรมีไว้

Customers Also Purchased

คีมตัด คีมตัดสายไฟ คีมตัดลวด เครื่องมือ multipurpose ที่ทุกช่างควรมีไว้

      หากคุณต้องทำงานช่าง DIY งานซ่อม หรืองานสร้างต่าง ๆ สิ่งที่จะทำให้งานของคุณดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือ capability ที่ดีนั้น นอกจากสกิลและประสบการณ์แล้ว ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัจจัยสำคัญอีกอย่างที่จะช่วยให้งานของคุณรวดเร็วและได้ความแม่นยำมากขึ้นคือ เครื่องมือ และหนึ่งในมัลติทูลที่มีความเป็นมามาอย่างยาวนานในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติเลยคือ “คีม” (Pliers) ซึ่งถือว่าเครื่องมือชิ้นนี้เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับทุกงานที่ได้กล่าวมา

      คีม หรือ (Pliers,Wrench) คีมเป็นเครื่องมืออเนกประสงค์ที่ใช้สำหรับจับ ดัด และตัดวัสดุ เช่น ลวด โลหะ และพลาสติก ประวัติของคีมสามารถย้อนไปถึงสมัยโบราณ เมื่อมนุษย์ยุคแรกใช้เครื่องมือพื้นฐานที่ทำจากไม้หรือกระดูกในการจับและควบคุมวัตถุคีมโลหะตัวแรกน่าจะได้รับการพัฒนาโดยช่างตีเหล็กในช่วงยุคสำริด ประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตศักราช คีมยุคแรกนี้ทำจากทองสัมฤทธิ์หรือเหล็ก และส่วนใหญ่ใช้สำหรับการตีขึ้นรูปและขึ้นรูปโลหะเมื่อเวลาผ่านไป คีมได้พัฒนากลายเป็นเครื่องมือพิเศษสำหรับงานเฉพาะด้าน ตัวอย่างเช่น คีมปากแหลมได้รับการพัฒนาให้ทำงานกับวัตถุขนาดเล็กหรือในพื้นที่จำกัด ในขณะที่คีมตัดได้รับการออกแบบให้ตัดผ่านลวดโลหะและสายเคเบิล

      ในศตวรรษที่ 19 ความก้าวหน้าในการผลิตทางอุตสาหกรรมนำไปสู่การผลิตคีมและเครื่องมือช่างอื่นๆ จำนวนมาก ทำให้มีจำหน่ายอย่างแพร่หลายและราคาไม่แพง ทุกวันนี้ คีมมีรูปร่างและขนาดที่หลากหลายสำหรับการใช้งานที่แตกต่างกัน และเป็นเครื่องมือที่จำเป็นในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงการก่อสร้าง ยานยนต์ และงานไฟฟ้า หรืองานอื่น ๆ

      หากจะพูดถึงคีมแต่ละชนิดผู้เขียนคิดว่าเนื้อหาจะมีความยาวจนเกินไปในวันนี้เราจะมาพูดถีงแค่คีม ตัวหลัก ๆ กันก่อนก็คือ “คีมตัด” ซึ่งทั้งสามชิ้นนี้ทำอะไรได้บ้างเหมาะกับงานแบบไหนรวมถึงเคล็ดลับวิธีใช้งานกัน ว่าจะมีรายละเอียดพอให้ได้เป็นประโยชน์กับผู้อ่านด้านใดได้บ้างถ้าหากพร้อมแล้วก็ตามไปอ่านกันได้เลย

คีมตัด

      คีมตัด นั้นเป็นเครื่องมือช่างพื้นฐานสำคัญสำหรับการตัดวัสดุต่างๆที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเล็กทั้งยังสามารถใช้ตัดลวดเหล็กหรือพลาสติกที่มีความเหนียวและทนทานเป็นคุณสมบัติให้ขาดออกจากกันได้โดยง่าย โดยลักษณะของปากคีมจะเป็นคมตัดที่คมและแข็งแรง ส่วนใหญตัวคีมผลิตจากวัสดุคุณภาพสูงแข็งแรงและทนทานต่อการตัดชิ้นงาน มีด้ามจับที่กระชับมือช่วยให้การจับถนัดมากขึ้น และมีขนาดกระทัดรัดจึงสามารถออกแรงกดตัดได้ด้วยมือเพียงข้างเดียวได้อย่างง่ายดาย เพิ่มความสะดวกในการทำงานได้อย่างแม่นยำและรวดเร็วช่วยทุ่นแรงและเวลาการทำงานได้เป็นอย่างดีเลย การใช้ตีมตัดส่วนมากจะนิยมใช้กับงานช่างไฟฟ้า งานฝีมือ และงานซ่อมบำรุงพื้นฐานไปจนถึงระดับกลางได้อย่างดี

คีมตัด

โดยคีมตัดจะแบ่งออกได้อีกเป็น 4 ประเภทดังนี้

คีมตัดแนวทะแยง หรือ (Diagonal Pliers)

      คีมตัดแนวทะแยง เป็นคีมที่มีรูปแบบลักษณะของปากคีมทำมุมทะแยงเฉียงทำให้้สามารถตัดวัสดุได้โดยง่ายและทำการตัดได้ตามขอบที่แม่นยำโดยปากคีมมีหลายองศาตามแต่การใช้งานที่เหมาะสม โดยส่วนใหญ่ถ้าใช้ในงานทั่ว ๆ ไปก็มักจะนิยมไทป์ที่เป็น 21 องศา และ 45 องศา โดยต่อมาได้มีรุ่นแยกคือคีมตัดแบบคอยาวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตัดมากขึ้นกว่ารุ่นธรรมดา ในปัจจุบันสามารถใช้ในการปอกสายไฟได้ด้วย

คีมตัดปากนกแก้ว (End cutting Pliers)

      คีมตัดปากนกแก้ว โดยลักษณะเด่นของคีมประเภทนี้จะโค้งเข้าหากันคล้ายกับส่วนปากของนกแก้ว ซึ่งจะมีคุณสมบัติในการจับยึดตัววัสดุที่จะทำการตัดได้แน่น และช่วยในการทดแรงกดของผู้ใช้งานได้ ทำให้สมารถตัดวัสดุต่าง ๆ ได้โดยง่ายเหมาะสำหรับงานตัดลวดโลหะ ตัดหัวตะปู กับงานก่อสร้าง งานไม้ งานเหล็กก็สามารถใช้งานได้อย่างดีเยี่ยม และเป็นที่นิยมในหมู่ช่างทุกช่าง

คีมตัดปากงอ (90 Degree Pliers)

      ลักษณะของปลายคีมจะเป็นรูปแบบหักงอลงเป็นมุม 90 องศาซึ่งมีคุณสมบัติในการตัดวัสดุในแนวตั้งซึ่งจะช่วยเพิ่มความง่ายในการตัดชิ้นงานที่มีความฟิกส์และสามารถเข้าไปตัดในพื้นที่ที่แคบและจำกัดได้ เหมาะกับงานตัดวัสดุอเนกประสงค์ทั่ว ๆ ไปทั้งนี้คีมชนิดนี้ยังสามารถแบ่ง type ได้เป็นอีกหลายแบบ เช่นแบบหนักและแบบเบาซึ่งใช้กับงานตัดพลาสติกและโลหะเป็นต้น

คีมตัดปากแหลม (Needle Nose Pliers)

      คีมตัดปากแหลมจะมีลักษณะที่มองออกได้ง่ายโดยจะมีส่วนปลายที่แหลมและมีความเรียวจะไปคล้ายกับคีมแบบปากแหลมที่เอาไว้ใช้จับชิ้นงานส่วนคีมตัดจะมีคมอยู่ออกแบบมาเพื่อทำการตัดวัสดุที่เข้าถึงได้ยากรวมถึงสามารถตัดแต่งตกแต่งชิ้นงานได้ด้วยเพราะความละเอียดที่สามารถเข้าถึงได้นีร้จึงเป็นอีกหนึ่งคีมอเนกประสงค์ที่ได้รับความนิยมในหมู่ช่างในปัจจุบัน

คีมตัดสายไฟ

คีมตัดสายไฟ

      คีมตัดสายไฟ เรียกอีกแบบคือ คีมปอกสายไฟหรือ (Wire stripper) เป็นอีกหนึ่งในอุปกรณ์เอนกประสงค์ของช่างที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้ในการตัด หรือปอกสายไฟในงานเชื่อมสายไฟขนาดและรูปแบบต่าง ๆ เป็นการปอกเอาฉนวนออกจากลวดทองแดงที่เป็นตัวนำกระแสภายใน และทำการตัดสายไฟได้ดีมีรอยตัดที่เรียบเพื่อง่ายต่อการเชื่อมต่อสายไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งในปัจจุบันนั้นคีมประเภทนี้เป็นอุปกรณ์พื้นฐานสำหรับงานติดตั้งและเดินสายไฟเลยก็ว่าได้ ซึ่งการเลือกซื้อนั้นก็ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของงานต่ออุปกรณ์ด้วยเพื่อที่จะสามารถใช้งานได้ตรงตามความต้องการและได้ประสิทธิภาพสูงสุด

ประเภทของคีมตัดสายไฟ - ปอกสายไฟ

      เรามาดูกันต่อว่าประเภทของคีมชนิดนี้ถูกแบ่งออกเป็นกี่รูปแบบ ในปัจจุบันช่างที่ทำงานเกี่ยวกับสายไฟจะใช้งานอยู่ 2 ประเภทคือ

คีมปอก/ตัดสายไฟแบบธรรมดา

      เป็นการใช้งานการตัดสายไฟหรือปอกสายไฟด้วยคีมด้วยการใช้แรงมือ ทำให้คุณสามารถทำการตัดสายไฟที่มีขนาดที่ไม่ใหญ่มากได้ง่ายและรวดเร็วเพียงแค่ใช้มือโดยจะแบ่งออกได้อีกตามขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของสายไฟที่ต้องการตัดหรือปอกเพื่อความเหมาะสมกับชิ้นงานนั้น ๆ อีกที่หนึ่ง คีมชนิดนี้เป็นเครื่องมือพื้นฐานสำหรับช่างที่ต้องทำงานเกี่ยวกับสายไฟฟ้าเพราะต้องตัดหรือเชื่อมต่อสายไฟจุดต่างๆอย่างสะดวกและรวดเร็ว

คีมปอก/ตัดสายไฟแบบอัตโนมัติ

      อีกหนึ่งรูปแบบของคีมตัดสายไฟที่ถูกออกแบบมาให้ง่ายต่อการปอกสายไฟแบบอัตโนมัติ หรือกึ่งอัตโนมัติ สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและสะดวกมากกว่าเดิมเพราะการทำงานที่เป็นอัตโนมัติทำให้การตัดสายหรือปอกสายทำได้แม่นยำและละเอียดมากยิ่งขึ้นอีกทั้งยังช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและประหยัดเวลาการทำงานอีกด้วยในปัจจุบันมีให้เลือกซื้อกันอย่างแพร่หลายและเป็นที่นิยมกันในหมู่ช่างไฟฟ้าทั้งเชี่ยวชาญและกลุ่มมือใหม่อีกด้วย

คีมตัดลวด

      ดังที่เราได้พบเห็นการใช้งานคีมในปัจจุบันการใช้งานการ คีมตัดลวด ก็เป็นอีกหนึ่งฟังก์ชั่นที่สำคัญไม่แพ้กันในงานช่างการใช้คีมตัดลวดแบ่งได้ตามลักษณะของประเภทลวดที่ต้องการจะตัดเช่น ลวดทองแดง ลวดเหล็ก ลวดสลิง หรือลวดสเตนเลส แต่ก็ขั้นอยู่กับความหนาของเส้นผ่าศูนย์กลางอีกทีนึงสาเหตุที่ต้องปรับไปตามลักษณะของลวดเพราะปัจจัยความแตกต่างของวัสดุที่ได้กล่าวมานี้ จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนวัสดุที่จะนำมาทำปากคีม เช่นวิธีการชุบแข็ง ไปจนถึงการออกแบบส่วนด้ามให้มีความแข็งแรงและยาวมากขึ้นเพื่อให้เกิดแรงบีบที่มากขึ้นตามไปด้วย

คีมตัดลวดแบ่งได้หลายประเภท

คีมตัดลวด

      ⚒ คีมตัดปากเฉียง : ปากคีมมีคมตัดทำมุม 45 องศาออกแบบมาเพื่อให้ใช้ตัดลวดได้อย่างง่ายดายและทำการตัดตามมุมซอกมุมการตัดทำให้เรียบเสมอกันได้ดี มักจะนิยมใช้ในงานช่างไฟฟ้า ช่างฝีมือในกลุ่มเครื่องประดับ และช่างอิเล็คทรอนิกส์ที่ใช้ในการตัดลวดในแผงวงจรได้ คีมชนิดนี้ไม่นิยมใช้กับการตัดวัสดุที่เป็น ลวดขนาดใหญ่ ลวดสลิง หรือลวดที่มีความแข็งแรงสูง 

      ⚒ คีมตัดปากนกแก้ว : ปากคีมมีคมตัดทำมุมถึง 90 องศากับส่วนด้ามจับมักนิยมใช้งานกับการผูกปมลวดเหล็กกับโครงสร้างต่าง ๆ  หรือการตัดลวดที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางหนาและยังสามารถใช้กับการตัดหัวตะปูได้ด้วย โดยพื้นฐานแล้วด้ามจับจะมีความยาวเพื่อช่วยเรื่องแรงบีบและบางชนิดสามารถใช้งานกับการตัดสายไฟได้ด้วย

      ⚒ คีมตัดข้าง : มีลักษณะคมตัดอยู่ในระนาบเดียวกันกับด้ามจับ มีลักษณะคล้ายกับกรรไกร แบ่งออกได้หลายแบบเช่น คีมปากจิ้งจก คีมปากแหลม เป็นต้นการออกแบบนี้ช่วยทำให้การใช้งานได้หลากหลายและอเนกประสงค์ สามารถใช้งานในการตัดแผ่นโลหะ หรือลวดแบนได้ และเข้าถึงงานที่ต้องการความละเอียดหรือเข้าถึงยากได้ในพื้นที่จำกัด จึงมักพบเห็นทั่วไปในตลาด

      ⚒ คีมตัดสลัก : มีปากเหมือนกับคีมตัดข้างมีจุดหมุนอยู่สองช่วงใกล้กับด้ามและจุดใกล้ฟันของคีมเป็นตัวช่วยเสริมแรงตัดให้ปากคีมในขณะที่ไม่ต้องออกแรงบีบมากเกินไปจึงเหมาะกับการฝช้งาน ตัดน๊อต ลวดแข็ง ตัดสลัก หรือหัวตะปู หรือลวดที่มีความแข็งไม่สามารถใช้คีมแบบธรรมดาตัดได้ ตัวคีมมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากอาจจะไม่เหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่ที่มีความจำกัด

การเลือกใช้งาน

      กาารจะเลือกซื้อคคีมตัดแบบต่าง ๆ จะต้องดูความกว้างของปากตัด เพราะขนาดของปากตัดจะบ่งบอกถึงความสามารถในการตัดวัสดุ ควรพิจรณาจากปากคีมและฟันคีมที่ต้องมีความแข็งแรงและความทนทานมากพอและเหมาะสมสอดคล้องกับวัสดุที่ต้องการตัด ด้านความแข็งแรงของฟันสามารถดูได้จากค่าที่ระบุมากับตัวคีมโดยค่าความแข็งยิ่งสูงก็สามารถตัดลวดที่มีความแข็งได้ดีมากขึ้น ส่วนด้านของความกว้างของปากคีมจะเป็นตัวบอกค่าคามสามารถของการตัดลวดที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากขึ้น

      ด้ามคีมถือว่าเป็นอีกหนึ่งข้อที่เราต้องควรเลือกซื้อให้ดีเพราะส่วนด้ามจะเป็นส่วนที่ทำให้เราใช้งานได้โดยง่ายและไม่ส่งผลต่ออาการบาดเจ็บในขณะการใช้งานคีมไม่ทำให้ปวดหรือเกิดอาการเกร็งมือและทำให้ใช้งานได้นานขึ้น นอกจากนี้ด้ามจับยังมีหน้าที่ช่วยเป็นฉนวนกันไฟฟ้าได้ดีอีกด้วยทำให้สามารถใช้ในงานอิเล็กทรอนิกส์หรืองานไฟฟ้าได้แต่การใช้งานในการผูกลวดนั้นการที่มีด้ามใหญ่เกินไปอาจจะกำให้เกิดเกะกะหรือเทอะทะได้จึงควรใช้ด้ามที่ยาวและเล็กกว่าเพื่อความสะดวกในการใช้งานและง่ายต่อการดูแลรักษา