Customers Also Purchased
เสื้อกั๊กสะท้อนแสง คืออะไร? แต่ละสีต่างกันยังไง?
หลายๆ คนคงรู้จัก เสื้อกั๊กสะท้อนแสง กันอยู่แล้ว มันก็คือ Safety Vest ที่เอาไว้ใส่เพื่อความปลอดภัยเวลาต้องอยู่ในพื้นที่เสี่ยงอันตราย เพราะอาจมี รถ เครื่องจักร หรือสิ่งของที่เป็นอันตรายต่อชีวิตลอยมาใส่ ชน หรือกระแทก
การที่เราใส่ เสื้อกั๊กสะท้อนแสง เอาไว้จะทำให้คนอื่นๆ ของเห็นเราได้จากระยะไกลหรือแม้แต่กำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง เมื่อมองเห็นแล้วว่ามีคนก็จะระมัดระวังมากขึ้น พยายามไม่ทำอะไรที่เป็นอันตรายต่อคนที่มองเห็น
หรืออีกกรณีก็คือใส่เพื่อเป็นการบอกกล่าวตำแหน่งภาระหน้าที่หรืองานที่กำลังทำกับคนที่ผ่านไปมาหรืออยู่ในบริเวณโดยรอบ ถ้ามีเหตุฉุกเฉินหรือสถานการณ์เร่งด่วน คนอื่นๆ จะได้รู้ว่าต้องขอความช่วยเหลือที่ใคร และไม่ขัดขวางการทำงาน ซึ่งสีของ เสื้อกั๊กสะท้อนแสง ที่ใส่จะบอกหน้าที่งานรับผิดชอบได้คร่าวๆ ในตัว เช่น
- สีส้ม : พนักงานในไซต์งานก่อสร้าง, ไกด์เดินป่า, เจ้าหน้าที่ทางหลวง, ตำรวจทางหลวง, อพปร.
- สีเหลือง : ตำรวจ, รปภ. กะดึก, เจ้าหน้าที่ฉุกเฉิน, คนงานก่อสร้างตอนกลางคืน
- สีเขียว : มัคคุเทศก์กลางแจ้ง, เจ้าหน้าที่ดูแลสวนสาธารณะ, คนทำความสะอาด, เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยกลางแจ้ง
- สีแดง : เจ้าหน้าที่ดับเพลิง, พนังงานไซต์งานก่อสร้าง
- สีน้ำเงิน : ตำรวจ, การ์ด, ไลฟ์การ์ดตามชายหาด, รปภ., พนักงานทำความสะอาดภายในอาคาร, พนักงานคลังสินค้า
- สีม่วง : เจ้าหน้าที่เก็บกู้หรือจัดการสารอันตรายบางอย่าง
นอกจากนี้ ก็ต้องสังเกตโลโก้หรือข้อความบน เสื้อกั๊กสะท้อนแสง ร่วมกับสีอีกที ถึงจะช่วยระบุอาชีพได้ง่ายขึ้น บางอาชีพที่ใช้หลายสีจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ทำงานว่ามืดหรือสว่าง พื้นหลังโล่งหรือรก
อ่านเพิ่มเติม >>> เสื้อกั๊กสะท้อนแสง แต่ละสี ต่างกันยังไง? <<<
อ่านเพิ่มเติม >>> คุณสมบัติจำเป็น และ 7 วิธีเลือก เสื้อกั๊กสะท้อนแสง ให้เหมาะกับงานมากที่สุด <<<
เสื้อกั๊กสะท้อนแสง มีกี่ประเภท?
ประเภทจะเชื่อมโยงกับคุณภาพของ เสื้อกั๊กสะท้อนแสง ในหัวข้อถัดไป ความจริงมันมี 3 ประเภทเท่านั้น ตามข้อบังคับของ HVSA ซึ่งได้กำหนดเครื่องแต่งกายเพื่อความปลอดภัยทั้งหมดเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อ, รองเท้า, กางเกงไฮวิส, จั๊มสูท, แจ๊กเก็ต, แว่นตา และอื่นๆ แต่ในบทความนี้จะเพิ่มประเภทพิเศษเข้าไป อีกหนึ่งอย่าง ซึ่งอาจอยู่ในการรับรองของ HVSA หรือไม่ก็ได้ เพื่อแบ่งหมวดหมู่ให้ชัดเจน คนที่เข้ามาอ่านจะได้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น ดังนี้
1. เสื้อกั๊กสะท้อนแสง Type O
ย่อมาจากคำว่า Off-Road เป็นประเภท เสื้อกั๊กสะท้อนแสง สำหรับใช้ในงานนอกเส้นทางสัญจรหรือตามขอบถนน เช่น คนกวาดถนน คนขุดลอกท่อ ซึ่งจะใช้ระดับเสื้อ Class 1 เท่านั้น (รายละเอียดของแต่ละ Class จะพูดถึงในหัวข้อคุณภาพ)
2. เสื้อกั๊กสะท้อนแสง Type R
ย่อมาจากคำว่า Roadway เป็น เสื้อกั๊กสะท้อนแสง ประเภทที่ใช้ใส่ทำงานบนถนน เช่น การซ่อมถนน การลาดยาง ทีมอุบัติเหตุฉุกเฉิน โดยจะมีให้เลือกทั้ง Class 2 และ Class 3 ขึ้นอยู่กับสภาพวิสัยทัศน์และพื้นที่โดยรอบ
3. เสื้อกั๊กสะท้อนแสง Type P
ย่อมาจากคำว่า Public Safety เป็นประเภท เสื้อกั๊กสะท้อนแสง สำหรับเจ้าหน้าที่เผชิญเหตุด่วนเหตุร้ายและผู้บังคับใช้กฎหมาย มีให้เลือกทั้ง Class 2 และ Class 3 เช่นกัน
4. เสื้อกั๊กสะท้อนแสง ชนิดพิเศษ
เป็น เสื้อกั๊กสะท้อนแสง ประเภทอื่นๆ เช่น Modacrylic Vest ที่มีคุณสมบัติกันไฟและทนสารเคมี, Surveyor Safety Vest สำหรับงานที่ต้องเอาตัวรอดหรือนักสำรวจ เพราะมีกระเป๋าและซิปจำนวนมาก วัสดุทนทานเป็นพิเศษ หรือจะเป็นเสื้อ MTA-NYCTA Safety Vest สำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการของสหรัฐฯ ซึ่งโดดเด่นที่เทปเรโทรรีเฟลคทีฟ ซึ่งเป็นแถบพิเศษสีเหลืองเรืองแสงบนเสื้อ มีการควบคุมการผลิตและการใช้อย่างเข้มงวด ปัจจุบันมีการนำเทปนี้มาใช้กับ เสื้อกั๊กสะท้อนแสง บางรุ่นแล้ว
เสื้อกั๊กสะท้อนแสง ที่ดี มีคุณภาพ ดูยังไง?
ที่รวบรวมมาหลักๆ มีอยู่ 5 ข้อที่ต้องนำไปพิจารณาหรือประเมินคุณภาพของ เสื้อกั๊กสะท้อนแสง ได้แก่
1. ระบุ Class หรือไม่?
Class เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยระบุพื้นที่ใช้งานและบอกว่า เสื้อกั๊กสะท้อนแสง นั้นมีคุณภาพเพียงพอตามหลักในการสะท้อนแสงเพื่อความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน ถ้าหากไม่มีการระบุ Class แล้วประสิทธิภาพต่ำกว่าที่ควรใช้ การใส่ เสื้อกั๊กสะท้อนแสง ขณะทำงานก็อาจไม่ช่วยอะไรเลย
Calss ของ เสื้อกั๊กสะท้อนแสง แบ่งได้ 3 ขั้น ตามข้อบังคับของ HVSA ดังนี้
⦿ เสื้อกั๊กสะท้อนแสง Class 1 : สำหรับพื้นที่ทำงานที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุด เป็นพื้นที่ปลอดภัยจากการสัญจรหรือมีการสัญจรน้อยมาก แต่ก็ยังมีโอกาสจะเกิดอุบัติเหตุได้เช่น ย่านชุมชมหรือพื้นที่ปิด ยานพาหนะกำหนดความเร็วน้อยกว่า 40 กิโลเมตร/ชั่วโมง และบริเวณโดยรอบต้องไม่ใช่พื้นที่ซับซ้อน มองเห็นวัสถุใดๆ ยาก เสื้อกั๊กสะท้อนแสง ที่ใช้จะต้องมีแถบสะท้อนแสงอย่างน้อย 155 ตารางนิ้วของพื้นที่เสื้อ ซึ่งเสื้อ Class 1 จะเหมาะกับ
● พนักงานลานจอดรถ
● คนงานเหมือง
● คนงานในปั๊มน้ำมันและโรงกลั่นน้ำมัน
● พนักงานคลังสินค้าและจัดการรถเข็นของห้างสรรพสินค้า
● พนักงานทำความสะอาด/ดูแลพื้นที่สาธารณะ
⦿ เสื้อกั๊กสะท้อนแสง Class 2 : ใช้สำหรับคนทำงานในพื้นที่สัญจรปกติ ยานพาหนะกำหนดความเร็วที่ 40-80 กิโลเมตร/ชั่วโมง เสื้อกั๊กสะท้อนแสง จะมองเห็นได้ชัดเจนมาก ไม่ว่าจะกลางวันหรือกลางคืน มองเห็นได้จากระยะไกลกว่าเสื้อกั๊ก Class 1
เสื้อกั๊กสะท้อนแสง ที่ถูกต้องจะต้องมีแถบสะท้อนแสงอย่างน้อย 217 ตารางนิ้ว กว้าง 1 นิ้ว ขึ้นไป ถ้าเป็นแถบสะท้อนชนิด Retroreflective หรือ Combination Materials ก็จะดีมาก เพราะจะสะท้อนแสงได้สว่างมากกว่าแถบสะท้อนธรรมดา
ตัวอย่างคนที่ต้องใช้ เสื้อกั๊กสะท้อนแสง Class 2 ได้แก่
● ยามหน้าโรงเรียน
● พนักงานขนส่งสาธารณะ
● พนักงานการรถไฟ
● ช่างซ่อมสายไฟสายเคเบิ้ล
● พนักงานสนามบิน
● นักสำรวจ
● พนักงานก่อสร้างและซ่อมแซมถนน
⦿ เสื้อกั๊กสะท้อนแสง Class 3 : วัสดุต้องเป็น Retroreflective หรือ Combination Materials หรือวัสดุที่สะท้อนแสงได้ดีกว่าเท่านั้น เพราะคนสวมคือคนที่อยู่ในพื้นที่ทำงานความเสี่ยงสูง ทัศนวิสัยไม่ดี และมีการสัญจรที่ความเร็วมากกว่า 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง และต้องเป็นเสื้อกั๊กมีแขน เพราะจะมีพื้นที่ให้มองเห็นจากระยะไกลมากกว่า Class 1 และ 2 แถบสะท้อนแสงก็ต้องกว้างกว่าและสว่างกว่า โดยต้องมีพื้นที่อย่างน้อย 1,000-1,240 ตารางนิ้ว กว้าง 50 มม. สำหรับแถบสีเทา และ 25 มม. สำหรับขอบแถบสะท้อนสีต่างๆ ที่ตัดกับสีเสื้อ
ตัวอย่างคนที่ต้องใช้ เสื้อกั๊กสะท้อนแสง Class 3 ได้แก่
● คนที่ทำงานใกล้กับรถบรรทุก รถพ่วง
● คนที่ทำงานใกล้รถในงานอุตสาหกรรม เช่น รถแบคโฮล รถโม่ปูน เป็นต้น
● เจ้าหน้าที่ตรวจสอบจุดเกิดเหตุเพลิงไหม้
● คนช่วยเหลือรถฉุกเฉิน
● พนักงานสาธารณูปโภค
● คนงานก่อสร้างถนน (50mph+)
2. มีการติดป้ายข้อมูลจำเป็นสำหรับผู้ใช้งานหรือไม่?
นอกจาก Class ของเสื้อแล้ว ป้ายเสื้อยังต้องบอกข้อมูลสำคัญๆ ของ เสื้อกั๊กสะท้อนแสง ตัวนั้นๆ ด้วยเสมอ โดยข้อมูลที่ต้องมีส่วนใหญ่จะเป็น ชื่อบริษัทผู้ผลิต, วันที่ผลิต, สถานที่ผลิต, ประเภท, Class, ค่า FR และวิธีการทดสอบ, ค่า ARC, Size, วัสดุ, การดูแลและทำความสะอาด, คำเตือนอันตราย เป็นต้น
3. ราคาเหมาะสมหรือไม่?
ราคา เสื้อกั๊กสะท้อนแสง แต่ละยี่ห้อไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับวัสดุ การออกแบบ คุณสมบัติหรือฟังก์ชันพิเศษ เช่น เสื้อกั๊กสะท้อนแสง ธรรมดาราคาจะอยู่ที่ 100-200 บาท แต่ถ้าทำจากวัสดุทนไฟ ทนทานการฉีกขาด หรือมีกระเป๋าให้เก็บของ หรือสามารถปรับความกระชับได้ ราคาก็จะสูงขึ้นมา ซึ่งพบว่า เสื้อกั๊กสะท้อนแสง Class 1 มักจะมีราคาแพงที่สุด เพราะข้อกำหนดน้อยจึงใส่ลูกเล่นได้มาก
4. ผ้าเป็นวัสดุดีหรือไม่?
วัสดุที่ดีไม่จำเป็นต้องหนาเกินไป เพราะไม่เหมาะกับสภาพอากาศประเทศไทย ถ้าเป็นผ้าตาข่ายจะช่วยระบายลมได้ดีกว่า และลดการอับชื้น เสื้อกั๊กสะท้อนแสง ไม่ใช่สิ่งที่ต้องซักบ่อย แต่ก็ควรเป็นวัสดุที่ทำความสะอาดได้ อาจไม่ใช้ด้วยวิธีซักแบบผ้าทั่วไป เช่น เช็ดทำความสะอาดด้วยน้ำยาเพื่อฆ่าเชื้อหรือสิ่งสกปรกได้ เป็นต้น
5. มีคุณสมบัติเสริมอะไรบ้าง?
งานบางอย่างถ้าหาก เสื้อกั๊กสะท้อนแสง เป็นได้มากกว่าหน้าที่หลักของมันก็จะช่วยให้การทำงานปลอดภัยและสะดวกมากขึ้น ลดการพกพาอุปกรณ์เสริมอื่นๆ ให้ยุ่งยาก ซึ่งวงการ เสื้อกั๊กสะท้อนแสง ก็มีการแข่งกันขายคุณสมบัติเสริมที่น่าสนใจหลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น
- ต้านทานการติดไฟ (Flame-Resistance)
- Arc Rated ช่วยปกป้องผู้ปฏิบัติงานจากแสงวาบของอาร์คไฟฟ้า สำหรับสภาพการทำงานที่มีอันตรายจากไฟฟ้าเป็นภัยคุกคาม
- กันน้ำและละอองน้ำ (Water Resistant หรือ Waterproof) และระบายความชื้นได้ดี สำหรับสภาพการทำงานที่เปียกชื้น
- ต้านทานการฉีกขาด
- มีกระเป๋าเยอะ เพื่อเก็บสิ่งของเฉพาะ หรือมีกระเป๋าโปร่งใสเพื่อแสดงตัวตนหรือข้อมูลประจำตัว
- มีตะขอและห่วงกันหลุด (Hook and Loop Break-Away) หากเสื้อกั๊กติดในเครื่องจักร มันช่วยให้เสื้อกั๊กหลุดออกจากตัวคนสวมแทนที่จะถูกดึงเข้าไปในเครื่องจักรด้วย ซึ่งตะขอและห่วงจะติดไว้ที่ด้านข้างและไหล่เพื่อให้หลุดออกได้ง่ายเมื่อจำเป็น
- มี Mic Tabs ที่ไหล่เพื่อติดไมโครโฟนวิทยุหรือลำโพง
- มี D Ring Opening สำหรับป้องกันการตก โดยมีช่องที่ด้านหลังสำหรับร้อยห่วงสลิงหรืออุปกรณ์โหนตัว
ดูเรื่อง >>> เสื้อกั๊กสะท้อนแสง <<< เพิ่มเติม