หมวกนิรภัย สีขาว สีเหลือง ต่างกันยังไง?

Customers Also Purchased

      หลายๆ คนคงพอจะรู้จัก หมวกนิรภัย กันแล้ว มันก็คือหมวกพลาสติกสีต่างๆ ที่เรามักจะเห็นช่างหรือคนงานสวมขณะอยู่ในไซต์งานก่อสร้าง งานถลุง ในโรงงาน ในเหมือง หรือที่ไหนก็ตามที่มีความเสี่ยงสูงว่าจะเกิดอันตรายจากสิ่งที่อาจลอย ปลิว หรือหล่นใส่ศีรษะ ข้างใน หมวกนิรภัย จะบุวัสดุที่ช่วยดูดซับแรงกระแทก

      ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า หมวกนิรภัย click เป็นเครื่องป้องกันที่จะช่วยลดแรงปะทะจากสิ่งที่ ตก หล่น หรือกระแทกกับศีรษะเท่านั้น ดังนั้น อาการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้นจึงไม่เท่ากับ 0 (ศูนย์) เลยทีเดียว แต่แค่ทำให้อันตรายหรืออาการบาดเจ็บลดน้อยลง ไม่สาหัส ยกตัวอย่างเช่น หากมีก้อนอิฐหล่นลงมา ศีรษะจะไม่แตก ไม่มีเลือดไหล แต่อาจจะรู้สึกมึนๆ เล็กน้อย


หมวกนิรภัย สีเหลือง และ สีขาว ต่างกันยังไง? ทำไมต้องแยกสี?

      หมวกนิรภัย มีหลายสีมาก แต่ที่เห็นบ่อยๆ ก็คือสีขาวและสีเหลือง มีคนไม่น้อยที่ยังสงสัยและสับสน ไม่รู้ข้อแตกต่างของ หมวกนิรภัย 2 สีนี้ 

      โดยทั่วไปคุณสมบัติของ หมวกนิรภัย จะใกล้เคียงกัน สีของ หมวกนิรภัย จึงช่วยในการแยกหน้าที่และตำแหน่งงานต่างๆ ของคนทำงาน 

      หลายๆ คนคงนึกภาพออกว่าในไซต์งานนั้นมีคนจำนวนมาก ยิ่งพื้นที่ทำงานกว้างใหญ่คนก็ยิ่งเยอะ ถ้ามีปัญหาที่ต้องแก้ไขเร่งด่วนจะให้วิ่งไปทั่วก็คงลำบากและเสียเวลาไม่น้อย ดังนั้น สีของ หมวกนิรภัย จะช่วยแก้ปัญหาพวกนี้ได้ คนทำงานสามารถเดินเข้าไปสอบถามปัญหาที่เกิดขึ้นได้ถูกคน

      คนที่สวม หมวกนิรภัย สีขาว จะเป็นวิศวกรโครงการ หัวหน้างาน หัวหน้าคนงาน ผู้จัดการหรือผู้ดูแลโครงการ ซึ่งมีหน้าที่ดูแล จัดการ ตรวจสอบ และควบคุมการทำงานโดยรวม เมื่อเกิดปัญหาหน้างานก็ควรมองหาพวกเขา ถึงแม้ว่าพวกเขาจะไม่สามารถแก้ปัญหานั้นได้ทันทีก็ยังสามารถแจ้งเรื่องราวกับคนที่รับผิดชอบโดยตรงได้อย่างทันท่วงที

      สำหรับคนที่สวม หมวกนิรภัย สีเหลือง ก็คือผู้ปฏิบัติงานทั่วไป ลงมือทำงานต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

หมวกนิรภัย


แล้ว หมวกนิรภัย สีอื่นๆ ล่ะ?

      อย่างที่บอกว่า หมวกนิรภัย มีหลายสี แต่ละสีก็มีคุณสมบัติและบอกหน้าที่ของคนทำงานที่แตกต่างกันไป ดังนี้

      - ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับงานเชื่อมและการใช้ความร้อนสูงมักจะสวม หมวกนิรภัย ไฟเบอร์กลาสสีน้ำตาล เช่น ช่างเชื่อมโลหะ ช่างตัดและเจียรเหล็ก

      - ผู้ตรวจสอบความปลอดภัย เจ้าหน้าที่ OSHA (Occupational Safety and Health Administration) จะสวม หมวกนิรภัย สีเขียว

      - ช่างไม้ ที่ปรึกษาด้านเทคนิค หรือพนักงานควบคุมดูแลเครื่องจักร และช่างไฟฟ้า จะสวม หมวกนิรภัย สีน้ำเงิน

หมวกนิรภัย

      - เจ้าหน้าที่จราจร คนทำงานบนถนน สลิงเกอร์ หรือคนให้สัญญาณสลิงและเครน เพื่อยกหรือเคลื่อนย้ายเครื่องจักรหนักๆ ใหญ่ๆ จะสวม หมวกนิรภัย สีส้ม

      - นักดับเพลิง หรือผู้เข้าชมงานจะสวม หมวกนิรภัย สีส้มหรือสีแดง ตัวอย่างเช่น ตอนมีนักเรียนมาศึกษาดูงาน หรือมีผู้สนใจโครงการมาเยือนในพื้นที่ทำงานอันตราย ทุกคนจะได้ใส่ หมวกนิรภัย สองสีนี้กัน

      - ส่วนสถาปนิกมักสวมใส่ หมวกนิรภัย สีดำ

หมวกนิรภัย


คลาสของ หมวกนิรภัย

      สิ่งของต่างๆ มักถูกแบ่งตามประเภทหรือคุณภาพอยู่เสมอ หมวกนิรภัย เองก็เช่นกัน โดยทั่วไป หมวกนิรภัย จะแบ่งเป็นคลาสง่ายๆ ได้แก่ คลาส A, B และ C

      หมวกนิรภัย คลาส A จะมีความทนทานต่อแรงกระแทกและการเจาะทะลุ และยังป้องกันแรงดันไฟฟ้าสูงสุด 2,200 โวลต์

      หมวกนิรภัย คลาส B มีคุณภาพในเรื่องการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ามากกว่าคลาสอื่น ทนทานไฟฟ้าแรงสูงได้ถึง 20,000 โวลต์ ป้องกันการเผาไหม้ แต่ก็ยังคงคุณสมบัติป้องกันการกระแทกและการทะลุทะลวง ที่เกิดจากวัตถุบินหรือตกหล่นใส่ได้ด้วย

      หมวกนิรภัย คลาส C จะให้ความเบาสบายที่สุด ป้องกันการกระแทกได้ แต่ไม่สามารถทนแรงไฟเหมือนกับคลาสอื่น


สิ่งสำคัญของ หมวกนิรภัย

      ✦ หมวกนิรภัย มีไว้เพื่อป้องกันวัตถุขนาดเล็ก ไม่ใช่พวกของหนักๆ หรือแหลมคม 

      ✦ หมวกนิรภัย ที่ดี มีคุณภาพ ต้องระบุชื่อผู้ผลิต วันที่ผลิต ข้อกำหนดการใช้งาน ประเภทการใช้งาน และขนาดศีรษะที่สวมใส่ได้เอาไว้อย่างชัดเจน และเป็นไปตามมาตรฐาน ANSI 

      ✦ หมวกนิรภัย ที่ดีควรมีฉลากอยู่ภายในหมวก เพื่อป้องกันการเลือน สูญหาย หรือผู้ใช้จำข้อมูลสำคัญไม่ได้

      ✦ หมวกนิรภัย ควรปราศจากร่องรอยการกระแทกมาก่อน เช่น รอยบุบ รอยแตก หรือเป็นรู ถ้าพบควรเปลี่ยนใบใหม่

      ✦ หมวกนิรภัย ประเภทพลาสติกแข็งจะถูกรังสี UV ทำให้เสื่อมสภาพได้ง่าย จึงควรตรวจดูก่อนใช้งานว่า หมวกนิรภัย ไม่ได้สูญเสียความมันวาว มีลักษณะขุยหรือเป็นผงออกมาตอนสัมผัสเหมือนชอล์ก หรือลอกออกเป็นแผ่นๆ เปราะบาง สีซีดจาง ถ้าเจอให้เลิกใช้ เปลี่ยนใบใหม่

      ✦ หมวกนิรภัย PPE ก็แบ่งออกเป็นคลาสเหมือนกัน ใช้งานได้แตกต่างกัน ควรเลือกให้เหมาะสม ดังนี้

            - หมวกนิรภัย PPE คลาส G (General) ได้รับการทดสอบแรงดันไฟสูงสุด 2,200 โวลต์ ป้องกันการกระแทก การเจาะทะลุ และตัวนำไฟฟ้าแรงต่ำได้

            - หมวกนิรภัย PPE คลาส E (Electrical) ผ่านการทดสอบแรงดันไฟสูงสุด 20,000 โวลต์ ป้องกันแรงกระแทก การเจาะทะลุ และตัวนำไฟฟ้าแรงสูงได้

            - หมวกนิรภัย PPE คลาส C (Conductive) เป็นหมวกที่ไม่มีฉนวนไฟฟ้า ป้องกันการกระแทกและการเจาะเท่านั้น เน้นความแข็งแรงทนทาน มักทำจากอะลูมิเนียมซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้า ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับอันตรายจากไฟฟ้าเด็ดขาด

หมวกนิรภัย


ข้อควรระวัง และคำแนะนำในการใช้ หมวกนิรภัย

      ★ หมวกนิรภัย ต้องได้รับการตรวจสอบอย่างรอบคอบก่อนใช้งานเสมอ ดูว่ามันเสื่อมสภาพหรือยัง มีตรงไหนเสียหายหรือไม่ เพื่อการใช้งานที่ปลอดภัยที่สุด เกิดผลที่สุด 

      ★ มีคำแนะนำว่าควรเปลี่ยน หมวกนิรภัย ใบใหม่ทุก 5 ปี ไม่ว่าสภาพมันจะยังดูใหม่แค่ไหนก็ตาม เพราะมันได้เสื่อมสภาพตามเวลาแล้ว หรือก็คือ หมวกนิรภัย มีวันหมดอายุนั่นเอง จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้ผลิตถึงต้องระบุวันที่ผลิตไว้ให้ชัดเจน

      ★ สำหรับ หมวกนิรภัย ที่ใช้ในสภาพแวดล้อมอันตราย สภาพอากาศเลวร้าย หรืออุณหภูมิพลิกผันบ่อย เช่น โรงถลุงเหล็กที่มีอุณหภูมิสูงๆ ไซต์งานท่ามกลางแสงแดดจัด หรือในอาคารที่มีสารเคมีและรังสีบางอย่าง ควรเปลี่ยนให้บ่อยขึ้น เช่น ทุกๆ 1-2 ปี เป็นต้น

      ★ ไม่ควรซ่อมแซมหรือเปลี่ยนส่วนประกอบต่างๆ ของ หมวกนิรภัย เอง เพราะการออกแบบของ หมวกนิรภัย ถูกคำนวณมาเพื่อความปลอดภัยด้วยค่าที่ละเอียดอ่อนหลายอย่าง ถ้าเปลี่ยนส่วนประกอบเองอาจทำให้ประสิทธิภาพการป้องกันของหมวกนิรภัย ลดลง หรือไม่ดีเท่าตอนแรก

      ★ แม้ว่าจะร้อนแค่ไหนก็อย่าเจาะรูเพื่อเพิ่มการระบายอากาศบน หมวกนิรภัย 

      ★ ควรเก็บให้พ้นแสงแดดและพื้นที่ความร้อนสูง เพราะจะทำให้วัสดุของ หมวกนิรภัย เสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควร

      ★ อย่าติดสติกเกอร์หรืออะไรก็ตามบน หมวกนิรภัย เพราะมันจะปกปิดร่องรอยการเสื่อมสภาพหรือความเสียหาย ถ้ามันเสียแล้วยังถูกนำไปใช้งานอีกจะเป็นโทษมากกว่าข้อดี

หมวกนิรภัย


ผลร้ายของการไม่สวม หมวกนิรภัย

      การใช้ หมวกนิรภัย เป็นสิ่งที่จำเป็นมากจริงๆ สมองของคนเราอาจได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการกระแทกหรือกระทบกระเทือนที่รุนแรง แม้แต่การหมุนศีรษะเร็วเกินไปก็ทำไม่ได้ เพราะมันอาจทำให้เกิดการกระตุกของเส้นประสาทและหลอดเลือดในสมอง ส่งผลกระทบไปสู่ส่วนต่างๆ ของสมองด้วย 

      หมวกนิรภัย ได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับแรงจากการปะทะของวัตถุอันตราย โดยมีชั้นโฟมที่หนาและค่อนข้างแข็งเหมือนหมวกกันน็อก เมื่อผู้สวมใส่ชนและกระแทกกับพื้นผิวแข็งๆ มันจะต้านแรงปะทะ ศีรษะจะชนกับโฟมภายในหมวกแทนที่จะเป็นพื้นแข็งๆ ขนาดรองรับรถบรรทุกได้แทน ช่วยลดผลกระทบสูงสุดต่อสมอง  

      ดังนั้น การสวม หมวกนิรภัย จึงสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง คนเรามักไม่รู้ตัวว่าตัวเองประมาทแค่ไหนจนกระทั่งวันที่สายไปแล้ว แม้จะนึกภาพวันที่ตัวเองเกิดอันตรายไม่ออกแต่ก็ไม่ควรประมาท แม้จะช่วยให้ปลอดภัย 100% ไม่ได้ แต่ก็ช่วยให้รักษาอาการบาดเจ็บได้ง่ายกว่าไม่ป้องกันอะไรเลยอย่างแน่นอน



กลับไปหน้า หมวกนิรภัย >>> click