Customers Also Purchased
เคยไหมครับ? เดินเข้าร้านเครื่องมือช่างทีไรพอถึงโซน เลื่อยมือ แล้วต้องหยุดมองนานเป็นพิเศษ เพราะมีทั้งเลื่อยหลักร้อยต้นๆ ไปจนถึงตัวที่ราคาทะลุพันเลยก็มี แถมหน้าตามันก็คล้ายๆกันจนอดคิดไม่ได้ว่า “มันต่างกันตรงไหน!?” หากใครเคยเจอเหตุการแบบนี้ ในบทความนี้แหละครับจะมาไขข้อข้องใจว่า เลื่อยมือ บางรุ่นทำไมถึงแพง ใช้เหล็กคนละแบบจริงไหม? หรือมีอะไรลึกกว่านั้นอีกที่คุณอาจไม่เคยรู้ เพื่อไม่ให้เสียเวลา ไปอ่านบทความนี้พร้อมกับผมได้เลย
เลื่อยมือ คืออะไร? แล้วทำไมหน้าตามันถึงคล้ายกันหมด?
ก่อนจะไปถึงเรื่องราคา ผมว่าเรามาย้อนทำความเข้าใจกันสักนิดดีกว่าครับว่าเจ้า เลื่อยมือ ที่เราเห็นกันบ่อยๆ เนี่ย จริง ๆ แล้วมันคืออะไร? และมันมีอะไรแอบซ่อนอยู่มากกว่าที่เราคิดรึเปล่า?
เครื่องมือตัดที่เก่าแก่แต่ยังเจ๋ง เลื่อยมือ คือเครื่องมือตัดที่เรียบง่ายแต่โคตรสารพัดประโยชน์ครับ ใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียบปลั๊ก ไม่ต้องง้อแบตเตอรี่ แค่ใช้แรงแขนของเราเองล้วนๆ! ส่วนใหญ่ก็ไว้ตัดไม้ แต่จริงๆ เลื่อยมือ บางประเภทก็เอาไปตัดพลาสติก หรือวัสดุอื่นได้เหมือนกันนะครับ
ถ้าใครชอบทำงานไม้ น่าจะคุ้นกับชื่ออย่างเลื่อยฟันถี่ ฟันห่าง เลื่อยดึง เลื่อยดัน เลื่อยญี่ปุ่น หรือเลื่อยยุโรปแน่ ๆ ซึ่งแต่ละแบบก็มีคาแรกเตอร์ต่างกันไป บางอันเหมาะกับงานละเอียด บางอันเหมาะกับเลื่อยเร็ว ๆ หยาบ ๆ คือมันไม่ได้แค่ต่างหน้าตา แต่ต่างทั้งสไตล์การใช้งานเลยครับ
รูปทรงที่ไม่ค่อยเปลี่ยน
ถ้าคุณลองเดินเลือก เลื่อยมือ ดูแบบตั้งใจๆ หน่อย จะเห็นว่า เลื่อยมือ หลายรุ่นไม่ว่าจะถูกหรือแพง หน้าตามันแทบจะแฝดกันเลยครับ โดยเฉพาะพวกเลื่อยทรงคลาสสิกที่เป็นใบตรงๆ มีด้ามไม้หรือพลาสติก นี่คือดูเผินๆ แล้วแทบแยกไม่ออกว่าอันไหนถูก อันไหนแพง ซึ่งไม่แปลกเลยครับที่หลายคนจะคิดว่า “ก็ของมันเหมือนกัน ทำไมราคามันต่างกันล่ะ?”
แต่บอกเลยครับว่า...ในความคล้ายเหล่านี้ มันมีความต่างแบบซ่อนอยู่เพียบเลย! เดี๋ยวผมจะพาไล่ดูไปทีละจุดว่าจริง ๆ แล้วความแพงนั้นมันซ่อนอยู่ตรงไหนบ้าง
แล้วอะไรล่ะที่ทำให้ เลื่อยมือ ราคาสูง?
วัสดุของใบเลื่อย
- เหล็กกล้าคาร์บอนธรรมดา เจ้าตัวนี้เป็นพระเอกของเลื่อยรุ่นราคาประหยัดเลยครับ เจอบ่อยใน เลื่อยมือ ทั่วๆ ไป เหล็กชนิดนี้ลับง่าย ใครมีตะไบสามเหลี่ยมติดบ้านก็เอาอยู่แน่นอน แต่ข้อเสียคือมันสึกง่ายมากครับ ใช้ไปไม่กี่รอบก็เริ่มทื่อ ต้องลับบ่อย ๆ หรือไม่ก็เปลี่ยนใหม่เร็วหน่อย ถ้าเน้นใช้งานเป็นครั้งคราวหรืองาน DIY เบา ๆ ก็ถือว่าโอเคครับ แต่ถ้าใช้ทุกวันอาจไม่ค่อยคุ้มเท่าไหร่
- เหล็กกล้าผสม (Alloy Steel) ตัวนี้ถือว่าอัปเกรดขึ้นมาจากเหล็กธรรมดาเลยครับ เพราะมีการผสมโลหะอื่นเข้าไปทำให้เหล็กเหนียวกว่า ทนแรงบิดได้ดีขึ้น แถมยังตัดไม้แข็ง ๆ ได้สบาย ไม่ต้องกลัวว่าฟันจะบิ่นง่าย ๆ เหมาะกับคนที่ใช้งานบ่อยขึ้น หรือต้องเจอกับไม้ดื้อ ๆ บ้างเป็นครั้งคราว
- เหล็กที่ผ่านการชุบแข็งเฉพาะฟัน (Induction Hardened) เจ้าเหล็กชุบแข็งแบบเฉพาะฟันนี่แหละครับ จุดเด่นคือมันคมมาก และอยู่ได้นานสุด ๆ เหมาะกับคนที่อยากได้ฟันเลื่อยคม ๆ ใช้งานยาว ๆ แบบไม่ต้องมานั่งลับบ่อยให้เมื่อยมือ แต่ข้อเสียคือ...ลับไม่ได้นะครับ! ถ้าใช้ไปจนทื่อแล้วก็คือจบ ต้องเปลี่ยนใหม่อย่างเดียว ใครที่เน้นความสะดวก ไม่อยากดูแลเยอะ เลือกแบบนี้ก็ถือว่าเวิร์คเลย
- เหล็กสปริง (Spring Steel) เหล็กชนิดนี้เราจะเจอในเลื่อยระดับพรีเมียมครับ โดยเฉพาะพวกเลื่อยญี่ปุ่นรุ่นดี ๆ ที่จับแล้วรู้สึกได้เลยว่าแน่น แม่น นิ่ง เพราะมันให้ความยืดหยุ่นดีมาก เลื่อยแล้วใบไม่บิดง่าย ทำให้ควบคุมทิศทางได้แม่นยำขึ้น แถมยังรู้สึกเบา มือนิ่ง ไม่สะท้านแรงเวลาตัด ใครที่เน้นงานไม้ละเอียด หรือต้องการรอยตัดที่เป๊ะ ๆ เหล็กสปริงนี่แหละครับคือของจริง!
การชุบแข็งแบบเฉพาะจุด
การชุบแข็งฟันเลื่อยด้วยเทคโนโลยี Induction hardening ถือว่าเป็นของเด็ดที่ใส่เข้าไปในเลื่อยตัวเทพเลยครับ เทคนิคนี้จะทำให้ฟันเลื่อยแข็งเป็นพิเศษ ทนการใช้งานหนัก ๆ ได้แบบไม่สะทกสะท้าน แถมพอเปิดกล่องปุ๊บ ใช้ได้ปั๊บแบบคมกริบตั้งแต่ครั้งแรก ไม่ต้องลับให้เสียเวลาเลย ซึ่งก็แน่นอนครับว่าเทคโนโลยีแบบนี้ไม่ได้มาฟรี ๆ ต้นทุนมันสูง เลยเป็นหนึ่งในเหตุผลที่เลื่อยพวกนี้ราคาจะขยับขึ้นมาหน่อย แต่บอกเลยว่าคุ้ม!
ความละเอียดในการผลิตฟันเลื่อย
เลื่อยมือ คุณภาพสูงนี่ไม่ใช่แค่เอาฟันไปตัด ๆ แล้วจบนะครับ เค้าใส่ใจกันตั้งแต่ขั้นตอนเจียรฟันเลย บางรุ่นใช้เครื่องจักรเทคโนโลยีสูง บางรุ่นถึงกับเจียรด้วยมือช่างฝีมือเลยทีเดียว ทำให้ฟันเลื่อยเรียงตัวกันเป๊ะ กัดไม้ได้เสถียร และรอยตัดก็ออกมาเนียนกริบแบบไม่ต้องขัดซ้ำ ต่างจากเลื่อยราคาประหยัดที่มักเจอปัญหาฟันไม่เท่ากันบ้าง คมไม่เสมอบ้าง เลื่อยไปก็ฝืดบ้าง เบี้ยวบ้าง จนบางทีก็ทำเอาเหนื่อยแทนครับ
ความหนา และองศาของใบเลื่อย
เลื่อยมือ ราคาสูงมักจะมีใบที่บางกว่าแต่กลับแข็งแรงกว่าครับ ฟังดูเหมือนขัดกันใช่ไหม? แต่จริง ๆ แล้วมันทำให้เลื่อยตัดไม้ได้เรียบ ลื่น และแม่นยำกว่ามาก ยิ่งใบบางก็ยิ่งกินเนื้อไม้น้อย ตัดแล้วรอยสวย ไม่ต้องขัดซ้ำ แถมยังคุมองศาของฟันแต่ละซี่มาอย่างดี ไม่กัดไม้แรงไปหรือตื้นเกินไปจนเสียจังหวะตัด ใครเคยใช้เลื่อยดี ๆ จะรู้เลยครับว่าฟีลตอนเลื่อยนี่มันต่างจริง ๆ
การออกแบบด้ามจับ
อย่ามองข้ามด้ามจับเด็ดขาดครับ! เพราะต่อให้ใบเลื่อยดีแค่ไหน แต่ถ้าด้ามจับไม่เข้ามือ เลื่อยไปสักพักก็เมื่อยจนต้องวางอยู่ดี เลื่อยดีๆ เค้าจะออกแบบด้ามให้เข้ามือแบบพอดีเป๊ะ จับแล้วแน่น กระชับ ไม่ลื่นมือ วัสดุก็มีทั้งไม้เนื้อแข็งที่จับแล้วรู้สึกคลาสสิก หรือพลาสติกพรีเมียมที่กันลื่นและไม่เจ็บมือแม้ใช้นานๆ ต่างจากเลื่อยราคาถูกที่พอใช้ไปนานๆ แล้วเริ่มรู้สึกว่า...โอ๊ย มือพองเลยครับท่านผู้ชม!
แบรนด์และมาตรฐานการผลิตของ เลื่อยมือ
แบรนด์ที่ผลิต เลื่อยมือ คุณภาพสูงจะใส่ใจในทุกขั้นตอนการผลิต ตั้งแต่เลือกวัสดุ ควบคุมคุณภาพ จนถึงการบรรจุและรับประกัน ซึ่งแน่นอนว่าก็มีต้นทุนสูงขึ้นตามไปด้วย เช่น ZET-SAW เลื่อยมือคุณภาพจากญี่ปุ่น ที่ถึงแม้จะมีราคาสูง แต่คุณภาพก็แทบไม่ต้องลุ้นเลยครับ
แล้ว เลื่อยมือ ราคาสูงใช้ดีกว่าเสมอไหม?
คำถามนี้ตอบได้ว่า “ไม่เสมอไปครับ” แต่…เลื่อยมือที่ราคาสูงมักจะดีกว่าในแง่ขอ ตัดได้ตรงเป๊ะ ไม่เฉไปซ้ายหรือขวาแบบเลื่อยถูกๆ ใช้งานได้นานแบบไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย ใช้ทีคุ้มยาวๆ ฟันเลื่อยคมลื่น ตัดไม้แล้วรู้สึกเข้าไม่ต้องออกแรงเยอะ ด้ามจับออกแบบดี เลื่อยนานแค่ไหนก็ไม่เมื่อย ไม่พองมือ
ในทางกลับกัน เลื่อยมือ ที่ราคาถูกก็มีข้อดีอยู่ ราคาเบา ๆ เข้าถึงง่าย เหมาะกับคนที่เพิ่งเริ่มต้นใช้งานหรือไม่อยากลงทุนเยอะ ใช้กับงานที่ไม่ได้ซีเรียสมาก เช่น ตัดไม้โครง หรืองานหยาบ ๆ ชั่วคราว ที่ไม่ต้องเป๊ะมาก ถ้าเผลอทำหายหรือพังขึ้นมาก็ไม่ต้องเสียดายใจหาย เพราะราคาไม่ได้แรง
ดังนั้น ถ้าคุณใช้งานทั่วไป ไม่ได้เลื่อยไม้ทุกวัน เลื่อยราคากลางๆ ที่วัสดุดีบ้างพอสมควรก็ถือว่าเพียงพอครับ แต่ถ้าเป็นช่างไม้จริงจัง งานละเอียด หรืองานที่ต้องการความเนี้ยบ การลงทุนในเลื่อยดีๆ จะช่วยให้งานของคุณง่ายขึ้นมาก และช่วยประหยัดแรงในระยะยาวอีกด้วย