รวมมิตรสารพัด ซิลิโคน กันรั่ว กันซึม ยึดแน่น

Customers Also Purchased

รอยรั่ว รอยร้าว ของสิ่งต่างๆ เป็นปัญหากวนใจอย่างมาก เพราะจะทำให้เกิดปัญหาบานปลายตามมา จนบางครั้งอาจทำให้ต้องรื้อบ้าน รื้อโครงสร้าง รื้องาน เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากจุดเล็กๆ แต่ก็มีตัวช่วยที่สามารถป้องกันหรือแก้ปัญหาเหล่านั้นก่อนจะบานปลายได้ นั่นก็คือ --> ซิลิโคน <-- หรือ กาวซิลิโคน หรือยาแนวต่างๆ บทความนี้ได้รวบรวม ซิลิโคน หลายชนิดที่จะตอบสนองความต้องการของงานหลายๆ ประเภท มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง


ซิลิโคน ชนิดต่างๆ และการใช้งาน

ซิลิโคนใส

เป็น ซิลิโคน ที่ไม่ผสมสารอื่นๆ กันน้ำ อากาศ และความชื้น รอแห้งประมาณ 30 นาทีก็ใช้ได้ แต่ถ้าอยากให้เต็มประสิทธิภาพควรรอ 24 ชั่วโมง มีความยืดหยุ่นสูง ไม่เหลือง หด หรือแตก เหมาะสำหรับห้องครัว ขอบอ่างอาบน้ำ หน้าต่าง ประตู ท่อประปา รางน้ำ รถยนต์ เรือเดินทะเล และอื่นๆ เป็นประเภทใช้งานง่าย สะดวก แต่ไม่ทนทานมากนัก

หมายเหตุ : ห้ามใช้บนพื้นผิวที่เปียก ชื้น แช่แข็งหรือมีไอเย็นไอน้ำ หรือปนเปื้อนสิ่งสกปรก ไม่สามารถทาสีทับได้ ห้ามใช้กับงานใต้น้ำ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ บนอิฐ ปูน วัสดุประสาน หรือบนโลหะที่ไวต่อการกัดกร่อน รวมถึงทองเหลืองและสังกะสี สำหรับการใช้งานกับรถยนต์หรือเรือเดินทะเลทั่วไป ห้ามใช้กับใต้ฝากระโปรงหน้าหรือสัมผัสกับน้ำมันเบนซินโดยตรง

ซิลิโคนใส

ซิลิโคนกันน้ำ

ห้องน้ำและห้องครัวเป็นที่ที่ต้องการ ซิลิโคน ที่มีคุณสมบัติประเภทนี้มากที่สุด จึงมี ซิลิโคน ที่ผลิตมาสำหรับห้องน้ำและห้องครัวโดยเฉพาะ จุดที่ใช้กันก็คือ ซิงค์ล้างจาน อ่างล้างหน้า รอยต่อท่อ ฐานอ่างอาบน้ำและโถสุขภัณฑ์ ฝักบัว กระเบื้อง เป็นต้น ซิลิโคนที่จะใช้งานมักจะมีความยืดหยุ่นและยึดเกาะดีเยี่ยม ไม่แข็งตัวแล้วแตกง่าย เป็นเกราะป้องกันความชื้นได้ดี กันน้ำบริเวณที่ต้องการได้เยี่ยม หลังลง ซิลิโคน เสร็จจะสามารถโดนน้ำได้ภายใน 1 ชั่วโมงโดยไม่แตก หดตัว หรือลอกร่อน แต่ก็ควรรอตามเวลาแนะนำข้างกล่องดีกว่า คุณสมบัติสำคัญคือป้องกันเชื้อรา และทนต่อการกัดกร่อนจากกรดบางประเภทในน้ำยาล้างห้องน้ำ หากล้างห้องน้ำแล้ว ซิลิโคน หลุดลอกออกมาแสดงว่าใช้ไม่ถูกประเภท นอกจากนี้ยังมี ซิลิโคนที่ใช้กับงานประปา และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำด้วย ซึ่งงานประเภทนี้ต้องการคุณสมบัติที่กันน้ำเป็นพิเศษ รองรับแรงดันน้ำได้ และต้องปราศจากสารพิษปนเปื้อน


ซิลิโคนอุดรอยรั่วหลังคา

ส่วนมากจะใช้ ซิลิโคน แนวอเนกประสงค์ ซึ่งใช้งานได้ครอบคลุม ทนต่อสภาพอากาศ น้ำฝน และรังสีจากดวงอาทิตย์ เนื้อจะเป็นโพลิเมอร์แบบไฮบริด คือ ผสานกับคุณประโยชน์ของ ซิลิโคน และโพลียูรีเทนเข้าด้วยกัน สามารถปิดรอยต่อหรือรอยรั่วบนพื้นผิวและยึดสองสิ่งเข้าด้วยกันได้ดี นอกจากรอยต่อรอยรั่วหลังคาก็ยังใช้กับงานส่วนอื่นๆ ได้ เช่น ปิดขอบหน้าต่างและประตู ปิดรอยต่อและกันซึมทั่วไป อุดรอยต่อรางน้ำบนหลังคา ซิลิโคน โพลีเมอร์ไฮบริดนี้สามารถทาสีทับได้ มีปริมาณ VOC ต่ำมาก และทนต่อรังสียูวีได้ดี ยึดเกาะดีเยี่ยมบนพื้นผิวชนิดต่างๆ เช่น อลูมิเนียม หินแกรนิต เซรามิก หินอ่อน พอร์ซเลน โลหะ พีวีซี แก้ว ไม้ และพื้นผิวที่มีรูพรุน เช่น คอนกรีต อิฐ ฯลฯ โดยไม่ก่อให้เกิดคราบน้ำมันบนแผ่นฝ้าหรือวัสดุที่มีรูพรุน ไม่หดตัวแม้ในสภาวะที่เปียกชื้น 

ซิลิโคน อุดรอยรั่วหลังคา


ซิลิโคนแด๊บ (DAP)

เป็นชื่อยี่ห้อ ซิลิโคน ที่เรียกกันจนติดปาก กันน้ำได้ดีเยี่ยม จึงไม่เกิดเชื้อราหรือตะไคร่ ต้านทานการซีดจางจากรังสียูวี ไม่แตกร้าว ลดการสะสมของสิ่งสกปรก ให้การป้องกันที่ยาวนาน ทนฝนทนแดด มีความยืดหยุ่น และเนื้อหนา กลิ่นไม่รุนแรง ทำความสะอาดง่าย ใช้ได้กับไฟเบอร์กลาส เซรามิก ยาง พอร์ซเลน และวัสดุอื่นๆ ส่วนใหญ่มักใช้ปิดขอบต่าง แต่เนื่องจากเป็นชื่อยี่ห้อ จึงมี ซิลิโคน หลากหลายชนิดมาก สามารถเลือกได้ตามงานที่ต้องการ


ซิลิโคนไหล

เป็น ซิลิโคน ชนิดที่เนื้อสามารถไหลเข้าไปในซอกหลืบเล็กๆ ได้อย่างทั่วถึง จึงมีคนให้คำนิยามว่า “seeks the leak” เพราะเป็น ซิลิโคน ที่อุดรอยร้าว รอยรั่วเล็กๆ ที่อาจมองไม่เห็นได้อย่างดีเยี่ยม เมื่อแข็งตัวแล้วจะเหนียว ใส กันน้ำ แข็งแรง ทนทานต่อสภาพอากาศ อุณหภูมิสูง การสั่นสะเทือน การกระแทก และสารเคมี รองรับอุณหภูมิตั้งแต่ -62 °C ถึง 204 °C เหมาะกับลักษณะการใช้งานที่ค่อนข้างพิเศษ เช่น กระจกบังลม ซันรูฟ หน้าต่าง ครอบไฟหน้ารถ กระจกมารีน สิ่งต่างๆที่มีรอยร้าวหรือรอยรั่วเล็กๆ ทำให้น้ำและอากาศผ่านได้ ใช้เวลาเซ็ตตัวประมาณ 1 ชั่วโมง แต่ถ้ารอ 24 ชั่วโมงก็จะมีประสิทธิภาพมากกว่า 

ซิลิโคนไหล


ซิลิโคนอเนกประสงค์

เนื่องจากถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ครอบคลุม จึงเป็น ซิลิโคน ที่กันแดดกันฝนได้ดีเยี่ยม แม้ในสภาพอากาศที่มีฝนฟ้าคะนองรุนแรง ทนทานต่อการหดตัว การแตกร้าว การแช่แข็ง และแสงแดดจัด ใช้งานได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร ต่อต้านเชื้อราที่ก่อให้เกิดคราบ ป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อรา ใช้งานได้อเนกประสงค์ เช่น ขอบหน้าต่าง ประตู ผนัง รอบๆ สายไฟและท่อต่างๆ ช่องระบายอากาศ ห้องใต้ดิน ห้องใต้หลังคา มีความยืดหยุ่นสูง ให้การยึดเกาะที่แข็งแรงเป็นพิเศษ จึงมีการนำไปใช้ยึดวัตถุสองชนิดให้ติดกันด้วยเหมือนกัน 


ข้อควรระวังในการใช้ ซิลิโคน

ก่อนการใช้งาน ซิลิโคน

- ควรทำความสะอาดพื้นผิวที่จะลง ซิลิโคน ให้สะอาดที่สุด เพื่อให้การยึดเกาะที่เต็มประสิทธิภาพ หากมีน้ำ ความชื้น ฝุ่น ความมัน หรือสิ่งสกปรกต่างๆ ซิลิโคน จะเกาะบนสิ่งเหล่านั้นแทนที่จะเกาะบนพื้นผิวที่ต้องการ 


การเซ็ตตัวของ ซิลิโคน 

- ซิลิโคน ต้องแข็งตัวก่อนจึงจะยึดเกาะเต็มที่ ดังนั้น ต้องใช้ความอดทนในการรอ ซึ่งอาจจะใช้เวลาตั้งแต่ 30 นาที 1 ชั่วโมง หรือ 24 ชั่วโมง ไปจนถึงหลายวัน โดยให้ดูจากคำแนะนำของผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นหลัก


การเลือก ซิลิโคน ที่เหมาะสม 

- สำหรับการใช้งานในครัวเรือน หากต้องการ ซิลิโคน กันน้ำที่ใช้กับท่อประปา ท่ออ่างล้างจาน หรือจุดอื่นๆ ในห้องน้ำห้องครัว ซิลิโคน จะมีให้เลือกหลายชนิด เช่น อะคริลิก ยาง หรือเทฟล่อน แต่แม้ว่าทั้งหมดนั้นจะมีคุณสมบัติทั่วไปเหมือนกันก็ไม่สามารถใช้แทนกันได้ เพราะบางชนิดมีสูตรสำหรับการใช้งานเฉพาะอย่าง ส่วนประกอบต่างๆ จะเป็นตัวกำหนดความยืดหยุ่น การใช้งาน และการแข็งตัวว่าเร็วหรือช้าเพียงใด ควรเลือกคุณสมบัติที่ตรงกับการใช้งานมากที่สุด

- สำหรับการใช้งานในห้องน้ำหรือพื้นที่เปียกอื่นๆ ตัวเลือกที่ดีที่สุดคือประเภทที่กันน้ำและทนต่อเชื้อรา เพราะจะช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพและการดำคล้ำเมื่อสัมผัสกับความชื้นอยู่เสมอเป็นเวลานานๆ 

- ส่วนประกอบที่เป็นกรดใน ซิลิโคน บางชนิดอาจทำให้เกิดการออกซิเดชันบนพื้นผิวบางอย่าง เช่น กระจก หิน กระเบื้องหินอ่อน อะลูมิเนียมหรือทองแดง หากกังวลว่าจะส่งผลเสียต่อพื้นผิวที่ใช้งาน ให้เลือก ซิลิโคน ที่ปราศจากกรด โดยต้องตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์ให้ดี หรือถามกับผู้จำหน่าย

- สำหรับวัตถุประสงค์การใช้งานทั่วไป ให้มองหา ซิลิโคน ที่ใช้กันโดยทั่วไป เช่น ซิลิโคนใส ซึ่งมักใช้สำหรับท่อประปา กันน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับใช้กับโลหะ แก้ว ยาง กระเบื้อง และเครื่องลายคราม มีประโยชน์ทั้งในร่มและกลางแจ้ง ทนอุณหภูมิในระดับหนึ่ง มีความยืดหยุ่นและทนทานต่อแรงกระแทก แต่หากต้องการการยึดเกาะที่มากขึ้นก็เลือกแบบอเนกประสงค์ (All Purpose Silicone) จะดีกว่า

การเลือก ซิลิโคน


ดู --> ซิลิโคน <-- เพิ่มเติม