คำแนะนำทั่วไปในการใช้ ปั๊มลมสกรู

Customers Also Purchased

ในการซื้อ ปั๊มลมสกรู คู่มือเล่มนี้อธิบายการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษาของ ปั๊มลมสกรู ขอแนะนำให้ท่านได้อ่านรายละเอียดให้ครบก่อนการติดตั้งและการใช้งาน กรุณาเก็บคู่มือไว(กับปั๊มลม) สำหรับความจำเป็นในการซ่อมบำรุงนั่นเอง 


โครงสร้างภายใน ปั๊มลมสกรู

1. คูเลอร์

2. ตัวกรองอากาศ

3. มอเตอร์

4. ถังพักน้ำมัน

5. ตัวกรองน้ำมัน

6. พัดลมทำความเย็น

7. ตัวแยกน้ำมันและอากาศ

8. สายพาน โพลี-วี

9. วาล์วควบคุมอากาศเข้า

10. หัวสกรู

11. วาล์วระบายความกดดัน

12. ล้อหมุนสายพานมอเตอร์

13. ล้อหมุนสายพานหัวสกรู

14. ฝาจุกที่เติมน้ำมัน

15. วาล์วโซลินอยด์

16. วาล์วบายพาสความร้อน

AIR LOOP

อากาศจะถูกดูดผ่านตัวกรองอากาศเพื่อดักจับฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกก่อน  อากาศจะผ่านวาล์วควบคุมอากาศเข้าและส่งต่อไปยังหัวสกรู  อากาศจะรวมกับน้ำมันที่มีความเย็นใช้ในการหล่อลื่นหัวสกรู  หลังการอัดอากาศ  อากาศที่มีน้ำมันปะปนอยู่จะไหลเข้าสู่ถังพักน้ำมันที่ซึ่งจะเป็นที่แรกในการแยกอากาศและน้ำมันออกจากกัน  อากาศที่ถูกอัดจะไหลผ่านตัวแยกอากาศและน้ำมัน เข้าสู่ทำความเย็นอากาศ และดูดอากาศเข้าไปในสายส่งอากาศ

OIL LOOP

การหมุนเวียนน้ำมันมีความสำคัญมากในการทำงานของปั๊มลม  น้ำมันที่มีความเย็นจะถูกกรองผ่านตัวกรองน้ำมันและถูกฉีดเข้าไปในหัวสกรูปะปนกับอากาศที่ถูกอัด  อากาศและน้ำมันที่ถูกอัดจะผสมกันเข้าไปในตัวถังเพื่อเป็นอันดับแรกในขบวนการแยกน้ำมันและอากาศ  น้ำมันจะจมลงไปในส่วนล่างของถังและไหลผ่านตัวทำความเย็นน้ำมัน  และไหลกลับไปยังหัวสกรูผ่านตัวกรองน้ำมัน


ข้อควรระวังในการติดตั้ง

- ปั๊มลมควรจะติดตั้งในสถานที่ที่มีความกว้างขวางเพียงพอ  เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบและการบำรุงรักษา

- ควรติดตั้งปั๊มลมภายในอาคารที่มีพื้นที่สะอาดและพื้นฐานมั่นคง

- ปั๊มลมมีส่วนประกอบของระบบอีเล็คโทนิคที่มีความเที่ยงตรง  การติดตั้งควรอยู่ในสถานที่ที่ป้องกันน้ำได้ ควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเพื่อว่าปั๊มลมจะไม่เกิดความเสียหายเนื่องมาจากน้ำฝน  แม้ว่าจะเป็นการวางใน สถานที่นั้นเป็นการชั่วคราวก็ตาม

- ควรติดตั้งปั้มลมในบริเวณที่มีการถ่ายเทอากาศได้ดี อุณหภูมิและความชื้นต่ำ และแห้งที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยอุณหภูมิโดยรอบบริเวณควรน้อยกว่า 40 องศาเซลเซียส

- วิธีการที่มีประสิทธิภาพคือ การปล่อยอากาศให้ระบายออกด้านนอกโดยผ่านท่อดูดด้านบนของตัวปั๊มลม  ใน กรณีที่ต้องมีการบำรุงรักษาด้านบนของปั๊มลม   ท่อดูดที่ติดตั้งควรทำด้วยวัสดุที่มีความอ่อนตัว เช่นทำด้วยผ้าใบ เป็นต้น เพื่อสะดวกในการบำรุงรักษา

- ควรติดตั้งปั๊มลมในสถานที่ปราศจากฝุ่น เพื่อปั๊มลมสามารถดูดอากาศที่สะอาดไปใช้ในการอัดลมได้  หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีก๊าซพิษ  เช่น ก๊าซคลอรีน ก๊าซไฮโดรเจน ซัลไฟด์  ก๊าซซัลเฟอร์อ๊อกไซด์ เป็นต้น


การขนส่ง

การขนส่งโดยรถยก

เมื่อมีการเคลื่อนย้ายตัวปั๊มลมโดยรถยก  ต้องให้แน่ใจว่าง่ามยกของรถได้สอดผ่านรูด้านล่างของฐานตัวตู้ปั๊มลมโดยตลอด  และเพื่อการป้องกันการเสียหายในการขนย้ายให้ใช้วัสดุกันกระแทกสอดไว้ในช่องระหว่างตัวปั๊มลมกับรถยก

การขนส่งโดยปั่นจั่น

ในการยกปั๊มลมโดยปั่นจั่นควรใช้วัสดุกันกระแทกกันไว้ทั้งสี่มุมของตัวตู้ช่วงที่ยกด้วยลวดสลิงเพื่อป้องกันความเสียหายในการขนส่ง  ตัวตู้ของปั๊มลมควรคลุมด้วยกระดาษหรือผ้าเพื่อป้องกันการขูดขีดในขณะขนส่ง

การติดตั้ง

- ควรจะมีพื้นที่เพียงพอต่อการตรวจสอบและซ่อมบำรุงโดยรอบของปั๊มลม  อย่างน้อยที่สุดควรมีพื้นที่สำหรับการเปิดฝาตู้ปั๊มลม  

- เพื่อความสะดวกในการซ่อมบำรุง ควรจะมีพื้นที่เพียงพอด้านหลังของปั๊มลมด้วย

- ควรติดตั้งปั๊มลมบนพื้นที่เรียบเสมอกัน  เพื่อป้องกันการสั่นสะเทือนและเกิดเสียงดัง

การติดตั้งในห้องที่มีการควบคุมการระบายอากาศ

ใช้พัดลมระบายอากาศ

- การใช้ปั๊มลมในห้องที่มิดชิดนั้น  ควรมีการติดตั้งระบบดูดอากาศเข้าและระบายออกด้วย

- ขนาดของท่ออากาศเข้าต้องมีขนาดที่เหมาะสม  เพื่อให้อากาศในห้องมีความกดดันสมดุล

- ปั๊มลมอาจหยุดการทำงานเมื่ออุณหภูมิในห้องสูง 40 องศาเซสเซียส หรือ สูงกว่า

เลือกสถานที่ตั้งที่มีการหมุนเวียนอากาศ  

- การใช้ท่อระบายอากาศ

- ให้แน่ใจว่าได้มีการติดตั้งท่อระบายอากาศในห้อง  หากเป็นไปได้ควรติดตั้งพัดลมดูดอากาศด้วย

- ติดตั้งตะแกรงลวดที่ปลายทางออกของปล่องลม  เพื่อกันไม่ให้นกหรือสัตว์อื่นๆเข้ามาในท่อระบายลม

- ป้องกันไม่ให้น้ำฝนเข้ามาทางปล่องลมระบายอากาศ

- ให้ทำการงอปล่องระบายลมให้น้อยที่สุด(ความกว้างสูงสุด 5 mmH2O) เพื่อลดความเสียดทานของลมที่ระบายออก

- ดัดปล่องระบายอากาศให้งอน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

- ให้ติดตั้งพัดลมระบายอากาศไว้ที่ปลายปล่องระบายอากาศ ถ้าหากท่อดูดอากาศสูญเสียความกดดันมากกว่า 5 mmH2O


การเดินท่อ

- ติดตั้งข้อต่อที่มีความยืดหยุ่นเพื่อลดความตึง การสั่นสะเทือนและแรงดึงที่ไม่ปกติ

- ขนาดของท่อต้องเท่ากับหรือใหญ่กว่าท่อทางออกของปั๊มลม

- เพื่อประสิทธิภาพของลมจำเป็นต้องลดความสูญเสียความกดดันของลม  โดยการลดจำนวนข้องอ, ข้อต่อและวาลว์ ต่างๆ ในระบบท่อลม

- ถ้ามีจุดใดในท่อลมที่ต่ำ จะเป็นจุดที่น้ำสะสมควรจะมีการติดตั้งวาล์วปิด-เปิดเพื่อปล่อยน้ำทิ้ง  ฉะนั้นการติดตั้งจุดปล่อยน้ำจึงควรมีการพิจารณาในขั้นตอนออกแบบการวางท่อ

- ท่อทางเดินของลมควรจะมีระยะที่สั้นเท่าที่จะเป็นไปได้  เพื่อลดการตกคร่อมความกดดันของลม  ความเสียดทานของท่อก็ควรมีการนำมาพิจารณาอย่างจริงจังด้วยในการเดินท่อลม

- การเดินท่อภายในควรมีความลาดเอียงเล็กน้อยเพื่อป้องกันน้ำไม่ให้คาอยู่ในท่อ  และติดตั้งวาลว์ปล่อยน้ำในจุดต่ำสุดของท่อ

- เมื่อมีการติดตั้งปั๊มลมมากกว่าสองเครื่องเข้าไปในท่อลมสายเดียวกัน ควรมีการติดตั้งวาลว์ปิด-เปิดในท่อของปั๊มแต่ละตัวสำหรับปิดพักเครื่องแต่ละตัวได้  ควรติดตั้งวาลว์สำหรับปล่อยน้ำทิ้งในระหว่างปั๊มลมพร้อมทั้งติดตั้งวาล์วปิด-เปิดในจุดนั้นด้วย  ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการทดสอบและซ่อมบำรุงปั๊มลม

- ช่วงท่อที่ต่อจากปั๊มลมไปยังถังพักลมควรมีการติดตั้งตัวปล่อยน้ำทิ้ง  เพื่อความสะดวกในการปล่อยน้ำทิ้ง

การเดินสายไฟ

- ปั๊มลมของบริษัทใช้ทำลังไฟฟ้า AC (220V/50Hz) หรือ (380V/50Hz) 3-phase (ดูตารางข้อมูลด้านล่าง) ในการใช้งานที่สำบูรณ์ให้ต่อสายไฟเข้าตัวเบรกเกอร์หรือสะพานไฟและสายดิน

- ติดตั้งตัวเบรกเกอร์ เพื่อป้องกันมอเตอร์ไหม้, ไฟฟ้าลัดวงจร และไฟลงดิน

- ความเปลี่ยนแปลงแรงดันไฟฟ้าควรจะมีขีดจำกัด  +10%  และความต่างระหว่าง Phase +3%

- สำหรับกำลังไฟฟ้าของปั๊มลมนี้ ต้องแน่ใจว่าได้ติดตั้งกล่องเบรกเกอร์ (Molded case circuit breaker)(MCB) และระบบป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรไว้ด้วย

แรงม้า

 

เบรกเกอร์วงจรไฟฟ้า(A)

ขนาดสายไฟฟ้า (mm2)

ฟิวส์ (A)

220V

380V

220V

380V

ความยาว(m)

220V

380V

5

50

30

8

5.5

50

3

2

7.5

50

30

8

5.5

50

3

2

10

50

30

8

5.5

50

3

2

15

60

50

14

5.5

50

3

2

20

75

50

22

8

50

3

2

30

125

75

38

14

50

5

3

40

150

100

60

22

50

5

3

50

175

125

80

38

50

5

3

60

175

150

100

50

50

5

3

75

225

175

150

60

50

5

3

100

300

225

250

100

50

5

3

- ถ้าหม้อแปลงไฟมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ และ/หรือ ขนาดสายไฟฟ้าเล็กเกินไป  และ/หรือใช้สายไฟยาวเกินไป  จะทำให้แรงดันไฟฟ้าตกเมื่อมีการสตาร์ทเครื่องปั๊มลม  มอเตอร์ไฟฟ้าอาจจะทำงานไม่ได้เต็มที่ บางกรณีมอเตอร์ไฟฟ้าอาจจะไม่ทำงานเลย  ฉะนั้นควรเลือกหม้อแปลงไฟฟ้าที่เหมาะกับมอเตอร์ไฟฟ้านั้น ๆ

*ขีดความสามารถของเบรกเกอร์วงจรไฟฟ้าและขนาดของสายไฟฟ้าที่ระบุไว้ในตารางนี้เป็นค่ามาตรฐานเท่านั้น  ส่วนในการใช้งานจริงให้พิจารณาตามขนาดของกำลังไฟฟ้าและความยาวของสายไฟ

หน้าที่ของแผงควบคุมวงจร

- เริ่มเดินเครื่อง กดปุ่ม (START) เพื่อเริ่มการทำงานของปั๊มลม เมื่อลมอัดสูงถึงจุดที่กำหนด ปั๊มลมจะเข้าสู่ระบบ อันโหลด โดยอัตโนมัติ

- หยุดเครื่อง กดปุ่ม (STOP) เพื่อหยุดการทำงานของปั๊มลม  มอเตอร์ไฟฟ้าจะหยุดหลังจากหมดเวลาหน่วง (การนับถอยหลังจะแสดงบนแผง LCD)

- การแจ้งเตือนข้อบกพร่อง (PHASE REVERSAL) หมายถึงสายไฟต่อไม่ถูกต้อง  ขอให้สลับสองในสามของสายไฟ R,S หรือ T ของการจ่ายกระแสไฟฟ้า

- โปรดดูแผ่นแผนผัง (2C01-S032 ) เพื่อรายละเอียดเพิ่มเติ่มของแผงควบคุมวงจร

การใช้งาน

- ก่อนการเดินเครื่อง ตรวจเช็คความปลอดภัยโดยรวมของปั๊มลม และแจ้งเตือนบุคคลที่อยู่บริเวณใกล้เคียง

- ตรวจเช็คระดับน้ำมันของปั๊มลมว่าอยู่สูงกว่าจุดกึ่งกลางของเกจ์วัดระดับน้ำมัน  ถ้าระดับน้ำมันอยู่ต่ำให้เติมน้ำมันเพิ่ม

*  ใช้น้ำมันปั๊มลม  PUMA เท่านั้น  ห้ามผสมกับน้ำมันยี่ห้ออื่น

*  ก่อนการเติมน้ำมันเครื่องปั๊มลม  ตรวจดูว่าเกจ์วัดความดันอยู่ที่ 0 กก. / ตร.ซม.


การทดสอบการเดินเครื่อง

- เปิดปุ่มกระแสไฟ เปิดจ่ายกระแสไฟและให้แน่ใจว่ามีไฟ (STOP) แสดงบนหน้าปัด LCD

- เช็คว่าข้อมูลต่าง ๆ ได้ปรากฏอยู่บนแผง LCD เป็นปกติ  หากมีข้อสงสัยใด ๆ  โปรดสอบถามผู้จำหน่ายของท่าน

- หลังจากกดปุ่ม (START)  ตรวจเช็คว่ามีน้ำมันรั่ว หรือมีการสั่นสะเทือนและมีเสียงดังผิดปกติหรือไม่

- สำหรับการทดสอบเดินเครื่องที่ไม่มีการใช้งานจริง  ให้เปิดวาล์วด้านทางจ่ายลมออก

- ปล่อยให้เครื่องทำงานประมาณ 30 นาที  ตรวจเช็คเสียงที่ผิดปกติ และการรั่วของน้ำมัน

- หลังจากปิดวาล์วด้านทางจ่ายลมออก  เช็คดูแผงวงจรว่าแรงดันของอากาศที่ด้านทางออกตรงตามข้อมูลหรือไม่

- อ่านและตรวจดูการตั้งค่าแรงดัน

  แรงดันที่ตั้งค่าไว้ที่ 8 10 12 กก./ตร.ซม.

  แรงดันที่มีการใช้งาน 6 8 10 กก./ตร.ซม.

  แรงดันที่ไม่มีการใช้งาน 8 10 12 กก./ตร.ซม.

 - ในขณะที่มีการอัดลมเต็มที่ (แรงดันที่ 7.5 – 8 กก./ตร.ซม.) ให้ดึงทดสอบห่วงแหวนของเซฟตี้วาล์วปล่อยลมเพื่อเช็คการทำงาน

- หยุดการทำงานของเครื่องโดยการกดปุ่ม (STOP)

- เช็คระดับน้ำมันอีกครั้ง

- เช็คระบบแรงดันที่เกจ์ 0 กก. / ตร.ซม.

- เช็คว่าระบบอัตโนมัติของโซลีนอยด์วาล์วทำงานปกติหรือไม่


การทำงานประจำวัน

- เช็คระดับน้ำมันของปั๊มลมต้องอยู่สูงกว่าระดับกึ่งกลางของตัววัดน้ำมัน

- ค่อย ๆ เปิดวาล์วที่ใต้ถังเก็บอากาศ / น้ำมัน เพื่อปล่อยน้ำที่สะสมอยู่ออกไป (วางถาดรองรับน้ำที่ปล่อย)

- ห้ามเปิดวาล์วปล่อยน้ำในขณะเดินเครื่อง                           

- เปิดกระแสไฟฟ้า

- กดปุ่ม (START)

- ตรวจดูการแสดงผลบนแผงควบคุมวงจร

- เช็คการรั่วของน้ำมัน / อากาศ และเสียงที่ผิดปกติ

- ห้ามเปิดวาล์วต่าง ๆ ต่อไปนี้ในขณะที่เครื่องทำงาน

   1.  วาล์วปล่อยน้ำมันของปั๊มลม

   2.  ฝาครอบตัวกรองน้ำมันของปั๊มลม

(จะมีแรงดันลมเหลืออยู่ในปั๊มลม และน้ำมันยังร้อนอยู่หลังจากปั๊มลมหยุดการทำงานแล้ว) เช็คแรงดันของวาล์วระบายลมโดยการดึงแหวนที่วาล์วเพื่อทดสอบการทำงาน


การซ่อมบำรุง

เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าปั๊มลมสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย, ราบเรียบ, และประหยัด อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด  ท่านต้องตรวจเช็คและซ่อมบำรุงดังต่อไปนี้ ต้องให้แน่ใจว่าได้ปิดกระแสไฟฟ้าก่อนที่ท่านจะทำการตรวจเช็ค และซ่อมบำรุงปั๊มลม

เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง

ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องหลังจากการทำงานมา 1000 ชั่วโมงแรกและเปลี่ยนอย่างสม่ำเสมอทุก ๆ 3000 ชั่วโมง  ปกติควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องทุก ๆ 3000 ชั่วโมง  แต่ถ้าน้ำมันมีความสกปรกก่อนเวลาอันควรก็ควรจะเปลี่ยนทันทีก่อนถึงกำหนด แนะนำให้ใช้น้ำมันเครื่องยี่ห้อ PUMA

ตัวกรองน้ำมันเครื่อง

- ปิดกระแสไฟฟ้า

- ต้องให้แน่ใจว่าความกดดันอยู่ที่ 0 กก./ตร.ซม.

- เปิดตัวกรองน้ำมันเครื่องด้วยประแจถอดตัวกรองน้ำมันเครื่อง

- ทาจาระบีที่ปะเกนฝาของตัวกรองน้ำมันเครื่องตัวใหม่

- ก่อนการติดตั้งให้ถือตัวกรองน้ำมันให้อยู่ในตำแหน่งตั้งตรงและเติมน้ำมันลงไปในตัวกรองน้ำมันเครื่องด้วยน้ำมันชนิดเดียวกันกับน้ำมันที่เติมในถังพักอากาศ/น้ำมัน

- ขันตัวกรองน้ำมันเครื่องให้แน่นด้วยมือเปล่า ไม่ต้องใช้เครื่องมือ

ตัวกรองอากาศ

- ปิดกระแสไฟฟ้า

- เปิดฝาครอบตัวกรองอากาศออกและเป่าฝุ่นออกอย่างระมัดระวัง

- นำไส้กรองอากาศออกมาเป่าฝุ่นหรือเปลี่ยนไส้กรองอากาศใหม่

- ปิดฝาครอบตัวกรองอากาศ ตรวจตราให้ดีว่าตำแหน่งถูกต้องในขณะที่ประกอบกลับเข้าไป

ข้อควรระวัง ขจัดฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกออกจากท่อทางเข้าของอากาศของปั๊มลม

ตัวแยกน้ำมัน / อากาศ

- ปิดกระแสไฟฟ้า

- เช๊คระบบความกดดันให้อยู่ที่ 0 กก./ ตร.ซม.

- ถอดไส้กรองออก

- เปลี่ยนไส้กรองใหม่

วาล์วความกดดันขั้นต่ำ

วาล์วกดดันขั้นต่ำถูกตั้งไว้ที่ 5 กก./ ตร.ซม.  ตรวจเช็คความเสียหาย และทำความสะอาดวาล์วและโอริง  หลังจากเดินเครื่องได้ 6000 ชั่วโมง

- ถอดแป้นเกลียวที่ล๊อกออก

- ปรับเกลียวการตั้งค่า 2-1. หมุนตามเข็มนาฬิกา : เพิ่มค่าความกดดัน 2-2.  หมุนทวนเข็มนาฬิกา : ลดค่าความกดดัน

- ขันแป้นเกลียวเข้าเพื่อล็อกให้แน่น

ตรวจเช็คสายพานโพลี-วี

- ทำการตรวจเช็คเมื่อมีการเดินเครื่องไป 100 ชั่วโมงแรก และทุก ๆ 3000 ชั่วโมง

- เมื่อมีการเปลี่ยนสายพานใหม่  ให้ตรวจเช็คและปรับตั้งใหม่หลังจากเดินเครื่องได้ 1 ชั่วโมง  เพราะว่าสายพานจะมีการยืดตัว

รายการตรวจเช็ค และการบำรุงรักษา

ระบบและส่วนที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ

วิธีการทำ

ระยะเวลาการตรวจเช็ค

ปจว.

100ชม.

1000ชม.

3000ชม.

6000ชม.

12000ชม.

24000ชม.

การควบ

คุม

ระบบทั้งหมด

ตรวจ

 

 

 

 

 

 

วาล์วเข้า

ถอด/ตรวจ

 

 

 

 

 

 

สวิทซ์แรงดัน

ตรวจ

 

 

 

 

 

 

วาล์วโซลินอยด  (unloading)

ถอด/ตรวจ

 

 

 

 

 

 

หัว

สกรู

ลูกปืน

เปลี่ยน

 

 

 

 

 

 

ซีลเพลา

ตรวจ/เปลี่ยน

 

 

 

 

 

 

โอริ่ง

เปลี่ยน

 

 

 

 

 

 

มอ

เตอร์

มอเตอร์ใหญ่

ตรวจ

 

 

 

 

 

 

มอเตอร์พัดลม

ทำความสะอาด

 

 

 

 

 

 

ไส้

กรอง

อากาศ

ตรวจ/เปลี่ยน

 

 

●*

 

 

 

น้ำมัน

เปลี่ยน

 

 

●*

 

 

 

ตัว

แยก

 

ตัวแยก

เปลี่ยน

 

 

 

 

 

 

ปะเก็น

เปลี่ยน

 

 

 

 

 

 

ถังพักน้ำมัน

ระบายน้ำทิ้ง

 

 

 

 

 

 

ท่อส่งกลับ

ทำความสะอาด

 

 

 

 

 

 

วาล์ว

วาล์วแรงดันอากาศขั้นต่ำ

ถอด/ตรวจ

 

 

 

 

 

 

วาล์วอากาศเข้า

ตรวจ

 

 

 

 

 

 

วาล์วระบาย

ตรวจ

 

 

 

 

 

 

วาล์วบายพาส

ตรวจ

 

 

 

 

 

 

ตัว

ตรวจ

สอบ

แผงควบคุม

ตรวจ

 

 

 

 

 

 

เบรกเกอร์

ตรวจ

 

 

 

 

 

 

เซ็นเซอร์โอเวอร์โหลด

ตรวจ

 

 

 

 

 

 

เซ็นเซอร์อุณหภูมิ

ตรวจ

 

 

 

 

 

 

อื่น

น้ำมันหล่อลื่น

ตรวจ

 

 

●*

 

 

 

ตัวทำความเย็น

ทำความสะอาด

 

 

 

 

 

 

สายพาน

ตรวจ

 

●*

 

 

 

 

พัดลมระบายความร้อน

ทำความสะอาด

 

 

 

 

 

 

เซ็นเซอร์อุณหภูมิ

เปลี่ยน

 

 

 

 

 

 

วาล์วโซลีนอยด์

เปลี่ยน

 

 

 

 

 

 

อุปกรณ์ความปลอดภัย

สำหรับความปลอดภัยและการทำงานอย่างถูกต้องของปั๊มลม  ไฟเตือนบนแผงควบคุมจะแจ้งเตือนความผิดพลาดและความผิดปกติ

- สัญญาณเตือน ไฟเตือนจะติดเมื่อถึงชั่วโมงรับบริการ (ตั้งค่าจากโรงงาน) ถึงเวลาปฏิบัติตามระยะการซ่อมบำรุง

- สัญญาณเตือนความผิดพลาด เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านมอเตอร์เกินกว่าค่าที่กำหนดในเวลาที่กำหนดเนื่องจากใช้ไฟฟ้ามากเกินไป ,การทำงานของซิงเกิล-เฟส เป็นต้น  ตัวหน่วงจะทำงานและหยุดการทำงานมอเตอร์ไฟฟ้าโดยอัตโนมัติเพื่อการป้องกันมอเตอร์

การทำงานของมอเตอร์หลัก  กดปุ่มตั้งค่าในกล่องไฟฟ้า  ถ้ามอเตอร์เดินแสดงว่าการทำงานปกติมันเป็นเรื่องธรรมดาหากมอเตอร์หยุดการทำงานอีกครั้งและไฟสัญญาณใช้ไฟเกินติดขึ้น  ให้ไปดูหัวข้อการแก้ไขปัญหาในหน้าที่รวบรวมปัญหา

อุณหภูมิที่ส่งออกมา

- ตัวรับสัญญาณของอุณหภูมิที่มีความไวสูงจะตรวจสอบอุณหภูมิและจะหยุดการเดินเครื่องของปั๊มลมเมื่ออุณหภูมิสูงถึงจุดที่ตั้งค่าไว้

- ตัวรับสัญญาณจะตรวจอุณหภูมิที่สูงขึ้นผิดปกติของปั๊มลมอันเนื่องมาจากน้ำมันหล่อลื่นไม่เพียงพอ  ประสิทธิภาพของตัวทำความเย็นลดลง  ปั๊มลมทำงานมากเกินไป เป็นต้น  ด้วยเหตุที่เป็นการป้องกันการเสื่อมสภาพของน้ำมันและจะทำให้ปั๊มลมเสียหายได้

- วาล์วระบายความดัน ปั๊มลมจะประกอบด้วยวาล์วระบายความดัน การทำงานจะเป็นปกติถ้าวาล์วระบายความดันมีการเป่าลมออกมา เมื่อมีการดึงแหวนทดสอบที่หัวของวาล์วระบายความดัน

การแก้ไขปัญหาต่างๆ

มอเตอร์ไม่ทำงาน

รายละเอียดของปัญหา

การแก้ไข

ฟิวส์ขาด

ตรวจฟิวส์

แรงหมุนในการสตาร์ทมอเตอร์ไม่เพียงพอ

ตรวจการต่อสายไฟ

แรงดันไฟฟ้าต่ำเกินไป

ตรวจการจ่ายแรงดันไฟฟ้า

วงจรไฟฟ้า ไม่ต่อ

ตรวจตัวรีเลย์การทำงานเกิน (โอเวอร์โหลด)

มอเตอร์ร้อนเกินไป

ายละเอียดของปัญหา

การแก้ไข

ใช้ไฟฟ้ามากเกินไป

ตรวจการตั้งค่า

อุณหภูมิรอบด้านมีความร้อนมากเกินไป

ทำความสะอาดบริเวณที่อากาศเย็นไหลผ่าน

ไฟหนึ่งสายในสามสายหลวม

ตรวจการต่อสาย

คอล์ยสตาร์ทเสีย

ซ่อม หรือเปลี่ยนใหม่

แรงดันไฟฟ้าผิดปกติ

ตรวจหม้อแปลงไฟฟ้า

คอล์ยต่อลงดิน

ตรวจวงจรไฟฟ้า

แรงดันไฟฟ้าสูงหรือต่ำเกินไป

ตรวจแหล่งจ่ายไฟฟ้า

เสียงดังและสั่นสะเทือนผิดปกติ

รายละเอียดของปัญหา

การแก้ไข

ศูนย์ไม่ตรง

ปรับตั้งศูนย์เพลาและมูเล่ย์ใหม่

พื้นที่ตั้งไม่มั่นคง

เสริมพื้นฐานให้แข็งแรงขึ้น

น้ำหนักไม่สมดุล

ติดต่อผู้แทนจำหน่ายให้ทำการปรับสมดุล

ตลับลูกปืนแตก

เปลี่ยนใหม่

การทำงานจากไฟ 3 สายเหลือสายเดียว

ตรวจสอบวงจรไฟฟ้า

ปั๊มลมไม่ทำงาน

รายละเอียดของปัญหา

การแก้ไข

อุณหภูมิอากาศที่ปล่อยออกมาสูงเกินไป

ทำความสะอาดตัวทำความเย็น

อุณหภูมิสูง  ตัวรีเลย์มีการทริป

ตรวจสาเหตุที่ใช้ไฟสูงเกินไป (โอเวอร์โหลด)

ไฟไม่เข้า

ตรวจการจ่ายไฟฟ้าหลัก (เมนของไฟฟ้า)

ตัวควบคุมรีเลย์เสีย

เปลี่ยนใหม่

มอเตอร์พัดลมไม่ทำงาน

ตรวจการจ่ายไฟที่สายไฟของมอเตอร์

การทริปของตัวสวิทซ์วัดอุณหภูมิสูง

รายละเอียดของปัญหา

การแก้ไข

ความดันลมที่ปล่อยมาสูงเกินไป

ปรับสวิทซ์ความดัน     สตาร์ทเครื่องใหม่และวัดค่าแอมแปร์เมื่อแรงดันถึงขีดสูงสุด

น้ำมันเครื่องขาด

ตรวจระดับน้ำมัน

การต่อสายจ่ายไฟไม่แน่นพอ

ตรวจการต่อสายไฟฟ้าทั้งหมด

ตัวเซ็นเซอร์อุณหภูมิเสีย

เปลี่ยนใหม่

การตั้งค่าไม่ถูกต้อง

ติดต่อผู้แทนจำหน่าย

ความดันอากาศต่ำเกินไป

รายละเอียดของปัญหา

การแก้ไข

อากาศรั่ว หรือวาล์วปรับการดูดไม่เปิด

ตรวจจุดที่รั่วและทำการซ่อม

ตัวกรองอากาศอุดตัน

ทำความสะอาด หรือเปลี่ยนใหม่

การปรับวาล์วดิฟเฟอเรนเชียลผิด

ปรับวาล์วใหม่

การปรับสวิทซ์ความดันผิด

ปรับตัวตัดความดันเข้าและออกใหม่

เกจ์วัดความดันเสีย

เปลี่ยนใหม่

กำลังปั๊มลมไม่เพียงพอ

ติดต่อผู้แทนจำหน่าย

อุณหภูมิของอากาศที่ปล่อยออกมาสูงมากเกินไป

รายละเอียดของปัญหา

การแก้ไข

การหมุนเวียนของอากาศเย็นไม่มีประสิทธิภาพพอ

ตรวจสอบท่อหรือส่วนประกอบ

ระดับน้ำมันต่ำมาก

เติมน้ำมันให้ได้ระดับ  และตรวจการรั่วซึม

ตัวกรองน้ำมันเครื่องอุดตัน

เปลี่ยนใหม่

ตัวทำความเย็นของน้ำมันอุดตัน

ติดต่อผู้จำหน่าย

อุณหภูมิรอบ ๆ สูงเกินไป

ตรวจระบบการหมุนเวียนและการไหลของลม

พัดลมทำความเย็นหมุนผิดทิศทาง

ตรวจสายไฟมอเตอร์

ใช้น้ำมันเครื่องไม่ถูกต้อง

ใช้น้ำมันตามคำแนะนำ

ตัวกรองอากาศอุดตัน

ทำความสะอาด หรือเปลี่ยนใหม่

ตัวตรวจสอบอุณหภูมิทำงานไม่ถูกต้อง

ซ่อม หรือเปลี่ยนใหม่

หัวสกรูมีเสียงดัง

ติดต่อผู้แทนจำหน่าย

อัตราการใช้น้ำมันสูงมาก (กินน้ำมัน)

รายละเอียดของปัญหา

การแก้ไข

ระดับน้ำมันสูงมาก

ระบายน้ำมันออกให้อยู่ในระดับที่กำหนด

ท่อทางเดินกลับของน้ำมันอุดตัน

ทำความสะอาดท่อทางเดินน้ำมัน

ตัวแยกน้ำมันเสียหาย

เปลี่ยนตัวแยกน้ำมัน

น้ำมันรั่วจากท่อทางเดินน้ำมัน

ตรวจและซ่อมท่อ

ซีลของหัวสกรูเสีย

เปลี่ยนซีลใหม่

ใช้น้ำมันผิด

ใช้น้ำมันตามคำแนะนำ

อุปกรณ์ตัวแยกน้ำมันมีการอุดตันบ่อย ๆ

รายละเอียดของปัญหา

การแก้ไข

ตัวกรองอากาศไม่ทำงาน

เลือกอุปกรณ์กรองที่เหมาะกับสภาพแวดล้อมโดยรอบ

ตัวกรองน้ำมันอุดตัน

เปลี่ยนใหม่

มีการจับตัวของน้ำมากเกินไป

เปลี่ยนน้ำมันใหม่

ตัวแยกน้ำมันไม่ถูกต้อง

ใช้ยี่ห้อเฉพาะของ PUMA

ใช้น้ำมันยี่ห้อ หรือเกรดอื่นปะปน

ใช้น้ำมันตามคำแนะนำเท่านั้น

วาล์วควบคุมลมเข้าทำงานไม่ถูกต้อง

รายละเอียดของปัญหา

การแก้ไข

การตั้งค่าสวิทซ์ความดันไม่ถูกต้อง

ปรับตั้งค่าใหม่ หรือเปลี่ยนใหม่

ส่วนประกอบวาล์วควบคุมลมเข้าอุดตัน

ทำความสะอาด หรือเปลี่ยนใหม่

สปริงปรับการควบคุมไม่ทำงาน

เปลี่ยนสปริงใหม่

วาล์วโซลีนอยด์เสีย

เปลี่ยนใหม่

ตัวเช็ควาล์วเสีย

เปลี่ยนใหม่

ไอน้ำปะปนมากเกินไปในอากาศที่จ่ายออกมา

รายละเอียดของปัญหา

การแก้ไข

อุณหภูมิระหว่างการใช้งาน ไม่เป็นที่ยอมรับ

ตรวจวาล์วควบคุมอุณหภูมิ

มีการสะสมของน้ำอยู่ในตัวแยกและข้อต่อต่าง ๆ มากเกินไป

ระบายออก หรือซ่อม

มีความชื้นสูงในสภาวะอากาศโดยรอบ

ติดตั้งระบบกำจัดความชื้น

ตัวทำความเย็นเสีย

ทำความสะอาด หรือเปลี่ยนใหม่

วาล์วระบายความดันที่ปล่อยลมออก

รายละเอียดของปัญหา

การแก้ไข

ตั้งค่าสวิทซ์แรงดันไม่ถูกต้อง

ปรับตั้งค่าใหม่

วาล์วระบายแรงดันเสีย

เปลี่ยนใหม่


เลือก ปั๊มลมสกรู เพิ่มเติมได้