15 เครื่องมือช่าง พื้นฐานในงานช่างยนต์ มีอะไรบ้างที่ช่างควรรู้

ถ้าพูดถึงช่างยนต์มืออาชีพ ก็เปรียบเสมือนหมอที่เชียวชาญ ทั้งในแง่ของการตรวจวินิจฉัยและการรักษาซ่อมแซมที่ต้องทำได้อย่างแม่นยำ รวดเร็ว และปลอดภัยที่ล้วนต้องอาศัย "เครื่องมือช่าง" ที่เหมาะสมด้วย

      งานช่างยนต์เต็มไปด้วยรายละเอียด ดังนั้นการจะซ่อมแซมแต่ละจุดล้วนต้องอาศัยเครื่องมือที่แตกต่างกันได้อย่างเหมาะสม บทความนี้ผู้เขียนจึงรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือช่างพื้นฐาน ที่ช่างยนต์ทุกคนควรมีติดตัวไว้ พร้อมทั้งอธิบายหน้าที่การใช้งานและวิธีเลือกซื้ออย่างละเอียดเพื่อให้คุณสามารถทำงานซ่อมแซมยานยนต์ได้อย่างมั่นใจ มีประสิทธิภาพ คุณภาพและความปลอดภัยได้อย่างไร? บทความนี้จึงเหมาะสำหรับช่างยนต์มือใหม่  หรือผู้ที่สนใจอยากเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือช่างพื้นฐาน

จุดประสงค์

      บทความนี้มีเป้าหมายที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือช่างพื้นฐานที่สำคัญในงานช่างยนต์ เครื่องมือช่างพื้นฐานประเภทต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับงานช่างยนต์ หน้าที่การใช้งานของเครื่องมือแต่ละชนิด รวมถึงข้อควรระวังด้านความปลอดภัย ผู้อ่านจะได้รับความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับเครื่องมือช่างจาก ตัวอย่างการใช้งานเครื่องมือในงานช่างยนต์และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานจริงได้

Disclaimer

      ข้อสงวนสิทธิ์ บทความนี้เน้นไปที่เครื่องมือช่างพื้นฐาน ยังมีเครื่องมือช่างอีกหลายประเภทที่ใช้สำหรับงานเฉพาะทางในงานช่างยนต์ควรศึกษาเพิ่มเติมตามประเภทของงานที่ทำ ตามข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือประกอบด้วย

ความหมายของเครื่องมือช่าง ในงานช่างยนต์

      ก่อนอื่นเรามาดูความหมายของเครื่องมือช่างกันก่อนเพื่อเป็นพื้นฐานในเรื่องอื่นๆต่อไป เครื่องมือช่าง หรือที่เรียกกันว่า (Hand tools) เป็นอุปกรณ์ที่มาช่วยสร้างความสะดวกในการทำงานให้แม่นยำ รวดเร็ว ประหยัดแรงและเวลามากขื่งขึ้น จึงเรียกได้ว่าเครื่องมือช่างเป็นดั่งอุปกรณ์พื้นฐานสำคัญสำหรับงานซ่อมแซมรถยนต์ หรือเครื่องจักรกลทั่วๆ ไปไม่ว่าจะเป็นงานถอดแยกชิ้นส่วน หรือการปรับตั้งเครื่องยนต์และงานซ่อมบำรุงตรวจเช็คอื่นๆ ในงานนั้นๆ ซึ่งจะมีขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ตามลักษณะที่เหมาะแก่การทำงาน

      นิยามของเครื่องมือช่างยนต์ คือเครื่องมือหรืออุปกรณ์สำหรับการทำงานที่ใช้แรงจากคน ในประเภทงานการขัน ตอก ตัดฯ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับงานซ่อมทั่วๆ ไปโดยจะถูกออกแบบมาให้เข้ากับลักษณะงานที่เหมาะสมต่างกันไปทั้งด้านรูปร่างและขนาดเพื่อให้ใช้งานได้กับชิ้นงานได้ 

เครื่องมือช่างยนต์พื้นฐานมีอะไรบ้าง

      ในงานช่างยนต์ เครื่องมือช่างพื้นฐานถือเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นและขาดไม่ได้ เนื่องจากการซ่อมบำรุงและการดูแลรักษารถยนต์นั้นต้องใช้เครื่องมือที่ถูกต้องและเหมาะสม หัวข้อต่อไปนี้เป็นเครื่องมือช่างยนต์พื้นฐานที่ช่างยนต์ควรรู้จักและมีติดตัวไว้ เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

ประแจปากตาย (Open end wrench)

1. ประแจปากตาย (Open end wrench)

      ประแจชนิดนี้มีลักษณะเป็นเหล็กชิ้นเดียว มีปากเปิดสองด้านหัวท้ายที่มีขนาดต่างกัน มีลักษณะปากจับเป็นรูปตัวยู U ซึ่งช่วยให้สามารถใช้งานกับน็อตและสกรูขนาดต่างๆ ได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่องมือ ปากเปิดทั้งสองด้านถูกออกแบบมาให้จับยึดน็อตและสกรูได้แน่นหนา ช่วยให้สามารถใช้แรงบิดในการขันหรือคลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับการใช้งานสำรหับซ่อมเครื่องยนต์ เครื่องกลทั่วไป

       โดยการนำมาใช้งานจะต้องเลือกขนาดของประแจให้ตรงกับหัวน๊อต สกรู หกเหลี่ยม ข้อควรรู้เมื่อใช้งานไประยะหนึ่งอาจทำให้เหลี่ยมมนได้ง่าย หากใช้งานประแจกับหัวน๊อตที่ไม่ตรงขนาด ข้อดีของประแจปากตายคือใช้จับหรือขันและยังสามารถใช้แทนประแจแหวนได้ในบางกรณีที่พื้นที่เข้าถึงได้น้อย

ประแจแหวน (Box End Wrench)

2. ประแจแหวน (Box End Wrench)

      ประแจแหวนทั่วไปแล้วมีลักษณะคล้ายกับประแจปากตาย หรืออีกแบบจะมีข้องอ ออกมาจากด้ามจับ แต่ส่วนของปากกประแจจะเป็นวงแหวน มีรอยบากเป็นเขี้ยวรอบวงประมาณ 6 - 12 เขี้ยวเพื่อสำหรับยึดจับหัวน็อตหรือสกรู มีข้อดีคือทำให้เหลี่ยมไม่มนง่าย จับขันได้แน่น ด้วยการออกแบบให้สามารถเข้าถึงน็อตและสกรูในพื้นที่จำกัดได้ดี 

      มีข้อดีอีกอย่างคือใช้แรงบิดในการขันหรือคลายได้มากกว่าประแจปากตาย ด้วยฟันรอบวงแหวนที่ยึดน็อตและสกรูได้แน่นหนา สามารถใช้แรงบิดในการขันหรือคลายน็อตและสกรูได้มากกว่าประแจปากตาย ช่วยป้องกันการลื่นของเครื่องมือขณะใช้งาน แต่บางครั้งก็เข้าที่แคบได้ยากกว่าหากมีด้ามจับแบบข้องออยู่ที่การเลือกใช้งานด้วย

ประแจรวม (Combination wrench)

3. ประแจรวม (Combination wrench)

      ประแจรวมส่วนใหญ่จะถูกออกแบบให้ข้างหนึ่งเป็นประแจปากตาย (Open-End) ส่วนอีกข้างหนึ่งจะเป็นประแจแหวน (Box-End) ซึ่งในแต่ละข้างมักจะมีขนาดที่เท่ากัน ทำให้สามารถใช้งานได้ทั้งสองแบบในเครื่องมือเดียวเนื่องจากสามารถใช้งานได้สองแบบในเครื่องมือเดียว ทำให้ไม่ต้องพกพาเครื่องมือหลายชิ้น ด้วยการที่มีข้อดีของทั้งสองประแจรวมเข้าด้วยกัน แต่ยังมีข้อจำกัดการใช้งานอยู่บ้างหากใช้ประแจขนาดที่ไม่พอดีอาจจะต้องเลือกใช้ขนาดอื่นแทน ไม่เหมือนประแจที่เป็นตัวหลักที่มักจะมีขนาดต่างกันทั้งสองด้านนั่นเอง

4. ประแจแหวนหัวผ่า (Flare nut wrench)

      ประแจแหวนหัวผ่า มีลักษณะคล้ายกับประแจแหวนทั่วไป แต่ปลายด้านหนึ่งจะมีการผ่าออกเป็นสองแฉก เหมาะสำหรับใช้งานขันน็อตในจุดที่เข้าถึงยาก เช่น น็อตท่อไอเสีย ท่อน้ำมันเบรก ท่อน้ำมันของปั๊มฉีดน้ำมัน เชื้อเพลิง ฯลฯ แทนประแจปากตายที่มักจะทำให้หัวน็อตมนได้ง่าย ด้วยการออกแบบปลายผ่า ช่วยให้สามารถสวมใส่ประแจเข้ากับน็อตได้ง่ายแม้จะอยู่ในมุมแคบหรือซอกหลืบ

      ประแจแหวนหัวผ่ามักเป็นที่นิยมในงานช่างยนต์เพราะตัวประแจเองถูกออกกแบบมาเพื่อให้เข้ากับการทำงาน ตัวอย่างการใช้งานประแจแหวนหัวผ่าเช่น ขันน็อตยึดท่อไอเสีย เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ถอดประกอบปั๊มฉีดน้ำมัน ซ่อมแซมระบบท่อน้ำมันเบรก ติดตั้งอุปกรณ์เสริมรถยนต์ และงานอื่นๆที่เหมาะสม เป็นต้น

5. ประแจแหวนโค้ง (Half moon box Wrench)

      ประแจแหวนโค้งมีลักษณะเป็นประแจแหวนที่ปลายทั้งสองท้านงอเข้าหากันเป็นครึ่งวงกลม ทำให้ประแจแหวนโค้งสามารถใช้งานได้กับสลักเกลียวและน็อตได้หลากหลายรูปแบบ เหมาะสำหรับงานในพื้นที่จำกัด มักใช้สำหรับงานที่ขันแนวตรงไม่ได้ เช่น สำหรับ ท่อไอดีร่วม ท่อร่วมไอเสีย มอเตอร์สตาร์ท เป็นการใช้งานประแจเฉพาะส่วนเท่านั้น 

      การเลือกใช้งานควรเลือกประแจแหวนโค้งที่มีขนาดเหมาะสมกับสลักเกลียวและน็อตที่ต้องการใช้งาน โดยทั่วไปจะมีขนาดตั้งแต่ 6x7 มิลลิเมตร ไปจนถึง 24x27 มิลลิเมตรประแจแหวนโค้งเป็นเครื่องมือช่างยนต์ที่มีประโยชน์อย่างมากแต่ก็มักถูกใช้งานในส่วนที่เฉพาะเท่านั้น แต่ก็ยังจำเป็นในงานยานยนต์

ประแจกระบอก (Socket wrench)

6. ประแจกระบอก (Socket wrench)

      ประแจกระบอกมีลักษณเฉพาะเป็นทรงกระบอกทั่วไปที่ข้างในวงจะมีรูปทรงตั้งแต่สี่เหลี่ยม และหกเหลี่ยม หรือเป็นลักษณะประแจแหวนเลยก็มี  ในการใช้งานคือต้องใช้ร่วมกับด้ามประแจ ประแจประเภทนี้ใช้สำหรับงานขันน๊อตคลายน๊อต หรือโบลต์ได้ดีที่สุด โดยสามารถขันจนแน่นได้และรักษาหัวน๊อตไม่ให้เยินหรือชำรุด โดยเฉพาะงานที่ต้องการความแม่นยำ  หรือขันน็อตในพื้นที่จำกัด  เช่น งานซ่อมเครื่องยนต์ งานระบบท่อไอเสีย งานระบบเบรคเป็นต้น

      ควรเลือกประแจกระบอกที่มีขนาดเหมาะสมกับน็อตและสลักเกลียวที่ต้องการใช้งาน โดยทั่วไปจะมีขนาดตั้งแต่ 6 มิลลิเมตร ไปจนถึง 36 มิลลิเมตรควรพิจารณาซื้อชุดประแจกระบอกที่มีหัวลูกหลายขนาด ครอบคลุมการใช้งานทั่วไปมากที่สุด

ด้ามขันแบบสว่าน (Speed handle)

7. ด้ามขันแบบสว่าน (Speed handle)

      ด้ามขันแบบสว่าน (Speed handle) หรือที่เรียกกันอีกชื่อว่า "ด้ามขันดอกไขควง" (Ratchet screwdriver handle)  ใช้ต่อกับประแจกระบอกเพื่อใช้สำหรับขันหรือคลายน๊อต โบลต์ ให้เร็วมากขึ้นแต่ข้อจำกัดคือไม่สามารถขันให้แน่นได้และไม่สามารถคลายน๊อตที่แน่นเกินไปได้ ข้อดีคือ ช่วยเพิ่มพลังและความเร็วในการขันสกรู  เหมาะสำหรับงานที่ต้องการแรงบิดสูง  หรือต้องการขันสกรูหลายๆจุด ด้ามขันแบบสว่าน ช่วยลดอาการเมื่อยล้าของมือ และข้อมือ เหมาะสำหรับงานที่ต้องขันสกรูเยอะๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน

ประแจด้ามฟรี /ด้ามขันแบบกรอกแกรก (Ratchet handle)

8. ประแจด้ามฟรี /ด้ามขันแบบกรอกแกรก (Ratchet handle)

      ลักษณะของประแจนี้จะประกอบไปด้วย ด้ามจับ หัวจับ Socket ฟันเฟือง ปุ่มปรับทิศทางการหมุน(ซ้าย-ขวา) การใช้งานจะใช้สำหรับขันหรือตลายน็อต/โบลต์ ในพื้นที่แคบได้ดี มีข้อดีคือใช้งานสะดวก รวดเร็ว ประหยัดแรงเหมาะกับการซ่อมแซมอะไหล่รถยนต์ แต่ข้อจำกัดของประแจนี้คือไม่ค่อยแข็งแรงจึงไม่ควรนำไปใช้งานที่ต้องขันหรือคลายน๊อตที่แน่นมากๆ เพราะอาจเกิดความเสียหายกับกลไกภายในประแจได้

9. ด้ามขันแบบยาวหรือด้ามขันตรง (Flex handle)

      ด้ามขันแบบยาว หรือที่เรียกอีกแบบว่าด้ามขันตรง มีลักษณะเป็นด้ามกับที่ส่วนปลายจะมีข้อต่อสำหรับประแจกระบอกอยู่ เพื่อใช้ต่อขันหรือคลายน๊อต โบลต์ เหมาะสำหรับขันให้แน่นมากๆ หรือคลายน็อตที่แน่นมากๆ ด้ามจับที่ยาวช่วยให้ เพิ่มแรงบิด หมาะสำหรับการขันน็อตและสลักเกลียวที่อยู่ใน จุดที่เข้าถึงยาก เช่น น็อตที่อยู่ลึกลงไปในเครื่องยนต์ หรือต้องการปรับมุมในการขัน 

ด้ามขันแบบตัวที (Sliding T handle)

10. ด้ามขันแบบตัวที (Sliding T handle)

      ด้ามขันแบบตัวที (Sliding T handle) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ด้ามขันแบบ T เลื่อน เป็นเครื่องมือช่างที่ใช้สำหรับขันน็อตและสลักเกลียว โดยมีด้ามจับรูปตัว T ที่มีกลไกเลื่อน ช่วยให้ผู้ใช้สามารถปรับความยาวของด้ามจับได้เพื่อเพิ่มแรงบิด เหมาะอย่างยิ่งสำหรับสถานการณ์ที่พื้นที่จำกัดในการใช้ประแจซ็อกเก็ตทั่วไป หรือสามารถใช้ต่อกับประแจกระบอกเพื่อขันหรือคลายน็อตที่ต้องการ โดยการใช้งานจะสามารถออกแรงได้มากขั้นและทำได้เร็วมากขึ้น

ก้านต่อ (Extension)

11. ก้านต่อ (Extension)

      ก้านต่อมีหลายขนาด มักใช้ต่อกับประแจกระบอกและด้ามขันประแจซ็อกเก็ต ไขควง หรือประแจ เพื่อเพิ่มความยาว สำหรับชิ้นงานที่อยู่ลึกหรืออยู่ในมุมที่เข้าถึงยากก้านต่อยังช่วยเพิ่มแรงบิดในการขันน็อตและสลักเกลียวที่ยึดแน่นก้านต่อช่วยให้สามารถทำงานกับเครื่องมือไฟฟ้าหรือเครื่องมืออันตรายได้โดยไม่ต้องสัมผัสกับชิ้นงานโดยตรง ช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้อีกด้วย

ข้อต่ออ่อน (Universal Joint)

12. ข้อต่ออ่อน (Universal Joint)

      ข้อต่ออ่อน (Universal Joint) เป็นอุปกรณ์ส่งถ่ายกำลังการหมุนที่ใช้เชื่อมต่อเพลาหรือแกนหมุนสองอันเข้าด้วยกัน  เพื่อให้สามารถหมุนเอียงหรือเปลี่ยนมุมได้  โดยที่เพลาทั้งสองอันยังคงหมุนในทิศทางเดียวกัน  ข้อต่ออ่อนมีบทบาทสำคัญในกลไกต่างๆ มากมาย เช่น เครื่องยนต์ เกียร์ พวงมาลัย และเครื่องจักรกลต่างๆ ข้อต่ออ่อนทั่วไปสามารถเอียงได้ประมาณ 45 องศา ข้อต่ออ่อนบางประเภทสามารถเอียงได้มากกว่า 90 องศา และยังแยกได้อีกหลายประเภทเช่น ข้อต่ออ่อนแบบกากบาท ข้อต่ออ่อนแบบลูกกลิ้ง ข้อต่ออ่อนแบบโฮโมไคเนติก เป็นต้น

ประแจเลื่อน (Adjustable wrench)

13. ประแจเลื่อน (Adjustable wrench)

      ประแจเลื่อน (Adjustable wrench) เป็นเครื่องมือช่างที่ใช้สำหรับขันน็อตและสลักเกลียว โดยมีปากประแจที่สามารถปรับขนาดได้ เหมาะสำหรับงานที่ต้องการขันน็อตและสลักเกลียวหลายขนาด สามารถใช้ได้กับงานทั่วๆ ไปมีความยืดหยุ่นมากกว่า ประแจแบบปากตาย นอกจากนี้ยังสามารถใช้จับชิ้นงานอื่นๆ ได้อีกเช่นท่อน้ำได้เช่นกัน แต่ประสิทธิภาพการจับจะไม่เท่ากับ คีมคอม้า

14. ประแจจับเป็น (Pipe wrench)

      ลักษณะโดยเบื้องต้นคือ ปากประแจมีฟันเลื่อยที่ออกแบบมาเพื่อยึดเกาะท่อหรือชิ้นงานกลม ฟันเลื่อยจะปรับขนาดได้ตามขนาดของท่อ ปากประแจงอ 45 องศา เหมาะสำหรับขันท่อในมุมที่เข้าถึงยาก ใช้สำหรับจับท่อและน๊อตขนาดใหญ่ใช้สำหรับจับท่อ หรืองานต่อท่อทั่วๆ ไปในงานยานยนต์

ประแจแอล (Allen wrench)

15. ประแจแอล (Allen wrench)

      ประแจแอลหรือ ประแจหกเหลี่ยม (Hex key) มีลักษณะเป็นตัว L มีหน้าตัดเป็นหกเปลี่ยมมักใช้สำหรับคลายน๊อตที่เป็นหกเหลี่ยม หรือสกรูหัวจม ตัวด้านที่เป็นรูปตัว L มีให้เลือกหลายขนาดรวมถึงมีประเภทหัวที่เป็นทอร์กและแบบดาวอีกด้วย ยังช่วยให้จับกระชับมือและควบคุมการขันได้สะดวก เหมาะสำหรับงานด้านยานยนต์อย่างมาก เพราะแต่ละชิ้นส่วนของอะไหล่มีน๊อตชนิดหัวจมและหกเหลี่ยมอยู่เยอะ

      ยังมีเครื่องมืออีกหลายประเภทที่ใช้งานในงานช่างยนต์ เช่นไขควง คีมประเภทต่างๆ ค้อน ที่เป็นเครื่องมือเฉพาะอีกเช่น เครื่องวัดความดันน้ำมันเครื่อง เครื่องมือถอดลูกปืน เป็นต้นเครื่องมือช่างพื้นฐานมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ช่างยนต์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และแม่นยำ ช่างที่มีความรู้และทักษะในการใช้เครื่องมือช่างอย่างถูกต้อง จะสามารถเพิ่มความสามารถและความเชี่ยวชาญในงานช่างยนต์ได้อย่างมาก

ความปลอดภัยในการใช้งานเครื่องมือในงานช่างยนต์

      การใช้เครื่องมือช่างพื้นฐานในงานช่างยนต์ ให้ปลอดภัยเป็นสิ่งที่ช่างทุกคนควรให้ความสำคัญ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บและอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนี้เป็นข้อควรปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานเครื่องมือช่าง เช่นสวมชุดให้มิดชิด สวมถุงมือป้องกัน ใส่รองเท้าที่หุ้มมิดชิดป้องกันอุบัติเหตุจากการตกของสิ่งของที่มีความหนักหรือแหลม รวมถึงไม่ควรเลือกใช้เครื่องมือที่มีความเสียหาย รวมถึงศึกษาคู่มือหรือคำแนะนำในการใช้งาน การปฏิบัติตามข้อแนะนำเหล่านี้จะช่วยให้ช่างยนต์สามารถใช้งานเครื่องมือช่างได้อย่างปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บและอุบัติเหตุ และสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานร่วมกับผู้อื่นที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สรุป

      เครื่องมือช่างพื้นฐานมีความสำคัญอย่างยิ่งในงานช่างยนต์ เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้การซ่อมบำรุงและดูแลรักษารถยนต์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และปลอดภัย เครื่องมือช่างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับงานช่างยนต์ได้แก่ประแจปากตาย ประแจแหวน ประแจรวม ประแจแหวนหัวผ่าและอื่นๆ ครื่องมือแต่ละชนิดมีหน้าที่การใช้งานที่เฉพาะเจาะจง เช่น ประแจปากตายและประแจแหวนใช้สำหรับขันหรือคลายน็อตและสกรูในงานทั่วไป ประแจกระบอกและด้ามขันแบบกรอกแกรกช่วยให้การทำงานในพื้นที่แคบสะดวกขึ้น ขณะที่ประแจแหวนหัวผ่าและข้อต่ออ่อนช่วยให้การทำงานในมุมที่เข้าถึงยากเป็นไปอย่างง่ายดาย

      ในการใช้เครื่องมือเหล่านี้ควรคำนึงถึงข้อควรระวังด้านความปลอดภัย เช่น การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน สวมชุดที่มิดชิดและรองเท้าหุ้มมิดชิด ไม่ควรใช้เครื่องมือที่ชำรุด และควรศึกษาคู่มือหรือคำแนะนำการใช้งานอย่างละเอียด

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

      - 5 เครื่องมือช่างเหล็ก ไฟฟ้าพื้นฐานสำหรับการทำงานเหล็กทุกประเภท
      - 10 เครื่องมือช่าง ที่ต้องมีติดบ้านไว้ใน “หน้าฝน”

FAQ คำถามที่พบบ่อย

1. ทำไมการเลือกใช้เครื่องมือที่ถูกต้องถึงมีความสำคัญ?

      - การเลือกใช้เครื่องมือที่ถูกต้องมีความสำคัญเพราะช่วยให้การทำงานซ่อมบำรุงยานยนต์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสียหายต่อชิ้นงานและเครื่องมือเอง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน ลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บและอุบัติเหตุ

2. ควรเลือกซื้อเครื่องมือช่างอย่างไรเพื่อให้ได้คุณภาพดีและคุ้มค่า?

      - ควรเลือกซื้อเครื่องมือช่างจากแบรนด์ที่มีความน่าเชื่อถือและมีการรับประกันคุณภาพ ตรวจสอบวัสดุที่ใช้ในการผลิตว่ามีความแข็งแรงทนทานหรือไม่ นอกจากนี้ควรเลือกเครื่องมือที่มีขนาดและรูปแบบที่เหมาะสมกับงานที่จะทำ เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

3. ข้อควรระวังด้านความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือช่างพื้นฐานมีอะไรบ้าง?

      - ข้อควรระวังด้านความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือช่างพื้นฐานได้แก่ สวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น ถุงมือและแว่นตา สวมชุดที่มิดชิดและรองเท้าหุ้มมิดชิด ไม่ควรใช้เครื่องมือที่ชำรุด และควรศึกษาคู่มือหรือคำแนะนำการใช้งานอย่างละเอียดก่อนการใช้งาน