Customers Also Purchased
หลายคนอาจเคยคิดว่าแค่ใส่หมวกนิรภัย แว่นตาเซฟตี้ ถุงมือกันบาด หรือรองเท้าหัวเหล็กไว้ติดตัวก็พอแล้ว แบบนั้นก็น่าจะปลอดภัยใช่ไหมครับ? แต่ความจริงคือ อุปกรณ์เซฟตี้ ไม่ใช่ของวิเศษที่แค่ใส่แล้วจะกันภัยได้เสมอไป เพราะถ้าใส่ไม่ครบ ใส่ผิดวิธี หรือมองข้ามรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เข้าไป ความเสี่ยงจากอุบัติเหตุก็ยังตามติดเราเหมือนเดิม

1. เลือกใช้ อุปกรณ์เซฟตี้ ไม่ตรงกับงาน
ตัวอย่างที่พบได้บ่อย
- ช่างไฟใส่รองเท้าผ้าใบธรรมดาแทนรองเท้ากันไฟฟ้า – ฟังดูเหมือนไม่มีอะไร แต่ความจริงคืออันตรายมากครับ เพราะไฟฟ้าไม่ได้เตือนเราก่อนว่าจะดูดเมื่อไหร่ รองเท้ากันไฟฟ้าถูกออกแบบมาให้ช่วยป้องกันกระแสไฟรั่วซึมจากพื้น ไม่ใช่แค่เสริมสไตล์เวลาใส่ ดังนั้นอย่าคิดว่าใส่ผ้าใบแล้วเท่กว่า เพราะความปลอดภัยควรมาก่อนเสมอ
- คนงานก่อสร้างใส่แว่นกันแดดแทนแว่นเซฟตี้ – ฟังดูเหมือนจะกันแดดได้ แต่จริง ๆ แล้วแว่นกันแดดไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันเศษวัสดุ เศษหิน หรือฝุ่นละอองที่อาจกระเด็นเข้าตาระหว่างทำงานเลยครับ แถมบางรุ่นยังแตกง่ายถ้าโดนแรงกระแทกอีกต่างหาก ถ้าอยากให้ดวงตาปลอดภัยจริง ๆ ต้องเลือกใช้แว่นเซฟตี้ที่ผ่านมาตรฐาน ซึ่งป้องกันได้ทั้งแรงกระแทกและฝุ่นละอองแบบรอบด้าน
- พนักงานขนของไม่สวมถุงมือกันลื่นหรือกันบาด – บางคนอาจคิดว่าแค่ถือกล่องนิดหน่อยเอง ไม่เห็นต้องใส่ถุงมือให้วุ่นวาย แต่จริง ๆ แล้วถุงมือเซฟตี้ช่วยให้เราจับของได้แน่นขึ้น ลดโอกาสหลุดมือ หรือแม้แต่ช่วยป้องกันมือจากเศษไม้ ลังแตก หรือขอบกล่องมีคม ซึ่งใครเจอมาก่อนจะรู้เลยว่าเจ็บจริงไม่ติงนัง!
คำแนะนำ
- ศึกษาว่างานที่ทำเสี่ยงอะไรบ้าง เช่น ไฟฟ้า เคมี ความร้อน ความสูง ฯลฯ แล้วเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะ – เหมือนเลือกอาวุธให้ถูกศัตรูนั่นแหละครับ ถ้ารู้ว่ากำลังจะเจอกับอะไร ก็เตรียมให้ตรงจุด เช่น ถ้าทำงานบนที่สูง ก็อย่าลืมเข็มขัดกันตก ถ้าต้องสัมผัสสารเคมี ก็ต้องมีถุงมือและแว่นกันสารกระเด็น
- ตรวจเช็กว่ามีอุปกรณ์ครบชุดหรือไม่ก่อนเริ่มงาน – อย่ารอให้เกิดเหตุการณ์แล้วค่อยนึกขึ้นได้ว่า “ลืมใส่” ตรวจทุกอย่างก่อนลงมือทำ เหมือนเช็กอาวุธก่อนออกรบ ชีวิตเราสำคัญที่สุดครับ
2. ใส่ อุปกรณ์เซฟตี้ ไม่ถูกวิธี
ตัวอย่างที่พบได้บ่อย
- หน้ากาก N95 ใส่แบบไม่กดขอบจมูกให้แนบหน้า – บางคนรีบจนลืมกดขอบจมูกให้แน่น ผลก็คือฝุ่นหรือสารเคมีก็ยังเล็ดรอดเข้าไปได้อยู่ดี แบบนี้เท่ากับใส่แค่ให้ครบ ไม่ได้ป้องกันจริง ๆ ครับ
- หมวกนิรภัยสวมหลวม ๆ ไม่ล็อกสายรัดคาง – เห็นใส่ก็จริง แต่ถ้าหมวกไม่แน่น เวลาโดนลมหรือของตกใส่แรง ๆ หมวกก็หลุดได้ง่าย ๆ เลย เสี่ยงมากครับ
- เข็มขัดกันตกคล้องไม่ถูกจุด หรือไม่ได้เชื่อมกับจุดยึดมั่นคง – อันนี้อันตรายสุด ๆ เพราะต่อให้ใส่แล้วดูเหมือนพร้อม แต่ถ้าจุดยึดไม่มั่นคง เวลาพลาดพลั้งขึ้นมามันก็ช่วยอะไรไม่ได้เลยจริง ๆ ครับ
คำแนะนำ

3. ใช้ อุปกรณ์เซฟตี้ เก่า เสื่อมสภาพ หรือหมดอายุ
ตัวอย่างที่พบได้บ่อย
- แว่นตากันสะเก็ดที่ใส่อยู่มีรอยขีดข่วนเต็มไปหมด มองแล้วไม่ชัด จะหยิบจับอะไรทีต้องเพ่งจนปวดตา แบบนี้ไม่เวิร์กแน่นอนครับ
- ถุงมือกันไฟฟ้าที่ใช้มีรูรั่วเล็ก ๆ หรือบางส่วนขาด แม้จะดูเล็กน้อยแต่ถ้าไฟฟ้ารั่วมา มันไม่ถามก่อนนะครับว่าเรารู้รึยังว่าถุงมือขาด!
- รองเท้าเซฟตี้ที่ใส่ส้นหลุด พื้นลื่น หรือหัวเหล็กบิดเบี้ยว เวลาเหยียบของแหลม หรือเดินบนพื้นลื่น ๆ ก็เสี่ยงเจ็บตัวสุด ๆ เหมือนไม่ได้ใส่รองเท้าเซฟตี้เลย
คำแนะนำ
- ก่อนจะลงมือทำงานทุกครั้ง ลองให้เวลากับการตรวจอุปกรณ์เซฟตี้สักนิดครับ
- มองหาวันที่ผลิตหรือวันหมดอายุบนฉลาก บางทีเราก็ลืมไปว่าใช้มานานแค่ไหนแล้ว
- ถ้าเห็นว่ามีรอยร้าว ขาด หรือเสียหายแม้เพียงเล็กน้อย แนะนำให้เปลี่ยนใหม่ทันทีเลยครับ เพราะอุบัติเหตุมันไม่รอให้เราเตรียมตัวพร้อมเสมอ
>>> แนะนำ 5 อุปกรณ์เซฟตี้ ราคาประหยัดสำหรับมือใหม่เริ่มต้นใช้งาน
4. ใช้ อุปกรณ์เซฟตี้ ร่วมกับพฤติกรรมเสี่ยงอื่น
ถึงจะใส่ อุปกรณ์เซฟตี้ ครบทุกชิ้นเป๊ะตามคู่มือ แต่ถ้าพฤติกรรมยังเสี่ยงอยู่ก็เหมือนใส่เกราะแล้ววิ่งไปหาศัตรูครับ เช่น เล่นโทรศัพท์ตอนปีนบันได ขับโฟล์คลิฟต์แบบซิ่งเกินเหตุ หรือปีนขึ้นที่สูงแล้วไม่ล็อกเชือกกันตก แบบนี้ต่อให้ใส่ อุปกรณ์เซฟตี้ เทพแค่ไหน มันก็ช่วยอะไรไม่ได้เลยครับ เพราะความปลอดภัยไม่ได้อยู่แค่ในของที่ใส่ แต่อยู่ที่ “สติ” และ “วินัย” ตอนใช้งานด้วย
ตัวอย่างที่พบได้บ่อย
- สวมถุงมือกันบาดก็จริง แต่ใช้มีดคัตเตอร์แบบเร่งรีบ ไม่ระวัง จนเกือบโดนเข้ามือเองซะงั้น – ถุงมือจะเทพแค่ไหนก็ไม่ช่วยถ้าใจเราประมาทเกินไป
- ใส่หมวกนิรภัยไว้บนหัว แต่ดันยืนคุยโทรศัพท์อยู่ใต้เครนที่กำลังยกของ – แบบนี้หมวกก็ไม่ทันได้ช่วยอะไรถ้าของหล่นลงมา
- ขึ้นไปทำงานบนที่สูงพร้อมเข็มขัดกันตก แต่ดันไม่ล็อกกับจุดยึดอย่างแน่นหนา – เหมือนใส่ไว้ให้ครบเช็กชื่อ แต่จริง ๆ แล้วก็ยังเสี่ยงตกอยู่ดี
คำแนะนำ
- ปรับทัศนคติให้เคารพอุปกรณ์และรู้ว่า “การใส่เซฟตี้” ไม่ใช่แค่เรื่องภายนอก แต่คือการป้องกันชีวิตจริง ๆ
- ฝึกวินัยเรื่องความปลอดภัยร่วมกับการใช้ อุปกรณ์เซฟตี้ อย่างถูกต้อง
5. ไม่ดูแลรักษา อุปกรณ์เซฟตี้ อย่างเหมาะสม
อุปกรณ์เซฟตี้ บางอย่างไม่ได้แค่ใส่แล้วจบนะครับ มันต้องการการดูแลเป็นพิเศษเหมือนกัน เช่น หน้ากากกันฝุ่นหรือกันสารเคมี ควรเก็บไว้ในที่แห้งและสะอาด ไม่ใช่โยนรวมกับเครื่องมือเปื้อนน้ำมัน หรือปล่อยไว้ในกระเป๋าจนยับเยิน ส่วนเข็มขัดกันตกก็ไม่ควรพับมั่ว ๆ หรือโยนกอง ๆ ไว้ เพราะจะทำให้สายเสียรูปทรงเร็ว ถ้าเราใช้แบบลวก ๆ ไม่ดูแลเลย คุณภาพในการป้องกันมันก็จะลดลงเรื่อย ๆ โดยที่เราอาจไม่รู้ตัว จนวันที่ต้องใช้งานจริง มันอาจไม่สามารถปกป้องเราได้เลยครับ
ตัวอย่างที่พบได้บ่อย
- แว่นตากันสะเก็ดเคยโดนสารเคมีกระเด็นใส่ แต่กลับลืมหรือละเลยที่จะล้างออกให้สะอาด พอทิ้งไว้นานเข้าเลนส์ก็มัว มองอะไรไม่ชัดเจน กลายเป็นอุปสรรคเวลาทำงานซะงั้น
- หน้ากากกันฝุ่นบางคนถอดแล้วก็โยนใส่กระเป๋าเครื่องมือ ไม่ใส่กล่อง ไม่ใส่ถุง ปล่อยให้โดนแรงกดจนยับ ใส่ครั้งหน้าก็แนบหน้าไม่สนิท แถมบางทียังปนเปื้อนคราบมันๆจาก อุปกรณ์เซฟตี้ ช่างอีก
- ถุงมือหนังที่ใช้เสร็จแล้วไม่ทันได้ผึ่งลมหรือเก็บให้แห้ง กลับใส่ตู้หรือกล่องทึบไว้เฉย ๆ จนกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อรา ไม่กล้าใส่อีกเลย แบบนี้ก็ต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งที่อายุใช้งานยังเหลืออีกเยอะ
คำแนะนำ
- ทำความสะอาดหลังใช้งานทุกครั้ง โดยเฉพาะ อุปกรณ์เซฟตี้ ที่สัมผัสร่างกายโดยตรง
- มีที่เก็บที่เหมาะสม แยกเป็นสัดส่วน ไม่ปะปนกับเครื่องมือช่าง
- หมั่นตรวจสอบสภาพ อุปกรณ์เซฟตี้ ตามรอบการใช้งาน
สรุป
ไม่ว่าคุณจะเป็นช่างใหม่ ช่างเก่า วิศวกร พนักงานโรงงาน หรือใครก็ตามที่ต้องอยู่ในพื้นที่เสี่ยง อุปกรณ์เซฟตี้ คือเพื่อนที่ดีที่สุดของคุณ แต่เพื่อนคนนี้จะช่วยคุณได้ก็ต่อเมื่อคุณใส่มันอย่างถูกต้อง ใช้อย่างมีวินัย และดูแลมันให้ดี