อัปเดต! เทคนิคการเลือก ดอกสว่าน สำหรับงานช่างแต่ละประเภทในปี 2023

Customers Also Purchased

      ดอกสว่าน ( ภาษาอังกฤษ : Drill Bits) มีไว้เพื่อเจาะยึดหรือเจาะนำในงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานไม้ งานปูน งานเหล็ก หรืองานกระเบื้อง เนื่องจากวัสดุต่างๆ มีคุณสมบัติต่างกันทั้งธาตุประกอบ ความแข็งอ่อน การแตกและกระจายตัว ดังนั้น ดอกสว่าน ที่ใช้ในงานแต่ละประเภทจึงออกแบบมาต่างกัน ทั้งหน้าตาและวัสดุ 

      บทความนี้จะมาแบ่งปันความรู้เรื่องและเทคนิคการเลือก ดอกสว่าน สำหรับงานช่างแต่ละประเภท เพื่อให้เหล่านายช่างเลือกเครื่องมือใหม่ๆ ในปี 2023 ได้ง่ายและถูกกับงานมากยิ่งขึ้น


1. การเลือก ดอกสว่าน สำหรับงานปูน

      มาเริ่มกันที่งานปูนก่อนเลย ซึ่งจะรวมถึงงานอิฐด้วย แม้อิฐจะเนื้อแข็งกว่าปูนแต่ก็ใช้งานร่วมกันได้ ทั้งยังใช้เจาะหินได้ด้วย แน่นอนว่า ดอกสว่านเจาะปูน เป็นสิ่งที่ต้องมีอย่างยิ่ง จะใช้พวก ดอกสว่าน เจาะเหล็กแทนไม่ได้เด็ดขาด จะเป็นการใช้งานผิดประเภทและไม่ปลอดภัย เพราะคุณสมบัติที่ออกแบบมาต่างกัน 

      ดอกสว่านเจาะปูน จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่ และมีการเคลือบทังสเตนคาร์ไบด์ ซึ่งมีความแข็งแรงที่สุดในบรรดา ดอกสว่าน สำหรับงานประเภทต่างๆ สำหรับ ดอกสว่านเจาะปูน ยิ่งคมจะยิ่งดี เพราะจะช่วยให้ขอบเนื้อปูนบริเวณที่ไม่ต้องการบิ่นน้อยกว่าดอกที่ไม่ค่อยคม

      ขนาด ดอกสว่านเจาะปูน ที่นิยมใช้กันสำหรับงานทำบ้านและอาคารจะเป็น 3/8 นิ้ว สำหรับงาน Heavy Duty จะเป็นขนาด 1/2 - 5/8 นิ้ว จึงเป็นขนาดที่ควรมีติดไว้ในกล่องเครื่องมือ

      สำหรับงานโครงสร้างที่มีโอกาสเจาะเข้าไปเจอเหล็กหรือตะปู สามารถใช้ ดอกสว่านโรตารี่ ที่สามารถเจาะทะลุทั้งปูนและเหล็กได้

ดอกสว่านเจาะปูน เจาะอิฐ


2. การเลือก ดอกสว่าน สำหรับงานเหล็ก

      งานเหล็กก็ยังแบ่งเหล็กออกไปอีกหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นอลูมิเนียม สแตนเลส หรือเหล็กคาร์บอน ดอกสว่านเจาะเหล็ก ที่จะพูดถึงจึงต้องแบ่งประเภทย่อยลงอีกทีตามไปด้วย ดังนี้

      ▶ การเลือก ดอกสว่าน เจาะอลูมิเนียม

      อลูมิเนียมเป็นวัสดุที่เจาะง่ายก็จริง แต่มีแรงเสียดสีมาก จึงทำให้ ดอกสว่าน สึกเร็ว ดังนั้น ดอกสว่าน ที่ทำจากคาร์ไบด์แบบแข็งจึงเหมาะกับอลูมิเนียม เพราะแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ คงความคมได้นานกว่าวัสดุอื่นๆ อายุการใช้งานยาว

      ควรหลีกเลี่ยง ดอกสว่าน ที่เคลือบสาร AI หรือสารที่ทำให้ดอกมีสีสัน หากไม่ได้ใช้งานหนักเป็นประจำเช่นช่างเฉพาะทาง เป็นแค่การใช้งานเพื่อซ่อมแซมตกแต่งหรืองาน DIY สามารถใช้ ดอกสว่าน HSS (High Speed Steel) ได้ ก็จะประหยัดได้มากกว่า แต่ก็ไม่ควรเลือกที่มีราคาถูกเกินไป เพราะอาจไม่ได้คุณภาพ กลายเป็นเสียเงินมากในระยะยาว 

      ▶ การเลือก ดอกสว่าน สำหรับเจาะเหล็กคาร์บอน (CARBON STEELS)

      เหล็กคาร์บอนเป็นเหล็กที่เหนียว เจาะยากที่สุดในเหล็ก 3 แบบที่กล่าวมา เหมาะกับ ดอกสว่าน ที่มีการเคลือบ TTCP ซึ่งช่วยให้ ดอกสว่านมีความเหนียวและทนทานมากขึ้น ในขณะที่ผิวเรียบลื่นทำให้ดอกหมุนได้เร็วขึ้นและคายเศษเหล็กได้ดีขึ้น 

      ถ้าเป็นการเจาะเหล็กบางสามารถใช้ดอก HSS ได้ แต่สำหรับเหล็กที่หนาและต้องทำงานหนักให้เลือกดอกโคบอลต์ M35 หรือ M42 จะเหมาะกว่า ยิ่งมีโคบอลต์มาก ดอกสว่าน ก็จะทนความร้อนได้มากและทนทานสูง แข็งแรง ไม่สึกหรอง่าย เจาะเหล็กหนาๆ ได้สบาย

      ▶ การเลือก ดอกสว่าน เจาะสแตนเลสและเหล็กชุบแข็ง (HARDENED STEEL)

      สแตนเลสและเหล็กชุบแข็งมีความลื่นและเจาะยาก แต่ก็เช่นเดียวกับเหล็กคาร์บอน สามารถใช้ ดอกสว่าน ที่มีโคบอลต์ระหว่าง 5% - 8% จัดการได้ ดอก M35 จะมีโคบอลต์ 5% ส่วนดอก M42 จะมีโคบอลต์ 8% ไม่ต้องใช้มากกว่านี้ก็ได้ เพราะแม้สแตนเลสและเหล็กชุบแข็งจะเจาะยาก แต่ก็ไม่ยากเท่าเหล็กคาร์บอน

ดอกสว่านเจาะเหล็ก


3. การเลือก ดอกสว่าน สำหรับงานไม้

      ดอกสว่านเจาะไม้ สามารถแยกออกด้วยตาเปล่าได้ง่ายมาก เพราะลักษณะเกลียวจะห่างและโปร่งเพื่อให้คายเนื้อไม้ได้ดีและเจาะได้เร็ว แต่ในทางตรงกันข้าม บางครั้งการเลือก สว่านเจาะไม้ ก็เป็นอะไรที่เลือกยากเพราะงานไม้เป็นงานละเอียด จัดการพลิกแพลงชิ้นงานได้ไม่จำกัดรูปแบบตายตัว ดังนั้น หน้าตา ดอกสว่านเจาะไม้ ก็เลยมีหลายแบบมาก แนะนำให้ดูที่ลักษณะรูที่ต้องการเจาะดีกว่า จะได้เลือกง่ายขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ดอกสว่านเจาะไม้ แบบต่างๆ ด้านล่างนี้

            - Snake drill bit : ดอกสว่านหัวเกลียว ตรงปลายมีหางสกรู ใช้สำหรับเจาะรูลึก

            - Forstner drill bit : ดอกสว่าน สำหรับเจาะรูกว้าง ตื้น

            - Flat drill bit : ดอกสว่านใบพาย สำหรับเจาะกว้าง ลึก และเร็ว

            - Countersink drill bit : ดอกสว่าน รูปทรงสามเหลี่ยมคล้ายร่ม ใช้ลบคมรูที่เจาะไปแล้ว

            - Hole saw drill bit : ดอกสว่าน สำหรับเจาะรูนำร่อง (เจาะทะลุ) มีความกว้างหลากหลายขนาดให้เลือก

ดอกสว่านเจาะไม้


4. การเลือก ดอกสว่าน สำหรับงานกระเบื้อง

      ดอกสว่านเจาะกระเบื้อง แตกต่างจาก ดอกสว่านเจาะวัสดุอื่นๆ เพราะปลายดอกจะดูเศษมีดคัตเตอร์ ดอกสว่านเจาะกระเบื้อง มีแค่ไม่กี่แบบ แยกใช้แบบเปียกกับแบบแห้ง แบบเปียกคือต้องใช้น้ำขณะเจาะเพื่อไม่ให้กระเบื้องแตกเสียหาย ส่วนแบบแห้งจะมีสารหล่อเย็นหรือขี้ผึ้งในตัว ซึ่งจะละลายให้ความหล่อลื่นขณะใช้งาน

      คมของ ดอกสว่านเจาะกระเบื้อง ทำจากทังสเตนคาร์ไบด์หรือเคลือบผงเพชร จึงมีความคมและแข็งแรงมาก ใช้เจาะได้ทั้งกระเบื้องและกระจก กระเบื้องมีค่า PEI (Porcelain Enamel Institute) ระดับ 0 - 5 อยู่ ซึ่งบอกความแข็งของกระเบื้องที่ใช้ในงานก่อสร้างสิ่งต่างๆ ได้ ช่วยให้เลือก ดอกสว่าน ที่เข้ากับกระเบื้องนั้นๆ ได้ดีมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น

      - Glass & tile drill bit : กระเบื้องที่ปูพื้นและผนังห้องน้ำห้องครัว ทำพื้นบ้าน สำนักงานขนาดเล็ก ร้านบูติก เป็นกระเบื้องมาตรฐาน มีค่า PEI คลาส 3 เป็นค่ากลางๆ ที่ไม่แข็งและไม่อ่อนจนเกินไป รองรับน้ำหนักได้ปานกลาง สามารถใช้ ดอกสว่านเจาะกระเบื้อง ที่ปลายเป็นทังสเตนคาร์ไบด์ทั่วไปได้

      - Ceramic tile drill bit : กระเบื้องเซรามิกหรือหินอ่อนที่ใช้ในพื้นที่เชิงพาณิชย์ขนาดกลาง เช่น โรงแรม โรงพยาบาล ร้านอาหาร ธนาคาร มีค่า PEI คลาส 4 ควรใช้ ดอกสว่านเจาะกระเบื้องเซรามิก โดยเฉพาะ ทำจากทังสเตนคาร์ไบด์ที่คุณภาพสูงกว่าแบบแรก

      - Diamond core drill bit : กระเบื้องอย่างหนาที่รองรับการใช้งานหนัก เช่น ใช้ปูสระน้ำ ศูนย์อาหาร อาคารสาธารณะ ห้างสรรพสินค้า มีค่า PEI คลาส 5 ควรใช้ ดอกสว่านเจาะกระเบื้อง แกนเพชร หรือ หัวเพชร ซึ่งมีความคมที่สุด แข็งแรงที่สุด จัดการกับกระเบื้องได้ทุกประเภท รวมทั้งกระจกและหินแกรนิตด้วย

ดอกสว่านเจาะกระเบื้อง


ดูเรื่อง >>> ดอกสว่าน <<< click