เคล็ด(ไม่)ลับในการเลือกฟิลเตอร์ให้เหมาะกับ หน้ากากกันสารเคมี

Customers Also Purchased

ผมคิดว่าในยุคปัขขุบันนี้เอง หน้ากากกันสารเคมี ถือว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญในชีวิตเราพอสมควรเลยก็ว่าได้ครับ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยปกป้องระบบทางเดินหายใจ จากมลพิษ ไอระเหย และฝุ่นละออง ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของตัวเราเอง จะว่าไปแล้ว หน้ากากกันสารเคมี จะใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อมี ฟิลเตอร์หรือตลับกรองอากาศที่เต็มประสิทธิภาพนั่นเอง

ประสิทธิภาพในการป้องกันขึ้นอยู่กับการเลือก ฟิลเตอร์ หรือ ตลับกรองอากาศ ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่คุณต้องเจอในแต่ละวัน หากเลือกฟิลเตอร์ผิดประเภท ประสิทธิภาพการป้องกันก็ของ หน้ากากกันสารเคมี ก็ลดลงและทำก่อให้เกิดความเสี่ยงแทนที่จะปลอดภัย มาเอาล่ะ!ในบทความนี้ผมจะมาเจาะลึก เคล็ด(ไม่)ลับ ในการเลือก ฟิลเตอร์ หรือ ตลับกรองอากาศ ที่เหมาะสมสำหรับ หน้ากากกันสารเคมี เพื่อให้คุณมั่นใจได้ว่ากำลังใช้งานอย่างปลอดภัยที่สุด ถ้าหากพร้อมแล้วล่ะก็ ไปิ่านบทความนี้กันได้เลย Let's go!

1. ฟิลเตอร์ หรือ ตลับกรองอากาศ ของ หน้ากากกันสารเคมี มีกี่ประเภท?

ฟิลเตอร์ หรือ ตลับกรองอากาศ ของ หน้ากากกันสารเคมี ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการป้องกันมลพิษ สารเคมี และอนุภาคในอากาศ ที่ถูกออกแบบให้เหมาะสมกับลักษณะงาน และสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย คุณอาจจะมีคำถามอยู่ในหัวแล้วใช่ไหมล่ะครับ? มันมีกี่ประเภท? แล้วจะเลือกยังไง?เอาล่ะผมจะแบ่งออกให้เป็น 3 ประเภทหลักๆ เพื่อให้คุณเข้าใจล่ะกันครับ ไปเริ่มที่ประเภทแรกกันก่อนเลย
เคล็ดไม่ลับในการเลือกฟิลเตอร์ให้เหมาะกับ หน้ากากกันสารเคมี

1.1 ฟิลเตอร์กรองแก๊สและไอระเหย (Gas and Vapor Filter)

ฟิลเตอร์ ประเภทนี้ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันสารเคมีในรูปแบบของแก๊ส และพวกไอระเหย ไม่ว่าจะเป็น ไอระเหยของตัวทำละลาย สารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOC) หรือแก๊สพิษที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพนั่นเอง ประเภทของสารเคมีที่รองรับ ฟิลเตอร์กรองแก๊ส และไอระเหยมักแบ่งตามชนิดของสารเคมี ตามด้านล่างนี้

  • สารอินทรีย์ระเหยง่าย (Organic Vapors): เช่น เบนซีน โทลูอีน
  • แก๊สกรด (Acid Gases): เช่น คลอรีน ไฮโดรเจนคลอไรด์
  • แอมโมเนียและอนุพันธ์ (Ammonia): ใช้ในงานอุตสาหกรรมเคมีและการเกษตร
วิธีการเลือกฟิลเตอร์เหล่านี้จะง่ายมากครับ ไม่ยุ่งยาก เพียงแค่คุณสังเกต รหัสสี บนตลับกรอง สีดำ สำหรับไอระเหยอินทรีย์ สีเหลือง สำหรับแก๊สกรด สีเขียว สำหรับแอมโมเนีย

เหมาะสำหรับการพ่นสี งานเชื่อมโลหะ การล้างคราบน้ำมันด้วยตัวทำละลาย หรือการทำงานในโรงงานเคมี ฟิลเตอร์ชนิดนี้ไม่สามารถป้องกันอนุภาคฝุ่นได้ หากต้องเผชิญกับทั้งไอระเหย และฝุ่น ควรเลือกฟิลเตอร์แบบผสมแทน

1.2 ฟิลเตอร์กรองฝุ่นละออง (Particulate Filter)

ผมคิดว่าฟิลเตอร์ประเภทนี้เหมาะกับบ้านเราที่สุกล่ะครับ คุณจะเห็นได้บ่อยใน หน้ากากกันสารเคมี เพราะออกแบบมาสำหรับการกรองอนุภาคในอากาศ เช่น ฝุ่นละออง ควัน หรืออนุภาคขนาดเล็กที่เกิดจากการตัด เจียร หรือพ่นทราย มาตรฐานการกรอง ฟิลเตอร์กรองฝุ่นละอองมักระบุประสิทธิภาพการกรอง 

  • N95 : กรองอนุภาคได้อย่างน้อย 95% แต่ไม่ทนต่อน้ำมัน
  • R95 : กรองอนุภาคได้ 95% และทนต่อน้ำมันในระดับหนึ่ง
  • P100 : กรองอนุภาคได้ถึง 99.97% และทนน้ำมันสูงสุด
มักจะเหมาะกับพวกงานก่อสร้าง งานเจียรเหล็ก พ่นทราย หรือทำงานในพื้นที่ที่มีฝุ่นหนาแน่น เช่น ฝุ่น PM2.5 ที่เราต่างคุ้นเคยกันดี ฟิลเตอร์กรองฝุ่นสามารถใช้งานได้ทั้งในชีวิตประจำวัน เช่น การป้องกันฝุ่น PM2.5 หรือในงานอุตสาหกรรมที่ต้องการการป้องกันฝุ่นพิษ ฟิลเตอร์ชนิดนี้ไม่สามารถกรองแก๊สหรือไอระเหยได้ หากต้องเผชิญกับสารเคมีในรูปแบบแก๊ส ควรเลือกฟิลเตอร์ที่รองรับแก๊สโดยเฉพาะนะครับ 

1.3 ฟิลเตอร์แบบผสม (Combination Filter)

ฟิลเตอร์แบบผสมเป็นตัวเลือกที่ครอบคลุมที่สุด เนื่องจากรวมคุณสมบัติของฟิลเตอร์กรองแก๊สและไอระเหย เข้ากับฟิลเตอร์กรองฝุ่นละออง ทำให้เหมาะสำหรับงานที่ต้องเจอกับทั้งสองปัจจัยเสี่ยงในเวลาเดียวกัน

คุณสมบัติพิเศษ กรองไอระเหยสารเคมีและแก๊สพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังสามารถดักจับอนุภาคฝุ่นและควันขนาดเล็กได้ดี เหมาะสำหรับงานที่ต้องเผชิญทั้งละอองสี ฝุ่นละเอียด และไอระเหย เช่น: งานพ่นสี งานในโรงงานอุตสาหกรรม งานก่อสร้าง เป็นต้น 

ฟิลเตอร์แบบผสมมักผ่านการรับรองมาตรฐานทั้ง NIOSH และ EN เช่น P100 พร้อมกรองไอระเหยอินทรีย์ ฟิลเตอร์แบบผสม มันจะมีขนาดใหญ่ และน้ำหนักมากกว่าฟิลเตอร์ทั่วไป จึงอาจไม่เหมาะกับงานที่ต้องการความคล่องตัวสูงสักเท่าไหร่ครับ 
เคล็ดไม่ลับในการเลือกฟิลเตอร์ให้เหมาะกับ หน้ากากกันสารเคมี
เคล็ดไม่ลับในการเลือกฟิลเตอร์ให้เหมาะกับ หน้ากากกันสารเคมี

2. เคล็ดลับในการเลือกฟิลเตอร์ให้เหมาะสมกับ หน้ากากกันสารเคมี

2.1 ระบุลักษณะงานและความเสี่ยงที่ต้องเผชิญ

อย่างแรกเลยนะครับ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือกให้พิจารณางานของคุณซ่ะก่อน ว่าจะต้องเจอกับสารเคมีประเภทไหน? หรือมีฝุ่นละอองในปริมาณมากไหม? หากนึกไม่ออกผมจะลองยกตัวอย่างให้คุณพอเข้าใจคร่าวๆล่ะกันนะครับ 

หากต้องทำงานกับสารเคมีระเหย เช่น แอมโมเนีย คลอรีน หรือตัวทำละลาย คุณควรเลือกฟิลเตอร์กรองแก๊สและไอระเหย หากต้องเผชิญกับฝุ่นละเอียด เช่น ฝุ่นจากการก่อสร้างหรือฝุ่น PM2.5 คุณควรเลือกฟิลเตอร์กรองฝุ่นละออง หากต้องเจอทั้งฝุ่นและแก๊สพิษ เช่น งานพ่นสี เลือกฟิลเตอร์แบบผสมที่รองรับการป้องกันทั้งสองประเภทนั่นเอง 

2.2 ตรวจสอบรหัสสีของฟิลเตอร์

อีกวิธีเลือกง่ายๆ ฟิลเตอร์กรองแก๊สและไอระเหยมักมี รหัสสี อย่างที่ผมพูดไปก่อนหน้านี้ เพื่อระบุสารเคมีที่สามารถป้องกันได้ 
  • สีดำ : สำหรับไอระเหยของตัวทำละลาย เช่น เบนซีน โทลูอีน
  • สีเหลือง : สำหรับแก๊สกรด เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หรือคลอรีน
  • สีเขียว : สำหรับแอมโมเนียและอนุพันธ์
  • สีขาว : สำหรับอนุภาคที่ไม่เกี่ยวกับแก๊ส เช่น ฝุ่นละออง
การเลือกฟิลเตอร์ตามรหัสสีจะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าฟิลเตอร์นั้นเหมาะสมกับสารเคมีที่ต้องเจอในงานของคุณเเค่นั้นเอง 

2.3 พิจารณามาตรฐานความปลอดภัย

เลือกฟิลเตอร์ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน 
  • NIOSH (National Institute for Occupational Safety and Health) เช่น รหัส N95, P100 ซึ่งระบุระดับการป้องกันฝุ่นและอนุภาค
  • EN (European Norms) เช่น EN 143 สำหรับฟิลเตอร์กรองฝุ่น หรือ EN 141 สำหรับฟิลเตอร์กรองแก๊ส
สิ่งเหล่านี้จะรับประกันว่า ฟิลเตอร์ที่ผ่านการรับรองเหล่านี้จะมีการทดสอบประสิทธิภาพตามมาตรฐานที่เชื่อถือได้นั่นเอง

2.4 ตรวจสอบอายุการใช้งานของฟิลเตอร์

ฟิลเตอร์มีอายุการใช้งานจำกัด และควรเปลี่ยนใหม่เมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนดหรือเมื่อประสิทธิภาพลดลง เช่น ฟิลเตอร์สำหรับกรองฝุ่นควรเปลี่ยนเมื่อรู้สึกว่าหายใจติดขัด ฟิลเตอร์สำหรับกรองแก๊สควรเปลี่ยนเมื่อเริ่มมีกลิ่นของสารเคมีเล็ดลอด

2.5 เลือกฟิลเตอร์ที่เหมาะกับหน้ากากของคุณ

ตรวจสอบว่าฟิลเตอร์ที่คุณเลือกสามารถใช้งานร่วมกับ หน้ากากกันสารเคมี ที่มีอยู่ได้หรือไม่ เพราะหน้ากากแต่ละรุ่นอาจใช้ฟิลเตอร์เฉพาะตัว เช่น ฟิลเตอร์แบบเกลียวหรือแบบตลับล็อก ควรตรวจสอบคำแนะนำจากผู้ผลิตเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการใช้งาน
เคล็ดไม่ลับในการเลือกฟิลเตอร์ให้เหมาะกับ หน้ากากกันสารเคมี
เคล็ดไม่ลับในการเลือกฟิลเตอร์ให้เหมาะกับ หน้ากากกันสารเคมี

3. ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในการเลือกฟิลเตอร์มาใช้งานกับ หน้ากากกันสารเคมี รวมถึงวิธีป้องกัน

ผมว่ามันต้องมีข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน การเลือกฟิลเตอร์สำหรับ หน้ากากกันสารเคมี ดูเหมือนจะเป็นเรื่องง่าย แต่ในความเป็นจริง หลายคนยังทำผิดพลาดโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย และประสิทธิภาพการใช้งาน แต่ถ้าหากคุณรู้ถึงข้อผิดพลาดเหล่านี้แล้วล่ะก็ มันสามารถหลีกเลี่ยงได้ ใครไม่ช่วย ผมจะช่วยคุณเอง อย่ารอช้าไปเริ่มกันได้เลยครับ 

3.1 เลือกฟิลเตอร์ผิดประเภท

ผมคิดว่าหนึ่งในข้อผิดพลาดที่พบได้บ่อยที่สุดคือการเลือกฟิลเตอร์ที่ไม่เหมาะสมกับลักษณะของงานหรือสารเคมีที่ต้องเจอนั่นแหละครับ ตัวอย่างเช่น การเลือกฟิลเตอร์กรองฝุ่นสำหรับงานที่มีไอระเหยของสารเคมี ซึ่งฟิลเตอร์ประเภทนี้ไม่สามารถป้องกันไอระเหยได้

3.2 ใช้งานฟิลเตอร์ที่หมดอายุ

ฟิลเตอร์ทุกชนิดมีอายุการใช้งานที่จำกัด หากใช้งานฟิลเตอร์ที่หมดอายุหรือเสื่อมสภาพแล้ว จะทำให้การกรองสารเคมีหรือฝุ่นละอองไม่มีประสิทธิภาพ

3.3 เลือกฟิลเตอร์ที่ไม่เข้ากับหน้ากาก

หน้ากากแต่ละรุ่นอาจมีระบบติดตั้งฟิลเตอร์เฉพาะ เช่น ฟิลเตอร์แบบเกลียว หรือฟิลเตอร์แบบคลิปล็อก หากเลือกฟิลเตอร์ที่ไม่รองรับกับหน้ากาก อาจทำให้ไม่สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง

3.4 ไม่เปลี่ยนฟิลเตอร์ตามระยะเวลาที่กำหนด

บางครั้งผู้ใช้อาจละเลยการเปลี่ยนฟิลเตอร์ตามระยะเวลาที่กำหนด เพราะคิดว่ายังใช้งานได้อยู่ ซึ่งฟิลเตอร์ที่ใช้งานเกินกำหนดจะอุดตันหรือเสื่อมสภาพ ทำให้การกรองไม่เต็มประสิทธิภาพ

5.5 เก็บฟิลเตอร์อย่างไม่เหมาะสม

ฟิลเตอร์ที่ไม่ได้ใช้งานหรือติดตั้งไว้อย่างถูกต้อง อาจเสื่อมสภาพจากความชื้น ฝุ่น หรือแสงแดด ซึ่งลดอายุการใช้งานและประสิทธิภาพการกรอง

เคล็ดไม่ลับในการเลือกฟิลเตอร์ให้เหมาะกับ หน้ากากกันสารเคมี

สรุป

ถ้าอ่านตั้งแต่ต้นจนจบ คุณจะเข้าใจได้ว่าการเลือกฟิลเตอร์ให้เหมาะสมกับ หน้ากากกันสารเคมี ไม่ใช่เรื่องยากอะไรใช่ไหมล่ะครับ? หากคุณเข้าใจลักษณะงานที่ทำ สารเคมีที่ต้องเจอในแต่ละวัน และมาตรฐานความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง การเลือกฟิลเตอร์ที่ถูกต้องไม่เพียงช่วยปกป้องสุขภาพของคุณ แต่ยังเพิ่มความมั่นใจในขณะปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเป็นการเผชิญกับฝุ่นละออง ไอระเหย หรือแก๊สพิษ การใส่ใจในรายละเอียดเหล่านี้จะช่วยให้คุณปลอดภัยและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย 

เลือก หน้ากากกันสารเคมี เพิ่มเติม