Customers Also Purchased
ปั้มลมขนาดใหญ่ แบ่งเป็นกี่ประเภทจะเลือกซื้ออย่างไรให้คุ้ม
ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือ สถานประกอบการ อาจจะจำเป็นต้องมีเครื่องมือหรือเครื่องจักรที่จะต้องใช้ลดในการขับเคลื่อนการทำงานจึงมีความจำเป็นต้องใช้ ปั้มลมขนาดใหญ่ เพื่อผลิตลมเข้าไปให้เครื่องนั้นๆสามารถทำงานได้ ดังนั้นเราจำเป็นจะต้องทราบประเภทของการทำงานปั้มลมก่อนว่ามีกี่ประเภทและมีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไรบ้าง เพื่อให้เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสมกับงาน และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เครื่องติดตั้งอยู่เพื่อคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้างด้วย ในกรณีที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับหมู่บ้านหรือชุมชน เพื่อที่จะได้ไม่รบกวนต่อผู้อาศัยใกล้เคียง
ปั้มลม ขนาดใหญ่ หรือเล็ก สามารถแบ่งการทำงานออกได้เป็น 6 ประเภท
- ปั้มลมแบบกังหัน
- ปั้มลมแบบไดอแฟรม
- ปั้มลมแบบสกรู
- ปั้มลมใบพัดแบบเลื่อน
- ปั้มลมแบบใบพัดหมุน
- ปั้มลมแบบลูกสูบ
ปั้มลมแบบกังหัน หรือ (Radial and axial flow air compressor)
ปั้มลมที่สามารถให้อัตราจ่ายลมที่เยอะมาก การทำงานคือจะมีลักษณะเป็นใบพัดกังหันดูดเอาอากาศเข้ามาด้วยความเร็วและทำการส่งออกไปตามระบบส่งอีกด้านลักษณะของใบพัดจึงมีการออกแบบมาเพื่อให้สามารถดูดเอาลมเข้ามาได้อย่างสม่ำเสมอ หลักการทำงานคือโรเตอร์จะหมุนด้วยความเร็วและหมุนกังหัน ทันใดนั้นลมก็จะถูกดูดเข้ามาผ่านช่องด้านขาเข้า อากาศจะถูกอัดเข้ามาและส่งไปยังอีกด้านหนึ่ง โดยผ่านใบพัดและเพลาสามารถผลิตลมได้มากถึง 100-2000 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที
ปั้มลมแบบไดอแฟรม (Diaphragm air compressor)
ปั้มลมประเภทนี้มีส่วนประกอบหลักคือ ตัวไดอแฟรมทำหน้าที่เป็นสูบทำการดูดเอาอากาศเข้ามาผ่านลิ้นด้านส่งอากาศการทำงานไม่ได้สัมผัสส่วนของเครื่อง และลมที่ผลิตได้จะไม่มีการผสมกันกับน้ำมันหล่อลื่นลมที่ได้มาจะเป็นลมที่สะอาด แต่ระบบนี้ไม่สามารถสร้างแรงดันลมที่สูงได้ ข้อดีคือลมที่ได้จากปั้มมีความปลอดภัยสูงกว่าประเภทอื่น ๆ เพราะไม่มีกลิ่นหรือสารเคมีเจือปน มักนิยมใช้งานปั้มลมประเภทนี้ในงานอุตสาหกรรมประเภทอาหาร การผลิตยา การผลิตสารเคมี และประมงสัตว์น้ำเนื่องจากเป็นลมที่สะอาดและมีเสียงการทำงานของเครื่องที่เงียบกว่าประเภทอื่น ๆ
ปั้มลมแบบสกรู (Screw air compressor)
ปั้มลมประเภทนี้เป็นที่นิยมใช้กันโรงงานอุตสาหกรรม โรงพิมพ์ เป็นอย่างมาก ปั๊มลมชนิดนี้จะมีส่วนประกอบเป็นสกรูสองเพลาที่หมุนไปด้วยกัน โดยแบ่งเป็นเพลาตัวผู้และเพลาตัวเมีย ไม่มีลิ้นในการเปิดหรือปิดลม ปั้มลมชนิดนี้สามารถทำการระบายความร้อนได้ดี และยังสามารถระบายความร้อนด้วยน้ำได้อีกด้วย ความสามารถในการจ่ายลมสามารถทำได้ถึง 170 ลบ/นาที และสร้างแรงดันได้ถึง 10 บาร์ การหมุนของสกรู 2 ตัวมีทิศทางการหมุนที่เข้าหากัน ทำให้อากาศจากภายนอกถูกดูดเข้ามาภายในและอัดอากาศส่งออกไปจากนั้นจะเข้าไปเก็บในสู่ถังเก็บลม โดยความเร็วรอบเพลาตัวผู้จะหมุนด้วยความเร็วที่เร็วกว่าตัวเมียเล็กน้อยการทำงานประเภทนี้ ส่งผลให้การไหลของลมจะมีความราบเรียบกว่าแบบลูกสูบ
ปั้มลมใบพัดแบบเลื่อน (Sliding vane rotary air compressor)
ประเภทของปั้มลมชนิดนี้คือ ทำงานจากกลไกด้านในอาศัยใบพัดที่ติดตั้งอยู่กับก้านหมุนเคลื่อนที่ หรือที่เรียกกันว่าโรเตอร์การวางตัวจะเป็นไปในแนวเยื้องกันจากศูนย์กลางของตัวเครื่องสูบ เมื่อเครื่องทำงานจะส่งผลให้โรเตอร์เคลื่อนตัวไปรอบๆและในขณะเดียวกันนั้นใบพัดที่ติดตั้งอยู่ก็จะหมุนไปด้วย ดังนั้นอากาศก็จะถูกดูดเข้ามาภายในตัวเครื่อง ผ่านช่องขาเข้าที่กว้างกว่าช่องขาออกส่งผลให้อากาศถูกบีบอัดทำให้เกิดแรงดันขึ้น ก่อนจะออกไปยังถังเก็บและนำไปใช้งานต่อไป ปั้มลมชนิดนี้มีความเงียบมาก การหมุนของโรเตอร์มีความราบเรียบสม่ำเสมอ ความดันอากาศทำได้คงที่แต่ตัวเครื่องมักจะเกิดความร้อนได้ง่าย เพราะไม่มีลิ้นปิดเปิด และตัวเครื่องมีพื้นที่่จำกัด
ปั้มลมแบบใบพัดหมุน (Roots Air Compressor)
ปั้มลมชนิดนี้เป็นรูปแบบของการใช้ใบพัด2 ตัวหมุนในทิศทางตรงข้ามกันเมื่อเมอเตอร์หมุนทำให้อากาศถูกดูดเข้าและออกโดยไม่ทำให้อากาศถูกบีบตัวเมื่อส่งไปยังอีกฟากหนึ่งโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงมวลของอากาศปั้มลมชนิดนั้นั้นไม่มีลิ้นวาวล์ไม่ต้องใส่น้ำมันหล่อลื่นแต่ก็ไม่สามารถทำการระบายความร้อนได้ดีนัก อากาศจะถูกอัดและส่งต่อไปยังอีกด้านหนึ่งในช่องทางลมออกปั้มลมชนิดนี้มีต้นทุนการผลิตที่แพง ส่งผลให้ชิ้นส่วนอะไหล่มีราคาแพงด้วย
ปั้มลมแบบลูกสูบ (Piston Air Compressor)
ลูกสูบจะเคลื่อนตัวขึ้นลงในแนวดิ่งทำให้เกิดการอัดอากาศภายในประบอกสูบลม การเปิดเครื่องดูดจะทำให้ลิ้นวาวล์เปิดเพื่อทำการดึงเอาอากาศเข้าไปและอัดอากาศที่เข้ามาออกไป รูปแบบนี้สามารถระบายความร้อนได้ดี ปั้มลมประเภทนี้เป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน เพราะความสามารถในการผลิตลมและสามารถสร้างแรงดันลมได้มากถึง 1000 บาร์ ทำให้ปั้มลมประเภทนี้สามารถทำแรงดันลมได้ทั้งในระดับต่ำ ไปจนถึงระดับสูงได้ การทำงานมีทั้งแบบการใช้สายพานหรือใช้มอเตอร์ แบบใช้สายพานนั้นจะทำให้มีเสียงที่เงียบ และการใช้มอเตอร์แบบโรตารี่จะทำให้สามารถผลิตลมได้เร็วกว่าสายพาน
วิธีเลือกปั้มลมให้เหมาะกับงาน
จะต้องวางแผนเอาไว้ก่อนว่าในสถานที่ และ ลักษณะงานว่าเป็นแบบไหน ต้องการลมที่สะอาดมากน้อนเพียงใดถ้ารู้้แน่ชัดแล้วลองไปดูกันว่าปั้มลมแบบไหนเหมาะกับงานของคุณ โดยในปัจจุบันมีปั้มลมอยู่หลากหลายชนิดแต่ละอย่างก็ให้ผลลัพท์ที่ต่างกัน
ปั้มลมขนาดใหญ่ ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันในโรงงานอุตสาหกรรมและสถานประกอบการจะมีอยู่สามแบบคือ ปั้มลมแบบสรู ปั้มลมแบบกังหัน และปั้มลมแบบลูกสูบ โดยการพิจรณาว่าแบบไหนจะเหมาะกับงานของเรา ถ้าลักษณะของการต้องการใช้ลมมีแรงอัดไม่มากและใช้งานไม่ต่อเนื่องกัน คุณควรเลือกใช้ปั้มลมแบบลูกสูบ เพราะว่าราคาไม่แพงมากสามารถดูแลและสามารถซ่อมบำรุงได้อย่างง่าย สามารถทำความดันลมได้สูง แต่มีเสียงดังในเวลาเครื่องเปิดใช้งาน ถ้าเปิดใช้งานแบบต่อเนื่องอาจจะทำให้เครื่องชำรุดได้
ถ้าคุณต้องการใช้ลมในปริมาณปานกลางจนถึงมากและใช้เวลาในการผลิตสั้น ๆ ควรใช้ปั้มลมแบบสกรู ปั้มแบบนี้นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน มีทั้งแบบใช้น้ำมัน และแบบใช้น้ำ การผลิตลมสามารถอัดได้เร็วและต่อเนื่องเป็นเวลานานได้โดยไม่ต้องหยุดพักเครื่อง เสียงของการทำงานจะเงียบ ลมออกมาได้สม่ำเสมอและประหยัดการใช้ไฟฟ้า ทั้งนี้ตัวเครื่องเป็นรูปแบบใหม่และยังมีราคาที่สูง การซ่อมบำรุงอาจจะต้องใช้งบสูง ในการซ่อม หรือถ้าลักษณะงานเป็นในรูปแบบของโรงงานในภาคอุตสาหกรรม ที่ต้องการลมในปริมาณมาก ในระยังเวลาที่ต่อเนื่อง ควรใช้ปั้มลมแบบกังหัน เพราะลมมีปริมาณที่เพียงพอ ส่วนมากมักใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น โรงงานทอผ้า การใช้เพื่อปั่นเส้นใย การฉีดพลาสติก การพ่นทราย ปิโตรเลียมหรือสารเคมีขนาดใหญ่ที่ต้องใช้หม้อแปลงไฟฟ้าและตู้คอนโทรลของเครื่องจักร
ปั้มแบบออยฟรี (oil free) มีเสียงเงียบและไม่ต้องทำการเติมน้ำมันหล่อลื่นเป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดที่กำลังได้รับความนิยมกันในปัจจุบัน ปั้มลมแบบออยฟรีนี้ทำการพัฒนามาจากปั้มลมแบบโรตารี่ ทำให้สามารถทำการอัดอากาศได้เร็วและมีเสียงในขณะการทำงานที่เงียบมากไม่ต้องทำการเติมน้ำมัน เหมาะกับงานที่ต้องการใช้ลมที่มีความสะอาด ไม่มีกลิ่นของน้ำมันเจือปน เช่นงานของทันตแพทย์ งานศิลป์ งานผลิตเภสัชกรรม และเหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมที่แวดล้อมด้วยที่พักอาศัยเพราะตัวเครื่องไม่ก่อให้เกิดเสียงรบกวนเพื่อนบ้าน
ขนาดของตัวถังเก็บลม
ถังเก็บอากาศเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้สามารถจ่ายลมอัดที่คงที่และสม่ำเสมอ เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งานการจ่ายลมให้กับงานหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ในสถานประกอบการนอกเสียจากจะทำการเก็บสำรองลมไว้เพื่อการใช้งงานแล้ว ยังสามารถทำให้ความดันลมภายในระบบเท่ากันเพื่อลดแรงกระแทกที่อาจจะเกิดจากการอัดกระแทกกับลูกสูบ เพื่อไม่ให้อุปกรณ์เกิดการเสียหาย ประโยชน์อื่น ๆ ของตัวถังเก็บอากาศคือ ช่วยลดปริมาณความชื้นสัมพัทในลม และช่วยลดผุ่นละออง สารปนเปื้อนที่ปะปนมากับลม ช่วยลดแรงกระแทกและคงความสามารถในการไหลของอากาศในระบบท่อหลักให้สามารถจ่ายลมได้อย่างราบเรียบ โดยเฉพาะในเครื่องปั้มลมแบบลูกสูบ และสามารถลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย ค่าไฟฟ้า ในการผลิตได้ด้วยเพราะสามารถทำให้เครื่องปั้มลมไม่ต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา
บทความอื่น ๆ : 10 วิธีการบำรุงรักษา ปั้มลมขนาดใหญ่ ให้ใช้งานได้นานขึ้น