ใช้ เครื่องวัดอุณหภูมิ อย่างไรให้อ่านค่าได้ถูกต้อง

Customers Also Purchased

เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟาเรดช่วยให้วัดอุณหภูมิได้อย่างรวดเร็วจากระยะไกลโดยไม่ต้องสัมผัสกับวัตถุที่ต้องการวัด เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ ใช้งานง่าย และยังมีการใช้งานที่ทำให้ใช้อย่างสนุกได้ด้วย เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดจึงกลายเป็นอุปกรณ์ที่พบได้ทั่วไปตั้งแต่การใช้งานภายในครัวเรือนไปจนถึงโรงงานอุสาหกรรม โดยทั่วไปเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟาเรดมักใช้เพื่อตรวจหาความร้อนภายในชิ้นส่วนอุปกรณ์หรือวงจรไฟฟ้า แต่ยังสามารถนำไปใช้ในงานอื่นๆ ได้อีกหลายงาน ยกตัวอย่างเช่น
  • การตรวจสอบระบบไฟฟ้าต่างๆ เช่นการตรวจสอบความร้อนที่หัวสายไฟฟ้าแรงสูงว่าทำงานปกติและปลอดภัย
  • งานผลิตและงานอุสาหกรรมที่ต้องมีการบันทึกหรือควบคุมความร้อนและความเย็นอยู่เสมอ
  • ใช้วัดอุณหภูมิผนังและหน้าต่าง เพื่อหาจุดที่มีการรั่วไหลของอากาศหรือปัญหาฉนวนกันความร้อน
  • ใช้วัดอุณหภูมิของเครื่องยนต์ หม้อน้ำ หรือระบบเบรก เพื่อประเมินประสิทธิภาพและหาจุดที่มีความร้อนสูงเกินไป
  • ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ต้องการหลีกเลี่ยงการสัมผัส เช่น การวัดไข้ในช่วงที่มีโรคระบาด
  • แม้กระทั่งในครัวก็ยังสามารถใช้เครื่องวัดอุณหภูมิวัดอุณหภูมิอาหารขณะปรุง เช่น เนื้อสัตว์ อบขนม หรือทดสอบอุณหภูมิน้ำมันสำหรับการทอด เพื่อให้มั่นใจว่าอุณหภูมิถูกต้องตามที่ต้องการ
อย่างไรก็ตามการใช้เครื่องวัดอุณหภูมิก็มีข้อควรระวังอยู่บ้าง เนื่องจากมีปัจจัยบางอย่างซึ่งอาจทำให้การอ่านค่าอุณหภูมิคลาดเคลื่อนหรือผิดพลาดได้ ข้อผิดพลาดเหล่านี้สามารถหลีกเลี่ยงและตรวจสอบได้ไม่ยาก เราจะมาดูกันว่าเทคนิคการหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดในการอ่านค่าของเครื่องวัดอุณหภูมิมีอะไรบ้าง

ใช้เครื่องวัดอุณหภูมิอย่างไรให้อ่านค่าได้ถูกต้อง

1. วัดอุณหภูมิให้สอดคล้องกับค่า D:S ที่เครื่องวัดอุณหภูมิกำหนด

เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดทุกเครื่องมีค่า "อัตราส่วนระยะห่างต่อจุด" (Distant to Spot) หรือ (D:S) ซึ่งบอกให้ทราบขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของพื้นที่ที่กำลังวัดเมื่อเทียบกับระยะห่างจากเป้าหมาย เช่น หากเครื่องวัดอุณหภูมิมีอัตราส่วนระยะห่างต่อจุดเท่ากับ 12:1 หมายความว่า เมื่ออยู่ห่างจากเป้าหมาย 12 นิ้ว เครื่องจะวัดพื้นที่ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณหนึ่งนิ้ว (ประมาณ 2.5 ซม. ที่ระยะ 30 ซม.) หากพยายามใช้เครื่องวัดวัดพื้นที่ขนาดสองนิ้ว (5 ซม.) จากระยะเพียงไม่กี่ฟุต (1 ม.) ก็จะไม่ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ เพราะเครื่องวัดจะเก็บอุณหภูมิจากพื้นที่นอกบริเวณที่ต้องการวัดด้วย
อัตราส่วนระยะห่างต่อจุดในเคริ่องวัดอุณหภูมิแต่ละเครื่องจะแตกต่างกันไปตามคุณภาพและจุดประสงค์ในการใช้งาน (ตั้งแต่ประมาณ 1:1 ในเครื่องวัดราคาถูก ไปจนถึงประมาณ 60:1 ในรุ่นสเปคสูง) และอาจแตกต่างกันเล็กน้อยตามระยะการวัด ดังนั้น ควรตรวจสอบฉลากหรือคู่มือการใช้งานเครื่องวัดของคุณ

2. เลเซอร์มีไว้ช่วยเล็ง ไม่ใช่จุดวัดค่า

เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดแบบมือถือส่วนใหญ่จะมีเลเซอร์ชี้ไปที่แสดงตำแหน่งศูนย์กลางโดยประมาณของพื้นที่ที่วัด สิ่งสำคัญที่ควรรู้คือเลเซอร์นี้ทำหน้าที่เป็นเพียงตัวชี้ตำแหน่งเท่านั้น และไม่ได้ใช้ในการวัดอุณหภูมิจริงๆ อีกความเข้าใจผิดที่พบได้บ่อยคือคิดว่าเครื่องวัดจะวัดเฉพาะบริเวณที่เลเซอร์ส่องถึงเท่านั้น แต่แท้จริงแล้ว พื้นที่ที่วัดนั้นกว้างกว่าจุดที่เลเซอร์ส่อง

3. วัสดุสะท้อนแสงอาจทำให้เครื่องวัดอุณหภูมิสับสนได้

เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดมีความแม่นยำค่อนข้างดีหากใช้วัดอุณหภูมิของวัตถุทั่วไป แต่พื้นผิวที่มันเงาหรือสะท้อนแสงอาจเป็นปัญหาได้ ผู้ใช้ควรระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อจำเป็นต้องวัดอุณหภูมิของวัตถุโลหะที่มีพื้นผิวมันเงา แม้แต่การสะท้อนแสงจากสีที่มีความมันเงาบนวัสดุทั่วไปก็อาจทำให้ค่าวัดออกมาไม่แม่นยำเช่นกัน การติดเทปแบบไม่สะท้อนแสง เช่น เทปสายไฟบนพื้นผิวที่มันเงาหรือการทาสีด้าน จะช่วยให้สามารถวัดค่าอุณหภูมิได้แม่นยำยิ่งขึ้น และช่วยหลีกเลี่ยงการเกิดข้อผิดพลาดจากการวัดอุณหภูมิบนพื้นผิวมันเงาได้
สาเหตุที่ทำให้เครื่องวัดอุณหภูมิวัดค่าอุณหภูมิบนพื้นผิวที่มันเงาได้ไม่ชัดเจนเกิดจากการที่วัสดุแต่ละชนิดปล่อยพลังงานรังสีอินฟราเรด ไม่เท่ากันที่อุณหภูมิเดียวกัน โดยทั่วไปแล้ว วัสดุส่วนใหญ่จะปล่อยพลังงานรังสีอินฟราเรดมากกว่าโลหะที่มีความมันเงา ซึ่งหมายถึงมี ค่าการแผ่รังสีพลังงานอินฟาเรดที่สูงกว่า ซึ่งค่าการแผ่รังสี (Emissivity) แสดงเป็นตัวเลขระหว่าง 0 ถึง 1 โดย 0 หมายถึงไม่แผ่รังสีเลย เช่นกระจกใส และ 1 หมายถึงแผ่รังสีสมบูรณ์ ซึ่งวัสดุด้านเช่นวัสุออร์แกนนิคจะมีค่านี้อยู่ที่ประมาณ 0.95 พื้นผิวที่สะท้อนแสงมีค่าการแผ่รังสีความร้อนต่ำกว่าพื้นผิวด้าน โลหะที่ผ่านการผุกร่อนหรือออกซิไดซ์จะมีค่าการแผ่รังสีสูงกว่าโลหะที่ขัดเงา
หากจำเป็นต้องวัดอุณหภูมิของวัตถุที่มีค่าการแผ่รังสีต่ำเป็นประจำ ควรพิจารณาใช้เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดที่สามารถปรับระดับการตรวจพบการแผ่รังสีได้ของค่าการแผ่รังสีได้ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิที่สามารถตั้งค่าการแผ่รังสีเป็น “สูง” สำหรับพื้นผิวทั่วไป เช่น ไม้ สี ยาง ปูนปลาสเตอร์ หรือคอนกรีต “ปานกลาง” สำหรับโลหะออกซิไดซ์หรือหินแกรนิต หรือ “ต่ำ” สำหรับโลหะเงา

4. เลนส์ถูกบดบัง

สภาพแวดล้อมภายในสถานที่ที่ใช้เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดก็ส่งผลต่อความแม่นยำของการวัดได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น การมีไอน้ำหรือฝุ่นควันในบริเวณระหว่างเป้าหมายกับเครื่องวัดอาจทำให้พลังงานอินฟราเรดบางส่วนสะท้อนออกไปก่อนที่จะถึงเครื่องวัด นอกจากนี้ เลนส์ของเครื่องวัดอุณหภูมิที่สกปรกหรือมีรอยขีดข่วนอาจลดความสามารถในการ “มองเห็น” พลังงานอินฟราเรดที่จำเป็นสำหรับการวัดได้ หรือหากเลนส์เกิดฝ้าขึ้นเนื่งจากอุณหภูมิห้องมีการเปลี่ยนแปลง ก็อาจส่งผลต่อความแม่นยำได้เช่นกัน

5. เครื่องวัดอุณหภูมิปรับตัวไม่ทันกับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

เพื่อให้ได้ความแม่นยำสูงสุด เมื่อย้ายเครื่องวัดจากที่ที่มีอุณหภูมิแตกต่างกันมาก เช่นการใช้เครื่องวัดอุณหภูมิภายในตู้แช่เย็นก่อนจะนำมาใช้ข้างนอกในอุณหภูมิห้อง ผู้ใช้ควรรอเวลาให้เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดปรับสภาพให้เข้ากับอุณหภูมิของสภาพแวดล้อมที่ใช้งาน โดยทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีก่อนที่จะวัดอุณหภูมิครั้งถัดไป

ใช้เครื่องวัดอุณหภูมิอย่างไรให้อ่านค่าได้ถูกต้อง

สรุป

เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดแบบไม่ต้องสัมผัสวัตถุ ให้ประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยมทั้งในด้านความรวดเร็ว ความสะดวก และความแม่นยำ แต่ทั้งนี้ต้องใช้งานอย่างถูกต้องด้วย
เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ควรรู้ค่าอัตราส่วนระยะห่างต่อจุดของเครื่องวัด และทิ้งระยะห่างจากเป้าหมายให้เพียงพอเพื่อให้เครื่องวัดอ่านค่าเฉพาะบริเวณที่ต้องการ ระวังพื้นผิวมันเงาหรือวัตถุที่มีค่าการแผ่รังสีต่ำ และปรับการวัดให้เหมาะสม ระวังไอน้ำหรือฝุ่น ซึ่งอาจส่งผลต่อความแม่นยำของเครื่องวัด รักษาเลนส์ของเครื่องวัดให้สะอาดและปราศจากรอยขีดข่วน และเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำที่สุดควรรอให้เครื่องวัดอุณหภูมิปรับอุณหภูมิเข้ากับสภาพแวดล้อม