ความลับของ ประแจปอนด์ แรงบิด และเทคนิคการขันน็อตที่ควรรู้

Customers Also Purchased

      torque แปลว่าแรงบิด ประแจทอร์ค หรือ ประแจปอนด์ หรือ ด้ามขันปอนด์ จึงหมายถึงเครื่องมือที่ให้แรงบิด

      ประแจปอนด์ หรือ ประแจทอร์ค หรือบางคนก็เรียกว่าประแจวัดแรงบิด คือเครื่องมือที่เอาไว้ขันน็อตตัวผู้ (โบลต์ : Bolt) ตามแรงบิดที่เหมาะสม ใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม รวมถึงการซ่อมแซมรักษายานยนต์ เครื่องจักร และสิ่งก่อสร้างต่างๆ ด้วย 

      โบลต์แต่ละขนาดต้องใช้แรงบิดต่างกัน และการขันลงบนสิ่งต่างๆ ก็ต้องใช้แรงให้เหมาะสมด้วย ต้องขันแบบไม่แน่นหรือหลวมจนเกินไป เช่น สายไฟ ซึ่งในงานบางอย่างก็จะมีคู่มือมาให้ว่าต้องใช้แรงบิดขันแค่ไหน เพื่อให้ทำงานได้ถูกต้องและแม่นยำ 

      การเลือก ->> ประแจปอนด์ <<- จะสัมพันธ์กับแรงบิดที่ต้องใช้ บทความนี้จึงจะมาบอกเล่าเรื่องแรงบิดและการขันโบลต์พื้นฐานที่ควรรู้ไว้ เพื่อการใช้งาน ประแจปอนด์ ที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น


แรงบิด คืออะไร?

      แรงบิด คือ ปริมาณแรงที่กระทำต่อวัตถุ ทำให้วัตถุเกิดการหมุน แรงบิดมีหน่วยเป็น นิวตัน-เมตร (N-m) หรือ ปอนด์-ฟุต (lb-ft) ประแจปอนด์ แต่ละขนาดจะให้แรงบิดที่ต่างกัน ควรเลือกให้เข้ากับน็อตที่ต้องการขัน ดังตารางด้านล่างที่ได้สรุปมาให้ดูนี้ 

      อนึ่งค่าที่แสดงเป็นเพียงค่ามาตรฐานเท่านั้น มีการปัดเลขทศนิยมขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ ถ้าหากเครื่องมือหรืออุปกรณ์ชนิดใดมีค่าแรงบิดกำหนดมาให้แล้วก็ควรใช้ตามที่บริษัทแนะนำ


✯✯ ตารางแสดงแรงบิดที่ต้องใช้ในการขันน็อตตัวผู้ (โบลต์ : Bolt) แบบต่างๆ ✯✯

      ✦ น็อตสแตนเลส ✦

ตารางแรงขันโบลต์สแตนเลสสำหรับ ประแจปอนด์

      ✦ น็อตทองแดง ✦

ตารางแรงขันโบลต์ทองแดงสำหรับ ประแจปอนด์

      ✦ น็อตทองเหลือง ✦

ตารางแรงขันโบลต์ทองเหลืองสำหรับ ประแจปอนด์


ประเภทและการใช้งานของ ประแจปอนด์

      1. ประแจปอนด์ อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Torque Wrench)

      เรียกอีกอย่างว่า ประแจปอนด์ ดิจิตอล เป็นประเภทที่ทันสมัยที่สุด ไม่ต้องขันเองเวลาใช้งาน เพราะเครื่องตัวนี้ใช้ไฟฟ้าและตรวจจับด้วยเซนเซอร์ แรงบิดที่ใช้ไปจะขึ้นให้ดูบนหน้าจอดิจิตอล ทำให้ไม่ต้องซื้อ ประแจปอนด์ หลายตัวก็เอาอยู่กับน็อตหลากหลายขนาด ราคาจะค่อนข้างสูงกว่าประเภทอื่นๆ

ประแจปอนด์ อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Torque Wrench)

      2. ประแจปอนด์ หน้าปัดมาตรวัด (Beam Torque Wrench)

      เป็น ประแจปอนด์ อย่างง่ายที่ราคาไม่แพง ใช้งานง่าย เพราะเมื่อถึงแรงบิดที่กำหนดมันจะหยุดทำงานทันที โดยจะมีหน้าปัดที่กำหนดค่าได้ และแสดงค่าแรงบิดที่ใช้ไปแล้ว ทั้งยังใช้ขันหรือคลายน็อตก็ได้อีกด้วย ข้อเสียคือค่อนข้างเทอะทะ ใช้งานในที่แคบไม่ได้ แต่ก็มีรุ่นที่หน้าปัดเป็นแนวเดียวกับด้าม และยังงอหัวได้ด้วย ช่วยให้ใช้งานสะดวกมากขึ้น

ประแจปอนด์ หน้าปัด (Beam Torque Wrench)

      3. ประแจปอนด์ คลิก (Click Torque Wrench)

      เป็น ประแจปอนด์ อีกอันที่ใช้งานง่าย และเห็นได้บ่อย นิยมใช้อย่างกว้างขวาง รูปแบบกะทัดรัด ด้านในด้ามเป็นเกลียวที่ช่วยส่งแรงบิดได้มาก ตรงด้ามสามารถหมุนปรับระดับที่ต้องการได้ เมื่อถึงแรงบิดที่เหมาะสมมันจะส่งเสียงดัง ‘คลิก’ เตือนให้หยุดขัน

      ตรงหัวมีคันโยกติดสปริงเล็กๆ ที่สามารถปรับให้เป็นการขันหรือคลายน็อตก็ได้ ใช้คู่กับลูกบล็อกและด้ามขันได้

      ตัวที่นำมาให้ดูนี้เป็นของ SATA รุ่น 96313 Adjustable 1/2" Dr. 68-340 N-m มีค่าความคลาดเคลื่อน ±3% มาพร้อมกล่องเก็บรักษาอย่างดี ขนาดกะทัดรัด ไม่กินพื้นที่ มีหน่วยเป็น นิวตัน-เมตร

ประแจปอนด์ คลิก (Click Torque Wrench)

      4. ประแจปอนด์ ไฮดรอลิค (Hydraulic Torque Wrench)

      หน้าตาอาจจะดูแปลกไปสักหน่อย เพราะไม่ค่อยเห็นขายในไทย มันมีขนาดใหญ่และหนัก เข้ากับหัวน็อตใหญ่ๆ ได้อย่างไม่มีปัญหา เหมาะกับนำไปใช้ในอุตสาหกรรมหนัก ใช้กับพวกเครื่องจักรขนาดใหญ่ ขันได้แน่นมาก ช่วยทุ่นแรงเหล่านายช่างได้ดี เพราะทำงานด้วยระบบไฮดรอลิค ไม่ต้องออกแรงเอง

ประแจปอนด์ ไฮดรอลิค (Hydraulic Torque Wrench)

      5. ประแจปอนด์ ไมโครมิเตอร์ (micrometer torque wrench)

      หน้าตาคล้าย ประแจปอนด์ แบบคลิก และทำงานเหมือนกัน แต่ขนาดจะเล็กกว่า มักใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตและการขนส่งสินค้า ระบุแรงบิดได้ละเอียด เนื่องจากการขนส่งต้องให้ความสำคัญกับการรองรับน้ำหนัก โดยเฉพาะการขนส่งทางเครื่องบิน เรือ และรถไฟ เพราะหากขันน็อตไม่ดีแล้วยึดน้ำหนักไม่อยู่ระหว่างขนส่ง จะเป็นอันตรายกับลูกเรือและผู้โดยสารได้นั่นเอง

ประแจปอนด์ ไมโครมิเตอร์ (micrometer torque wrench)

      6. ประแจปอนด์ ไดอัล (Dial Torque Wrench)

      บนด้าม ประแจปอนด์ ตัวนี้จะมีหน้าปัดแบบไดออลเกจอยู่ จึงทำงานได้ละเอียดแม่นยำที่สุดในบรรดาประเภททั้งหมดที่กล่าวมา แต่ขนาดจะกว้างกว่าเนื่องจากตัวหน้าปัด ทำให้ใช้งานในที่แคบไม่ได้ นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการบิน อวกาศ และการป้องกันประเทศซึ่งต้องการความละเอียดและความแม่นยำสูง

ประแจปอนด์ ไดออล (Dial Torque Wrench)


เคล็ดลับการใช้งาน ประแจปอนด์

      ✰ ไม่ควรขันเร็วเกินไป เพราะนอกจากจะทำให้แน่นเกินไปแล้ว โอกาสที่ค่าจะคลาดเคลื่อนก็สูงมาก เพราะเราจะไม่ทันสังเกตถึงเสียงคลิกหรือตัวเลขที่พอดีกับการขันน็อตนั้นๆ จริงๆ

      ✰ ไม่ต้องขันจนมีเสียงแกร๊กหลายครั้ง ถ้าแรงบิดมันเหมาะสมแล้วมันก็จะส่งสัญญาณ (ด้วยเสียงหรือตัวเลข แล้วแต่ประเภทที่ใช้) หลังจากได้ยินเสียงสัญญาณหรือเลขบนหน้าปัดที่ถูกต้องแล้วควรหยุดขันทันที

      ✰ เพื่อให้แรงบิดจาก ประแจปอนด์ แม่นยำ มีประสิทธิภาพ เมื่อใช้ไปนานๆ ควรทดสอบแรงบิดของ ประแจปอนด์ อย่างสม่ำเสมอ เช่น หลังใช้งาน 2,500-3,000 ครั้ง โดยใช้เครื่องทดสอบเฉพาะ หาซื้อได้ ราคาไม่แพง หากไม่มีไว้ใช้เองลองถามจากร้านที่ซื้อดูว่ามีบริการทดสอบให้หรือไม่ ซึ่งความคลาดเคลื่อนที่ทดสอบได้ไม่ควรเกิน 5% ถ้าเกินกว่านั้นไม่ควรใช้งานอีก

      ✰ หลายคนเข้าใจผิดว่าล้อรถควรขันให้แน่นไว้ก่อนเสมอเพื่อความปลอดภัย แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ แค่ขันให้พอดีกับขนาดและประเภทของน็อตที่ใช้ก็พอแล้ว ซึ่งปกติรถยนต์ทั่วไปควรใช้แรงบิดประมาณ 100 นิวตัน-เมตร ในการขันน็อต 

      ทั้งนี้ทั้งนั้นควรดูคู่มือควบคู่ไปด้วย เพราะรถแต่ละคัน ล้อแต่ละแบบ ก็อาจใช้น็อตไม่เหมือนกัน ดังนั้น ถ้าใช้ ประแจปอนด์ ในการช่วยขันก็จะทำให้ออกแรงได้พอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป


ดูเรื่อง ประแจปอนด์ เพิ่มเติม –>> click