ข้อควรระวังในการใช้งาน หมวกนิรภัย ใช้ผิดอาจเกิดอันตรายได้

Customers Also Purchased

ในทุกๆวันนี้เรามักจะเห็น หมวกนิรภัย ตามสถาณที่ต่างๆไม่ว่าจะเป็น งานก่อสร้าง งานผลิต หรือแม้แต่ในงานที่ต้องเจอกับความเสี่ยง การตกหล่นของวัสดุ ซึ่งหมวกนิรภัย ถือเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยปกป้องศีรษะจากการบาดเจ็บ และอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด แต่ในทางกลับกันหากคุณใช้ หมวกนิรภัยไม่ถูกต้องหรือเลือก หมวกนิรภัย ที่ไม่เหมาะสมกับลักษณะงาน อาจจะเกิดอันตายขึ้นได้ 

หลายๆคนอาจคิดว่าเพียงแค่สวม หมวกนิรภัย แล้วปัญหาทั้งหมดจะหมดไป แต่นั่นไม่ใช่เรื่องที่ดีเลยครับ เนื่องจากการสวมใส่ หมวกนิรภัย ผิดวิธีหรือการใช้งานหมวกที่เสื่อมสภาพ อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อชีวิต และร่างกายได้มากกว่าที่คุณคิดอีก เพราะฉะนั้นในบทความนี้ผมจะพาคุณมาดูกันว่า ข้อควรระวังในการใช้งาน หมวกนิรภัย มีอะไรบ้าง? และเหตุผลการใช้งาน หมวกนิรภัยผิด วิธีจึงอาจเป็นอันตรายต่อคุณได้! เพื่อไม่ให้เสียเวลาไปอ่านบทความนี้กันได้เลย

ข้อควรระวังในการใช้งาน หมวกนิรภัย ใช้ผิดอาจเกิดอันตรายได้

ทำไม หมวกนิรภัย สำคัญกว่าที่คุณคิด?

คุณเคยเห็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเพียงเสี้ยววินาที แต่ส่งผลกระทบต่อชีวิตทั้งชีวิตไหม? อุบัติเหตุจากการทำงานเป็นเรื่องที่ไม่มีใครคาดคิด และสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมก่อสร้าง โรงงานผลิต หรือแม้แต่การทำงานในไซต์งานที่มีความเสี่ยงสูง สิ่งหนึ่งที่สามารถช่วยป้องกันอันตรายร้ายแรงได้ คือ หมวกนิรภัย นั่นเองครับ เพื่อให้เคุณห็นภาพว่าทำไม หมวกนิรภัย ถึงสำคัญ ลองมาดูข้อมูลสถิติที่น่าตกใจเหล่านี้ที่ผมเอามาให้ดูกันนะครับ

  • ตามรายงานของ Occupational Safety and Health Administration (OSHA) พบว่ากว่า 25% ของการบาดเจ็บร้ายแรงในสถานที่ทำงานเกิดขึ้นที่ศีรษะ และส่วนใหญ่สามารถป้องกันได้หากใช้หมวกนิรภัยอย่างถูกต้อง
  • ในประเทศไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานว่า อุบัติเหตุจากการตกหล่นของวัตถุในไซต์งานก่อสร้าง เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิต และบาดเจ็บสาหัส
  • มีรายงานจาก National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH) ที่ระบุว่า ผู้ที่ไม่สวมหมวกนิรภัยมีโอกาสเสียชีวิตจากอุบัติเหตุศีรษะสูงกว่าผู้ที่สวมใส่ถึง 3 เท่า
ตัวเลขเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า การสวม หมวกนิรภัย ไม่ใช่เพียงแค่ข้อบังคับของสถานที่ทำงานเท่านั้น แต่มันคือสิ่งที่สามารถช่วยชีวิตคุณได้จริงๆ!

ข้อควรระวังในการใช้งาน หมวกนิรภัย ใช้ผิดอาจเกิดอันตรายได้

หมวกนิรภัย ทำงานอย่างไรในการป้องกันศีรษะ?

หมวกนิรภัย ไม่ได้เป็นเพียงพลาสติกแข็งๆ ที่อยู่บนศีรษะเท่านั้น แต่ถูกออกแบบมาให้รับแรงกระแทกและลดความรุนแรงของอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น โดยองค์ประกอบสำคัญของหมวกนิรภัย
  • ด้านนอกแข็งแรง (Outer Shell) ทำจากวัสดุ ABS (Acrylonitrile Butadiene Styrene), HDPE (High-Density Polyethylene) หรือไฟเบอร์กลาส ซึ่งมีคุณสมบัติทนแรงกระแทกสูง ช่วยกระจายแรงกระแทกออกไป เพื่อลดแรงที่ส่งตรงมายังศีรษะ บางรุ่นมีการเคลือบกันไฟฟ้าสถิตสำหรับงานไฟฟ้าอีกด้วย
  • ซับในรองรับแรงกระแทก (Suspension System) เป็นระบบสายรัด หรือโฟมกันกระแทกภายในหมวก ทำหน้าที่ดูดซับแรงกระแทกและกระจายแรงให้ลดลงก่อนถึงศีรษะของผู้สวมใส่ ระบบรองรับแรงกระแทกที่ดีสามารถช่วยลดแรงที่ส่งไปยังสมองได้ถึง 60-80%
  • สายรัดคาง (Chin Strap) ช่วยให้หมวกกระชับอยู่กับศีรษะ ไม่หลุดออกง่ายเมื่อเกิดการชนหรือแรงกระแทก การใช้สายรัดคางที่แน่นพอดี ช่วยลดความเสี่ยงในการถูกหมวกกระแทกออกจากศีรษะขณะเกิดอุบัติเหตุ

หากไม่สวม หมวกนิรภัย จะเกิดอะไรขึ้น?

  • เสี่ยงต่อการบาดเจ็บรุนแรงที่ศีรษะ กะโหลกศีรษะเป็นโครงสร้างที่แข็งแรงแต่ก็มีขีดจำกัด หากมีวัตถุตกใส่ที่ศีรษะโดยตรง อาจทำให้เกิดการ แตกร้าวของกะโหลกศีรษะ และส่งผลกระทบต่อสมอง
  • ความเสียหายของสมองและการเสียชีวิต แรงกระแทกที่รุนแรงอาจทำให้เกิด ภาวะสมองกระทบกระเทือน (Concussion) ซึ่งส่งผลต่อความจำและระบบประสาท ในกรณีที่รุนแรง อาจเกิดภาวะ เลือดออกในสมอง (Brain Hemorrhage) ซึ่งอาจทำให้หมดสติหรือเสียชีวิต
  • ผลกระทบต่อครอบครัวและรายได้ หากได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะและต้องเข้ารักษาตัวนาน อาจทำให้ไม่สามารถทำงานได้ ส่งผลกระทบต่อรายได้และความมั่นคงของครอบครัว

ประเภทของ หมวกนิรภัย และการใช้งานที่เหมาะสม

หมวกนิรภัย มีหลายประเภท และถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมการทำงานที่แตกต่างกัน หากเลือกใช้ไม่ถูกต้อง อาจทำให้หมวกไม่สามารถปกป้องศีรษะได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของหมวกนิรภัยจะช่วยให้คุณสามารถเลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสมที่สุด

หมวกนิรภัย มาตรฐานอุตสาหกรรม (Industrial Safety Helmet)

หมวกนิรภัย ประเภทนี้ถูกออกแบบมาสำหรับงานในอุตสาหกรรมทั่วไป โดยเฉพาะงานก่อสร้าง ไซต์งานอุตสาหกรรม และงานที่มีความเสี่ยงจากการตกหล่นของวัสดุจากที่สูง

  • คุณสมบัติเด่น มีเปลือกหมวกที่แข็งแรงเพื่อช่วยกระจายแรงกระแทก มีระบบรองรับแรงกระแทกภายใน (Suspension) เพื่อลดแรงที่กระทบศีรษะ สามารถใช้ร่วมกับอุปกรณ์เสริม เช่น แว่นตานิรภัย ที่ครอบหู และหน้ากากป้องกันฝุ่น
  • การใช้งานที่เหมาะสม งานก่อสร้าง งานวิศวกรรมโยธา งานอุตสาหกรรมผลิตที่มีความเสี่ยงจากการตกของวัตถุ
  • มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ANSI Z89.1 (มาตรฐานสหรัฐอเมริกา) EN 397 (มาตรฐานยุโรป) มอก. 368-2538 (มาตรฐานอุตสาหกรรมไทย)

หมวกนิรภัย สำหรับงานไฟฟ้า (Electrical Safety Helmet)

หมวกนิรภัย ประเภทนี้เหมาะสำหรับช่างไฟฟ้าหรือผู้ที่ทำงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อกระแสไฟฟ้า โดยหมวกประเภทนี้ต้องมีคุณสมบัติป้องกันไฟฟ้าสถิตและไม่เป็นสื่อนำไฟฟ้า

  • คุณสมบัติเด่น เปลือกหมวกผลิตจากวัสดุฉนวนไฟฟ้า เช่น ไฟเบอร์กลาส หรือ ABS สามารถป้องกันไฟฟ้าแรงสูงได้ (ขึ้นอยู่กับมาตรฐานของหมวก) มีคุณสมบัติกันกระแทกและป้องกันแรงดันไฟฟ้าได้สูง
  • การใช้งานที่เหมาะสม งานติดตั้งระบบไฟฟ้าแรงสูง งานซ่อมบำรุงหม้อแปลงไฟฟ้า งานซ่อมบำรุงสถานีไฟฟ้าย่อย
  • มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ANSI Z89.1 Class E (ป้องกันไฟฟ้าสูงสุด 20,000 โวลต์) EN 50365 (ป้องกันไฟฟ้าสำหรับงานแรงดันสูง) มอก. 368-2538 (ประเทศไทย)
  • ข้อควรระวัง ห้ามใช้หมวกนิรภัยไฟฟ้าร่วมกับหมวกที่มีองค์ประกอบของโลหะ เช่น คลิปหนีบ หรือสติกเกอร์ที่มีสารนำไฟฟ้า ควรตรวจสอบรอยร้าวหรือรอยขีดข่วนที่อาจทำให้คุณสมบัติกันไฟฟ้าลดลง

หมวกนิรภัย สำหรับการใช้งานเฉพาะทาง (Specialty Helmets)

หมวกนิรภัย ประเภทนี้ถูกออกแบบมาสำหรับงานเฉพาะทางที่ต้องการคุณสมบัติพิเศษ เช่น งานดับเพลิง งานกู้ภัย หรือแม้แต่งานปีนเขา ซึ่งต้องการหมวกที่สามารถทนต่อความร้อนสูงและป้องกันสะเก็ดไฟได้

  • วัสดุทำจากไฟเบอร์กลาสเสริมแรง เพื่อทนต่ออุณหภูมิสูง มีแว่นตานิรภัยในตัว เพื่อป้องกันเปลวไฟและควัน มีสายรัดคางที่แข็งแรงและกระชับ
  • มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง: NFPA 1971 (มาตรฐานสากลสำหรับนักดับเพลิง)

หมวกนิรภัย สำหรับงานปีนเขาและกู้ภัย (Climbing & Rescue Helmet)

ใช้สำหรับงานกู้ภัย ปีนเขา หรืองานที่ต้องทำงานในที่สูงเป็นเวลานาน น้ำหนักเบาและมีระบบรัดศีรษะที่กระชับ มีช่องระบายอากาศเพื่อช่วยลดความร้อน สามารถใช้ร่วมกับอุปกรณ์เสริม เช่น ไฟฉายและแว่นตานิรภัย

  • มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง EN 12492 (มาตรฐานหมวกปีนเขา) ANSI Z89.1 Type II


ข้อควรระวังในการใช้งานหมวกนิรภัย ใช้ผิดอาจเกิดอันตรายได้

หมวกนิรภัยเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยปกป้องศีรษะจากการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุในสถานที่ทำงาน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมก่อสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม งานไฟฟ้า และงานที่มีความเสี่ยงจากวัตถุที่อาจตกลงมา แต่หากใช้งานผิดวิธี หมวกนิรภัยอาจไม่ได้ทำหน้าที่ปกป้องคุณอย่างที่ควรเป็น และอาจก่อให้เกิดอันตรายที่คาดไม่ถึง

- เคยสังเกตไหมว่าสีของ หมวกนิรภัย มันบอกถึงอะไร?

การสวมใส่หมวกนิรภัยผิดวิธี

  • สวมหมวกผิดด้าน หมวกนิรภัยถูกออกแบบมาให้ป้องกันแรงกระแทกจากด้านบน ดังนั้นหากใส่ผิดด้าน โครงสร้างของหมวกจะไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ทำให้มีโอกาสได้รับบาดเจ็บจากแรงกระแทกมากขึ้น
  • สวมหมวกหลวมเกินไป หากหมวกไม่กระชับ อาจหลุดออกได้ง่ายเมื่อเกิดอุบัติเหตุ โดยเฉพาะในงานที่ต้องเคลื่อนไหวเยอะ หรือทำงานในที่สูง
  • ไม่รัดสายรัดคาง (Chin Strap) สายรัดคางเป็นองค์ประกอบที่ช่วยให้หมวกนิรภัยอยู่กับศีรษะอย่างมั่นคง หากไม่รัดสาย หมวกอาจหลุดออกในช่วงเวลาที่จำเป็นต้องใช้ป้องกันศีรษะมากที่สุด
  • ใช้งาน หมวกนิรภัย ร่วมกับหมวกแก๊ปหรือฮู้ดหนา ๆ หลายคนสวมหมวกนิรภัยทับหมวกแก๊ป หรือมีฮู้ดหนา ๆ ข้างใน ซึ่งอาจทำให้ระบบรองรับแรงกระแทกทำงานได้ไม่เต็มที่ และทำให้หมวกไม่แนบสนิทกับศีรษะ
  • ใช้หมวกที่ปรับขนาดไม่ได้ หมวกนิรภัยที่ดีควรมีระบบปรับขนาดให้กระชับกับศีรษะของแต่ละคน หมวกที่ไม่มีระบบปรับขนาดอาจทำให้สวมใส่ไม่กระชับ ส่งผลต่อความปลอดภัย

การใช้ หมวกนิรภัย ที่เสื่อมสภาพ

  • รอยร้าวหรือแตกร้าว หากหมวกมีรอยแตกร้าวแม้เพียงเล็กน้อย หมายความว่าหมวกอาจไม่สามารถดูดซับแรงกระแทกได้ดีอีกต่อไป และควรเปลี่ยนใหม่ทันที
  • หมวกที่ถูกกระแทกแรง ๆ มาก่อน หากหมวกเคยรับแรงกระแทกจากการตกของวัตถุหนักมาแล้ว แม้ว่าจะดูไม่มีรอยแตกภายนอก แต่อาจเกิดความเสียหายภายในที่มองไม่เห็น ซึ่งอาจทำให้ประสิทธิภาพการป้องกันลดลง
  • ใช้ หมวกนิรภัย ที่หมดอายุการใช้งาน โดยทั่วไป หมวกนิรภัยควรเปลี่ยนใหม่ทุก 3-5 ปี แม้ว่าจะไม่มีความเสียหายภายนอก
  • หมวกที่สีซีดหรือเปราะบางจากแสงแดด แสงแดดสามารถทำให้พลาสติกเสื่อมสภาพได้ หมวกที่ถูกเก็บหรือใช้งานกลางแจ้งเป็นเวลานานอาจมีเนื้อวัสดุที่เปราะและแตกง่าย

การเลือก หมวกนิรภัย ผิดประเภท

  • ใช้ หมวกนิรภัย ทั่วไปในงานไฟฟ้า หมวกที่ไม่มีคุณสมบัติกันไฟฟ้าอาจนำกระแสไฟฟ้าและทำให้เกิดอันตรายได้
  • ใช้ หมวกนิรภัย ที่ไม่มีมาตรฐานรับรอง หมวกนิรภัยที่ไม่มีมาตรฐาน เช่น ANSI, EN, หรือ มอก. อาจไม่ได้ผ่านการทดสอบที่เหมาะสม ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายมากขึ้น
  • ใช้ หมวกนิรถัย ที่ไม่ได้ออกแบบสำหรับงานหนัก เช่น การใช้หมวกที่ไม่มีระบบรองรับแรงกระแทกสำหรับงานก่อสร้างที่มีความเสี่ยงสูง

วัสดุที่ใช้ทำ หมวกนิรภัย

  • ABS (Acrylonitrile Butadiene Styrene) ทนแรงกระแทกสูง น้ำหนักเบา ใส่สบาย ใช้กันแพร่หลายในหมวกนิรภัยอุตสาหกรรม
  • HDPE (High-Density Polyethylene) ทนแรงกระแทกสูง ทนต่อสารเคมีและรังสี UV ได้ดี เหมาะสำหรับงานกลางแจ้งและงานที่ต้องเผชิญกับสภาพอากาศรุนแรง
  • ไฟเบอร์กลาส (Fiberglass) ทนความร้อนสูง มีความแข็งแรงมากกว่าพลาสติกทั่วไป เหมาะสำหรับงานดับเพลิง หรืออุตสาหกรรมที่ต้องสัมผัสกับความร้อน

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ หมวกนิรภัย

Q: หมวกนิรภัย มีอายุการใช้งานกี่ปี?

A: โดยทั่วไป 3-5 ปี แต่หากมีรอยร้าวหรือความเสียหาย ควรเปลี่ยนทันทีครับ

Q: สามารถใช้ หมวกนิรภัย แทนหมวกกันน็อคได้ไหม?

A: ไม่ได้ เพราะออกแบบให้รับแรงกระแทกคนละรูปแบบกัน

Q: หมวกนิรภัย ที่เปียกน้ำหรือตากแดดเป็นเวลานานจะเสื่อมสภาพเร็วขึ้นหรือไม่?

A: ใช่ แนะนำให้เก็บในที่ร่ม และหลีกเลี่ยงแสงแดดโดยตรง

เลือก หมวกนิรภัย ให้เหมาะกับการใช้งาน