มาดูประวัติความเป็นมา และวิวัฒนาการของ ตลับเมตร จากอดีตถึงปัจจุบันกัน!

Customers Also Purchased

คุณคงคุ้นเคยกับ ตลับเมตร อยู่แล้วใช่ไหมล่ะครับ มันเป็นเครื่องมือที่อยู่คู่กับงานวัด และการพวกงานก่อสร้างมายาวนาน ด้วยความสามารถในการวัดระยะทางที่สะดวก พกพาง่าย และยังสามารถใช้งานได้หลากหลาย ตลับเมตร จึงกลายเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ต้องมีติดบ้านของคุณไว้อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นงานอุตสาหกรรม งานช่าง และในชีวิตประจำวัน 

ในบทความนี้ผมจะพาคุณย้อนอดีตสักหน่อยล่ะกัน จะย้อนพาคุณไปรู้จักกับจุดกำเนิดของ ตลับเมตร และดูการพัฒนาการในแต่ละยุคสมัย และความก้าวหน้าที่ทำให้ ตลับเมตร ยังคงเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ถ้าหากพร้อมแล้ว ไปอ่านบทความนี้พร้อมกันได้เลย!

ตลับเมตร ในยุคเริ่มต้น

ต้นกำเนิด และความสำคัญในยุคโบราณ

ย้อนไปจนถึงยุคโบราณ มนุษย์เริ่มต้นการวัดระยะทาง และขนาดต่างๆ โดยใช้เครื่องมือพื้นฐาน นั่นก็คือพวก เชือก ถ่อนไม้ หรือแม้กระทั่งส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ความยาวช่วงแขน หรือฝ่ามือ ซึ่งถูกนำมาใช้ในงานก่อสร้าง และการทำแผนที่ในยุคแรก ในการใช้เครื่องมือพื้นฐานเหล่านี้แสดงถึงความพยายามของมนุษย์ในการหาวิธีการวัดที่แม่นยำมากขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเครื่องมือวัดระยะที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นในอนาคตนั่นเอง 

การพัฒนาตลับเมตรยุคแรกในศตวรรษที่ 19

ต่อมาการพัฒนา ตลับเมตร ที่เรารู้จักในปัจจุบันเริ่มต้นขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19 เมื่อ James Chesterman วิศวกรชาวอังกฤษ ได้ออกแบบตลับเมตรแบบใช้ระบบสปริง ซึ่งกลไกนี้ทำให้การใช้งานง่ายขึ้นและสะดวกในการจัดเก็บ นับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในวงการเครื่องมือวัด ต่อมาในปี 1868 Alvin J. Fellows ได้พัฒนาและจดสิทธิบัตรตลับเมตรแบบยืดหยุ่นในสหรัฐอเมริกา ตลับเมตร รุ่นนี้ทำจากโลหะแถบบางซึ่งสามารถม้วนเก็บในกล่องเล็กๆ ได้ ช่วยให้พกพา และใช้งานสะดวกมากยิ่งขึ้น ความก้าวหน้าเหล่านี้ไม่เพียงแค่ทำให้ ตลับเมตร เป็นที่นิยมในหมู่ช่าง และนักสำรวจ แต่ยังวางรากฐานให้เกิดการพัฒนาเครื่องมือวัดที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเรื่อยมาอีกด้วย

มาดูประวัติความเป็นมา และวิวัฒนาการของ ตลับเมตร จากอดีตถึงปัจจุบันกัน

ตลับเมตร ในยุคอุตสาหกรรม

การผลิต ตลับเมตร ในปริมาณมาก

การปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงศตวรรษที่ 18 และ 19 ได้เปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตเครื่องมือช่าง รวมถึง ตลับเมตร ด้วยการผลิตด้วยมือในปริมาณ มันทำให้จำกัดไปสู่การผลิตในระบบโรงงานที่มีมาตรฐาน และความรวดเร็วสูง การผลิต ตลับเมตร ในปริมาณมากไม่เพียงช่วยลดต้นทุนการผลิต แต่ยังทำให้ ตลับเมตร กลายเป็นเครื่องมือที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้นสำหรับคนทั่วไปนั่นเองครับ ไม่ว่าจะเป็นช่างไม้ ช่างก่อสร้าง หรือแม้แต่เจ้าของบ้านที่ต้องการเครื่องมือวัดขนาดในการใช้งานส่วนตัว

แต่ในยุคนี้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเครื่องจักรได้เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญ เช่น เครื่องรีดแถบโลหะ และการประกอบชิ้นส่วนแบบอัตโนมัติ สิ่งเหล่านี้เองได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างมหาศาลเลยก็ว่าได้ครับ ตลับเมตร ที่ผลิตออกมาในยุคอุตสาหกรรมมีความแม่นยำมากขึ้นด้วยการนำเทคนิคการพิมพ์มาตราส่วนที่ชัดเจนบนแถบโลหะ และการนำกลไกสปริงมาช่วยให้การดึง และม้วนเก็บง่ายดาย

การเปลี่ยนแปลงวัสดุ และความทนทาน

ในช่วงแรกๆของยุคอุตสาหกรรม ตลับเมตร ส่วนใหญ่ทำจากเหล็ก ซึ่งให้ความแข็งแรงทนทานและเหมาะกับงานที่ต้องการความแม่นยำสูง แต่อย่างไรก็ตาม มันก็มีข้อเสียอยู่บ้างแหละครับ ข้อเสียของวัสดุเหล็กก็คือมีน้ำหนักมาก และอาจเกิดสนิมได้ง่าย เมื่อใช้งานในสภาพแวดล้อมที่ชื้น

เมื่อเทคโนโลยีพลาสติกเริ่มเข้ามามีบทบาทในช่วงศตวรรษที่ 20 มันก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ขึ้นมา พลาสติกถูกนำมาใช้เป็นวัสดุสำหรับตัวโครง ตลับเมตร เนื่องจากมีน้ำหนักเบา ราคาถูก และสามารถป้องกันการกัดกร่อนจากสภาพอากาศได้ดีอีกต่างหาก นอกจากนี้ แถบวัดที่เคยทำจากเหล็กกล้ายังถูกเคลือบด้วยสารป้องกันสนิม หรือเปลี่ยนมาใช้วัสดุสังเคราะห์ที่มีความยืดหยุ่นสูง ทำให้ ตลับเมตร ในยุคนี้มีความคงทน และเหมาะสำหรับการใช้งานหลากหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น

นวัตกรรมด้านวัสดุไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งาน แต่ยังทำให้ ตลับเมตร กลายเป็นเครื่องมือที่ตอบโจทย์การใช้งาน ทั้งในอุตสาหกรรมก่อสร้าง การออกแบบ และงานซ่อมบำรุงในชีวิตประจำวันอย่างกว้างขวางอีกด้วย

มาดูประวัติความเป็นมา และวิวัฒนาการของ ตลับเมตร จากอดีตถึงปัจจุบันกัน

ตลับเมตร ในปัจจุบัน

มาถึงในยุคปัจจุบันกันแล้วนะครับ ตลับเมตร เองได้กลายเป็นเครื่องมือที่มีบทบาทสำคัญในหลากหลายอุตสาหกรรม และการใช้งานในชีวิตประจำวันมากขึ้นกว่าเดิมเยอะมาก ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยี และความหลากหลายของรูปแบบ ตลับเมตร ทั้งแบบดิจิทัล และเลเซอร์ เครื่องมือนี้จึงตอบสนองความต้องการที่ซับซ้อนในงานหลากหลายประเภทได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

1. งานก่อสร้างและสถาปัตยกรรม

ตลับเมตร ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ในงานก่อสร้าง และสถาปัตยกรรม โดยช่างมืออาชีพใช้ในการวัดระยะทาง วัดพื้นที่ และตรวจสอบความสมดุลของโครงสร้าง เพื่อให้การก่อสร้างเป็นไปตามแผนที่วางไว้อย่างแม่นยำ

2. งานช่างไม้และงาน DIY

สำหรับผู้ที่ทำงานช่างไม้หรือผู้ที่หลงใหลในงาน DIY ตลับเมตร เป็นวิ่งที่ขาดไม่ได้เลย มันเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ช่วยให้การวัดระยะ การออกแบบ และการตัดชิ้นส่วนไม้เป็นไปอย่างแม่นยำ ช่วยให้คุณสามารถวัด และทำมุมได้ตรงตามที่ต้องการ เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นและช่างมืออาชีพที่ต้องการความละเอียดในงานประดิษฐ์และงานตกแต่ง

3. งานอุตสาหกรรม

ตลับเมตรแบบดิจิทัล หรือ เลเซอร์วัด ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในงานอุตสาหกรรมที่ต้องการความแม่นยำสูง อุตสาหกรรมยานยนต์ ใช้ในการตรวจวัดระยะและมิติของชิ้นส่วนรถยนต์ เพื่อความแม่นยำในกระบวนการผลิต อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ใช้ในงานวัดขนาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องการความละเอียดสูงมาก การออกแบบโครงสร้างโรงงานหรือเครื่องจักรขนาดใหญ่ ที่ต้องการการวัดที่ครอบคลุมและแม่นยำ

4. งานออกแบบตกแต่งภายใน

ในงานออกแบบตกแต่งภายใน ตลับเมตร เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้นักออกแบบสามารถกำหนดขนาดของเฟอร์นิเจอร์ การวางผังพื้นที่ และการตกแต่งได้อย่างแม่นยำ ช่วยให้การวัดพื้นที่ขนาดใหญ่หรือการวัดมุมในห้องเป็นเรื่องง่าย และรวดเร็ว การบันทึกระยะทางดิจิทัลยังช่วยให้นักออกแบบสามารถบันทึกและวางแผนการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ได้ทันที

5. งานวิศวกรรมและการก่อสร้างขนาดใหญ่

ในงานวิศวกรรมโครงสร้าง เช่น การสร้างสะพาน ถนน หรืออาคารสูง ตลับเมตร หรือ เทปวัด มักถูกเลือกใช้เนื่องจากสามารถวัดระยะไกลได้อย่างแม่นยำในเวลาอันรวดเร็ว ช่วยลดข้อผิดพลาดในการก่อสร้างและทำให้งานมีคุณภาพยิ่งขึ้น

6. งานเกษตรกรรมและภูมิทัศน์

ตลับเมตร ยังมีบทบาทในงานเกษตรกรรมและการออกแบบภูมิทัศน์ การวัดพื้นที่เพื่อตรวจสอบขนาดของที่ดินหรือแปลงเกษตร การจัดวางระบบชลประทาน หรือการวางแผนการปลูกต้นไม้ในพื้นที่สวนขนาดใหญ่

สรุป

ตลับเมตร เป็นมากกว่าเครื่องมือวัดระยะทางที่เราคุ้นเคย หากมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ จะเห็นได้ว่าการพัฒนาเครื่องมือนี้สะท้อนถึงความก้าวหน้าของมนุษย์ในทุกยุคทุกสมัย ตั้งแต่การใช้ร่างกายเป็นหน่วยวัดในยุคโบราณ มาจนถึงการสร้างเครื่องมือวัดระยะที่มีมาตรฐานและความแม่นยำสูง ตลับเมตรได้ก้าวเข้ามาเป็นผู้ช่วยสำคัญในงานก่อสร้าง งานช่าง และชีวิตประจำวัo

เลือกดู ตลับเมตร เพิ่มเติม