ข้อดีข้อเสียของ ล้อรถเข็น 15 แบบ มีอะไรบ้าง มาดูกัน!!

Customers Also Purchased

      นอกจากรถเข็นแบบต่างๆ ที่ต้องเลือกให้เหมาะสมแล้ว ล้อรถเข็น เองก็เป็นสิ่งที่ต้องเลือกให้เหมาะสมเช่นกัน 


ล้อรถเข็น สำคัญยังไง?

      ล้อ หรือ ลูกล้อ ถูกออกแบบมาให้การขนย้ายสิ่งของที่ใหญ่ เยอะ และหนักง่ายขึ้น ช่วยให้มนุษย์ทุ่นแรงและเวลา โดยการติดตั้งกับฐาน แท่น หรือกล่องเพื่อบรรทุก เกิดเป็นเลื่อนหรือรถเข็น ทำให้การใช้ชีวิตและการทำงานง่ายขึ้น ดังนั้น เราจึงเห็นการใช้รถเข็นหรือเลื่อนเป็นปกติ ทั้งในห้าง ซุปเปอร์มาร์เก็ต โรงแรม โรงงาน หรืออุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งเลื่อนหรือรถเข็นเหล่านั้นจะใช้งานไม่ได้เลยหากปราศจาก “ล้อ”


ข้อดีข้อเสียของ ล้อรถเข็น แบบต่างๆ

      --> ล้อรถเข็น <-- มีหลายประเภท ทำจากวัสดุหลายอย่าง และมีการออกแบบเพื่อวัตถุประสงค์การใช้งานที่แตกต่างกัน เช่น เพื่อความปลอดภัย หรือเพื่อให้รองรับน้ำหนักได้มากๆ ก่อนที่จะเลือกให้ถูกกับความต้องการใช้งานก็มาดูข้อดีข้อเสียของ ล้อรถเข็น แบบต่างๆ กันหน่อยดีกว่า จะได้เลือกถูกและง่ายขึ้น

      โดย ล้อรถเข็น ที่จะพูดถึงวันนี้จะจำแนกตามประเภทหรือรูปแบบ ไม่ได้แยกตามวัสดุแต่อย่างใด


1. ล้อคู่ (Dual Caster) 

      ประกอบด้วยลูกล้อ 2 ลูกใน 1 ล้อ ทำให้รับน้ำหนักได้มากขึ้น และมีความเสถียร ทำให้ทรงตัวและเคลื่อนที่ได้มั่นคง ลื่นไหล เป็นล้อแบบปกติที่พบเห็นได้ทั่วไป เช่นที่เก้าอี้หรือกระเป๋าเดินทาง เป็นต้น

      ข้อดี : รับน้ำหนักได้มาก มีความเสถียร ทรงตัวได้ดี น้ำหนักกระจายทั่วกันอย่างสม่ำเสมอ ลดแรงกดกับพื้น ทำให้พื้นและล้อสึกหรอน้อยลง และยังสามารถเปลี่ยนทิศทางได้ง่ายเมื่อเทียบกับล้อแบบอื่นๆ ในความเร็วที่เท่ากัน

      ข้อเสีย : ราคาสูงกว่าล้อเดี่ยว

ล้อรถเข็น ล้อคู่


2. ล้อเดี่ยว (Single Wheel Caster)

      ลักษณะคล้ายล้อคู่ แต่มีลูกล้อ 1 ลูกต่อ 1 ล้อ ราคาถูก จึงถูกใช้เพื่อช่วยลดต้นทุน เช่น ใช้กับเก้าอี้สำนักงาน รถเข็นน้ำหนักเบา เป็นต้น 

      ข้อดี : ราคาถูกกว่าล้อแบบอื่นๆ หาซื้อง่าย

      ข้อเสีย : รับน้ำหนักได้น้อยกว่าล้อคู่ เปลี่ยนทิศทางได้ยากถ้าหากบรรทุกน้ำหนักมากๆ และมีการเสียดสีกับพื้น ทำให้พื้นพวกหินอ่อนหรือหินแกรนิตอาจเป็นรอยได้ถ้าโดน ล้อรถเข็น ครูดซ้ำๆ

ล้อรถเข็น ล้อเดียว


3. ล้อมีครอบ (Hooded Caster)

      มีขึ้นเพื่อรูปลักษณ์และความสวยงาม ปกปิดสิ่งที่ไม่เรียบร้อย ตัวล้อจะมีที่ครอบเหมือนกำลังสวมหมวกอยู่

      ข้อดี : ช่วยซ่อนการออกแบบ สิ่งสกปรก หรือคราบไม่น่าดูที่ติดอยู่กับล้อ ทำให้ดูเรียบร้อยและสะอาดตา

      ข้อเสีย : ส่วนครอบมักจะเกี่ยวกับพวกเส้นใยได้ง่ายและเอาออกยาก เช่น เส้นผม พรม ขน หรือเส้นด้าย 

ล้อรถเข็น มีที่ครอบ


4. ล้อยูโร (Euro Caster)

      เป็น ล้อรถเข็น ประเภทที่มีการออกแบบสไตล์ยุโรป ทำให้ดูร่วมสมัย สวยงาม ตัวล้อและฐานดูแข็งแรง เป็นหนึ่งเดียวกัน

      ข้อดี : เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความสวยงาม เข้ากับการออกแบบของอินทีเรีย เช่น ต้องการเลือกให้เข้ากับการตกแต่งของบ้านหรือออฟฟิศ

      ข้อเสีย : ราคาแพง แต่ฟังก์ชันการใช้งานไม่ได้มากตามราคา

ล้อรถเข็น ยูโร


5. ล้อบอลกลม (Ball Caster)

      ลักษณะล้อจะเหมือนลูกบอล แตกต่างกับล้อแบบอื่นๆ ที่จะมีลักษณะเป็นแว่นๆ ทรงกระบอก ส่วนที่ครอบล้อมักทำจากทองเหลืองหรือโลหะ

      ข้อดี : มีสไตล์เฉพาะตัว เหมาะจะใช้เพื่อเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์ มีหลายแบบให้เลือก เช่น แบบมีที่ครอบหรือไม่มี แบบหมุนได้รอบทิศทาง แบบฐานตายหรือหมุนได้รอบทิศทาง แบบมีหรือไม่มีเบรค เป็นต้น

      ข้อเสีย : รับน้ำหนักได้ไม่เท่าล้อคู่

ล้อรถเข็น บอลกลม


6. ล้อเบรคนิรภัย (Safety-brake Caster)

      ส่วนมากจะพบเห็นได้ในเก้าอี้สำนักงาน หรือรถเข็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล โดยเบรคจะถูกกระตุ้นจากน้ำหนักของเก้าอี้ และคลายออกเมื่อถูกคนนั่งลงไป ทำให้นั่งแล้วขยับเก้าอี้ไปตามที่ต้องการได้อย่างอิสระ

      ข้อดี : ช่วยให้เก้าอี้ไม่เลื่อนไหลไปมา ซึ่งอาจไปชนกับคนหรือสิ่งของให้เสียหายได้ แต่เมื่อนั่งลงบนเก้าอี้ก็สามารถเคลื่อนย้ายไปมาได้ตามใจ

      ข้อเสีย : ถ้าต้องการย้ายเก้าอี้ที่ใช้ล้อประเภทนี้อาจต้องยกหรือถอดประกอบ เพราะลากไม่ไป

ล้อรถเข็น เบรคนิรภัย


7. ล้อเบรครีเวิร์ส (Reverse-brake Caster)

      คุณสมบัติตรงข้ามกับเบรคนิรภัย ก็คือเมื่อไม่มีน้ำหนักเบรคจะคลายตัว และล็อกการเคลื่อนที่ถ้ามีน้ำหนักกดทับ จึงไม่เหมาะจะใช้กับรถเข็นที่ต้องรับน้ำหนักและกระจายสิ่งของ

      ข้อดี : ถ้าเอาไปติดเก้าอี้ก็จะได้เก้าอี้ที่ปลอดภัย นั่งแล้วไม่ขยับไปมา ล็อกตำแหน่งได้ดี

      ข้อเสีย : ถ้าไม่ได้นั่งเก้าอี้จะเคลื่อนที่ได้ ถ้าไม่ระวัง ลุกจากเก้าอี้แล้วหันมาอีกครั้งเก้าอี้อาจไม่อยู่ที่เดิมแล้ว ถ้านั่งลงไปอาจล้มได้ ถ้ากลัวว่ามันจะเคลื่อนไปชนสิ่งของก็ต้องหาอะไรมาขัดไว้ หรือใช้ในพื้นห้องที่มีแรงเสียดทานสูง เช่น ห้องที่ปูพรม เป็นต้น

ล้อรถเข็น เบรครีเวิร์ส


8. ล้อล็อก (Locking Caster)

      เป็นล้อที่สะดวกกว่าแบบเบรคนิรภัยและรีเวิร์ส นิยมใช้เพื่อความปลอดภัย เพราะสามารถล็อกและคลายล็อกได้เองตามที่เราต้องการ

      ข้อดี : เหมาะกับพื้นผิวที่เรียบ ลื่น แรงเสียดทานต่ำ มีความปลอดภัยสูง สามารถปรับล็อกได้อย่างอิสระ

      ข้อเสีย : บางคนอาจไม่ชอบที่ต้องคอยล็อกและปลดล็อกไปมาซ้ำๆ

ล้อรถเข็น แบบล็อก


9. ล้อทำความสะอาดได้ (Cleanable Caster)

      ใช้วัสดุที่ทำความสะอาดได้และง่ายดาย เหมาะกับรถเข็นที่ต้องใช้งานในพื้นที่สมบุกสมบัน เช่น เรือกสวน โรงเพาะชำ อุตสาหกรรมก่อสร้าง หรือใช้ในสถานที่ที่ต้องรักษาความสะอาดเป็นพิเศษอยู่สม่ำเสมออย่าง โรงพยาบาล ร้านอาหาร โรงแรม โรงเรียน เป็นต้น 

      ข้อดี : ไม่สะสมฝุ่นและสิ่งสกปรก ทำความสะอาดง่าย

      ข้อเสีย : ราคาค่อนข้างสูง แต่มักไม่สามารถรองรับน้ำหนักมากๆ ได้

ล้อรถเข็น ทำความสะอาดได้


10. ล้อป้องกันไฟฟ้าสถิต (ESD Caster)

      ESD ย่อมาจาก Electrostatic Discharge ออกแบบมาเพื่อความปลอดภัยในสถานที่ที่อาจมีการกระจายและสะสมของไฟฟ้าสถิตย์ เช่น งานเกี่ยวกับการไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือในสถานที่ที่ต้องการความปลอดภัยกับผู้คนและเครื่องมือต่างๆ เป็นพิเศษ เช่น โรงพยาบาล เป็นต้น

      ข้อดี : ช่วยป้องกันอุปกรณ์ที่อ่อนไหวและอาจเสียหายจากกระแสไฟฟ้า หรือไฟฟ้าสถิตย์ เช่น อุปกรณ์ในโรงพยาบาล เป็นต้น

      ข้อเสีย : ราคาสูงกว่า ล้อรถเข็น แบบอื่นๆ มาก เนื่องจากวัสดุคุณภาพดีและการใส่ใจความปลอดภัยที่มากกว่าปกติ

ล้อรถเข็น ป้องกันไฟฟ้าสถิตย์


11. ล้ออุตสาหกรรม (Industrial Caster)

      การออกแบบและวัสดุมักเน้นความแข็งแรงมากกว่าประเภทอื่นๆ เพื่อความทนทานและใช้งานได้ยาวนาน รับน้ำหนักได้มาก ทั้งยังประหยัดต้นทุนแม้จะซื้อเป็นจำนวนมาก จึงเหมาะกับโรงงานและอุตสาหกรรม บางครั้งก็อาจมีขนาดใหญ่กว่าด้วย วัสดุส่วนมากจะเป็นโลหะ แต่ที่เป็นวัสดุอื่นๆ เช่น ยาง หรือยูริเทน ก็มีเหมือนกัน

      ข้อดี : ราคาถูก รองรับน้ำหนักมาก เคลื่อนที่บนพื้นคอนกรีตหรือพื้นที่สมบุกสมบันได้ดี

      ข้อเสีย : ไม่เหมาะจะใช้ในบ้านหรือสำนักงาน เพราะล้อที่ทำจากโลหะจะทำให้พื้นประเภทอ่อนนุ่มหรือแข็งแรงน้อยกว่าเสียหายได้ 

ล้อรถเข็น อุตสาหกรรม


12. ล้อลดเสียงรบกวน (Noise Reducing Caster)

      ทำจากวัสดุที่อ่อนนุ่มเป็นพิเศษ เพื่อให้ดูดซับเสียงและลดแรงกระแทก จึงช่วยลดเสียงที่เกิดจากการกระแทกและสั่นสะเทือนได้ดี เหมาะจะใช้ในสถานที่ที่ห้ามการใช้เสียงดังเกินกำหนด หรือต้องการความสงบเป็นพิเศษ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น

      ข้อดี : ลดเสียงรบกวน ไม่รำคาญหูเวลาใช้งาน

      ข้อเสีย : เนื่องจากวัสดุอ่อนนุ่ม จึงรับน้ำหนักได้ไม่มากเท่าไหร่นัก

ล้อรถเข็น ลดเสียงรบกวน


13. ล้อปรับระดับ (Leveling Caster)

      เป็น ล้อรถเข็น ที่สามารถปรับระดับความสูงต่ำของล้อได้ด้วยการขันน็อตหรือปรับคันโยกที่ติดมา

      ข้อดี : ปรับความสูงต่ำและล็อกต่ำแหน่งได้ตามต้องการ ทำให้รถเข็นไม่ลื่นไถล

      ข้อเสีย : มีความยุ่งยากในการใช้งานมากกว่าล้อแบบอื่นๆ และราคาสูงกว่า และในตอนที่บรรทุกน้ำหนักมากๆ ก็จะขันหรือปรับลำบาก เพราะต้องใช้แรงมากตามนั่นเอง

ล้อรถเข็น ปรับระดับ


14. ล้อยางเติมลม (Pneumatic Caster)

      ทำจากวัสดุแบบที่ใช้ในล้อจักรยานหรือมอเตอร์ไซค์ แต่ยางจะมีขนาดบางกว่าด้วยขนาดที่เล็กกว่ามาก เหมาะกับการใช้งานในไร่ สวน หรือโรงเพาะชำ หรือในพื้นที่ราบลื่นเป็นพิเศษ ยางจะช่วยให้ล้อยึดเกาะ ทรงตัวได้ดี และกระเทือนน้อย

      ข้อดี : แรงกระแทกน้อย ทำให้ของในรถเข็นไม่ค่อยกระเทือน ปรับความอ่อนนุ่มหรือแข็งแรงของล้อได้ตามปริมาณลมที่ใส่เข้าไป

      ข้อเสีย : จะฉีกขาดถ้าโดนของมีคม ต้องคอยเช็กลมยางและสภาพยางอยู่เสมอ

ล้อรถเข็น ยางเติมลม


15. ล้อยางตัน (Flat Tree / Foam Filled Caster)

      พัฒนามาจากยางแบบเติมลม คือทำให้ภายในไม่มีช่องว่าง และคงรูปได้โดยไม่ต้องคอยเติมลมเป็นประจำ แต่ยังคงคุณสมบัติรองรับแรงกระแทกได้ดี กระเทือนน้อย และยังทนทานมากกว่า เหมาะจะใช้ในพื้นที่ขรุขระ ไม่ว่าจะเป็นพื้นหินดินทรายหรือมีหินคมๆ มากอย่างไร หน้าตาภายนอกจะไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ด้านข้างของล้อจะแบนกว่า ไม่ตุงเหมือนแบบเติมลม

      ข้อดี : ลดแรงกระแทก ทนต่อสภาพแวดล้อมกลางแจ้ง ทนต่อความร้อนความเย็น รังสียูวี และสารเคมีบางประเภท ถึงโดนของมีคมบาดก็ยังใช้งานต่อได้

      ข้อเสีย : ราคาแพงกว่าล้อหลายๆ แบบ

ล้อรถเข็น ยางตัน


ดูเรื่อง >> ล้อรถเข็น << เพิ่มเติม