รู้กันหรือไม่ว่าความเร็วในการหมุนของเครื่องมือช่างไฟฟ้า เช่น สว่านไร้สาย สว่านกระแทก สว่านโรตารี่ ทริมเมอร์ เครื่องเซาะร่อง เครื่องเจียร เลื่อยไฟฟ้า และอื่นๆ มีผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานและอายุการใช้งานเป็นอย่างยิ่ง สว่านรุ่นเก่าๆ จะทำงานด้วยความเร็วและรอบการหมุนคงที่ กล่าวคือ ไม่ว่าจะใช้เจาะอะไร เนื้อแบบไหน มันก็จะใช้ความสามารถในการเจาะเท่าๆ กัน แต่เรารู้ดีว่าพื้นผิวที่ต่างกันก็ต้องใช้แรงเจาะ แรงบิด แรงกระแทก และความเร็วในการหมุนที่ต่างกันด้วย เครื่องมือรุ่นใหม่ๆ มีฟังก์ชันที่ช่วยจัดการปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมา มันเรียกว่าระบบ ปรับความเร็วเครื่องมือไฟฟ้า หรือ Speed Adjust หรือ Speed Control ซึ่งระบบนี้ไม่ได้จัดการแค่ความเร็วรอบในการหมุนได้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงทิศทางและแรงกระแทกด้วย
การทำงานของระบบ ปรับความเร็วเครื่องมือไฟฟ้า
ระบบ ปรับความเร็วเครื่องมือไฟฟ้า มีทั้งแบบที่ทำงานอัตโนมัติตามแรงกดบนปุ่มสตาร์ท และแบบที่สามารถตั้งค่าได้ตามความต้องการ โดยจะจัดความเร็วเป็นหลายๆ ช่วงเพื่อให้เหมาะกับวัตถุหลายแบบและสะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น เช่น ระดับต่ำสุดสำหรับไม้เนื้ออ่อนและพลาสติกวู้ด ระดับปานกลางสำหรับไม้เนื้อแข็ง เหล็กหรือปูนที่ไม่แข็งมากนัก และระดับสูงสุดสำหรับเจาะปูนและคอนกรีตโดยเฉพาะ เป็นต้น
ระบบ ปรับความเร็วเครื่องมือไฟฟ้า เป็นช่วงๆ ดังที่ยกตัวอย่างจะพบเห็นได้บ่อยในสว่านโรตารี่ 3 ระบบ สำหรับสว่านตัวเล็กมักใช้แรงกดบนปุ่มขณะใช้งานเป็นการควบคุมความเร็วในการหมุนมากกว่า เพราะง่ายและสะดวก แต่ก็ต้องอาศัยความชำนาญหรือความคุ้นเคยเล็กน้อย จึงจะลงน้ำหนักบนปุ่มได้เหมาะสมกับงาน แต่ก็มีแบบที่ปรับเป็นช่วงได้ด้วยเหมือนกัน บางคนอาจเรียกกว่าเกียร์ โดยช่วงที่ปรับได้อาจมีมากกว่า 3 ช่วง แต่ละช่วงค่อนข้างละเอียด หรือก็คือความเร็วต่างกันไม่มากนัก จึงเหมาะกับงานที่ละเอียดอ่อนอย่างงานไม้เป็นพิเศษ
กลไกการทำงานอย่างง่ายของระบบ ปรับความเร็วเครื่องมือไฟฟ้า จะมีวงจรควบคุมความเร็วของเครื่องมือไฟฟ้าอยู่ ซึ่งถูกปรับให้เข้ากับการควบคุมความเร็วของมอเตอร์ ทั้งในทิศทางไปข้างหน้าและถอยหลัง วงจรถูกดัดแปลงเพื่อจำกัดความเร็วในการหมุนของมอเตอร์ในทิศทางย้อนกลับ เพื่อให้ปัญหาการสับเปลี่ยนอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ กล่าวคือ มีความเร็วสูงสุดที่กำหนดไว้แล้ว และจะไม่หมุนเร็วไปมากกว่านั้น ถ้าความเร็วในการหมุนเกินกว่าที่กำหนดมอเตอร์ก็จะหยุดทำงาน เพราะไม่เช่นนั้นจะเป็นภาระเครื่อง ทำให้เครื่องมือเสื่อมสภาพ พังเร็ว อายุการใช้งานน้อย แต่ถ้าเป็นระบบอัจฉริยะที่ซับซ้อนมากกว่าก็จะช่วยควบคุมความเร็วได้ดีกว่า อีกทั้งยังลดปัจจัยเสี่ยงและโอกาสที่ต้องซ่อมบำรุงเครื่องมือบ่อยๆ ได้ดีกว่าด้วย
ระบบ ปรับความเร็วเครื่องมือไฟฟ้า ในแบรนด์ต่างๆ
ความจริงการ ปรับความเร็วเครื่องมือไฟฟ้า ได้ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่หรือซับซ้อนแต่อย่างใด เพราะมีให้เห็นในเครื่องมือไฟฟ้าภายในบ้านทั่วไปอยู่แล้ว ยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ ก็เช่น พัดลม เครื่องปั่น เครื่องเป่าผม แต่ในเครื่องมือช่างไฟฟ้าจะซับซ้อนขึ้นมาหน่อย และมีการแข่งขันในแต่ละแบรนด์สูงว่าใครทำได้ดีกว่า มากกว่า เรื่อยมา มาดูกันคร่าวๆ ว่าแต่ละแบรนด์มีจุดเด่นอย่างไรบ้าง
★☆★ BOSCH → Adaptive Speed Control
ทีมวิจัยและพัฒนาได้มุ่งเน้นไปที่การติดตั้งเซ็นเซอร์ในสว่านกระแทกมากขึ้น เช่นซีรีส์ใหม่ของสว่านไร้สาย ซึ่งเซ็นเซอร์จะตรวจจับความเร็วที่ต้องการใช้ต่องานนั้นๆ ได้โดยอัตโนมัติ ผู้ใช้ไม่ต้องควบคุมหรือตั้งค่าเพิ่มเติมเอง วิธีนี้นอกจากจะทำให้เครื่องมือมีประสิทธิภาพการทำงานที่ดียิ่งขึ้นแล้ว ยังช่วยให้ไม่สิ้นเปลืองพลังงานโดยไม่จำเป็นในขณะใช้กับงานเบาด้วย อำนวยความสะดวกสบายและประหยัดแก่ผู้ใช้อย่างยิ่ง เทคโนโลยีนี้เรียกว่า Adaptive Speed Control
★☆★ Makita → Automatic Speed Change™
Automatic Speed Chang เป็นเทคโนโลยีที่ปรับความเร็วและแรงบิดอัตโนมัติ เพื่อให้การใช้งานมีประสิทธิภาพสูงสุด แม้ในการใช้งานที่มีความต้องการมากที่สุด (งานหนัก) ระหว่างที่ใช้งานอยู่ ระบบ Automatically Speed Change จะตรวจจับความต้องการแรงหมุนและแรงบิดที่เพิ่มขึ้น และให้แรงบิดและความเร็วมากขึ้นเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วง เครื่องมือไร้สายของ Makita ที่มี Automatic Speed Change ได้รับการออกแบบมาเพื่อมอบประสิทธิภาพการทำงานเทียบเท่าแบบมีสายโดยไม่ต้องใช้สายไฟให้เกะกะ
★☆★ Milwaukee → ONE-KEY Power Tool Control
เป็นการทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมการทำงานของเครื่องมือได้ผ่านแอปพลิเคชันในสมาร์ตโฟน ดังนั้นผู้ใช้จึงสามารถกำหนดค่าในฟังก์ชันต่างๆ ของเครื่องมือได้เองอย่างอิสระ รวมถึงความเร็วในการหมุนและแรงบิดด้วย แต่อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อระบบไร้สายได้ต้องติดตั้งบลูทูธหรือเป็น Smart Tool การกำหนดค่าความเร็วเป็นช่วงที่ตายตัวได้ช่วยให้กำลังการใช้เครื่องมือในงานต่างๆ เหมาะสมและแม่นยำมากขึ้น
★☆★ FESTOOL → The Smart T-mode
ในสว่านและไขควงของ FESTOOL มี T-mode ซึ่งเป็นโหมดอัจฉริยะที่ใช้งานได้จริง โดยเฉพาะในไขควงกระแทกไร้สาย TID 18 เมื่อทำงานประกอบแผ่นโลหะเข้ากับไม้ด้วยสกรูเกลียวพบว่า เครื่องมือตรวจจับการเปลี่ยนแปลงจากวัสดุหนึ่งไปสู่อีกวัสดุหนึ่งได้ แล้วทำการปรับความเร็วการหมุนที่เหมาะสมให้โดยอัตโนมัติ เครื่องมือจะเริ่มต้นจากการขันสกรูในโลหะด้วยความเร็วสูง แรงบิดต่ำ และไม่มีการกระแทก เมื่อแรงบิดเพิ่มขึ้นเนื่องจากการขันสกรูเข้าไปในเนื้อไม้ เครื่องจะลดความเร็วลงอย่างอิสระ จากนั้นจึงเพิ่มแรงบิด เริ่มโหลดแรงกระแทกเพื่อให้เจาะไม้เข้า
ประโยชน์ของระบบ ปรับความเร็วเครื่องมือไฟฟ้า
★ ช่วยให้ความเร็วในการหมุนของเครื่องมือสอดคล้องกับเนื้อวัสดุ
เครื่องมือไฟฟ้า ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้ามีวงจรควบคุมความเร็ว เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุมความเร็วการหมุนของมอเตอร์เพื่อให้ความเร็วในการหมุนสอดคล้องกับเนื้อวัสดุ เช่น หากเป็นงานเหล็กหรืออลูมิเนียมก็จะหมุนเร็วกว่างานไม้ และไม่ใช้กลไกการเจาะกระแทก
★ ช่วยให้จัดการงานประกอบที่ใช้วัสดุต่างกันมากกว่า 2 ชนิดได้ดี
ตัวอย่างเช่น Smart T-mode ใน FESTOOL เมื่อเจาะผ่านวัสดุที่เนื้อไม่เหมือนเดิมกับที่กำลังเจาะอยู่ เครื่องมือก็ทำการปรับเพิ่มหรือลดความเร็วในการหมุนดอกสว่านและแรงกระแทกได้อย่างเหมาะสม รวดเร็ว โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องยุ่งยากปรับเองแม้แต่น้อย
★ ช่วยประหยัดพลังงาน
การเจาะวัสดุเนื้ออ่อนใช้กำลังและพลังงานไม่มาก ดังนั้น หากสว่านไม่ปรับความเร็วที่เหมาะสม ใช้กำลังและแรงในระดับเดียวกับการเจาะวัสดุเนื้อหนาและแข็งก็จะเป็นการสูญเสียพลังงานไปโดยใช่เหตุ เป็นการใช้งานเกินจำเป็น หากมีระบบ ปรับความเร็วเครื่องมือไฟฟ้า อัตโนมัติปัญหาดังกล่าวก็จะไม่เกิดขึ้น ช่วยให้ผู้ใช้งานประหยัดพลังงานหรือแบตเตอรรี่ได้ดี
★ ช่วยให้อายุการใช้งานของเครื่องมือยาวนานขึ้น
เครื่องมือที่มีระบบ ปรับความเร็วเครื่องมือไฟฟ้า มักจะมาพร้อมคุณสมบัติควบคุมแรงบิดและการทำงานของมอเตอร์ด้วย ยกตัวอย่างเช่นสว่านบางรุ่นที่หากเจาะไม่เข้าแล้วเครื่องก็จะดับทันที มอเตอร์หยุดทำงาน ตัดการทำงานแบบหักดิบ ป้องกันไม่ให้ฝืนใช้งานต่อไปจนเครื่องพังเพราะทนแรงบิดไม่ไหว อายุการใช้งานของเครื่องมือจึงยาวนานขึ้น ไม่ต้องซ่อมบำรุงหรือซื้อใหม่บ่อยๆ
ดู เครื่องมือไฟฟ้า เพิ่มเติม