รู้จัก สายเชื่อม ไฟฟ้า! สีดำ และสีส้ม แตกต่างกันอย่างไร?

Customers Also Purchased

สายเชื่อม อาจเป็นอุปกรณ์ที่หลายคนมองข้ามในงานเชื่อมโลหะ แต่รู้หรือไม่ว่า การเลือกสายเชื่อมที่เหมาะสมส่งผลโดยตรงต่องานเชื่อมได้อย่างมหาศาล? ไม่ว่าจะเป็นช่างเชื่อมมืออาชีพหรือสาย DIY การทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างสายเชื่อม สีดำ และสีส้ม จะช่วยในการเลือกอุปกรณ์ที่ตอบโจทย์ทั้งด้านประสิทธิภาพ และความปลอดภัย ในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกถึงคุณสมบัติเด่น ข้อดี-ข้อเสีย และการใช้งานที่เหมาะสมของสายเชื่อมทั้งสองสี เพื่อให้คุณเตรียมความพร้อมสำหรับทุกงานเชื่อมอย่างมืออาชีพ!


สายเชื่อม (Welding Cable) ถือเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากในงานเชื่อมโลหะ เพราะมันทำหน้าที่นำกระแสไฟฟ้าจากตู้เชื่อมไปยังหัวเชื่อม เพื่อสร้างอาร์คไฟฟ้า (Arc) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ช่วยหลอมรวมโลหะให้กลายเป็นหนึ่งเดียว นอกจากนี้สายเชื่อมที่ทำหน้าที่เป็นสายดินที่ต้องมีความทนทานในการรองรับกระแสไฟฟ้าแรงสูงในระหว่างการใช้งานอีกด้วย

การเลือกสายเชื่อมที่เหมาะสมถือเป็นเรื่องสำคัญต่อการใช้งานในระยะยาว เพราะสายเชื่อมแต่ละแบบถูกออกแบบมาให้รองรับการใช้งานที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะสายเชื่อมสีดำและสีส้ม ซึ่งเป็นสองตัวเลือกยอดนิยมในงานเชื่อมโลหะ ทั้งสองสีนี้มีคุณสมบัติและจุดเด่นที่ตอบโจทย์การใช้งานในลักษณะที่ไม่เหมือนกัน ใครที่กำลังมองหาสายเชื่อมที่ใช่ ลองมาทำความเข้าใจความแตกต่างของสายเชื่อมสองชนิดนี้กันเถอะ!

รู้จัก สายเชื่อม ไฟฟ้า สีดำ และสีส้ม แตกต่างกันอย่างไร

สายเชื่อมสีดำ

สายเชื่อมสีดำออกแบบมาเพื่อการใช้ในงานเชื่อมโลหะทั่วไป คุณสมบัติเด่นของสายเชื่อมสีดำคือน้ำหนักที่เบา และราคาประหยัด เหมาะสำหรับการใช้งานในสถานที่ที่ไม่มีความรุนแรงทางสภาพแวดล้อมมากนัก เช่น งานเชื่อมภายในอาคาร หรืองานที่ไม่ต้องเผชิญกับแสงแดดหรือความร้อนสูงตลอดเวลา

สายเชื่อมสีดำมักผลิตจาก ยางธรรมชาติ หรือ ยางสังเคราะห์ ที่มีความยืดหยุ่นสูง เพื่อรองรับการใช้ในงานเชื่อมทั่วไป ตัวฉนวนภายนอกเน้นความเบาและความคล่องตัวในขณะที่ใช้งาน ซึ่งเหมาะสำหรับพื้นที่ภายในที่ไม่มีปัจจัยสิ่งแวดล้อมรุนแรง เช่น แสงแดดหรือสารเคมี ส่วนตัวนำไฟฟ้าภายในทำจาก ทองแดงบริสุทธิ์ เพื่อรองรับกระแสไฟฟ้าแรงสูง ช่วยให้การเชื่อมดำเนินไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม วัสดุของสายเชื่อมสีดำไม่สามารถทนต่อแสง UV หรือความชื้นได้ดี จึงเหมาะสำหรับงานในพื้นที่ควบคุม หรือใช้ภายในอาคารเป็นหลัก

ข้อดี

  • มีความยืดหยุ่นสูง น้ำหนักเบา ใช้งานง่าย
  • ราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับสายสีส้ม
  • เหมาะสำหรับงานเชื่อมทั่วไป

ข้อเสีย

  • ไม่ทนต่อแสงแดดและรังสี UV
  • เสื่อมสภาพเร็วเมื่อใช้งานกลางแจ้งหรือในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นหรือสารเคมี
  • ไม่เหมาะกับงานที่ต้องเผชิญสารเคมีหรือความร้อนสูงเป็นเวลานาน
  • การใช้งานที่เหมาะสม
  • งานเชื่อมภายในอาคารที่ไม่มีแสงแดด
  • งาน DIY หรืองานเชื่อมทั่วไป
  • งานที่ไม่ต้องการความทนทานต่อสภาพแวดล้อมรุนแรง

รู้จัก สายเชื่อม ไฟฟ้า สีดำ และสีส้ม แตกต่างกันอย่างไร

สายเชื่อมสีส้ม

สายเชื่อมสีส้มผลิตจากวัสดุคุณภาพสูง มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่รุนแรง ออกแบบมาให้สามารถใช้งานกลางแจ้งหรือในพื้นที่ที่มีความชื้น ความร้อน หรือแสงแดดโดยตรงได้ดี สายสีส้มยังมีคุณสมบัติพิเศษที่ช่วยต้านทานการเสื่อมสภาพจากสารเคมี น้ำมัน และรังสี UV

สายเชื่อมสีส้มผลิตจากวัสดุที่ทนต่อสภาพแวดล้อมหนัก ๆ เช่น ยาง EPDM หรือ พีวีซี (PVC) ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นในการต้านรังสี UV แสงแดด และสารเคมี โดยเฉพาะ น้ำมัน กรด และด่าง ฉนวนภายนอกออกแบบมาให้รองรับการใช้งานกลางแจ้งได้ดีโดยไม่เปราะหรือแตกง่าย แม้จะใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย เช่นการต้องเจอแสงแดด และความชื้น

สายเชื่อมสีส้ม มีตัวนำไฟฟ้าภายในที่ทำจากทองแดงคุณภาพสูง ซึ่งถักหลายชั้นเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น และยังลดโอกาสที่สายจะขาดอีกด้วย เหตุผลนี้จึงทำให้สายเชื่อมสีส้มเหมาะสมกับงานในพื้นที่กลางแจ้งหรือ ในอุตสาหกรรมเคมีที่ต้องการความทนทานสูงสุดต่อสิ่งแวดล้อมเพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนานยิ่งขึ้น

ข้อดี

  • ทนต่อแสงแดด รังสี UV และสภาพแวดล้อมกลางแจ้ง
  • ทนความร้อนและสารเคมีได้ดี
  • อายุการใช้งานยาวนานกว่าหากต้องใช้ในสภาพแวดล้อมที่เปียกชื้น หรือเจอแสงแดด
  • เหมาะสำหรับงานเชื่อมที่ต้องการความทนทานและประสิทธิภาพสูง

ข้อเสีย

  • ราคาสูงกว่าสายเชื่อมสีดำ
  • น้ำหนักมากกว่าเล็กน้อย ทำให้อาจเคลื่อนย้ายได้ยากกว่า

การใช้งานที่เหมาะสม

  • งานเชื่อมกลางแจ้งที่ต้องเผชิญกับแสงแดดหรือฝน
  • งานเชื่อมในโรงงานอุตสาหกรรม หรือสถานที่ที่มีความรุนแรงของสภาพแวดล้อม เช่นสารเคมี แสงแดด และความชื้น
  • งานเชื่อมที่ต้องการความปลอดภัย และความทนทานในระยะยาว 

รู้จัก สายเชื่อม ไฟฟ้า สีดำ และสีส้ม แตกต่างกันอย่างไร

คำแนะนำในการเลือกสายเชื่อม

สถาณการณ์ที่ควรเลือกสายเชื่อมสีดำ:

  • งานเชื่อมอยู่ภายในอาคารหรือต้องการใช้งานชั่วคราว
  • ต้องการประหยัดต้นทุน
  • เป็นงานเชื่อมขนาดเล็กหรือไม่ซับซ้อน

สถาณการณ์ที่ควรเลือกสีส้ม:

  • งานเชื่อมต้องอยู่กลางแจ้งหรือในสภาพแวดล้อมที่รุนแรง
  • งานเชื่อมต้องการความทนทานในระยะยาว
  • เป็นงานเชื่อมที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรม 

ข้อควรระวังในการใช้งานสายเชื่อม

  • หมั่นตรวจสอบสภาพของสายเชื่อมเพื่อป้องกันการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้า
  • หลีกเลี่ยงการใช้งานสายเชื่อมที่มีรอยขาดหรือรอยฉีก
  • เก็บสายเชื่อมในที่แห้งและปลอดภัยเมื่อไม่ได้ใช้งาน เพื่อยืดอายุการใช้งาน

สรุป

สายเชื่อม สีดำ และสีส้มมีความแตกต่างที่สำคัญในด้านวัสดุ คุณสมบัติ และการใช้งาน การเลือกสายเชื่อมที่เหมาะสมกับลักษณะงานจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในงานเชื่อมของคุณ หากต้องการความทนทานและใช้งานได้ในระยะยาว สายเชื่อมสีส้มคือคำตอบที่ดีที่สุด แต่ถ้าต้องการความสะดวกและประหยัด สายเชื่อมสีดำก็ตอบโจทย์ได้ดีเช่นกัน