รู้จักประเภท ลิฟท์ยกรถ และการใช้งานที่เหมาะกับรถแบบต่างๆ

Customers Also Purchased

      ปัจจุบัน ลิฟท์ยกรถ click มีหลายรูปแบบมาก ทั้งแบบอัตโนมัติทันสมัย แบบกึ่งอัตโนมัติ และแบบเก่า เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานที่หลากหลาย 

      บทความจะพามารู้จัก ->> ลิฟท์ยกรถ <<- อัตโนมัติประเภทต่างๆ ข้อดีข้อเสีย และการใช้งาน เผื่อใครที่กำลังมองหา ลิฟท์ยกรถ อยู่ จะได้รับความรู้เพิ่มเติมและตัดสินใจเลือกได้ง่ายขึ้น


ลิฟท์ยกรถ คืออะไร?

      ลิฟท์ยกรถ หรือบางคนจะเรียกว่า ลิฟท์ยกรถยนต์ เนื่องจากจะเห็นใช้เพื่อยกรถยนต์เป็นส่วนมาก แต่จริงๆ แล้วมันใช้ยกรถได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับประเภทและคุณสมบัติของ ลิฟท์ยกรถ นั้นๆ มีขึ้นเพื่อให้การทำงานใต้ท้องรถสะดวกและปลอดภัยมากขึ้น ลดเวลาการทำงานเนื่องจากไม่ต้องมาคอยยกรถทีละล้อทีละข้าง


ประเภทของ ลิฟท์ยกรถ

1. ลิฟท์ยกรถ 2 เสา 

      เป็นแบบที่นิยมมากที่สุด ใช้ได้ทั้งในโรงรถและกิจการซ่อมบำรุงยานยนต์ ประกอบด้วยเสา 2 ข้าง คานบนหรือคานล่าง และแขนที่ยื่นออกมารองใต้ท้องรถเพื่อยกขึ้น 4 แขน เป็นประเภทที่ประหยัดพื้นที่มากที่สุด แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ แบบสมมาตร และอสมมาตร

ลิฟท์ยกรถ

      ▲ ลิฟท์ยกรถ 2 เสา แบบสมมาตร

      เมื่อยกรถขึ้น รถจะอยู่ตรงกลางระหว่างเสาทั้ง 2 พอดี ทำให้ยกได้สมมาตร ไม่เอียง ไม่หนักไปทางฝั่งใดฝั่งหนึ่ง แต่ข้อเสียคือจะไม่สามารถเปิดประตูรถได้ หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือต้องการเข้าไปทำงานในพื้นที่โดยสารด้วย

      ▲ ลิฟท์ยกรถ 2 เสา แบบอสมมาตร 

      เป็นแบบที่แก้ไขข้อบกพร่องของแบบสมมาตร แขนยกสามารถปรับองศาการรองรับใต้ท้องรถได้ ทำให้เปิดประตูรถได้ขณะอยู่บนลิฟท์ยก     

ลิฟท์ยกรถ

✭ ข้อดีข้อเสียของ ลิฟท์ยกรถ 2 เสา

      △ สามารถยกรถได้เกือบทุกชนิด ทั้งรุ่นใหม่และรุ่นเก่า

      △ มีพื้นที่มากพอให้ทำงานใต้ท้องรถได้อย่างสะดวก

      ▽ ต้องการหลังคาอาคารที่สูงพอ (อย่างน้อย 3 เมตร) เพื่อให้รองรับความสูงมากกว่า 2 เมตรที่ ลิฟท์ยกรถ ประเภทนี้สามารถทำได้

      ▽ อาจต้องทำคอนกรีตใหม่ หากสถานที่ลงเสารับน้ำหนักได้น้อยกว่า 3,000Psi และหนาไม่ถึว 4-6 นิ้ว

      ▽ ต้องตรวจสอบเครื่อง และเปลี่ยนลูกกลิ้งกับลวดสลิงทุก 2-3 ปี

      ▽ ถ้าเป็น ลิฟท์ยกรถ อสมมาตร ต้องระวังเรื่องความปลอดภัยขณะใช้งานมากกว่าเครื่องแบบสมมาตร เพราะอาจทำให้รถหล่นลงมาขณะยกได้


2. ลิฟท์ยกรถ 4 เสา

      ออกแบบมาให้รับน้ำหนักได้มากกว่า ลิฟท์ยกรถ 2 เสา เนื่องจากโครงสร้างที่มั่นคง รับน้ำหนักได้จากมุมทั้ง 4 ส่วนใหญ่จะใช้ในการยกรถบรรทุกหรือรถหรูที่ต้องระมัดระวังในการซ่อมบำรุงเป็นพิเศษ ซ่อมแซมระบบท่อไอเสียและเกียร์ได้สะดวกกว่า ลิฟท์ยกรถ แบบ 2 เสา

ลิฟท์ยกรถ

✭ ข้อดีข้อเสียของ ลิฟท์ยกรถ 4 เสา

      △ หากตั้งไว้ในโรงรถ สามารถเก็บรถได้ 2 คัน บนและล่าง ทำให้เก็บรถได้มากขึ้นในพื้นที่เท่าเดิม

      △ เหมาะกับใช้ในเชิงธุรกิจ เนื่องจากช่างสามารถเข้าถึงทุกส่วนของรถยนต์ได้ขณะยกลิฟท์

      △ รับน้ำหนักได้ 4 มุม ความเสี่ยงที่รถจะพลิกคว่ำตอนใช้งานต่ำกว่าแบบ 2 เสา

      △ รับน้ำหนักได้มากกว่า ลิฟท์ยกรถ 2 เสา จึงสามารถยกรถบรรทุกได้

      △ ถึงท้องรถจะต่ำแค่ไหนก็ยังยกได้ จึงยกพวกรถหรู รถสปอร์ตที่ท้องรถต่ำมากๆ ได้สบายๆ

      ▽ เสาสูงและติดตั้งยากในโรงรถหรืออาคารทั่วไป หลังคาต้องสูงมากกว่า 3 เมตรขึ้นไป

      ▽ ราคาแพงกว่าแบบ 2 เสา

      ▽ เนื่องจากมีเสา 4 มุม การทำงานกับล้อจึงยากลำบาก จึงเหมาะจะใช้กับงานซ่อมบำรุงส่วนอื่นๆ มากกว่า


3. ลิฟท์ยกรถ ฝังพื้น

      เป็นแบบที่ฝังเข้าไปในพื้นเลย มีทั้งแบบเสาและแบบกรรไกร ช่วยให้ในพื้นที่ทำงานเรียบร้อย สะอาดตา ตำแหน่งที่ฝังสามารถปรับเข้ากับความกว้างและลักษณะของล้อรถได้อย่างอิสระ เพราะไม่มีคานเป็นตัวบังคับ สามารถยกน้ำหนักได้มาก 30 - 120 ตัน จึงไม่เป็นปัญหาสำหรับการยกรถใหญ่ๆ อย่างรถบรรทุกหนักหรือรถพ่วง แต่พื้นจุดที่จะฝังก็ต้องคิดให้เข้ากันกับน้ำหนักที่จะยกได้ด้วย ลิฟท์ยกรถ มีให้เลือกหลากหลาย โดยจะยกตัวอย่าง ดังนี้

ลิฟท์ยกรถ

      ▲ ลิฟท์ยกรถ ฝังพื้น 2 แรม

      รับน้ำหนักได้ 30 ตัน ใช้เพื่อยกรถบัส รถบรรทุก รถหัวลาก 3 เพลาหลัง แท่นยกมีส่วนที่ปรับเคลื่อนได้ตรงด้านหลัง ทำให้เข้ากับตำแหน่งล้อของรถแบบต่างๆ ได้

      ▲ ลิฟท์ยกรถ ฝังพื้น 3 แรม

      รับน้ำหนักได้ถึง 45 ตัน ยกรถได้หลายประเภท แม้กระทั่งรถพ่วง กลางแรมปรับเคลื่อนได้ ทำให้แท่นยกขยับได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

      ▲ ลิฟท์ยกรถ ฝังพื้น 4 แรม

      รับน้ำหนักได้ถึง 60 ตัน เหมาะกับอู่ซ่อมรถขนาดใหญ่ เพราะรองรับการใช้งานในปริมาณมากๆ ต่อวันได้ มีชุดคอนโทรลจากระยะไกล และควบคุมลิฟท์ได้หลายตัว สามารถซ่อมรถได้หลายคันพร้อมกัน

      ▲ ลิฟท์ยกรถ ฝังพื้น 5-8 แรม

      รับน้ำหนักได้สูงสุดถึง 120 ตัน สามารถควบคุมจากระยะไกล และทำงานกับรถพร้อมกันได้มากกว่า 3 คัน

✭ ข้อดีข้อเสียของ ลิฟท์ยกรถ ฝังพื้น

      △ ราคาถูก คุณภาพเฉพาะตัว ใช้งานได้ยาวนานกว่า ลิฟท์ยกรถ ประเภทอื่นๆ 

      △ บำรุงรักษาง่าย ชิ้นส่วนซับซ้อนน้อยกว่า ลิฟท์ยกรถ แบบอื่นๆ

      △ เข้าถึงท้องรถได้ทุกส่วน

      △ ทำงานกับรถพร้อมกันหลายคันได้

      △ ควบคุมการทำงานได้จากระยะไกล

      △ เซฟพื้นที่ได้มากกว่า ลิฟท์ยกรถ แบบอื่น เพราะไม่มีเสาเกะกะ

      ▽ ขั้นตอนการติดตั้งซับซ้อนกว่าประเภทอื่น เนื่องจากต้องฝังเข้าไปในพื้น 

      ▽ เคลื่อนย้ายจุดที่ฝังลิฟท์ได้ยาก เพราะต้องทำพื้นให้รองรับการติดตั้งลิฟท์ประเภทนี้โดยเฉพาะ

      ▽ ตัวเครื่องราคาถูก แต่การติดตั้งราคาแพงกว่าลิฟท์แบบอื่นๆ


4. ลิฟท์ยกรถ วางพื้น

      เป็นลิฟท์แบบวางพื้น จึงเคลื่อนย้ายง่าย ไม่ต้องติดตั้งให้ยุ่งยาก แต่เพราะเหมาะกับการใช้งานเป็นครั้งคราว และเครื่องใช้งานแบบคันโยก น้ำหนักที่รับได้จึงไม่มากเท่า ลิฟท์ยกรถ แบบอื่นๆ แถมยังต้องระวังเรื่องพื้นที่วางให้ดี หลีกเลี่ยงพื้นลักษณะมันลื่น ลาดเอียง

      ลิฟท์ยกรถ วางพื้น ก็ยังแบ่งเป็นอีกหลายประเภท แต่ทั้งหมดจะทำงานด้วยระบบไฮดรอลิคเท่านั้น ไม่มีมอเตอร์เหมือน ลิฟท์ยกรถ แบบอื่นๆ ถึงแม้จะยกหนักๆ ไม่เท่าลิฟท์ระบบไฟฟ้าและการใช้งานไม่สะดวกเท่า แต่ก็ยังมีกำลังยกที่สูงมาก มีล้อที่ช่วยในการเคลื่อนย้าย และบางรุ่นยังมีฐานกว้าง รองรับรถได้ทั้งคัน

ลิฟท์ยกรถ

✭ ข้อดีข้อเสียของ ลิฟท์ยกรถ วางพื้น

      △ ใช้งานได้รวดเร็ว เคลื่อนย้ายไปที่ไหนก็ได้ที่ต้องการ

      △ ใช้กับอาคารที่หลังคาต่ำได้สบายๆ

      △ ราคาถูกกว่าประเภทอื่นๆ และไม่ต้องเสียค่าติดตั้ง

      ▽ ไม่ทันสมัย ยกน้ำหนักหลายๆ ตันได้ลำบาก

      ▽ ต้องระมัดระวังเวลาใช้งานเป็นพิเศษ

      ▽ มีความสูงที่ยกได้ไม่มากนัก ทำให้เข้าถึงการทำงานใต้ท้องรถบางอย่างไม่ได้

      ▽ ต้องจัดสมดุลน้ำหนักขณะยกให้ดี ไม่อย่างนั้นเครื่องจะสั่นหรือส่าย

      ▽ ระบบไฮดรอลิคราคาถูกและอายุการใช้งานน้อย ต้องเปลี่ยนบ่อยทุก 6 - 12 เดือน


ดูเรื่อง ->> ลิฟท์ยกรถ <<- เพิ่มเติม click 

      >>> ลิฟท์ยกรถ 2 เสา คานบน คานล่าง ดียังไง? เหมาะกับอู่แบบไหน?

      >>> ปัจจัย และสิ่งสำคัญในการเลือก ลิฟท์ยกรถ มีอะไรบ้าง?