รวม 5 พฤติกรรมที่ควรเลี่ยงเมื่อใช้ ดอกต๊าปเกลียว

Customers Also Purchased

การต๊าปเกลียวเนี่ย ถึงจะดูเหมือนเป็นงานช่างทั่วไปแต่จริงๆแล้ว มันต้องใช้ความแม่นยำและใจเย็นมากเลยล่ะครับ เพราะถ้าเผลอพลาดแม้แต่นิดเดียว ดอกต๊าปเกลียว ก็อาจหักคารูได้ง่ายๆเลย หรือเกลียวที่ได้ออกมาก็จะไม่สวย ใช้งานจริงไม่ได้เลย พูดง่ายๆก็คือ เสียทั้งเวลา เสียทั้งวัสดุ บางทีถึงขั้นต้องเริ่มใหม่หมดเลยก็มีเชื่อผมเถอะ!

ใครที่เจอปัญหาบ่อยๆไม่ว่าจะ เกลียวขาด หรือ ต๊าปหักคา แล้วเริ่มสงสัยว่าเราทำอะไรพลาดไปหรือเปล่า ในบทความนี้แหละครับ ผมจะพาไปไล่เช็กสาเหตุที่แท้จริง และรวม 5 พฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงให้หมด เพื่อให้ ดอกต๊าปเกลียว ของเราราบรื่น ใช้งานได้นาน ไม่เสียของ ไม่เสียอารมณ์แน่นอน

ทำความเข้าใจพื้นฐานของการต๊าปเกลียว ด้วย ดอกต๊าปเกลียว

ดอกต๊าปเกลียว คืออะไร?

ถ้าพูดถึง ดอกต๊าปเกลียว ถ้าให้ผมอธิบายแบบเข้าใจง่ายๆ มันก็คืออุปกรณ์สำหรับ ทำเกลียว ภายในรูของชิ้นงานนั่นแหละครับ ไม่ว่าจะเป็นเหล็ก อะลูมิเนียม หรือแม้กระทั่งพลาสติก ถ้าเราอยากให้ใส่น็อตหรือลูกปืนเข้าไปแบบแน่นๆ พอดีเป๊ะๆก็ต้องใช้ ดอกต๊าปเกลียว เข้ามาช่วยตัดเกลียวในรูให้เข้ารูปนั่นเองครับ

ดอกต๊าปเกลียว ก็มีหลายแบบครับ เช่น แบบต๊าปมือ (Hand tap) ที่ใช้มือหมุนเองเหมาะกับงานชิ้นเล็ก ๆ หรือแบบต๊าปเครื่อง (Machine tap) สำหรับงานที่ต้องใช้เครื่องเจาะช่วย แล้วก็ยังมีแบบต๊าปตรง ต๊าปเกลียวซ้าย ต๊าปสำหรับรูตัน อะไรพวกนี้อีกเพียบ เรียกว่ามีให้เลือกใช้ตามสถานการณ์เลยครับ

ทำไมต้องระวังตอนใช้งาน?

ดอกต๊าปเกลียว ถึงจะดูเล็กๆ แต่ก็มีคมตัดที่ละเอียดและเปราะมากครับ ถ้าเราเผลอออกแรงมากไป หรือหมุนเอียงนิดเดียวก็มีโอกาสหักได้ทันทีเลย และถ้ามันดันหักคาในรูด้วยล่ะก็ บอกเลยว่างานเข้าแน่ๆ เพราะกว่าจะเอาออกได้ต้องเสียเวลาหลายเท่า แถมบางครั้งถึงขั้นเสียชิ้นงานทั้งชิ้นเลยก็มี ใครเจอมาก่อนจะรู้ดีว่าไม่สนุกแน่นอนครับ

รวม 5 พฤติกรรมที่ควรเลี่ยงเมื่อใช้ ดอกต๊าปเกลียว

ปัญหา เกลียวขาด หรือ ต๊าปหัก เกิดจากอะไร?

  • ใช้ ดอกต๊าปเกลียว ผิดประเภทกับวัสดุ บอกเลยครับว่าอันนี้เจอบ่อยมากครับ บางทีหยิบ ดอกต๊าปเกลียว ตัวเดิมมาใช้กับทุกงานเลย ไม่ได้ดูว่าวัสดุนั้นเหมาะหรือเปล่า เช่น ดอกที่ออกแบบมาสำหรับเหล็ก ไปใช้กับพลาสติก หรือใช้กับรูตัน ทั้งที่มันควรใช้แบบพิเศษ สุดท้ายหักกลางทางแบบงงๆ เลยครับ
  • ไม่หล่อลื่นหรือใช้สารหล่อลื่นผิดประเภท ข้อนี้ใครเผลอละเลยไป มีโอกาสต๊าปหักสูงมากครับ เพราะการต๊าปมันต้องมีน้ำมันหล่อลื่นช่วยลดแรงเสียดทาน ไม่งั้นดอกจะติดขัด หักคารูได้ง่ายๆ บางคนอาจคิดว่าแค่พอหมุนได้ก็พอแล้ว แต่จริงๆ น้ำมันนี่แหละคือตัวช่วยชีวิตเลยครับ ถ้าไม่ทา หรือทาผิดสูตร งานเข้าแน่นอน!)
  • แรงมือไม่สม่ำเสมอ มีการกระชากหรือโยก บางคนเวลาหมุนต๊าป ก็เผลอใช้แรงไม่เท่ากันบ้าง หมุนกระชากบ้าง หรือเผลอโยกมือไปมาโดยไม่รู้ตัว ซึ่งพอทำแบบนี้บ่อยเข้า ดอกต๊าปเกลียว ก็เสี่ยงหักได้ง่ายเลยครับ เพราะมันไม่ได้ออกแบบมาให้รับแรงกระชากหรือการบิดเบี้ยวมากๆ ต้องหมุนนิ่งๆ นุ่มๆ แบบใจเย็นๆ ถึงจะดีที่สุด
  • ไม่เจาะรูนำก่อน หรือเจาะรูนำผิดขนาด อันนี้เป็นพลาดที่หลายคนทำโดยไม่รู้ตัวเลยล่ะครับ บางคนใจร้อน หรือคิดว่าไม่เป็นไร เดี๋ยวต๊าปเข้าไปก็ได้เอง แต่พอเจาะรูเล็กเกินไป ดอกต๊าปเกลียว ก็ต้องกัดเนื้อเยอะขึ้น แรงบิดก็สูงขึ้น สุดท้าย...หักคารูก็ไม่แปลกเลยครับ ผมเองก็เคยพลาดแบบนี้มาแล้ว เลยอยากเตือนว่า อย่าข้ามขั้นตอนนี้เด็ดขาดครับ
  • ไม่ทำความสะอาดเศษโลหะระหว่างการต๊าป ข้อนี้หลายคนมองข้ามครับ เพราะคิดว่าเดี๋ยวมันก็หลุดเอง แต่จริง ๆ แล้วเศษโลหะพวกนี้แหละตัวดีเลยครับ มันจะสะสมในร่องเกลียว หรือไปติดในร่องตัดของ ดอกต๊าปเกลียว ทำให้ต๊าปฝืด บางทีก็หมุนไม่เข้า แล้วสุดท้าย...หัก! เพราะแรงต้านเยอะเกิน เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่ต๊าปไปสักรอบสองรอบ อย่าลืมเป่าหรือใช้แปรงทำความสะอาดนะครับ จะช่วยยืดอายุการใช้งานได้เยอะเลย
ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องพื้นฐานที่สามารถป้องกันได้ ถ้าเราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งาน

5 พฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อใช้ ดอกต๊าปเกลียว

ไม่เจาะรูนำให้เหมาะสม

หลายคนเข้าใจว่าเจาะรูเล็กกว่าขนาดน็อตไว้ก่อน แล้วค่อยต๊าปไปทีหลังก็น่าจะพอได้ แต่จริง ๆ แล้วแบบนี้อันตรายสุด ๆ เลยครับ เพราะถ้ารูมันเล็กเกินไป ดอกต๊าปเกลียว จะต้องเจองานหนัก ต้องกินเนื้อวัสดุเยอะมาก ทำให้แรงต้านสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แล้ว ดอกต๊าปเกลียว มันไม่ได้ถึกขนาดนั้นนะครับ พอเจอแรงบิดเกินกำลังนิดเดียวก็หักได้เลย แถมบางทีหักคารูซะด้วย งานเข้าแน่นอน!

แนวทางป้องกัน

  • คำนวณขนาดรูนำให้เหมาะกับขนาดเกลียว เช่น ถ้าใช้เกลียว M6 ก็ไม่ควรเจาะมั่ว ๆ นะครับ แนะนำว่าให้เจาะรูนำประมาณ 5.0 mm จะพอดีเป๊ะ ไม่แน่นเกินไปจนต๊าปหัก หรือหลวมเกินไปจนเกลียวไม่เต็ม ลองเช็กตาราง Tap Drill Chart เอาไว้คู่ตัวเลยครับ ใช้ทีไรมั่นใจทุกที
  • ใช้ตาราง Tap Drill Chart ที่เชื่อถือได้ (ตารางนี้แหละครับคือผู้ช่วยตัวจริงของงานต๊าป เพราะมันบอกเลยว่าถ้าเราจะใช้เกลียวขนาดไหน ควรเจาะรูนำขนาดเท่าไหร่ ไม่ต้องเดา ไม่ต้องเสี่ยง ลองพิมพ์หาในอินเทอร์เน็ตก็เจอเพียบเลย หรือจะปริ้นแปะไว้ข้างโต๊ะช่างเลยก็ยังได้ครับ)
  • ทดสอบกับเศษวัสดุก่อนใช้งานจริงเสมอ (เหมือนเป็นการวอร์มอัพก่อนลงสนามจริงเลยครับ จะได้รู้ว่าเราตั้งดอกตรงไหม รูที่เจาะมากำลังดีหรือเปล่า และวัสดุที่ใช้มีอะไรแปลก ๆ หรือเปล่า ถ้าทดสอบก่อน เราจะแก้ปัญหาได้ทันก่อนที่จะไปทำพลาดกับชิ้นงานจริงให้ปวดหัวทีหลัง)

ไม่ใช้สารหล่อลื่นหรือน้ำมันต๊าป

แรงเสียดทานเนี่ย เรียกได้ว่าเป็นตัวแสบเลยครับสำหรับงานต๊าป โดยเฉพาะถ้ากำลังต๊าปวัสดุที่แข็ง ๆ อย่างเหล็กกล้าหรือสเตนเลส ถ้าเราไม่ได้ใช้น้ำมันหรือสารหล่อลื่นช่วยไว้ล่ะก็ ความร้อนจะสะสมเร็วมาก แถมแรงต้านก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สุดท้าย ดอกต๊าปเกลียว ก็จะเริ่มฝืดและ... หักเอาง่ายๆ เลยละครับ เรียกว่าจากงานเนียนกลายเป็นปวดหัวในพริบตา

แนวทางป้องกัน

  • ใช้น้ำมันต๊าปที่เหมาะกับวัสดุ เช่น น้ำมันต๊าปเหล็ก, น้ำมันต๊าปอลูมิเนียม อย่าคิดว่าใช้อะไรก็ได้แล้วจะเวิร์คนะครับ เพราะน้ำมันแต่ละชนิดมันมีคุณสมบัติเหมาะกับวัสดุที่ต่างกัน ใช้ผิดสูตรก็เหมือนใส่รองเท้าผิดข้างนั่นแหละ เดินได้แต่ไม่สบาย
  • ทาซ้ำเป็นระยะ ๆ ระหว่างต๊าป ไม่ใช่แค่ตอนเริ่มต้น บางคนทาตอนแรกแล้วลืมไปเลย ต๊าปไปจนฝืด แล้วหักคารูซะงั้น แนะนำว่าให้หมั่นเติมน้ำมันระหว่างทำงานบ้างครับ จะได้ลื่นปรื๊ด ทำงานสบาย หายห่วง

รวม 5 พฤติกรรมที่ควรเลี่ยงเมื่อใช้ ดอกต๊าปเกลียว

ใช้แรงมือไม่สม่ำเสมอ หรือหมุนไปทางเดียวตลอด

การหมุนต๊าปไปทางเดียวอย่างเดียวโดยไม่ถอยกลับเพื่อ "เคลียร์เศษ" เนี่ย เป็นกับดักที่ช่างหลายคนเคยพลาดครับ เพราะเศษวัสดุมันจะเริ่มสะสมเรื่อย ๆ จนไปค้างในร่องคมตัด พอหมุนต่อไปเรื่อย ๆ โดยไม่เคลียร์ เศษก็จะอัดแน่นเข้าไปเรื่อย ๆ สุดท้ายก็ติด แล้วหักคารูแบบไม่ทันตั้งตัวเลยครับ เพราะฉะนั้นหมุนไปนิด ถอยหลังหน่อย ช่วยให้ต๊าปลื่น ๆ งานก็ไหลลื่นตามครับ

แนวทางป้องกัน

  • หมุนไปข้างหน้าประมาณ 1/2 ถึง 1 รอบ แล้วค่อยหมุนถอยหลังเบา ๆ ประมาณ 1/4 รอบครับ เพื่อให้เศษวัสดุที่ถูกตัดออกมาได้มีทางระบายออก ไม่ไปอัดแน่นจน ดอกต๊าปเกลียว ฝืดและเสี่ยงหัก เทคนิคนี้เหมือนหมุนแล้วถอนหายใจนิด ๆ ช่วยให้ต๊าปทำงานได้ไหลลื่นขึ้นเยอะเลยครับ
  • ใช้ T-handle หรือด้ามต๊าปที่ให้แรงได้สมดุลทั้งสองด้าน T-handle เนี่ยถือว่าเป็นตัวช่วยที่ดีเลยครับ เพราะมันออกแบบมาให้เราควบคุมแรงได้สมดุลทั้งซ้ายและขวา ไม่ต้องกลัวว่าจะหมุนเอียง หมุนเบี้ยว หรือใช้แรงไม่เท่ากัน แถมจับถนัดมืออีกด้วย ใครยังไม่เคยใช้ ลองดูครับ แล้วจะรู้ว่าชีวิตดีขึ้นเยอะเลย!

ไม่เคลียร์เศษโลหะระหว่างการต๊าป

เศษที่ติดอยู่ในร่องเกลียวหรือร่องของ ดอกต๊าปเกลียว เนี่ย ถ้าไม่รีบเคลียร์ออก มันจะเริ่มอุดแน่นขึ้นเรื่อย ๆ จนต๊าปฝืด หมุนไม่ค่อยเข้า แล้วก็จะเกิดแรงต้านแบบที่เราไม่รู้ตัวครับ พอฝืนหมุนต่อไปเรื่อยๆก็บ๊ายบาย ดอกต๊าปเกลียว เลย เพราะหักแน่นอน แถมเกลียวที่ได้ก็จะออกมาหยาบ ๆ เบี้ยว ๆ ดูไม่จืดอีกต่างหาก ดังนั้นเคลียร์เศษให้บ่อยดีกว่าครับ ปลอดภัยกว่ากันเยอะ!

แนวทางป้องกัน

  • ใช้ลมเป่าหรือแปรงขัดระหว่างการต๊าปทุก 1–2 รอบ (อย่าคิดว่าเป่าหรือแปรงมันบ่อยไปนะครับ จริง ๆ แล้วแค่หยุดสั้น ๆ เพื่อเคลียร์เศษนี่แหละคือการถนอมทั้ง ดอกต๊าปเกลียว และชิ้นงานเลย แถมยังช่วยให้ต๊าปหมุนได้ลื่นกว่าเดิม ไม่ต้องมานั่งเสียวว่ามันจะหักตอนไหนอีกด้วย)
  • ถ้าต๊าปรูลึก ควรถอดดอกออกมาเป่าทำความสะอาดเป็นระยะ อย่าปล่อยให้เศษมันอัดแน่นอยู่ในรูจนหมุนต่อไม่ได้เลยครับ โดยเฉพาะเวลาต๊าปรูยาว ๆ ลึก ๆ นี่แหละตัวดีเลย เพราะเศษมันจะไม่ออกมาเองง่าย ๆ แนะนำให้หยุดเป็นช่วง ๆ แล้วดึงดอกออกมาเป่าหรือเคาะเบา ๆ สักหน่อย รับรองว่าต๊าปลื่นขึ้น งานก็สบายขึ้นเยอะครับ


ใช้ ดอกต๊าปเกลียว ผิดประเภทกับวัสดุที่ไม่เหมาะสม

ดอกต๊าปเกลียว มีหลากหลายประเภทครับ ซึ่งออกแบบมาให้เหมาะกับวัสดุและลักษณะรูที่แตกต่างกัน เช่น ดอกต๊าปเกลียว สำหรับเหล็กเนี่ย ถ้าเอาไปใช้กับพลาสติก มันก็อาจจะกัดเนื้อมากเกินไปจนพังง่าย ๆ หรือถ้าเอาดอกต๊าปแบบตรงไปใช้กับรูตัน ก็เสี่ยงมากที่จะเจอปัญหาความฝืดหรือเศษต๊าปอัดแน่นจนหักคารูเลยครับ สรุปคือเลือกผิดครั้งเดียว งานอาจจะพังทั้งชิ้น! เพราะฉะนั้นดูวัสดุกับลักษณะงานก่อนหยิบดอกเสมอครับ จะได้ไม่ต้องถอนหายใจตอนท้ายงาน

แนวทางป้องกัน

  • ศึกษาคู่มือหรือสอบถามผู้ขายก่อนใช้งาน (บางทีแค่เปิดคู่มือดูแป๊บเดียวก็ช่วยให้ไม่พลาดได้นะครับ หรือถ้าไม่มั่นใจจริง ๆ ลองถามพนักงานหรือช่างคนอื่นดูก่อนก็ได้ ดีกว่าเดาแล้วพัง เสียทั้งดอก เสียทั้งเวลาอีกต่างหาก)
  • ลงทุนเลือก ดอกต๊าปเกลียว คุณภาพดี ที่ผลิตมาสำหรับวัสดุนั้น ๆ (อย่าเสียดายเงินตอนซื้อครับ เพราะถ้าหยิบของดีมาตั้งแต่แรก มันจะช่วยให้ต๊าปลื่นกว่าเดิม แถมใช้งานได้ยาวนาน ไม่ต้องกลัวหักกลางทาง หรือทำเกลียวพังจนต้องเริ่มใหม่ ซื้อครั้งเดียวใช้สบายใจไปอีกนานครับ)
  • ถ้ามีต๊าปหลายขั้นตอน (เช่น ต๊าปหยาบ-ต๊าปกลาง-ต๊าปละเอียด) ควรใช้ตามลำดับครับ เพราะมันออกแบบมาให้ไล่เกลียวจากหยาบไปละเอียด ช่วยลดแรงต้าน ไม่ฝืนเนื้อวัสดุเกินไป ถ้าข้ามขั้นไปใช้ต๊าปละเอียดเลยทันที บอกเลยว่าเสี่ยงหักสูงมากครับ คิดซะว่าเหมือนลับดินสอทีละชั้น จะได้สวย เนียน ไม่หักกลางทาง!

สรุป

หากคุณเคยเผชิญปัญหาต๊าปหักหรือเกลียวเสียบ่อยๆ ลองกลับมาดูว่าเรามีพฤติกรรมเหล่านี้หรือเปล่า? เพราะในความเป็นจริงแล้ว ปัญหาเหล่านี้สามารถป้องกันได้ง่าย ๆ ด้วยการเตรียมความพร้อมที่ดี ใช้เครื่องมือให้ถูกวิธี และมีความละเอียดรอบคอบ

เลือก > ดอกต๊าปเกลียว < ให้เหมาะกับงานของคุณ