เลือก ปั๊มน้ำ การเกษตรยังไงให้เหมาะกับงาน แถมยังประหยัดงบ

Customers Also Purchased

หลายๆคนคงรู้กันดีอยู่แล้วนะครับว่าการทำเกษตรต่างๆ มันจะต้องใช้น้ำจำนวนมาก เพราะต้องใช้น้ำรดพืชพันธุ์ต่างๆ หรือแม้กระทั่งการเลี้ยงสัตว์ ยิ่งถ้าหากคุณปลูกพืชในพื้นที่กว้าง ๆ แล้วล่ะก็ มันก็ยิ่งต้องใช้น้ำในปริมาณที่เยอะ และไหนจะต้องส่งน้ำระยะทางไกล ๆ อีก ปั๊มน้ำ ถือว่ามีส่วนสำคัญกับงานเหล่านี้พอสมควร

เพราะเหตุผลนี้เอง เทคนิคในการเลือกซื้อ ปั๊มน้ำ ถือว่ามีความสำคัญพอสมควร ปั๊มน้ำ มีหลายประเภทให้เลือกใช้งาน แล้วแบบไหนล่ะ? คือสิ่งที่คุณต้องการ ในบทความนี้ ผมจะพาคุณไปสำรวจความสำคัญของการเลือก ปั๊มน้ำ สำหรับพื้นที่การเกษตรของคุณ โดยเจาะลึกปัจจัยต่างๆ ที่ควรพิจารณา ตั้งแต่ประสิทธิภาพการใช้งาน ไปจนถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หากพร้อมแล้วไปอ่านบทความนี้กันได้เลยครับ

ปั๊มน้ำ

เลือก ปั๊มน้ำ ของคุณ

หากคุณรู้ประเภทของ ปั๊มน้ำ แล้วล่ะก็ มันจะช่วยจำกัดตัวเลือกของคุณให้แคบลงได้ ปั๊มน้ำ จะใช้พลังงานไฟฟ้า หรือน้ำมัน ปั๊มน้ำ ไฟฟ้าต้องสามารถเข้าถึงแหล่งพลังงานที่เชื่อถือได้ เกษตรกรส่วนใหญ่มักนิยมใช้ ปั๊มน้ำ ชนิดแรงเหวี่ยง หรือปั๊มหอยโข่ง นั่นเอง

ปั๊มน้ำ ที่ใช้ในงานเกษตรส่วนใหญ่มักจะมีหลักการทำงานแบบเหวี่ยง น้ำจะหมุนออกจากศูนย์กลางเพื่อเพิ่มแรงส่งของน้ำที่สูบมานั่นเองครับ มันจะขึ้นอยู่กับความแรงกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้า การรู้ประเภทของ ปั๊มน้ำ ที่คุณต้องการจะช่วยจำกัดตัวเลือกของคุณให้แคบลง ปั๊มน้ำใช้พลังงานไฟฟ้าหรือน้ำมันเบนซิน/ดีเซล ปั๊มไฟฟ้าต้องสามารถเข้าถึงแหล่งพลังงานที่เชื่อถือได้ สิ่งเหล่านี้สามารถใช้เพื่อวัตถุประสงค์เล็กๆ เช่น สวนที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม มีปั๊มไฟฟ้าขนาดใหญ่กว่าที่มักใช้กับระบบชลประทานขนาดใหญ่

ข้อสำคัญ อย่าลืมคำนึงถึงน้ำที่คุณใช้ด้วย ปั๊มน้ำ มีการออกแบบที่แตกต่างกัน สำหรับน้ำประเภทต่างๆ เช่น น้ำที่คุณสูบสะอาดไหม? มีพวกเศษหรือสารเคมีไหม? คุณภาพน้ำและแหล่งที่มาเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาก่อนเลือก ปั๊มน้ำ หากไม่แน่ใจ ผมมีร้านขาย เครื่องมือช่าง แนะนำ iToolmart สามารถขอคำแนะนำได้

ปั๊มหอยโข่ง 

เป็น ปั๊มน้ำ ที่นิยมใช้มากที่สุด ในงานเกษตร เลยก็ว่าได้ครับ โดยการทำงานของ ปั๊มหอยโข่ง คือการหมุนของใบพัดทำให้เกิดแรงเหวี่ยง ไปผลักดันของเหลวให้ไหลไปรอบๆของตัว ปั๊มน้ำ ซึ่งแรงเหวี่ยงนี้ทำให้จุดศูนย์กลางของใบพัดเกิดสภาวะสูญญากาศ และทำให้บริเวณครีบของใบพัดมีค่าความดันมากขึ้น ปั๊มหอยโข่ง มักจะใช้ในงานพวกดูดน้ำจากสระ คลอง และถังเก็บน้ำ นิยมใช้กับระบบสปริงเกอร์ สเปรย์ และน้ำหยด นั่นเอง

ปั๊มหอยโข่ง

ปั๊มซับเมอร์ส

เป็นปั๊มน้ำที่เป็นเครื่องมือในการใช้สูบน้ำจากบ่อบาดาล มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน นั่นก็คือ ส่วนมอเตอร์ และส่วนใบพัด โดยยิ่งใบพัดของเครื่องสูบน้ำเยอะ ก็จะสามารถสร้างแรงดันได้มากขึ้น สูบน้ำส่งได้ไกลมากขึ้น (สูงมากขึ้น) โดยปั๊มน้ำจะสามารถทำงานได้ จำเป็นต้องมีพลังขับเคลื่อน มอเตอร์จึงมีบทบาทในการขับเคลื่อน ทำให้ ปั๊มซับเมอร์ส หมุนโดยมอเตอร์บาดาล จะถูกติดตั้งอยู่ใต้น้ำ ลึกลงไปใต้ดินหลายสิบเมตร ได้นั่นเอง 

ไดโว่

ประกอบด้วย 2 ส่วน คือส่วนปั๊ม และส่วนมอเตอร์ ส่วนปั๊มจะมีใบพัด จำนวนหลายใบ ลักษณะการใช้งานคือการนำตัว ไดโว่ จุ่มลงไปยังบ่อน้ำ หรือบริเวณแอ่งน้ำที่ต้องการสูบ และปั๊มจุ่มจะทำการสูบน้ำจากที่หนึ่งส่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งปั๊มจุ่มก็จะมีแบ่งออกเป็นประเภทปั๊มจุ่มสูบน้ำเสีย และปั๊มจุ่มสูบน้ำดี ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการเลือกปั๊มจุ่มให้เหมาะกับการใช้งาน

ไดโว่

อัตราการไหล

อัตราการไหลจะเป็นตัวกำหนดว่า ปั๊มน้ำ จะสามารถเคลื่อนมวลน้ำได้เร็วแค่ไหน วัดเป็นลิตรของน้ำต่อชั่วโมง นาที หรือวินาที แม้ว่า ปั๊มน้ำ ที่มีอัตราการไหลต่ำกว่าอาจยังทำงานได้สำเร็จ แต่ก็อาจใช้เวลานานกว่ามาก อัตราการไหลที่จำเป็นสำหรับการใช้ในบ้านจะน้อยกว่าที่จำเป็นสำหรับการเกษตรอย่างเห็นได้ชัดนั่นเอง 

โดยปกติแล้ว ปั๊มน้ำ ที่ขับแรงส่งน้ำด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 2HP(แรงม้า) จะให้น้ำเฉลี่ย 25,000-30,000  ลิตร/ชั่วโมง นั่นเองครับ 

ในส่วนของ ปั๊มน้ำ ที่ขับแรงส่งน้ำด้วยเครื่องยนต์ แบบใช้เครื่องยนต์เบนซินขนาด 5-7HP(แรงม้า) หรือแบบที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลขนาด 8-12HP (แรงม้า)  จะให้น้ำเฉลี่ย 20,000-50,000  ลิตร/ชั่วโมง แล้วแต่อัตราเร่งของแต่ละประเภท

ติดตั้งให้เหมาะสม

เมื่อเลือกขนาด ปั๊มน้ำ ได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปก็ต้องดูสถานที่ที่จะติดตั้งให้เหมาะสม เพื่อความสะดวก ปลอดภัย และที่สำคัญอย่าลืมศึกษาข้อมูลก่อนการติดตั้ง หรือเพื่อให้แน่ใจควรติดตั้งโดยช่างที่มีความรู้ ความชำนาญ เพื่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ 

• อย่าลืมที่จะตัดไฟ ก่อนทำการติดตั้ง ปั๊มน้ำ

• ติดตั้งเบรกเกอร์ เพื่อความปลอดภัย 

• ขนาดของสายไฟ จะต้องรองรับกระแสไฟฟ้าที่ใช้กับ ปั๊มน้ำ ได้

• ติดตั้งเข้ากับถังเก็บน้ำ ในที่ร่ม หรืออาจทำเป็นหลังคาคลุม เพื่อไม่ให้โดนแดดโดนฝนนั่นเอง 

• ควรติดตั้งให้ห่างจากผนังอย่างน้อยประมาณ 10-20 เซนติเมตร เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และยังสะดวกต่อการซ่อมบำรุงรักษาอีกด้วย 

• อันนี้ก็สำคัญ ควรติดตั้งให้สูงจากพื้นเล็กน้อย หรือให้อยู่บนฐานรอง เพื่อป้องกันน้ำขังและสะดวกต่อการทำความสะอาด

• ในการติดตั้งพวกข้อต่อของ ปั๊มน้ำ ควรให้ได้ระนาบเดียวกันกับท่อน้ำ เพราะถ้าไม่ได้ระนาบอาจจะทำให้เสียหายได้ในขณะที่ ปั๊มน้ำ ทำงานอยู่ได้ 

• หากกำลังติดตั้งท่อน้ำ ควรระวังเรื่องเศษวัสดุและสิ่งสกปรกต่าง ๆ เข้าไปในท่อ ซึ่งอาจจะทำให้ระบบเกิดการขัดข้องได้นั่นเอง 

• หากต้องการติดตั้ง  หรือซ่อมในส่วนที่เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ควรทำโดยช่างที่มีความรู้ ความชำนาญโดยตรง เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง 

ข้อควรระวัง 

• อย่างแรกเลยก็คือการเคลื่อนย้าย ปั๊มน้ำ ควรทำด้วยความระมัดระวัง อย่าเหนี่ยวรั้งสายไฟของตัวปั๊มน้ำ ศึกษาการใช้งานรวมไปถึงะข้อจำกัดของตัวเครื่อง

• ควรหลีกเลี่ยงการใช้สูบของเหลวที่ไม่ใช่น้ำ เช่น น้ำมัน หรือเคมีอื่นๆ หรือใช้งานในสภาวะที่อาจเกิดอันตรายได้ ควรใช้ ปั๊มน้ำ ที่เหมาะกับงานเหล่านี้ 

• หากพูดถึงเรื่องไฟฟ้าที่จะจ่ายเข้าตัว ปั๊มน้ำ จะต้องเป็นระบบเดียวกัน ข้อสำคัญควรติดตั้งอุปกรณ์ตัดไฟ และต่อสายดินทุกครั้ง 

• ควรเลือกใช้ท่อเหล็ก หรือท่อพลาสติกที่ทนแรงดันได้ เพื่อป้องกันการเสียหายได้ หลีกเลี่ยงการใช้ท่ออ่อน หรือสายยางสำหรับท่อดูด หรือท่อจ่ายเพื่อป้องกันการบิดงอ 

• ไม่ควรใช้งานเกินประสิทธิภาพของ ปั๊มน้ำ เพราะอาจทำให้ตัวของ ปั๊มน้ำ เสียหายได้ 

• ถ้าเป็นไปได้ ระวังไม่ให้ ปั๊มน้ำ โดนน้ำหรือฝนสาด เพราะอาจทำให้อายุการใช้งานของ ปั๊มน้ำ สั้นลงได้


เลือก ปั๊มน้ำ ให้เหมาะกับการใช้การเกษตรของคุณ