Customers Also Purchased
แน่นอนครับว่า ถ้าหากคุณเคยทำงานไม้ ไม่ว่าจะเป็นการประกอบ ตู้ ลิ้นชัก หรือชิ้นส่วนต่างๆ แล้วล่ะก็ ผมเชื่อว่าคุณน่าจะเคยผ่านตาเครื่องมือช่างอย่าง แคลมป์ กันมาบ้างใช่ไหมล่ะครับ? แล้วรู้ไหมครับว่า แคลมป์ ที่เห็นๆกันอยู่เนี่ย มันมีมากกว่าหนึ่ง และแต่ละแบบก็ใช้กับงานที่แตกต่างกันไป
เอาล่ะ! ในบทความนี้ผมจะพาคุณไปรู้จักกับ แคลมป์ แบบเข้าใจง่ายๆ ว่ามันคืออะไร? ทำไมถึงสำคัญ? มีแบบไหนบ้าง? และแต่ละแบบเหมาะกับการใช้งานแบบไหน? และเพื่อไม่ให้เสียเวลาไปลุยพร้อมกับผมได้เลยครับ!
แคลมป์ คืออะไร?
เอาล่ะครับก่อนอื้นมาทำความรู้จักกับ แคลมป์ (Clamp) กันก่อนล่ะกัน เป็นเครื่องมือช่างอีกประเภทหนึ่ง ที่ใช้ในการยึดจับชิ้นงานให้อยู่กับที่ โดยเฉพาะในงานที่ต้องการความแม่นยำสูง ไม่ว่าจะเป็น งานไม้ งานเชื่อม งานโลหะ งานก่อสร้าง หรือแม้แต่งานซ่อมบำรุงทั่วๆไปก็ตาม จุดประสงค์หลักๆของ แคลมป์ คือการช่วยยึดชิ้นงานไม่ให้ขยับเขยื้อนในขณะที่กำลังทำงานอยู่ เช่น การเจาะ การตัด การประกอบ หรือการติดกาว แค่นั้นเองครับ
ประโยชน์ของ แคลมป์
- เป็นตัวช่วยยึดชิ้นงานให้มั่นคง อยู่กับที่ ไม่ขยับไปไหน ระหว่างการทำงาน ไม่ต้องกลัวว่าชิ้นงานจะลื่น หรือขยับไปมาให้เสียอารมณ์กลางคัน
- ป้องกันการขยับ หรือสั่นไหวที่อาจทำให้ตัดผิด เจาะเบี้ยว หรือประกอบแล้วไม่พอดี
- เพิ่มความปลอดภัยในการใช้อุปกรณ์ช่าง เช่น เลื่อย หรือสว่าน เพราะชิ้นงานอยู่กับที่ ไม่ดิ้น
- ช่วยให้ทำงานคนเดียวได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องมีคนช่วยจับข้างๆ ให้วุ่นวาย เหมาะกับคนที่ชอบทำอะไรๆคนเดียว
- ใช้ควบคุมแรงกดในงานติดกาวหรืองานประกอบ ช่วยให้กาวแห้งสนิท งานแน่นหนา และดูเนี๊ยบขึ้นนั่นเอง
แคลมป์ มีกี่แบบ? ใช้ต่างกันอย่างไร?
เอาล่ะมาถึงเนื้อหาหลักๆของเรากันแล้วครับ แคลมป์ มีหลากหลายประเภทให้คุณเลือกใช้งาน แต่ละแบบก็เหมาะกับงานที่แตกต่างกันไป บางแบบใช้กับงานไม้ บางแบบเหมาะกับงานเหล็ก หรือแม้แต่งานช่างที่ต้องการความแม่นยำสูงๆ
มาถึงตรงนี้ก็แบบ งงๆใช่ไหมล่ะครับ ว่าจะเลือกใช้ แคลมป์ แบบไหน? ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป ผมได้รวบรวมประเภทของ แคลมป์ ที่เจอได้บ่อยๆตามพวก Workshop มาให้ดูกันแบบเข้าใจง่ายๆ เผื่อใครกำลังจะเลือกซื้อจะได้ไม่งง และเลือกใช้ได้ถูกกับงานของตัวเอง
1. ซีแคลมป์ C-Clamp
แคลมป์ประเภทนี้ เหมาะสำหรับงานทั่วไปเลยครับ ไม่ว่าจะเป็นงานไม้ งานเหล็ก หรืองานเชื่อมที่ต้องการแรงบีบสูงๆ C-Clamp รับจบหมด แต่มันก็จะมีข้อควรระวังเล็กน้อยคือ เวลาหนีบชิ้นงานที่เป็นไม้ หรือวัสดุที่ผิวเรียบ มันจะเป็นรอยง่ายมาก แนะนำให้หาแผ่นรองหรือเศษไม้บางๆ มารองไว้ตรงจุดที่ แคลมป์ สัมผัสกับชิ้นงานด้วย จะได้ไม่เกิดรอยกดจากตัว แคลมป์ ให้ต้องมาเสียใจทีหลัง “ถือว่าเตือนแล้วน้า”
2. เอฟแคลมป์ F-Clamp
มาถึง แคลมป์ อีกประเภทนั้นก็คือ F-Clamp นั่นเองครับ มักจะเหมาะกับการจับยึดชิ้นงานขนาดใหญ่ครับ ถ้าหากนึกภาพไม่ออกลองคิดตามผมนะครับ เวลาต้องติดกาวกับแผ่นไม้ ทำโต๊ะไม้ ยึดโครงเฟอร์นิเจอร์ หรือจับไม้หลายชิ้นต่อกันให้แน่นๆ F-Clamp เนี่ยแหละที่จะช่วยให้ชิ้นงานแนบสนิทกัน และไม่ขยับระหว่างรอให้กาวแห้ง หรือขัดแต่งงานได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
จุดเด่นของ แคลมป์ ประเภทนี้ มันสามารถกระจายแรงบีบได้สม่ำเสมอตลอดแนว ไม่กดเฉพาะจุดเดียว ทำให้งานออกมาดูเรียบร้อย และแข็งแรง ใครที่ทำงานไม้บ่อยๆ ควรมีติดเวิร์กช็อปไว้สัก 2-3 ตัวเลยครับแนะนำ
4. แคลมป์จับเร็ว Quick-Grip Clamp
เรียกอีกอย่างว่า แคลมป์จับเร็ว เหมาะสำหรับงานเบา ๆ เลยครับ อย่างงาน DIY ที่บ้าน ซ่อมของเล็กๆ น้อยๆ หรือแค่ต้องการจับชิ้นงานไวๆ ชั่วคราว จุดเด่นของ Quick-Grip คือใช้ง่ายมากๆ ไม่ต้องมานั่งหมุนเกลียวให้เมื่อยมือ แค่จับแล้วบีบก็หนีบแน่นจบ! เป็นไงง่ายไหม และที่สำคัญคือใช้งานมือเดียวได้ อีกมือไถฟีดไปก็ได้ ใครทำงานคนเดียวบ่อยๆ น่าจะชอบแน่นอน เพราะมันช่วยประหยัดเวลา และแรงได้เยอะเลยครับ
5. แคลมป์สปริง Spring Clamp
แคลมป์สปริง เหมาะสำหรับงานชั่วคราวที่ไม่ต้องการแรงบีบเยอะครับ เช่น หนีบพวกสายไฟงานติดกาวชิ้นเล็กๆ หรือแค่ต้องการยึดอะไรเบาๆ ไว้ชั่วคราวให้มือว่างไว้ทำอย่างอื่น เจ้า แคลมป์สปริง ตัวนี้ใช้ง่ายสุดๆ ฟอวเหมือนที่หนับผ้าขยายร่าง แค่บีบแล้วปล่อยก็ล็อกได้เลย ไม่ต้องหมุน ไม่ต้องปรับอะไรให้วุ่นวาย พกพาสะดวก ใช้คล่องมือสุดๆไปเลย
6. แคลมป์เข้ามุม Corner Clamp
หรือที่เรียกกันว่า แคลมป์เข้ามุม เหมาะมากสำหรับการประกอบชิ้นงานที่ต้องการมุมฉากเป๊ะๆเลยครับ ไม่ว่าจะเป็นเฟรมไม้ กรอบรูป กล่องไม้ หรือชิ้นงานที่ต้องยึดเข้ามุม 90 องศาแบบเป๊ะๆ เจ้าตัว Corner Clamp หนือ แคลมป์เข้ามุม จะช่วยให้มุมไม่เบี้ยว ทำงานง่ายขึ้น แถมยังประหยัดเวลาการจับงานไปได้เยอะ ใครที่ชอบทำเฟอร์นิเจอร์ DIY หรือกล่องไม้ต่าง ๆ ต้องมีติดเวิร์กช็อปไว้เลยครับ
7. แคลมป์สายรัด Strap Clamp
เป็น แคลมป์ ที่มีสายรัด เหมาะมากเลยครับสำหรับชิ้นงานที่รูปร่างไม่เป็นมุม ไม่ว่าจะเป็นกรอบวงกลม กล่องทรงแปลก ๆ หรือของชิ้นใหญ่ที่ต้องการแรงบีบรอบด้าน เจ้า Band Clamp หรือ Strap Clamp ตัวนี้ใช้สายรัดในการหนีบรอบชิ้นงาน ช่วยให้ชิ้นงานแน่นหนาโดยไม่ต้องใช้แคลมป์หลายตัวมาล้อมรอบให้ยุ่งยาก ใช้งานง่าย แค่รัดแล้วหมุนให้ตึงก็พร้อมลุย เหมาะกับคนที่ชอบงานไม้ หรืองาน DIY ที่มีรูปทรงแปลก ๆ ครับ
7. แคลมป์นก Toggle Clamp
ท็อกเกิ้ลแคลมป์ หรือที่เรียกกันว่า แคลมป์นก เหมาะมากสำหรับใครที่ต้องการยึดจับชิ้นงานแบบรวดเร็วครับ อย่างเวลาทำงานกับโต๊ะ หรือเครื่องจักรที่ต้องใส่ ถอดชิ้นงานบ่อย ๆ ในสายการผลิต เจ้า Toggle Clamp ตัวนี้ช่วยประหยัดเวลาสุด ๆ แค่กดคันโยกก็ล็อกแน่น พอทำงานเสร็จก็ปลดง่าย ไม่ต้องหมุน ไม่ต้องปรับให้ยุ่งยาก เหมาะกับงานที่ต้องทำซ้ำ ๆ ต่อเนื่องหรือใช้ในงาน DIY ที่อยากความสะดวกแบบมือโปรเลยครับ
8. แคลมป์ท่อ Pipe Clamp
ยาวแค่ไหนก็จับได้ แคลมป์ ประเภทนี้เหมาะกับงานที่ต้องการหนีบที่ยาวมากๆ เช่น ประกอบโต๊ะไม้ยาวๆ พวกบานประตู ที่ แคลมป์ ทั่วไปๆเอาไม่อยู่ จุดเด่นของเจ้า Pipe Clamp เนี่ยครับ ตัวมันเองไม่มีความยาวตายตัว เพราะใช้คู่กับท่อเหล็กที่เปลี่ยนขนาดได้ตามใจ ไม่ว่าจะยาว 1 เมตร 2 เมตร หรือมากกว่านั้นก็แล้วแต่เลย แค่เปลี่ยนท่อใหม่ก็พร้อมใช้งานแล้ว เหมาะมากสำหรับงานที่ต้องการความยืดหยุ่นเรื่องขนาดนั่นเอง
การเลือก แคลมป์ ให้เหมาะกับงาน
- ขนาดชิ้นงาน: ถ้างานของคุณมีขนาดใหญ่ เช่น ไม้แผ่นยาว หรือกรอบโต๊ะ ควรเลือกใช้ bar clamp หรือ pipe clamp เพราะมันสามารถขยายระยะการจับได้กว้าง หนีบได้แน่นแบบไม่มีหลุดแน่นอนครับ
- แรงบีบที่ต้องการ: ถ้าเป็นงานเชื่อมหรือเหล็ก ควรใช้ C-clamp ที่ให้แรงบีบสูงแน่นหนา ส่วนงานไม้ทั่วไป ใช้ quick-grip ก็พอครับ หนีบง่าย แถมมือเดียวก็จัดการได้
- ระยะเวลาการยึดจับ: ถ้าต้องปล่อยชิ้นงานไว้หนีบยาว ๆ หลายชั่วโมง ควรเลือกแคลมป์ที่ออกแบบมาดี ไม่กดจนวัสดุเสียรูป เช่น spring clamp สำหรับงานเบา หรือ handscrew clamp สำหรับงานไม้ที่ต้องประณีต
- ความสะดวกในการใช้งาน: ถ้าคุณต้องทำงานคนเดียวบ่อย ๆ ลองเลือก quick-grip หรือ spring clamp เพราะใช้งานง่าย ไม่ต้องหมุนเกลียวให้เมื่อยมือ ประหยัดแรงสุด ๆ
- ลักษณะพื้นผิว: ถ้าชิ้นงานของคุณผิวเรียบ ผิวเงา หรือเป็นไม้เนื้ออ่อน อย่าลืมใช้แผ่นรองหรือผ้ารองด้วยนะครับ จะได้ไม่เกิดรอยหรือรอยกดจากตัวแคลมป์ให้เสียของ
วิธีการดูแลรักษา แคลมป์
- หมั่นเช็ดทำความสะอาดหลังใช้งาน อย่าปล่อยให้มีเศษฝุ่น เศษไม้ หรือคราบกาวติดคาไว้ เพราะสะสมไปนาน ๆ จะทำให้แคลมป์ทำงานไม่ลื่นเหมือนเดิม
- ไม่ควรปล่อยให้แคลมป์เปียกน้ำหรือเปื้อนน้ำมัน เพราะจะเร่งให้เกิดสนิมโดยไม่รู้ตัว ถ้าโดนแล้วรีบเช็ดให้แห้งเลยครับ
- หยอดน้ำมันที่สกรูหมุนหรือจุดที่มีการเคลื่อนไหวบ้างเป็นระยะ จะช่วยให้หมุนลื่น ไม่ฝืด และยืดอายุการใช้งาน
- ควรเก็บไว้ในที่แห้ง ไม่โดนฝนหรือแดดจ้าเกินไป ถ้ามีตู้เก็บเครื่องมือก็จัดไว้ให้เรียบร้อย จะได้หยิบใช้งานง่ายและไม่พังเร็วครับ