Customers Also Purchased
ในการปฏิบัติงานที่ต้องใช้มืออยู่บ่อยๆ ซึ่งอาจจะทำให้คุณเสี่ยงต่ออันตรายจากการถูกวัตถุมีคม บาด ทำให้ผิวหนัง ถลอก การจับของร้อนหรือการใช้มือสัมผัสวัสดุอุปกรณ์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่างๆ ถุงมือช่าง เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการป้องกันมือจากอันตรายต่างๆเหล่านี้ได้ การเลือกใช้ ถุงมือช่าง ที่เหมาะสม และการใช้งานอย่างถูกต้อง เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยง และเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ลักษณะทั่วไปของ ถุงมือช่าง
ความหนาของ ถุงมือช่าง
โดยทั่วไปในการวัดความหนาของ ถุงมือช่าง มันจะมีหน่วยวัดเป็น Mil โดยที่ 1 mil = 0.001" (นิ้ว-Inches) ยกตัวอย่างเช่น ถุงมือช่างหนา 10 mil ก็เท่ากับ 0.010 นิ้ว ถ้า้งานต้้องการความยืดหยุ่นและความรู้สึกจากการสัมผัสมากก็เลือกใช้ถุงมือที่มีความหนาน้อย (Low Gauge Gloves)
ขนาดของ ถุงมือช่าง
พิจารณาเลือก ถุงมือช่าง ให้ส่วมใส่พอดี ถ้าขนาดเล็กหรือใหญ่ไปก็จะรู้สึกไม่สบายมือเวลาใช้งานสักเท่าไหร่ มันจะมีผลต่อความคร่องแคล่ว และอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ ใช้สายวัด เริ่มวัดจากเส้นรอบวงฝ่ามือ ถ้าวัดได้ 10 ก็เลือก ถุงมือช่าง ขนาด L เป็นต้น
ขนาด ถุงมือช่าง
10 - 11 = Extra Large
9 - 10 = Large
8 - 9 = Medium
7 - 8 = Small
6 - 7 = Extra Small
คำแนะนำในการใช้งาน ถุงมือช่าง ประเภทต่างๆ
สัญลักษณ์มาตรฐานของ ถุงมือช่าง
EN 388 ถุงมือสำหรับป้องกันงานเครื่องจักร
การป้องกันในลักษณะทางกายภาพของถุงมือ มาตรฐานสำหรับควบคุม ถุงมือช่าง ป้องกันความเสี่ยงจากการใช้งานเครื่องจักรกล มีรหัสตัวเลข 4 ตัวกำกับ โดยตัวเลขแต่ละตัวจะบ่งบอกถึงบททดสอบแต่ละการทดสอบ ที่ถุงมือทดสอบได้ผ่าน
ตัวเลขที่ 1 การทนทานต่อแรงขัดสี
ตัวเลขที่ 2 การทนทานการบาดจากของมีคม
ตัวเลขที่ 3 การทนทานต่อการฉีกขาด
ตัวเลขที่ 4 การทนทานต่อการเจาะทะลุ
แบ่งระดับประสิทธิภาพออกทั้งหมด 5 ระดับ (LEVELS) โดยมีมีระดับ 0 เป็นระดับต่ำสุด จนถึงระดับ 5 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนั่นเอง
EN 374 ถุงมือสำหรับป้องกันงานเคมี
ถุงมือสำหรับป้องกันงานเคมี และอนุภาคขนาดเล็ก มาตรฐานนี้กำหนดการทดสอบการย่อยสลาย และการซึมผ่านของสารเคมีทั้ง 18 ชนิด แต่ไม่ได้สะท้อนถึงระยะเวลาการป้องกันจริงในสถานที่ทำงาน สารเคมีจะทะลุวัสดุ ถุงมือช่าง ได้ในระดับโมเลกุล มีการประเมินเวลาในการทะลุผ่าน ด้านล่างนี้คือตัวอย่าง
ประเภท A – 30 นาที (ระดับ 2) เทียบกับสารเคมีทดสอบอย่างน้อย 6 ตัว
ประเภท B – 30 นาที (ระดับ 2) เทียบกับสารเคมีทดสอบอย่างน้อย 3 ตัว
ประเภท C – 10 นาที (ระดับ 1) เทียบกับสารเคมีทดสอบอย่างน้อย 1 ตัว
EN 407 ถุงมือป้องกันความเสี่ยงจากความร้อน
ระบุข้อกำหนด และวิธีการทดสอบ ถุงมือช่าง ที่ป้องกันความร้อนหรือไฟ นอกจากสัญลักษณ์แล้วจะมีตัวเลขกำกับไว้กับสัญลักษณ์ แสดงถึงประสิทธิภาพของ ถุงมือช่าง ยิ่งตัวเลขสูง ระดับประสิทธิภาพก็จะยิ่งดีขึ้นนั่นเอง
1 คุณสมบัติไฟของวัสดุ
2 สัมผัสกับความร้อน
3 การพาความร้อน
4 ความร้อนจากการแผ่รังสี
5 โลหะหลอมเหลวกระเด็นเล็กน้อย
6 โลหะหลอมเหลวในปริมาณมาก
EN 511 ถุงมือป้องกันความเย็น
มาตรฐานยุโรปกำหนดข้อกำหนดและวิธีทดสอบสำหรับถุงมือป้องกันที่ใช้กับความเย็น ที่อุณหภูมิต่ำสุดที่ -50 องศาเซลเซียส
ความทนทานต่อการนำความเย็น (ระดับความสามารถ 0-4) เป็นการทดสอบคุณสมบัติที่เป็นฉนวนความร้อนของถุงมือ ซึ่งหาค่าโดยการวัดการถ่ายโอนความผ่าน
ความทนทานต่อการสัมผัสความเย็น (ระดับความสามารถ 0-4) เป็นการทดสอบความต้านทานความอุณหภูมิของถุงมือ เมื่อสัมผัสกับวัตถุที่มีความเย็น
ผ่านโดยน้ำ (0 หรือ 1) 0 = น้ำซึมผ่าน , 1 = ไม่มีน้ำซึมผ่าน>
EN 381 ถุงมือป้องกันงานเลื่อยด้วยมือ
เป็นมาตรฐานยุโรป กำหนดด้านความปลอดภัยสำหรับอุปกรณ์ป้องกันที่ใช้ในการทำงานกับเลื่อยโซ่ (Chainsaw) มาตรฐานนี้ครอบคลุมถึงเสื้อผ้า ถุงมือ และรองเท้า ที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันผู้ใช้งานจากการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานกับเลื่อยโซ่ นั่นเอง
1 นิยาม และข้อกำหนดทั่วไป
2 การทดสอบประสิทธิภาพการป้องกันเลื่อยโซ่
3 ข้อกำหนด และการทดสอบสำหรับรองเท้าที่ป้องกันการบาดเจ็บจากเลื่อยโซ่
4 ข้อกำหนด และการทดสอบสำหรับถุงมือที่ป้องกันการบาดเจ็บจากเลื่อยโซ่
5 ข้อกำหนด และการทดสอบสำหรับเสื้อผ้าที่ป้องกันการบาดเจ็บจากเลื่อยโซ่
EN 659 ถุงมือสำหรับงานดับเพลิง
ในมาตรฐาน EN 659 ซึ่งเป็นมาตรฐานยุโรปจะมีการอธิบายข้อกำหนดสำหรับถุงมือป้องกันที่ใช้โดยนักผจญเพลิง ถุงมือประเภทนี้ป้องกันด้านหลังของถุงมือ ทำจากวัสดุที่แตกต่างกันไป เพื่อให้ถุงมือผ่านมาตรฐาน EN 659 จะต้องผ่านการทดสอบหลายประเภท เช่น
การทดสอบความทนทานต่อความร้อน ตรวจสอบว่าถุงมือสามารถทนต่ออุณหภูมิสูงและเปลวไฟได้เป็นอย่างดี
การทดสอบความทนทานต่อการบาดเจ็บ ตรวจสอบความแข็งแรงของถุงมือในการป้องกันการบาดและการเจาะ
การทดสอบความทนทานต่อการซึมผ่านของน้ำ ตรวจสอบว่าถุงมือสามารถป้องกันการซึมผ่านของน้ำและสารเคมีได้
EN 421 ถุงมือสำหรับงานรังสี สารเจือปน
เป็นมาตรฐานยุโรปกำหนดข้อกำหนด และวิธีทดสอบสำหรับถุงมือที่มีคุณสมบัติในการป้องกันรังสี และการปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี
การป้องกันรังสีไอออน และสารกัมมันตรังสี
ถุงมือต้องสามารถป้องกันรังสีไอออน และการปนเปื้อนกัมมันตรังสีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ต้องผ่านการทดสอบการป้องกันรังสี เพื่อให้แน่ใจว่ารังสีไอออนไม่สามารถทะลุผ่านถุงมือได้
ความทนทานต่อการฉีกขาดและการเจาะ
ถุงมือต้องมีความแข็งแรง และทนทานต่อการฉีกขาดและการเจาะ
ต้องมีการทดสอบความทนทานต่อการบาดและการเจาะ เพื่อให้แน่ใจว่าถุงมือสามารถป้องกันมือของผู้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
EN 60903 ถุงมือสำหรับงานไฟฟ้า
เป็นมาตรฐานยุโรป ที่กำหนดด้านความปลอดภัยสำหรับถุงมือที่ใช้ในการป้องกันการสัมผัสกับไฟฟ้าแรงสูง มาตรฐานนี้ถูกออกแบบมาเพื่อให้แน่ใจว่าถุงมือที่ใช้ในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงต่อการถูกไฟฟ้าช็อตมีประสิทธิภาพในการป้องกันและให้ความปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้ใช้งาน
Class 00: สำหรับการใช้งานที่แรงดันไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 500V
Class 0: สำหรับการใช้งานที่แรงดันไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 1,000V
Class 1: สำหรับการใช้งานที่แรงดันไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 7,500V
Class 2: สำหรับการใช้งานที่แรงดันไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 17,000V
Class 3: สำหรับการใช้งานที่แรงดันไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 26,500V
Class 4: สำหรับการใช้งานที่แรงดันไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 36,000V
EN 420 ถุงมือสำหรับงานทั่วไป
EN 420 มาตรฐานยุโรปกำหนดข้อกำหนดและวิธีทดสอบของถุงมือป้องกันที่ใช้เพื่อการป้องกันโดยทั่วไป มาตรฐานนี้ออกแบบมาเพื่อให้แน่ใจว่า ถุงมือจะไม่ทำร้ายผู้ใช้ และสะดวกสบายและปลอดภัย
ถุงมือสำหรับงานทั่วไป เป็นถุงมือที่ใช้สวมใส่ทำงานเบาและงานอเนกประสงค์ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกต่างๆ สัมผัสกับมือได้โดยตรง และช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการทำงานได้เป็นอย่างดี โดยถุงมือสำหรับงานทั่วไปมีให้เลือกใช้งานอยู่หลากหลายชนิด เช่น ถุงมือผ้า ถุงมือถัก หรือถุงมือกลุ่มเกษตรต่างๆ เป็นต้น
เลือกดู ถุงมือช่าง เพิ่มเติม