รู้จัก หน้ากากเชื่อม! แบบธรรมดาและแบบอัตโนมัติ แตกต่างกันอย่างไร ?

Customers Also Purchased

หน้ากากเชื่อม ถือเป็นอุปกรณ์ป้องกันที่สำคัญและครอบคุมในหลายๆงานช่าง เนื่องจากการเชื่อมโลหะเป็นงานที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในยุคปัจจุบัน แทบทุก ๆ อุสาหกรรมจะต้องมีการใช้โลหะ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เหล็กเสริมในการสร้างหรือต่อเติมอาคาร เหล็กในอุสาหกรรมยานยนต์ และอุปกรณ์ภายในโรงงานต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้โลหะ นอกจากนี้การเชื่อมโลหะยังรวมไปถึงงานซ่อมแซมต่าง ๆ ซึ่งที่มักจะพบบ่อย คืองานซ่อมรถยนต์ และมอเตอร์ไซค์

งานเชื่อมโลหะเป็นหนึ่งในกระบวนการที่ต้องใช้ความระมัดระวังสูง เนื่องจากแสงจ้าจากการเชื่อมสะเก็ดโลหะ และควันต่าง ๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อดวงตาและใบหน้าได้ ทำให้หน้ากากเชื่อม เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยปกป้องผู้ใช้งาน และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเช่น การมองเห็น ได้ด้วย

องค์ประกอบสำคัญของหน้ากากเชื่อม

หน้ากากเชื่อมมักมีองค์ประกอบสำคัญเช่น เลนส์ป้องกันแสง เลนซ์ซึ่งใช้กรองแสง และรังสี UV/IR โดยมีทั้งแบบความเข้มคงที่ และแบบปรับความเข้มอัตโนมัติ โครงหน้ากาก ที่ใช้ป้องกันสะเก็ดไฟและแรงกระแทก สายรัดศีรษะ ที่ปรับได้เพื่อความกระชับ และ ฟิลเตอร์ป้องกันรังสี เพื่อความปลอดภัยของดวงตา โดยบางรุ่นจะมี ระบบเซ็นเซอร์ สำหรับปรับแสงอัตโนมัติ ระบบระบายอากาศ เพื่อลดความอับชื้น และ เลนซ์กว้างที่มีพื้นที่การมองเห็นขนาดใหญ่ เพื่อเพิ่มความสะดวกในการทำงาน องค์ประกอบเหล่านี้ออกแบบมา เพื่อปกป้องผู้ใช้งาน และเพิ่มประสิทธิภาพในงานเชื่อม  

รู้จัก หน้ากากเชื่อม  แบบธรรมดาและแบบอัตโนมัติ แตกต่างกันอย่างไร

DIN (Deutsches Institut für Normung) เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมของเยอรมนีที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยในหน้ากากเชื่อม DIN หมายถึงระดับความเข้มของเลนส์ป้องกันแสง (Shade Level) ที่ใช้กรองแสงและป้องกันรังสี UV/IR DIN มีช่วงระดับตั้งแต่ 5-13 ซึ่งระดับต่ำ เช่น DIN 5-8 เหมาะสำหรับงาน ตัดพลาสม่า หรืองานที่มีแสงจ้าไม่มาก ส่วนระดับสูง เช่น DIN 9-13 เหมาะสำหรับงานเชื่อมทั่วไป เช่น TIG, MIG และ MMA โดยระดับ DIN ที่สูงขึ้นจะมีความเข้มมากขึ้นเพื่อป้องกันแสงที่รุนแรงได้ดียิ่งขึ้น 

รู้จัก หน้ากากเชื่อม  แบบธรรมดาและแบบอัตโนมัติ แตกต่างกันอย่างไร
หน้ากากเชื่อมแบบธรรมดา (Passive Welding Helmet)
หน้ากากเชื่อมแบบธรรมดา เป็นหน้ากากที่มีเลนส์ความเข้มคงที่ (Fixed Shade) โดยทั่วไปอยู่ในระดับ DIN 10-13 ซึ่งเพียงพอสำหรับการป้องกันแสงจ้าจากการเชื่อมและรังสี UV/IR ที่อาจเป็นอันตรายต่อดวงตาได้ โดยจะต้องยกหน้ากากขึ้นเพื่อดูชิ้นงาน และลดหน้ากากลงเมื่อเริ่มเชื่อม หน้ากากชนิดนี้จึงเหมาะสมกับการใช้งานที่ไม่ซับซ้อน หรือช่างเชื่อมมือใหม่ ข้อดีของหน้ากากประเภทนี้คือ:
  • ราคาประหยัด: เหมาะสำหรับผู้ที่มีงบประมาณจำกัด
  • แข็งแรงและทนทาน: โครงสร้างเรียบง่าย ไม่มีชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
  • การป้องกันพื้นฐาน: ป้องกันรังสี UV/IR ได้ดีและเหมาะสำหรับงานทั่วไป
หน้ากากประเภทนี้เหมาะสำหรับ:
  • งานเชื่อมพื้นฐาน: เช่น MMA ที่ไม่ต้องการความแม่นยำหรือรายละเอียดสูงมาก
  • มือใหม่: ที่ต้องการฝึกฝนและยังไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
แม้ว่าหน้ากากเชื่อมแบบธรรมดา จะไม่ได้มีฟีเจอร์ที่ทันสมัย แต่ก็ยังเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้เริ่มต้นหรือใช้งานในสถานการณ์ที่ต้องการความเรียบง่าย และคุ้มค่า 

รู้จัก หน้ากากเชื่อม  แบบธรรมดาและแบบอัตโนมัติ แตกต่างกันอย่างไร


หน้ากากเชื่อมแบบปรับแสงอัตโนมัติ (Auto-Darkening Welding Helmet)

หน้ากากเชื่อมแบบปรับแสงอัตโนมัติเป็นหน้ากากที่ใช้เทคโนโลยีเซ็นเซอร์ตรวจจับแสงจากกระบวนการเชื่อม โดยเลนส์จะปรับระดับความเข้มได้อัตโนมัติจากสภาพแสงที่เปลี่ยนแปลงระหว่างการใช้งาน ทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องยกหน้ากากขึ้นลงบ่อยครั้ง ระดับความเข้มของเลนส์ปกติจะอยู่ที่ DIN 5-9 สำหรับงาน ตัดพลาสม่า และ DIN 9-13 สำหรับงานเชื่อมทั่วไป เช่น TIG หรือ MIG ซึ่งต้องการความแม่นยำในการทำงาน ข้อดีหลัก ๆ ของหน้ากากประเภทนี้ ได้แก่:
  • ความสะดวกในการใช้งาน: เลนส์ที่ปรับความเข้มได้อัตโนมัติ ซึ่งช่วยให้ไม่ต้องยกหน้ากากขึ้นลงบ่อย ทำให้ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
  • ลดความเมื่อยล้า: ผู้ใช้งานไม่ต้องขยับศีรษะหรือลดหน้ากากเอง ช่วยลดภาระระหว่างการทำงาน
  • เหมาะกับงานที่ต้องการความแม่นยำ: งานเชื่อมที่ต้องใช้การควบคุมสูง เช่น TIG และ MIG 

รู้จัก หน้ากากเชื่อม แบบธรรมดาและแบบอัตโนมัติ แตกต่างกันอย่างไร


อย่างไรก็ตาม หน้ากากเชื่อมแบบอัตโนมัติยังมีข้อควรพิจารณา เช่น:

  • ราคาที่สูงกว่าแบบธรรมดา: เนื่องจากมีเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ และระบบปรับแสงอัตโนมัติ
  • ต้องดูแลแบตเตอรี่หรือพลังงานแสงอาทิตย์: ระบบอัตโนมัติของหน้ากากต้องใช้พลังงาน จึงต้องหมั่นตรวจสอบแบตเตอรี่เพื่อให้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ

หน้ากากเชื่อมประเภทนี้เหมาะสำหรับ:

  • งานเชื่อมที่ต้องการความแม่นยำสูง เช่น TIG และ MIG ที่ผู้ใช้งานต้องเห็นรายละเอียดของชิ้นงานชัดเจน
  • งาน ตัดพลาสม่า ซึ่งต้องปรับความเข้มของเลนส์ให้เหมาะสมกับกระบวนการตัด
  • ช่างเชื่อมมืออาชีพ ที่ทำงานเชื่อมต่อเนื่องเป็นเวลานานและต้องการอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และความรวดเร็ว แม่นยำ

ด้วยคุณสมบัติ และฟีเจอร์ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย หน้ากากเชื่อมแบบอัตโนมัติจึง เหมาะอย่างยิ่งสำหรับมืออาชีพ หรือผู้ที่ทำงานเชื่อมบ่อยครั้ง ที่ต้องการความปลอดภัย ความแม่นยำ และความสะดวกในการใช้งานสูงสุด

รู้จัก หน้ากากเชื่อม  แบบธรรมดาและแบบอัตโนมัติ แตกต่างกันอย่างไร

สรุป

หน้ากากเชื่อม เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยปกป้องผู้ใช้งานจากแสงจ้า รังสี UV/IR และสะเก็ดโลหะ โดยมีให้เลือก 2 ประเภทหลัก ได้แก่ แบบธรรมดา ที่ราคาประหยัด แข็งแรง ทนทาน และเหมาะกับงานพื้นฐานหรือผู้เริ่มต้น แต่มีข้อจำกัดในด้านความสะดวกและความแม่นยำ และ แบบปรับแสงอัตโนมัติ ที่ใช้เทคโนโลยีเซ็นเซอร์ช่วยปรับความเข้มของเลนส์ได้อัตโนมัติ เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความแม่นยำ