หัวย้ำแบบไหนใช้ในงานอะไรบ้าง? ต้องใช้ คีมย้ำสาย คีมย้ำหางปลา แบบไหน?

Customers Also Purchased

      เราเคยพูดถึงหลายครั้งแล้วสำหรับ คีมย้ำสายไฟ คีมย้ำหางปลา คีมย้ำสาย แบบต่างๆ ตั้งแต่เรื่องพื้นฐานไปถึงรายละเอียดเจาะลึก รอบนี้เราจะพูดถึงให้ชัดเจนยิ่งขึ้นผ่าน หัวย้ำ หางปลา หรือ ขั้วต่อ หรืออะไรก็ตามที่ใช้ในการเชื่อมตัวนำเข้ากับเบ้ารับของวงจร มาดูกันว่าหัวย้ำแบบไหน ใช้ในงานอะไรบ้าง? จะใช่งานแบบเดียวกับที่คุณกำลังทำอยู่หรือเปล่า? แล้วคุณใช้คีมถูกหรือไม่? บทความนี้มีคำตอบมาเล่าให้ฟัง


ทำไมถึงต้องใช้หัวย้ำ?

      นานมาแล้วการเชื่อมต่อวงจรจะใช้ตัวนำต่อเข้ากับขั้วอีกวงจรโดยตรงเลย ซึ่งประสิทธิภาพวิธีนี้จะไม่ดีนัก นอกจากไม่สวยงาม ดูหลุดลุ่ยแล้วยังไม่แข็งแรงทนทาน ขาด หรือดึงให้หลุดได้ง่าย อีกทั้งกระแสยังไหลได้ไม่ดีเท่าที่ควรด้วย บางครั้งก็มีการไหม้หรือช็อตเกิดขึ้นจากสิ่งเจือปนในอากาศหรือความร้อนสูง

      ตัวนำในสายไฟที่เราเห็นเป็นเส้นทองแดงเล็กๆ รวมกันจำนวนมากนั้นมีผลต่อการไหลของประจุหรือกระแส ดังนั้น เส้นเล็กๆ น้อยๆ ที่รวมกันอยู่ในสายล้วนสำคัญมากๆ ถ้าหากเส้นเล็กๆ เหล่านี้ไม่ถูกสัมผัสเชิงกลไกกับขั้ววงจรทั้งหมด กระแสที่ไหลผ่านก็จะลดลง ตอนใส่ตัวนำเข้าไปในหัวย้ำจึงต้องใส่ให้ดี อย่าให้เส้นเล็กๆ เหล่านี้บานออกไม่เป็นทิศทางเดียวกัน 

      หัวย้ำนอกจากจะช่วยปกป้องวงจร ลดการระเบิด ไหม้ ช็อต หรือการออกซิเดชันแล้วยังช่วยให้งานเรียบร้อย ทนทาน กระแสไหลผ่านสะดวก ลื่นไหล มีประสิทธิภาพสูง


ประเภทหัวย้ำแบบต่างๆ


1. หัวย้ำเฟอร์รูลส์หรือคอร์ดเอนด์ (Insulated/Non-Insulated Ferrules)

      ใครหลายๆ คนมักจะหมุนตัวนำเป็นเกลียวก่อนใส่เข้าไปในหัวย้ำ เพื่อไม่ให้ปลายแตกหรือบานและใส่เข้าหัวย้ำยาก แต่ถ้าใช้หัวย้ำเฟอร์รูลส์ การหมุนเส้นทองแดงจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี เราสามารถปอกสายไฟแล้วใส่ตัวนำเข้าไปในหัวย้ำได้เลย จากนั้นก็ใช้ คีมย้ำ คีมจะบีบตัวนำให้อัดกันแน่นอยู่ภายในหัวย้ำ ทำให้ประสิทธิภาพการไหลของกระแสดีขึ้น และยังต่อกับขั้ววงจรอื่นได้อย่างอย่างมีประสิทธิภาพ

      หัวย้ำเฟอร์รูลใช้กับขั้วต่อวงจรแบบสกรูและสปริง เพราะมีขนาดเล็ก เรียว จึงนิยมใช้กับวงจรไฟฟ้าขนาดเล็ก สวิตช์ไฟ สวิตช์เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือการเดินสายไฟ

การใช้เฟอร์รูลส์

      เฟอร์รูลส์ย้ำได้หลายทรง ทั้งสี่เหลี่ยมด้านเท่า สี่เหลี่ยมคางหมู และหกเหลี่ยม เพื่อให้เข้ากับรูปทรงของขั้วต่อบนแผงวงจร นอกจากนี้ยังมีทั้งหุ้มและไม่ปลอก (ฉนวน) เฟอร์รูลส์แบบไม่หุ้มปลอกใช้เมื่อต้องการย้ำสายไฟหลายเส้นเข้าด้วยกันทีเดียวหรือในพื้นที่เล็กแคบ เช่น ปลั๊ก 13A และ RCBO ส่วนแบบหุ้มปลอกจะช่วยเรื่องการสอดตัวนำเข้าไปในหัวย้ำ และทำให้สายไฟเล็กๆ มองเห็นได้ง่ายขึ้น 

      นอกจากนี้เฟอร์รูลส์ยังมีแบบสายคู่ที่ช่วยในการแยกสายไฟด้วย เรียกว่า Twin wire ferrule นิยมใช้เพื่อเชื่อมสองตัวนำเข้ากับขั้วเดียวกัน หรือต่อกับแหล่งจ่ายไฟในสวิตช์ปุ่มกดแผงควบคุม มีให้เลือกทั้งแบบหุ้มและไม่หุ้มปลอกเช่นกัน

      ความยาวของเฟอร์รูลส์มีหลายขนาด แบบยาวจะช่วยให้เข้าถึงขั้ว PCB แบบฝังในตู้ไฟฟ้าที่อยู่ลึกเข้าไปมากกว่าขั้วแบบอื่นได้ดี

      สีปลอกของเฟอร์รูลส์ช่วยในการแยกการทำงานได้ แต่เนื่องจากมีหลายสีและรายละเอียดยิบย่อยมาก คนส่วนมากจึงอาจไม่เคยรู้ ทุกท่านสามารถเลื่อนดูด้านล่างเพื่อทำความเข้าใจและเรียนรู้ไว้ได้ โดยการใช้สีจะแบ่งเป็นระบบฝรั่งเศส (T) ระบบเยอรมัน (W) สามารถใช้ควบคู่ไปกับมาตรฐาน DIN ที่เป็นสากลได้

ระบบสีของเฟอร์รูลส์

      ★ คีมย้ำหัวเฟอร์รูลส์

      ➤ KNIPEX 97 53 09 SB 190 mm (สี่เหลี่ยม) สำหรับสายไฟขนาด 0.08 - 10 มม.²

      ➤ SATA 91102 GS (สี่เหลี่ยมคางหมู) สำหรับสายไฟขนาด 0.5 - 6 มม.²

      ➤ ASAKI AK9123 0.5 - 6 mm (สี่เหลี่ยมคางหมู) สำหรับสายไฟขนาด 0.5 - 6 มม.²

      ➤ ASAKI AK9124 BNC 1.7 - 6.5 mm (หกเหลี่ยม) สำหรับสายไฟขนาด 1.7 - 6.5 มม.²

      ➤ ASAKI AK0618 (YQ-300) (หกเหลี่ยม) คีมย้ำสายแบบไฮดรอลิคสำหรับสายไฟขนาด 16 - 300 มม.²

      ★ ดูคีมย้ำสายเพิ่มเติม click


2. หัวย้ำท่อกลมแบบห่วงและแบบแฉก (Insulated/Non-Insulated Ring and Fork Terminals)

      หัวย้ำท่อกลมแบบห่วง (Ring Terminals) และแบบแฉก (Fork Terminals) เป็นหัวย้ำที่เหมาะกับการต่อวงจรแบบติดตายโดยการขันสกรูทับ ทำให้มีความแข็งแรงมั่นคงเป็นอย่างมาก อายุการใช้งานยาวนาน เหมาะกับงานสมบุกสมบัน มีทั้งแบบหุ้มและไม่หุ้มปลอก หรือจะใช้งานร่วมกับท่อหดเพื่อป้องกันวงจรเกิดความร้อนสูงก็ได้ 

      หัวย้ำแบบห่วงมีความปลอดภัยสูงกว่า ไม่หลุดขณะเครื่องทำงานหรือมีการสั่นสะเทือนสูง นิยมเลือกใช้กันมากเพราะติดตั้งง่าย ย้ำง่าย ใช้สำหรับต่อสายไฟเข้ากับสตั๊ด บัสบาร์ หรือส่วนอื่นๆ ของระบบไฟฟ้าในเครื่องจักรหรือระบบที่ต้องรับแรงสั่นสะเทือนมากๆ เป็นประจำ

หัวย้ำท่อกลมแบบห่วงและแบบแฉก

      หัวย้ำแบบแฉกเป็นแบบที่ช่วยให้เราลดความยุ่งยากในการขันสกรูเข้าออก ถ้าเป็นแบบห่วงเวลาจะแก้ไขวงจรต้องขันสกรูออกจนสุด แต่แบบแฉกไม่ต้อง แค่สกรูหลวมเล็กน้อยก็สามารถดึงขั้วออกจากวงจรได้แล้ว แต่นอนว่ามันทำให้ความยึดแน่นทนทานมีน้อยกว่าแบบห่วง เวลาขันสกรูจึงควรขันให้แน่นหน่อย แต่ก็มีชนิดที่ให้การยึดแน่นมั่นคงด้วย โดยที่ปลายเล็กๆ สองข้างจะโค้งขึ้นเล็กน้อยเพื่อเกาะกับหัวสกรู

      วิธีการย้ำหัวชนิดท่อกลมแบบนี้ส่วนใหญ่จะย้ำแบบวงรี (Oval Crimp) หรือย้ำแบบแมนเดรล (Mandrel or Indent Crimp) แล้วเป่าลมร้อนบนปลอกหุ้ม (กรณีใช้แบบปลอกใส) เพื่อความมั่นคงแข็งแรง 

      ★ คีมย้ำท่อกลมแบบห่วง แบบแฉก

      ➤ FUJI ICE 5 in 1 (Oval Crimp and Mandrel or Indent Crimp) สำหรับสายไฟขนาด 10 - 22 AWG

      ➤ KNIPEX 97 32 240 SB (Oval Crimp and Mandrel or Indent Crimp) สำหรับสายไฟขนาด 1.5 - 6 มม.

      ➤ RENNSTEIG 619 1389 3 215 mm (Oval Crimp) สำหรับสายไฟขนาด 0.5 - 6 มม.²

      ★ ดูคีมย้ำสายเพิ่มเติม click


3. หัวย้ำชนิดเสียบแบบท่อ (Rolled and Stamped Contacts)

      ลักษณะจะเป็นท่อยาว ปลายแหลมหรือมน มีปีกยื่นออกสองข้างสำหรับยึดกับสายไฟ ทำจากโลหะผสม (ทองแดง นิกเกิล ดีบุก สังกะสี และอื่นๆ) จึงแข็งแรงและทนความร้อนสูง ใช้กับงานขนาดใหญ่ๆ ที่ต้องเชื่อมสายจำนวนมาก มีรูบนแผงเยอะๆ ไม่ว่าจะเป็น Positronic ATCA, Molex Backplane Connectors, ESTONE China Stamping, Military Industrial Connectors หรือ Allen Electric MilSpec Connectors เป็นต้น 

      จะใช้เพื่อเชื่อมตัวนำกับบอร์ด หรือบอร์ดกับบอร์ดก็ได้ รองรับการใช้งานหนัก (Heavy Duty) จึงถูกนำไปใช้ในงานอวกาศ งานขุดเจาะน้ำมันและแร่อุตสาหกรรม หรืองานอุตสาหกรรมทางการทหาร จึงมั่นใจเรื่องความทนทานและประสิทธิภาพในการรับส่งกระแสได้ดี ทั้งยังรับแรงไฟสูงๆ ได้ด้วย

      การย้ำจะใช้รูปแบบ B crimp หรือ W Crimp หรือ Indent Crimp แบบกดลงสองมุมข้าง และ O crimp สำหรับงานที่ต้องเพิ่มตัวยึดรอบสายไฟ 

หัวย้ำชนิดเสียบแบบท่อ

      ดูเรื่องรูปแบบการย้ำของคีมต่างๆ เพิ่มเติม --> รูปแบบการย้ำของ คีมย้ำสาย คีมย้ำหางปลา มาดูกันว่าแบบไหนเหมาะกับงานคุณ

      ★ คีมย้ำหัวชนิดเสียบแบบท่อ

      ➤ KNIPEX 97 21 215 B SB 200 mm (B Crimp) คีมย้ำอเนกประสงค์ สำหรับสายไฟ 0.5 - 2.5 มม.²

      ➤ ONISHI Crimping Pliers mini no.150 (B Crimp) สำหรับสายไฟ 0.3 - 0.75 มม.²

      ➤ ASAKI AK9112 Heavy Duty (W Crimp) สำหรับสายไฟขนาด 1.25 - 16 มม.²

      ➤ RENNSTEIG MC4 624 105-55 ชุดคีมย้ำ ปอก ตัดสายไฟ พร้อมหัวเปลี่ยน (B Crimp)

      ★ ดูคีมย้ำสายเพิ่มเติม click


4. หัวย้ำชนิดเสียบแบบแผ่น ไม่มีปลอกหุ้ม (Non-Insulated Tab Terminals or Non-Insulated Female Disconnect Terminals)

      ที่จะพูดถึงนี้ไม่ใช่แค่หางปลาแผ่นเรียบๆ แต่เป็นแบบที่ทั้งสองข้างถูกม้วนงอขึ้น ตรงฐานมีปีกยื่นออกสองข้างเพื่อยึดกับสายไฟ ทำจากวัสดุหลากหลายทั้งเงิน เหล็ก ทองแดง ทองเหลือง นิกเกิล ดีบุก ฯลฯ เป็นหัวย้ำที่ต้นทุนถูก นิยมใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า

      หัวย้ำชนิดนี้เป็นตัวเมีย ใช้กับงานที่มีโอกาสดึงและเสียบการเชื่อมต่อบ่อยๆ เป็นงานติดตั้งชั่วคราวหรือการใช้งานภาคสนาม ทำให้การเปลี่ยนย้ายตำแหน่งสายหรือแก้ไขวงจรเป็นไปได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น เป็นการเชื่อมต่อแบบขั้วกับขั้ว นิยมต่อกับปลอกหุ้มทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เรียกว่า TE Connectivity หรือ Terminal Housing ซึ่งช่วยเรื่องความปลอดภัย ไฟไม่ดูด สายไม่หลุด และสะดวกต่อการถอดขั้ว 

      หัวย้ำแบบไม่หุ้มปลอกทนแรงดันไฟได้ดีกว่าแบบหุ้ม แต่ถ้าไม่ได้ใช้งานร่วมกับ TE Connectivity ก็ไม่ควรใช้ในงานที่อาจมีการสัมผัสหรือเกิดการออกซิเดชันได้ง่าย 

หัวย้ำชนิดเสียบแบบแผ่น ไม่มีปลอกหุ้ม

      การย้ำหัวชนิดนี้จะใช้รูปแบบ B Crimp หรือ C Crimp เพื่อให้ปีกสองข้างของหางปลาจิกเข้าไปในเนื้อสายไฟและทำการยึดแน่น เวลาดึงหรือเปลี่ยนย้ายขั้ว สายไฟจะได้ไม่หลุดง่ายเกินไป

      ★ คีมย้ำหัวชนิดเสียบแบบแผ่น ไม่มีปลอกหุ้ม

      ➤ ASAKI AK9122 (AK-344) (B Crimp) สำหรับสายไฟขนาด 0.15 - 6 มม.²

      ➤ ONISHI Crimping Pliers mini no.150 (B Crimp) สำหรับสายไฟ 0.3 - 0.75 มม.²

      ➤ KNIPEX 97 21 215 B SB 200 mm (B Crimp) คีมย้ำอเนกประสงค์ สำหรับสายไฟ 0.5 - 2.5 มม.²

      ★ ดูคีมย้ำสายเพิ่มเติม click


5. หัวย้ำสายแลน สายโทรศัพท์ สายเคเบิ้ล (Shielded/Unshielded Modular-plug Connectors)

      หัวย้ำประเภทนี้น่าจะเป็นสิ่งที่ทุกคนคุ้นหูคุ้นหน้าคุ้นตากันอย่างยิ่ง แค่พูดชื่อออกมาก็นึกภาพออกแล้ว แน่นอนว่าหัวย้ำแบบนี้ใช้สำหรับต่อกับโทรศัพท์ ซีพียู คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เราเตอร์ไวไฟ เซิร์ฟเวอร์ โมเดม หรืออุปกรณ์โทรคมนาคมอื่นๆ มักเรียกกันว่าแจ็ค, RJ, ปลั๊ก ISDN หรือโมดูลาร์ (ทับศัพท์) มีแบ่งแยกลักษณะย่อยออกไปอีกตามขนาด เช่น 4P4C, 8P8C, 6P2C เป็นต้น

      โมดูลาร์จะมีสองแบบหลักๆ คือแบบที่มีปลอกหุ้มและไม่มีปลอกหุ้ม (Shielded/Unshielded) ซึ่งอันนี้ไม่ใช่ส่วนที่ซื้อแยกแล้วใส่เข้าไปทีหลังเพื่อป้องกันหรือเพื่อให้กดแท็บล็อค (Retaining Latch) แล้วดึงออกง่าย หรือเพื่อป้องกันไม่ให้แท็บล็อคเกี่ยวเข้ากับสายหรือขอบอื่นๆ ซึ่งอาจทำให้แท็บงอหรือหักมากเกินไป อันนั้นจะเรียกว่า Locking Plug Boot แต่ปลอกหุ้มนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของโมดูลาร์เลย โดยมันจะเป็นโลหะสีเงินและมีหางสำหรับยึดเกาะกับสายไฟด้วย

      แล้วต้องเลือกแบบที่มีหรือไม่มีปลอกหุ้มล่ะ?

      คำตอบคือให้ดูที่สายเคเบิ้ลว่าเป็นชนิดที่หุ้มฉนวนหรือไม่ ถ้าไม่หุ้มก็ใช้แบบที่เป็นสีใสธรรมดาได้เลย (ในรูปประกอบด้านขวา) แต่ถ้าสายเคเบิ้ลนั้นหุ้มฉนวนก็ใช้แบบที่หุ้มโลหะ (ในรูปประกอบด้านซ้าย) การสังเกตสายเคเบิ้ลที่หุ้มฉนวนนั้นง่ายมาก ถ้าปอกสายออกจะเห็นตาข่ายเส้นเชือกหุ้มสายต่างๆ ภายในอีกชั้นอยู่

 หัวย้ำสายแลน สายโทรศัพท์ สายเคเบิ้ล

      การย้ำหัวชนิดนี้จะมีคีมเฉพาะ เพราะรูปร่างพิเศษฉากแบบอื่น บ้างก็เรียกว่า คีมย้ำปลั๊กแบบตะวันตก โดยจะแบ่งตามขนาด ได้แก่ 4P, 6P และ 8P 

      เพราะหัวย้ำแบบนี้เป็นการต่อสายไฟหลายเส้นพร้อมกันในแนวขนาน ถ้ายังไม่ชำนาญควรมีเครื่องทดสอบการเชื่อมต่อไว้ เพื่อทดสอบว่าเราเชื่อมสำเร็จถูกต้อง ตัวเครื่องไม่แพง ราคาแค่ไม่กี่ร้อยบาทเท่านั้น    

      ★ คีมย้ำหัวสายแลน สายโทรศัพท์ สายเคเบิ้ล

      ➤ ASAKI AK9003 Professional 8” สำหรับหัวย้ำ 4P 6P และ 8P มาพร้อมที่ปอกและตัด

      ➤ KNIPEX 97 51 10 SB 190 mm สำหรับหัวย้ำ 6P และ 8P 

      ➤ ASAKI AK336 Professional 8” สำหรับหัวย้ำ 8P8C

      ➤ ASAKI AK9170 Cable Tester เครื่องทดสอบการเชื่อมต่อสายแลน RJ45 และ RJ11

      ★ ดูคีมย้ำสายเพิ่มเติม click


6. หัวย้ำโคแอกเชียล (COAX-plug Connectors)

      สายโคแอกเชียล คือ สายเคเบิ้ลชนิดหนึ่งที่มีชั้นตัวนำไฟฟ้าและฉนวนอยู่ตรงกลางของสายที่หนาหลายชั้นเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้าต่อการนำส่งสัญญาณ ใช้ในการต่อทีวี เสาอากาศ เสาโทรศัพท์ หรือเสาคลื่นไมโครเวฟ

      หัวย้ำโคแอกเชียลจะมีลักษณะทรงกลม ตรงกลางมีก้านเล็กๆ ของตัวนำ หัวย้ำมีแบบตัวผู้และตัวเมีย และมีหลายประเภทมากๆ ไม่ว่าจะเป็น BNC, TNC, SMB, RCA, MCX, QMA หรือ 7/16 DIN เป็นต้น ที่ทุกคนคุ้นตากันดีก็คือหัวแบบ RCA (Radio Corporation of America) เพราะมันคือสาย A/V สีแดง ขาว เหลือง ที่เสียบด้านหลังของทีวีนั่นเอง

      การย้ำหัวโคแอกเชียลสามารถใช้คีมเฉพาะอย่างคีม CATV หรือจะใช้คีมหกเหลี่ยมย้ำตรงขั้วตัวเมียก็ได้ เช่นหัวย้ำ MCX, SMB หรือ 7/6 DIN Connector

หัวย้ำโคแอกเชียล

      ★ คีมย้ำหัวโคแอกเชียล

      ➤ ASAKI AK9124 BNC 1.7 - 6.5 mm (หกเหลี่ยม) สำหรับสายไฟขนาด 1.7 - 6.5 มม.²

      ➤ ASAKI AK0618 (YQ-300) (หกเหลี่ยม) คีมย้ำสายแบบไฮดรอลิคสำหรับสายไฟขนาด 16 - 300 มม.²

      ★ ดูคีมย้ำสายเพิ่มเติม click


7. หัวย้ำสายไฟแผงโซลาเซลล์ (Solar or MC4 Connectors)

      ตามชื่อเลยว่าหัวย้ำนี้ใช้ในการต่อสายไฟของแผงโซลาเซลล์ มีคุณสมบัติทนความร้อนและรังสียูวี ทำจากฉนวนป้องกันไฟฟ้ารั่วไหลได้ เช่น พลาสติกหรือ PVC มีทั้งตัวผู้และตัวเมีย สามารถเชื่อมต่อได้เองโดยใช้เครื่องมือไม่มาก

      ในการย้ำจะใช้คีมที่เป็นรูปแบบ B Crimp ชิ้นส่วนของ Connector มีหลายชั้น แต่ที่ต้องทำการย้ำคือส่วนที่เป็นโลหะท่อกลมเรียวเล็กชั้นในสุด เป็นส่วนที่ทำหน้าที่เชื่อมตัวนำ ส่วนชั้นอื่นๆ จะเป็นชั้นการป้องกัน เพราะแผงโซลาเซลล์ต้องวางไว้กลางแจ้ง Connector จึงต้องกันได้ทั้งแดดและฝน 

หัวย้ำสายไฟแผงโซลาเซลล์

      ★ คีมย้ำหัวสายไฟแผงโซลาเซลล์

      ➤ KNIPEX 97 21 215 B SB 200 mm (B Crimp) คีมย้ำอเนกประสงค์ สำหรับสายไฟ 0.5 - 2.5 มม.²

      ➤ ONISHI Crimping Pliers mini no.150 (B Crimp) สำหรับสายไฟ 0.3 - 0.75 มม.²

      ➤ ASAKI AK9112 Heavy Duty (W Crimp) สำหรับสายไฟขนาด 1.25 - 16 มม.²

      ➤ RENNSTEIG MC4 624 105-55 ชุดคีมย้ำ ปอก ตัดสายไฟ พร้อมหัวเปลี่ยน (B Crimp)

      ★ ดูคีมย้ำสายเพิ่มเติม click


8. หัวย้ำสายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Connectors)

      ใยแก้วนำแสงคือเส้นใยแก้วหรือพลาสติกคุณภาพสูงที่มีความยืดหยุ่นดี โค้งงอได้ มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 8-10 ไมครอนเท่านั้น ทำหน้าที่ส่งแสงจากปลายด้านหนึ่งไปยังปลายอีกด้านด้วยความเร็วสูงจนเกือบเท่ากับความเร็วแสง ใช้ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ช่วยให้การรับส่งข้อมูลรวดเร็วและยังส่งได้ครั้งละมากกว่าสายเคเบิ้ลทองแดง เราจะเห็นว่ามีการต่อใยแก้วนำแสงกับเครื่องรับข้อมูลต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ แฟ็กซ์ โทรศัพท์ กล้องวงจรปิด เป็นต้น

      การส่งข้อมูลผ่านใยแก้วนำแสงจะไม่ถูกสัญญาณรบกวน ไม่นำไฟฟ้า จึงไม่โดนไฟฟ้าดูดทำให้ข้อมูลเสียหาย แต่ราคาก็จะสูงกว่าและทนทานน้อยกว่าสายทองแดง การซ่อมแซมยังซับซ้อน ต้องใช้ความระมัดระวังสูงมากด้วย เพราะปอกสายแล้วแทบจะมองไม่เห็นเส้นใยภายในเลย 

      หัวย้ำของสายใยแก้วนำแสงมีหลายชนิด ทั้งทรงกลมและสี่เหลี่ยม ไม่ว่าจะเป็น LC, SC, ST, FC หรือ MPO/MTP เป็นต้น

หัวย้ำสายใยแก้วนำแสง

      การย้ำสายใยแก้วนำแสงนั้นจะทำโดยผู้เชี่ยวชาญ เพราะหนึ่งเส้นมีความเล็กและบางมากกว่าเส้นผม มองเห็นยากและต้องใช้ความระมัดระวังสูง มีเครื่องมือเฉพาะ หลังจากทำการตัดต่อเข้ากับ Connector แล้วต้องมีการทดสอบด้วยว่ามันทำงานได้ มันไม่ได้ถูกตัดจนสั้นหรือยาวเกินไป สำหรับการต่อ 1 เส้นของใยแก้วนำแสงกับ 1 Connector สามารถใช้ คีมย้ำ รูปแบบ O Crimp ตัวเล็กได้ แต่ทางที่ดีก็ใช้คีมเฉพาะดีกว่า งานจะได้ไม่ผิดพลาด

      ★ คีมสำหรับใยแก้วนำแสง

      ➤ RENNSTEIG 8002 0004 3 MOST Safety Cutting คีมปอกสายใยแก้วนำแสง

      ★ ดูคีมย้ำสายเพิ่มเติม click 


ดูเรื่อง คีมย้ำหางปลา คีมย้ำสายไฟ และคีมย้ำอื่นๆ เพิ่มเติม -->>> click

      -->>> รูปแบบการย้ำของ คีมย้ำสาย คีมย้ำหางปลา มาดูกันว่าแบบไหนเหมาะกับงานคุณ

      -->>> คีมย้ำสาย คีมย้ำหางปลา คืออะไร มีกี่ประเภทข้อดี - ข้อสังเกต

      -->>> ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ คีมย้ำหางปลา

      -->>> ข้อควรระวัง! เกี่ยวกับ คีมย้ำหางปลา รู้ไว้ใช่ว่า