ปั๊มเพลาลอย End Suction Pump คืออะไร? ใช้งานแบบไหน

Customers Also Purchased

ปั๊มเพลาลอย เป็นปั๊มหอยโข่งชนิดหนึ่ง  โดยมีลักษณะเป็นปั๊มที่มีหน้าส่งสูง (End Suction) ซึ่งหมายความว่าจะมีท่อสูบอยู่ที่ด้านปลายของปั๊ม และมีลักษณะเป็นแบบเพลาลอย (Centrifugal) แต่จะมีการดูดและการปล่อยของเหลวตามแนวแกนที่ 90 องศา โดยจุดเด่นของปั๊มเพลาลอยคือสามารถแยกข้อต่อตัวเพลากับมอเตอร์ออกได้โดยจะอาศัยซีลเป็นตัวกันรั่ว มีความง่ายในการติดตั้งและใช้งาน และมีประสิทธิภาพในการสูบน้ำที่สูงกว่าระบบปั๊มอื่นๆ อีกด้วย ในบทความนี้จะพาผู้อ่านไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับปั๊มเพลาลอยให้มากขึ้นทั้งลักษณะพื้นฐานของปั๊มเพลาลอย รวมถึงประโยชน์ คุณสมบัติ และการทำงานของปั๊มให้เข้าใจมากขึ้น

ปั๊มเพลาลอย

ส่วนประกอบและการทำงานทั่วไปของ ปั๊มเพลาลอย

การออกแบบรวมถึงโครงสร้างของ ปั๊มเพลาลอยอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการใช้งานเฉพาะ ปั๊มบางรุ่นอาจมีใบพัดเดียว ในขณะที่บางรุ่นอาจมีใบพัดหลายใบ โดยทั่วไปแล้วปั๊มที่มีใบพัดหลายตัวจะใช้สำหรับการใช้งานที่ต้องการอัตราการไหลที่สูงขึ้นหรือแรงดันสูงกว่าเราลองไปดูส่วนประกอบหลักกันว่ามีอะไรบ้าง

      1. ใบพัด (Impeller)

ใบพัด (Impeller) คือส่วนที่ทำหน้าที่หมุนสร้างแรงแบบเซ็นทริกในการเคลื่อนย้ายของของเหลว ใบพัด มักถูกผลิตจากโลหะมีรูปร่างที่ออกแบบมาเพื่อสร้างแรงดันให้สูงที่สุด โดยการหมุนของใบพัดจะสร้างแรงจากการดันและดูดน้ำเข้า-ออกของปั๊มตามรูปทรงของใบพัด ซึ่งทำให้น้ำไหลผ่านท่อไปยังจุดที่ต้องการได้ ใบพัดถือเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยให้ปั๊มน้ำทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเต็มที่

      2. เพลาและแบริ่ง (Shaft and Bearings)

เพลา (Shaft) เป็นส่วนหมุนภายในปั๊มน้ำ มักเป็นรูปแบบของลูกบอลหรือใบพัดที่ติดกับก้านหมุน หลังจากที่มอเตอร์เริ่มทำงาน เพลาจะหมุนเพื่อสร้างการไหลของน้ำ ซึ่งจะช่วยในการดูดน้ำเข้ามายังปั๊มและนำน้ำไปสู่ทิศทางที่ต้องการ แบริ่ง (Bearing) เป็นส่วนประกอบที่ไว้สำหรับรองรับการหมุนของเพลา แบริ่งมักจะอยู่ภายในลูกปืน เพื่อทำให้เพลาหมุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นิ่งและมีความเสถียร แบริ่งมักต้องมีการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการสึกหรอของเพลาในระยะยาว

      3. ซีล (Mechanical Seals)

แมคคานิคอลซีลเป็นส่วนประกอบที่ใช้เพื่อป้องกันการรั่วไหลของของเหลวภายในปั๊ม โดยทั่วไปแล้วจะทำจากคาร์บอนหรือเซรามิกเป็นส่วนประกอบ ตำแหน่งจะอยู่ระหว่างเพลาและตัวเครื่อง ซีลจะเป็นตัวกั้นไม่ให้ของเหลวรั่วไหลออกจากปั๊มได้ขณะทำงานในสถาณการณ์ที่ต้องทนต่อแรงดันสูงได้ดี

      4. มอเตอร์ (Motor and Coupling)

มอเตอร์ ปั๊มเพลาลอย อาจแตกต่างกันไปตามการออกแบบ แต่ทั้งหมดต้องใช้ส่วนประกอบที่คล้ายกันเพื่อทำให้การถ่ายเทของเหลวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ การออกแบบและสร้างส่วนประกอบเหล่านี้ต้องเหมาะสมอย่างมากเพื่อให้ปั๊มมีประสิทธิภาพและใช้งานได้นานหลายปี การเลือกวัสดุที่เหมาะสมและกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพสูงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในขั้นตอนนี้ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในทุกๆ กระบวนการใช้งาน

ปั๊มเพลาลอย

ประเภทของปั๊มเพลาลอย

ปั๊มเพลาลอย มีหลายประเภทขึ้นอยู่กับการติดตั้งและการใช้งานต่างๆ ดังนี้

      1. Close-Coupled End Suction Pumps (ปั๊มเพลาลอยข้อต่อปิด)

มีการใช้กันอย่างแพร่หลายเหมาะกับการใช้งานในพื้นที่จำกัดหรือจำเป็นต้องใช้ปั๊มขนาดเล็ก การออกแบบแบบ close-couple ช่วยลดความจำเป็นในการแยกฐาน ข้อต่อ และการจัดตำแหน่ง ช่วยลดเวลาในการติดตั้ง โดยทั่วไปแล้วปั๊มเพลาลอยชนิดนี้จะใช้ในระบบ HVAC โรงบำบัดน้ำ และกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมขนาดเล็ก

      2. Frame-Mounted End Suction Pumps (ติดตั้งบนเฟรม)

ปั๊มเพลาลอยที่ติดตั้งบนเฟรมจะมีมอเตอร์ติดตั้งอยู่บนฐานแยกกัน ซึ่งจะให้ความยืดหยุ่นมากขึ้นในแง่ของขนาดมอเตอร์และกำลัง โดยทั่วไปจะใช้ในการใช้งานขนาดใหญ่ที่ต้องการอัตราการไหลและความดันที่สูงขึ้น ปั๊มเพลาลอยปรเภทนี้ยังมีข้อดีเพราะมีการแยกเพลาและมอเตอร์ออกจากกัน ซึ่งทำให้สามารถบำรุงรักษาและซ่อมแซมได้ง่ายขึ้น โดยทั่วไปแล้วปั๊มเพลาลอยชนิดนี้มักใช้ในระบบจ่ายน้ำ โรงบำบัดน้ำเสีย และการผลิตทางอุตสาหกรรมขนาดกลาง

      3. Inline End Suction Pumps (ปั๊มเพลาลอยแบบอินไลน์)

ปั๊มเพลาลอยอินไลน์มีลักษณะการวางเพลาในแนวนอน โดยทั่วไปจะใช้ในงานที่ต้องการอัตราการไหลสูงแต่ Max head (ระยะส่งสูง) จะต่ำ มักออกแบบให้ติดตั้งได้ในไปป์ไลน์และใช้ในการใช้งานที่มีพื้นที่จำกัดหรือต้องการพื้นที่สำหรับทำงานมากขึ้น ปั๊มเพลาลอยอินไลน์จะใช้ในระบบ HVAC ระบบประปา และกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่

ปั๊มเพลาลอยเหมาะกับการใช้งานแบบไหน

ปั๊มเพลาลอยเหมาะสำหรับการใช้งานในสถานการณ์ที่ต้องการการส่งน้ำหรือของเหลวโดยมีความเสถียรและต่อเนื่อง เช่น

      1. การใช้ในระบบประปา ปั๊มเพลาลอยถูกใช้ในระบบประปาเพื่อส่งน้ำไปยังบ้าน อาคาร หรือพื้นที่อื่นๆ โดยทั่วไป เป็นการใช้ในงานที่ต้องการการส่งน้ำไปยังจุดต่างๆ ในระยะทางที่ไกลหรือต้องการปรับความดันของน้ำให้เหมาะสมกับการใช้งานที่สุด

      2. การใช้ในระบบรดน้ำสวน ปั๊มเพลาลอยเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพอย่างหนึ่งเหมาะสำหรับใช้ในการรดน้ำสวนหรือพื้นที่เพื่อการเกษตร โดยสามารถส่งน้ำไปยังจุดต่างๆ ในพื้นที่ให้ได้ทั่วถึง โดยยังคงความเสถียรและต่อเนื่อง

      3. การใช้ในโรงงานเพื่อการผลิต ในโรงงานหรือสถานที่ที่มีการผลิตสินค้า ปั๊มเพลาลอยสามารถใช้ในการส่งสารเคมีหรือของเหลวต่างๆ ไปยังกระบวนการผลิตต่างๆ โดยมีประสิทธิภาพสามารถควบคุมปริมาณได้ง่ายและยังสะดวกต่อการบำรุงรักษาอีกด้วย

      4. งานที่ต้องการการทำงานต่อเนื่อง ปั๊มเพลาลอยมีความสามารถสูงสำหรับงานที่ต้องการการใช้งานต่อเนื่องโดยไม่มีการหยุดพักนานๆ เช่น การใช้ในระบบน้ำประปาหรือการใช้ในกระบวนการผลิตที่ต้องการน้ำในกระบวนการทำงานตลอดเวลานั่นเอง

ข้อดีเมื่อเปรียบเทียบกับปั๊มหอยโข่งชนิดอื่น

ข้อดีของปั๊มเพลาลอยเมื่อเปรียบเทียบกับปั๊มหอยโข่งชนิดอื่นนั้นได้แก่

      - ความเสถียร ปั๊มเพลาลอยมักมีการออกแบบที่ทนทานและมีความเสถียรสูง เนื่องจากไม่มีชิ้นส่วนภายในที่เคลื่อนสัมผัสกัน ซึ่งทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานและต้องการการบำรุงรักษาน้อย

      - ประสิทธิภาพ ประสิทธิภาพในการส่งน้ำที่สูงกว่าปั๊มหอยโข่งชนิดอื่นๆ โดยสามารถส่งน้ำได้ในระยะทางที่ไกลโดยมีความสม่ำเสมอแต่ไม่เหมาะกับส่งสูงเพราะทำแรงดันได้น้อยกว่าปั๊มหอยโข่งชนิดอื่น

      - การบำรุงรักษา ปั๊มเพลาลอยมักมีโครงสร้างที่ง่ายและมีชิ้นส่วนประกอบน้อย ทำให้ง่ายต่อการบำรุงรักษาและถอดซ่อมแซมเมื่อมีปัญหาโดยไม่ต้องไปยุ่งกับชิ้นส่วนอื่น

      - การใช้งาน ปั๊มเพลาลอยใช้งานง่ายการ เปิด-ปิด ปั๊มสามารถทำได้โดยใช้สวิตช์ง่ายๆ การบำรุงรักษาก็ไม่ยุ่งยากมาก เพียงแค่ทำความสะอาดและเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเป็นประจำ ทำให้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและใช้งานได้อย่างต่อเนื่องแม้ในระยะเวลายาวนาน และเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการส่งน้ำในหลายๆ สถานการณ์ ตั้งแต่การใช้ในบ้านจนถึงการใช้ในธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ

สรุป

ปั๊มเพลาลอยนั้นมักใช้ในการส่งน้ำทั่วไปแต่จะเหมาะกับสถานการณ์ที่ต้องการความเสถียรและต้องทำงานต่อเนื่อง โดยเฉพาะในระบบประปา, ระบบรดน้ำสวน, และอุตสาหกรรม ปั๊มเพลาลอยมีประสิทธิภาพในการส่งน้ำที่สูงกว่าและมีความสม่ำเสมอ แม้ไม่เหมาะสำหรับงานที่ต้องการการส่งสูงอย่างปั๊มหอยโข่งก็ตาม ปั๊มเพลาลอยมีโครงสร้างที่ง่ายและมีชิ้นส่วนประกอบน้อย ทำให้ง่ายต่อการบำรุงรักษาและใช้งาน ด้วยความสะดวกในการใช้งานและประสิทธิภาพที่สูงนี้ ปั๊มเพลาลอยก็ยังเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการใช้ในหลายๆ สถานการณ์

FAQ คำถามที่พบบ่อย

1. ปั๊มเพลาลอยเหมาะกับการใช้งานในสถานการณ์ไหนบ้าง?

      - ปั๊มเพลาลอยมีความสามารถในการใช้งานต่อเนื่องโดยไม่มีการหยุดพักนานๆ มักใช้ในระบบประปา, ระบบรดน้ำสวน, และการผลิตทางอุตสาหกรรม

2. ปั๊มเพลาลอยมีข้อดีอย่างไร? เมื่อเทียบกับปั๊มอื่น

      - ปั๊มเพลาลอยมีความเสถียรสูงและมีประสิทธิภาพในการส่งน้ำที่สูงกว่า มีโครงสร้างง่ายและมีชิ้นส่วนประกอบน้อย ทำให้ง่ายต่อการบำรุงรักษาและใช้งาน

3. ปั๊มเพลาลอยส่งน้ำได้ไกลแค่ไหน?

      - มีความสามารถในการส่งน้ำได้ในระยะทางที่ไกลและให้ความดันของน้ำที่เหมาะสมกับการใช้งาน นอกจากนี้ ปั๊มเพลาลอยยังมีความเสถียรและมีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูง