ปั๊มลมสกรูแบบใช้น้ำมันกับแบบไร้น้ำมัน แตกต่างกันอย่างไร

Customers Also Purchased

หากคุณเข้ามาอ่านบทความนี้ คุณอาจจะเคยอ่านบทความเกี่ยวกับ ปั๊มลมสกรู อื่นของเรามาก่อน และคงพอรู้แล้วว่า ปั๊มลมสกรูนั้นคืออะไร ทำงานอย่างไร และเหมาะกับงานแบบไหน บทความนี้จึงเหมือนเป็นส่วนขยายของบทความอื่นนั้น เพื่อให้คุณรู้จัก ปั๊มลมสกรู มากขึ้น

ปั๊มลมสกรู สามารถแบ่งเป็น ปั๊มลมสกรูแบบใช้น้ำมัน และปั๊มลมสกรูแบบไร้น้ำมัน ทั้งสองแบบมีกระบวนการในการอัดอากาศที่เหมือนกัน ความแตกต่างนั้น ตรงตัวเลย คือแบบนึงจะใช้น้ำมันเป็นสารหล่อลื่น ส่วนอีกแบบจะไม่ใช้ แต่อาจใช้สารหล่อลื่นอื่นหรือวิธีการอื่นแทน

แม้ความร้อนสูงจะไม่ใช่ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ ปั๊มลมสกรู แต่เพื่อให้เกิดการไหลของอากาศอย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้เครื่องมือสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง สารหล่อลื่นอย่าง น้ำมัน จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ไม่เพียงเท่านี้ น้ำมันยังช่วยให้อายุการใช้งานของปั๊มที่ยาวนานขึ้นอีกด้วย

ตามที่ได้กล่าวไป ปั๊มลมสกรู แบ่งเป็นสองแบบ:

1. ปั๊มลมสกรูแบบใช้น้ำมัน

2. ปั๊มลมสกรูแบบไร้น้ำมัน


1. ปั๊มลมสกรูแบบใช้นำมัน

ปั๊มลมสกรูแบบใช้น้ำมัน มีเสถียรภาพ ความทดทาน และประสิทธิภาพการทำงานสูง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นปั๊มลมที่ถูกเลือกใช้เป็นส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ ในกระบวนการอัดอากาศ น้ำมันจะถูกฉีดเข้าไปเพื่อทำหน้าที่เป็นสารหล่อลื่นและสารหล่อเย็นเพื่อลดแรงเสียดทานจากการสัมผัสของชิ้นส่วนและความร้อนจากกระบวนการที่เกิดขึ้น ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นกันรั่วป้องกันอากาศไหลออก ช่วยให้ปั๊มมีการไหลของอากาศที่คงที่และผลิตลมอัดได้อย่างต่อเนื่อง

การหล่อลื่นโดยน้ำมันมีส่วนสำคัญในการชะลอการสึกกร่อนที่จะเกิดขึ้นกับชิ้นส่วนต่างๆ ภายในปั๊ม เมื่อช่องว่างระหว่างชิ้นส่วนเกิดขึ้นช้าลง ก็จะเท่ากับว่าปั๊มสามารถรักษาประสิทธิภาพการกักอากาศไว้ได้นานมากขึ้น นอกจากนี้ การใช้น้ำมันหล่อลื่นยังทำให้ ปั๊มลมสกรู มีเสียงรบกวนจากการทำงานที่เบามาก เมื่อเทียบกับปั๊มลมแบบอื่นๆ

ปั๊มลมสกรูแบบใช้น้ำมัน ถูกออกแบบมาให้สามารถใช้งานอย่างต่อเนื่อง มี duty cycle หรืออัตราการทำงานอยู่ที่ 100 เปอร์เซนต์ หมายความว่า คุณจะสามารถเปิดเครื่องทำงานทิ้งไว้ได้ทั้งวัน ต่างจากปั๊มลมประเภทอื่นๆ ที่จะต้องให้หยุดพักบ้างก่อนเริ่มทำงานใหม่อีกครั้ง ด้วยเหตุนี้ ปั๊มลมสกรูแบบใช้น้ำมันจึงเป็นปั๊มลมที่ถูกใช้โดยเฉพาะกับงานผลิตที่ต้องการความต่อเนื่อง อย่างการผลิตสินค้าปริมาณมากๆ เป็นต้น

ในกระบวนการอัดอากาศ เรือนอัดอากาศจะคอยควบคุมให้อุณหภูมิของน้ำมันสูงเกินกว่าค่า  PDP [1] เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดน้ำขึ้นภายในเรือน โดยจะมีวาร์ลที่เรียกว่า วาร์ลบายพาส ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำมันที่ไหลเวียนอยู่ในส่วนหล่อเย็นน้ำมันเพื่อปรับให้ได้อุณหภมิที่เหมาะสมหรือเพื่อรักษาที่เหมาะสมอยู่แล้วเอาไว้


[1] PDP (pressure dew point) คือ อุณภูมิที่ทำให้ไอน้ำกลายเป็นหยุดน้ำระหว่างกระบวนการอัดอากาศ ซึ่งควรมีค่าให้น้อยที่สุด


การใช้ ปั๊มลมสกรูแบบใช้น้ำมัน กับงานอุตสาหกรรมหรืองานผลิต สรุปแล้ว มี ข้อดี อยู่ดังนี้

• ต้องการการบำรุงรักษาน้อยครั้ง 

• มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

• เนื่องจากมีการใช้น้ำมันเป็นสารหล่อลื่น จึงมีเสียงรบกวนจากการทำงานเบาและความร้อนที่เกิดขึ้นต่ำ

• ปั๊มลมสกรูถูกแบบใช้น้ำมันถูกออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับงานหนัก (heavy duty)

มาถึงตรงนี้ คุณคงทราบแล้วว่า การใช้น้ำมันกับปั๊มลมสกรูนั้น มีความสำคัญมากๆ เพื่อคงสภาพการทำงานของตัวปั๊มให้เป็นไปอย่างราบรื่น ช่วยลดเกิดความร้อนและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม การใช้น้ำมันก็มี ข้อเสีย อยู่ ได้แก่

• น้ำมันอาจปะปนอยู่ในลมอัด ซึ่งอาจเป็นปัญหากับบางสายงาน ซึ่งปัญหานี้แก้ได้โดยการติดตั้งตัวกรองน้ำมัน เพื่อช่วยให้มั่นใจว่าลมอัดที่ได้นั้น น้ำมันถูกขจัดออกไปจนหมดแล้ว

• ปั๊มลมแบบใช้น้ำมันมักจะมีขนาดใหญ่ ต้องการพื้นที่กว้างและเปิดโล่งในการติดตั้ง และการเคลื่อนย้ายทำได้ค่อนข้างยาก


2. ปั๊มลมสกรูแบบไร้น้ำมัน

หลักการทำงานของปั๊มลมสกรูแบบไม่ใช้น้ำมันนั้นแทบจะเหมือนกับแบบใช้น้ำมันก็ว่าได้ เพียงแต่จะไม่มีการฉีดน้ำมันเข้าสู่กระบวนการอัดอากาศ การหล่อลื่นเครื่องมือจะใช้วิธีการที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับผู้ผลิตและรุ่นของปั๊ม บางรุ่นจะใช้น้ำเป็นสารหล่อลื่นแทนน้ำมัน บางรุ่นจะใช้การหล่อลื่นกับกระบอกอัดอากาศล่วงหน้าก่อนใช้งาน หรือใช้อินเตอร์คูลเลอร์

กระบวนการอัดอากาศสองครั้ง (two-stages)

เป็นวิธีการอัดอากาศของปั๊มลมสกรูแบบไร้น้ำมันส่วนใหญ่ เนื่องจากไม่มีน้ำมันเป็นสารหล่อลื่นและกันรั่ว ลมอัดที่ได้ในการอัดอากาศครั้งแรกจะยังไม่มีคุณภาพพอสำหรับใช้งาน จึงจำเป็นต้องกลับเข้าสู่กระบวนการอัดอากาศอีกครั้ง หลังจากผ่านการอัดอากาศครั้งที่สอง ก็จะได้ผลผลิตเป็นเป็นลมอัดบริสุทธิ์ออกมาก ตรงกันข้ามกับปั๊มลมสกรูแบบใช้น้ำมัน จากภาพก่อนหน้านี้จะเห็นว่า แม้จะมีการใช้ตัวกรองน้ำมันกรองอยู่หลายครั้ง แต่จะยังคงมีน้ำมันหลงเหลือในลมอัดอยู่

ปั๊มลมสกรูแบบไร้น้ำมัน จะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเมื่อลมอัดที่มีความบริสุทธิ์สำคัญกับงานหรือสินค้าที่ผลิตมาก เช่นกับงานต่างๆ เหล่านี้

• อุตสาหกรรมผลิตอาหารและเครื่องดื่ม

• อุตสาหกรรมผลิตยา

• อุตสาหกรรมผลิตกระดาษ

• การผลิตชิ้นสว่นอิเล็กทรอนิก

การใช้สารหล่อลื่นอื่นนอกจากน้ำมัน และกระบวนการอัดอากาศที่เกิดขึ้นสองครั้ง หมายถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น และข้อเสียอื่นๆ ของปั๊มลมสกรูแบบไร้น้ำมันก็จะตรงข้ามกับข้อดีของแบบใช้น้ำมัน ได้แก่

• ต้องการการบำรุงรักษาที่บ่อยครั้ง

• มีอายุการใช้งานที่สั้น

• ไม่ค่อยเหมาะกับงานหนัก (heavy duty)


สามารถเลือก เครื่องมือช่าง เพิ่มเติม