17 ประเภท ตะไบ และการใช้งานที่เหมาะสมสำหรับงานช่าง

Customers Also Purchased

      โดยปกติคนจะรู้จัก ตะไบ เพราะเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้ทำเล็บเท่านั้น เรามักเห็น ตะไบ ตามร้านทำเล็บหรือมีติดมากับกรรไกรตัดเล็บ แต่จริงๆ แล้วทั้งงานช่างและงาน DIY ต่างก็ใช้ ตะไบ กันบ่อยๆ และกว้างขวาง ทั้ง ตะไบ ที่ใช้ก็ยังหน้าตาไม่เหมือนกันด้วย


      ตะไบ หรือ ภาษาอังกฤษเรียกว่า File Tool click จะถูกใช้ในงานฝีมือหรืองานช่าง เพื่อขัดแต่งหรือปรับผิวงานให้เรียบร้อยสวยงาม นอกจากนี้ ตะไบ บางอย่างยังใช้ตัดของได้ด้วย เช่น ตะไปเลื่อยโซ่ ตะไบ มีระดับความหยาบและละเอียดแตกต่างกัน ลายขัดบน ตะไบ ก็มีหลายแบบ ใช้ทั้งในงานไม้ งานโลหะ และอื่นๆ

      บางคนอาจรู้จัก >> ตะไบ << แค่ไม่กี่อย่าง เช่น ตะไบเหล็ก ตะไบหางหนู ตะไบสามเหลี่ยม ตะไบท้องปลิง แต่จริงๆ แล้วมันมีเยอะกว่านั้นมาก บทความนี้ก็เลยจะบอกเล่าเรื่อง ตะไบ ทั้ง 17 แบบ! นอกจากนี้เรายังสามารถจำแนก ตะไบ ตามลักษณะย่อยอื่นๆ ได้อีกหลายแบบด้วย


ประเภทของ ตะไบ จำแนกตามรูปร่างลักษณะ

      เนื่องจาก ตะไบ มีหน้าตาหลากหลาย จึงสามารถแบ่งตามรูปร่างหลักๆ ได้ 8 แบบ ได้แก่

      1. ตะไบมือ (Hand File) : ลักษณะจะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความหนา กว้าง และยาวจะแตกต่างกันไป ปลายตัดตรง นิยมใช้ขัดตกแต่งชิ้นงานมากที่สุด ใช้ได้ทั้งผิวหน้าและขอบของ ตะไบ ในการขัด

      2. ตะไบแบน (Flat File) : เหมือน ตะไบมือ แต่ปลายจะลู่เข้าหากัน ทำให้ดูแคบกว่า

      3. ตะไบกลม หรือ ตะไบหางหนู (Round File) : มีลักษณะเป็นแท่งกลมทรงกระบอก พื้นที่ขัดรอบด้าน ใช้สำหรับขัดรูเล็กๆ ให้เรียบเนียน

      4. ตะไบครึ่งวงกลม หรือ ตะไบท้องปลิง (Half-Round File) : มีลักษณะเป็นทรงกระบอกผ่าครึ่ง ตรงข้ามกับการขัดพื้นผิวที่เป็นรู ตะไบท้องปลิง จะใช้ขัดรอบนอกของวัตถุทรงกลมหรือทรงกระบอก เนื่องจากรูปทรงที่โค้งมนเหมือนกันรองรับกันได้ดี

      5. ตะไบสามเหลี่ยม (Triangular File) : ลักษณะจะเป็นแท่งทรงสามเหลี่ยม ใช้สำหรับขัดตามร่องตามมุมต่างๆ เช่น ฟันเลื่อย รองรับมุม 60 - 90 องศา

      6. ตะไบสี่เหลี่ยม (Square File) : มีรูปทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส ขัดได้ทั้งผิวนอกและผิวใน เช่น รูสี่เหลี่ยมเล็กๆ ทั้งรูปจตุรัสและสี่เหลี่ยมผืนผ้า

      7. ตะไบมีด (Knife File) : ลักษณะคล้ายมีดปอกผลไม้ ขอบด้านหนึ่งจะบางเฉียบกว่าอีกด้าน เหมาะสำหรับขัดพื้นที่เล็กๆ แคบๆ ส่วนใหญ่จะใช้ในงานทำล็อกกุญแจ ตรงร่องที่เว้าเข้าไปเพื่อเกี่ยวกับกลไกภายในแม่กุญแจ

      8. ตะไบงอ (Liffler’s File) : ปลายทั้งสองข้างหรือข้างหนึ่งของ ตะไบ จะโค้งขึ้น หน้าตามีหลายแบบ ปลายมีความเรียวบาง ใช้สำหรับงานที่มีรูปทรงอิสระ ไม่ใช่รูปทรงเรขาคณิตที่จัดการง่าย เช่น แม่พิมพ์ หรืองานประดิษฐ์ประดอยที่ใช้ความปราณีตสูง ขัดได้ทั้งพลาสติก หิน และโลหะ

ประเภทของ ตะไบ จำแนกตามรูปร่างลักษณะ


ประเภทของ ตะไบ จำแนกเฉพาะด้าน

      ต่อไปจะเป็นการแบ่งประเภทตามคุณสมบัติหรือลักษณะเฉพาะด้านต่างๆ ของ ตะไบ 

      ➤  ประเภทของ ตะไบ จำแนกตามเกรด 

      เกรด คือความละเอียดในการขัดของ ตะไบ ซึ่งแตกต่างกันตามรูปแบบและขนาดของลายคมขัด นึกภาพว่าก็เหมือนกับกระดาษทราย แต่จะซับซ้อนกว่า เพราะลายหรือคมบน ตะไบ สามารถออกแบบได้หลากหลาย โดยจำแนกได้เป็น 5 เกรด 5 แบบ ดังนี้

      1. ตะไบขัดหยาบ (Rough File) : ลายหรือคมบน ตะไบ จะใหญ่ ห่าง และน้อย ทำให้ ตะไบ ใช้กับโลหะแข็งไม่ได้

      2. ตะไบขัดหยาบน้อย (ฺBastard File) : ลายหรือคมบน ตะไบ จะเล็กกว่าแบบแรกเล็กน้อย แต่ยังคงเห็นเป็นร่องเป็นปุ่มชัดเจน เน้นการขัดเร็ว กินพื้นผิวมาก

      3. ตะไบขัดเรียบ (Second Cut File) : เป็นเกรดที่อยู่ตรงกลางระหว่างขัดหยาบและขัดละเอียด ทำให้ผิวที่ขัดเรียบเนียนขึ้น แต่จะไม่ถึงกับเนียนละเอียดขึ้นเงา เหมาะกับงานขนาดกลาง ชิ้นไม่ใหญ่และไม่เล็กจนเกินไป

      4. ตะไบขัดละเอียด (Smooth File) : คือ ตะไบ ที่มีลายหรือคมละเอียด ถี่ และมาก ทำให้ขัดผิวได้เรียบเนียน ใช้ได้กับงานทุกประเภท ทั้งไม้ พลาสติก และโลหะ

      5. ตะไบขัดละเอียดสูง (Dead Smooth File) : ลายบน ตะไบ จะชิดกันมาก มีความและเอียดและความถี่สูง จะขัดโลหะออกทีละน้อยเป็นผงละเอียด จึงขัดได้เรียบเนียนมาก ช่วยเพิ่มความเงางามให้กับพื้นผิวได้

ประเภทของ ตะไบ จำแนกตามเกรด

      ➤  ประเภทของ ตะไบ จำแนกตามลายคมขัด 

      1. ตะไบลายตัดเดี่ยว (Single Cut File) : คมบน ตะไบ จะเป็นเส้นทแยงขนานกัน ขัดผิวออกอย่างนุ่มนวล มักพบบน ตะไบ ในงานโลหะ 

      2. ตะไบลายตัดคู่ (Double Cut File) : คมบน ตะไบ จะเป็นเส้นทแยง 2 เส้น ความเฉียงต่างกันซ้อนทับกัน ทำให้ขัดได้เร็วและละเอียดมากขึ้น

      3. ตะไบลายตัดโค้ง (Curved Cut File) : คมบน ตะไบ จะเป็นเส้นโค้งเรียงต่อกันสุดความยาวของ ตะไบ เรียกอีกอย่างว่า ตะไบ Vixen ส่วนใหญ่จะใช้ขัดพื้นผิวของโลหะอ่อน เช่น อะลูมิเนียม สังกะสี ทองแดง และทองเหลือง

      4. ตะไบลายตัดเกลียว (Spiral Cut File) : จะอยู่บน ตะไบหางหนู หรือ ตะไบท้องปลิง ลายจะพันเกลียวไปตามความยาวของ ตะไบ

      5. ตะ ไบลายตัดนูน (Rasp Cut File) : เป็น ตะไบ ที่มีคมหนาพิเศษ ลักษณะคมสามเหลี่ยมนูนออกมาเป็นปุ่มๆ ใช้สำหรับงานไม้ พลาสติก ไฟเบอร์ ยางแข็ง เขาสัตว์และกีบเท้าสัตว์

ประเภทของ ตะไบ จำแนกตามลายคมขัด

      ➤  ประเภทของ ตะไบ แบบอื่นๆ 

      จำแนกตามรูปแบบที่พบเห็นบ่อยหรือมีชื่อเรียกเฉพาะ ส่วนมากจะเป็น ตะไบเข็ม ซึ่งมีปลายจะแหลมและขนาดเล็ก ใช้เก็บงานละเอียด และมักขายด้วยกันเป็นชุด แต่ก็มีแบบอื่นๆ ด้วย ซึ่งแบ่งลักษณะได้ 17 แบบ ได้แก่

      1. ตะไบ Barrette : คือ ตะไบ ที่มีลายอยู่ด้านล่างเท่านั้น อีก 3 ด้านจะเรียบ ปลายแหลม ใช้เมื่อต้องการเข้ามุมเอียงโดยเฉพาะ ด้านเรียบช่วยให้ส่วนที่เราไม่ต้องการไม่ถูกขัดไปด้วย

      2. ตะไบ Checkering : ลายขัดจะเป็นลักษณะตารางสี่เหลี่ยมจตุรัสเล็กๆ

ตะไบ ค่อนข้างหนา ขัดได้ 2 หน้า ใช้ขัดหยาบพวกโลหะได้ดี หรือจะใช้ขัดให้เป็นร่องตามขนาดตารางของ ตะไบ ก็ได้ มักมีคนเอาไปใช้ทำร่องเล็กๆ บนหลังมีดบ่อยๆ ตะไบ ตัวนี้ปลายไม่แหลม

      3. ตะไบ Crochet : มีคมขัดรอบด้าน ขอบ ตะไบ จะมน ปลายแหลม ทำให้ขัดร่องเล็กๆ ได้ทั่วถึง ไม่เหลือจุดอับที่เป็นอันตราย

      4. ตะไบ Crossing : รูปตัดขวางคล้ายวงรี ด้านหนึ่งจะโค้งนูนมากกว่าอีกด้าน ใช้ขัดได้รอบด้าน ใช้เมื่อต้องการเพิ่มผิวโค้งให้มุมภายใน

      5. ตะไบ Dreadnought and Millenicut : ขอบ ตะไบ ด้านยาวจะโค้งขึ้นสองด้าน ดูเหมือนส่วนที่ตัดมาจากทรงกระบอกตามยาว คมขัดจะโค้งเป็นครึ่งวงกลมตามลักษณะ ตะไบ เรียงต่อกันสุดความยาว (Curved Cut File) ตะไบตัวนี้ปลายไม่เแหลมเช่นกัน 

      ตะไบ Dreadnought and Millenicut ใช้กับพวกอลูมิเนียม อัลลอยหนา ทองแดง หรือทองเหลือง ขัดได้เร็วแต่จะไม่ละเอียดนัก ใช้ลบขอบมุมฟิลเลอร์พลาสติกได้ เช่น อีพอกซีสองส่วนหรือสไตรีนที่ใช้กันทั่วไปในการซ่อมตัวถังรถยนต์

      6. ตะไบ Equalling : แนวตัดขวางเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า คมขัดรอบด้าน ปลายตัดตรง ลายขัดเป็นเส้นทแยงนูนขึ้นมา ใช้เพิ่มพื้นผิวมุมภายในรูปสี่เหลี่ยมได้สะดวก ช่วยให้การเชื่อมงานที่ทำจอยท์ได้ง่ายขึ้น

      7. ตะไบ Farrier : เป็น ตะไบแบน มีคมขัด 2 ด้าน ด้านหนึ่งหยาบน้อย ด้านหนึ่งหยาบมาก หน้าตาคมเหมือนที่ขูดมะละกอในครัว ปลายของ ตะไบ โค้งมน ไม่แหลม มักใช้ขัดกีบเท้าม้าหรือเขาสัตว์ 

      8. ตะไบ Fret : รูปทรงมีหลากหลาย แต่ที่เห็นบ่อยจะเป็น ตะไบแบน สี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านอื่นๆ จะเรียบ แต่ขอบข้างที่เว้าลงไปจะมีคมขัดอยู่ ใช้เพื่อขัดเน้นส่วนหรือขอบที่นูนขึ้นมาให้โค้งมนสวยงาม หรือกลึงเพื่อ ตะไบ เฟตของกีตาร์และเครื่องดนตรีอื่นๆ เพื่อไม่ให้มันคมจนทำให้สายขาดง่าย สามารถเลือกขนาดร่องที่ต้องการใช้ได้

      9. ตะไบ Half Round Ring : เป็น ตะไบ รูปตัดขวางครึ่งวงกลม ปลายแหลม ใช้สำหรับเก็บงานด้านในร่องรูปครึ่งวงกลม หรือทำร่องบนสิ่งของต่างๆ นิยมใช้กับงานไม้

      10. ตะไบ Joint Round Edge : คมขัดอยู่บนขอบโค้งมนสองด้านของ ตะไบ ปลายตัดตรง เข้ากับร่องจอยท์ในงานไม้ได้ดี ใช้ในงานทำข้อต่อและบานพับ

      11. ตะไบ Knife : หรือ ตะไบมีด เพราะรูปร่างเหมือนมีด ปลายแหลม ใช้ขัดได้สองด้าน ใช้กับรูเดือยเวลาเชื่อมงาน ไม่ว่าจะขัดหรือตัดเดือยก็ทำได้

      12. ตะไบ Nut : หน้าตาคล้ายไม้บรรทัด มีทั้งแบบมีด้ามจับและไม่มีด้ามจับ คมขัดจะอยู่ขอบๆ ความหนาด้านข้าง ตะไบ ไล่ระดับตามความยาว ใช้เพื่อขัดทำร่องเล็กๆ ส่วนมากนิยมใช้กับเครื่องดนตรีประเภทสาย เพื่อให้สายอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ไม่เลื่อนหลุด 

      13. ตะไบ Pillar : เป็น ตะไบ แท่งสี่เหลี่ยมค่อนข้างหนา ขัดได้สองด้าน คมของ ตะไบ เป็นแบบ Double cut ขัดงานได้ค่อนข้างเนียน ส่วนมากนิยมใช้เพื่อเก็บงานส่วนที่ไม่เรียบร้อย ขัดได้ทั้งไม้และโลหะ

      14. ตะไบ Pippin : รูปแนวขวางเป็นทรงหยดน้ำ จึงขัดในร่องแคบ ร่องตัววี หรือร่องมนได้ ปลายแหลมเรียว นิยมใช้ขัดทำรอยหยักกุญแจในงานปั๊มกุญแจ

      15. ตะไบ Planemaker’s Float : ร่อง ตะไบ จะหนาและใหญ่ ลายคมดูคล้ายกระดานซักผ้า รูปทรงมีหลายแบบทั้งปลายแหลม ปลายตัดตรง หรือเป็นแท่งกลม ใช้กับงานไม้เวลาทำร่องลักษณะพิเศษเพื่อเชื่อมงานหรือทำช่องเล็กๆ เนื่องจากลายตะไบ ใหญ่จึงกินไม้ได้มาก เน้นขัดงานเร็ว

      16. ตะไบ Round Parallel : ตะไบ เป็นแท่งกลม (ตะไบหางหนู) คมขัดจะเป็นเกลียวคล้ายเกลียวบนตัวน็อต เป็น Bastard cut ใช้ขัดเหล็กได้ ใช้ตกแต่ง ทำร่อง หรือเก็บรายละเอียดตามซอกได้

      17. ตะไบ Saw Sharpening : ตะไบ สำหรับขัดฟันเลื่อย มีรูปร่างเป็นแท่งสามเหลี่ยม ปลายหัวและท้ายเรียบเพื่อเป็นที่ให้ใช้มือจับได้สะดวก ขัดได้ละเอียด หรือจะใช้ขัดเงาของมีคมอื่นๆ ก็ได้

ตะไบ 17 แบบ


ดูเรื่อง ตะไบ เพิ่มเติม -->>> click <<<--