การทำงานและส่วนประกอบของ ปั๊มลมสกรู

Customers Also Purchased

ปั๊มลมสกรู ก็เหมือนกับปั๊มลมประเภทอื่นๆ คือใช้ในการอัดอากาศและสร้างลมอัดออกมา ปั๊มลมสกรูสามารถสร้างลมอัดได้มากต่อการอัดอากาศหนึ่งครั้งและสร้างได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นรูปแบบที่ต้องการสำหรับสายงานผลิต ด้วยเหตุนี้ มากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ของโรงงานหรืออุตสาหกรรมการผลิตจึงเลือกใช้ ปั๊มลมสกรู

ปั๊มลมสกรูอาศัยการหมุนของสกรูสองตัวสร้างการไหลของอากาศขึ้น เกลียวของสกรูถูกออกแบบให้มีช่องว่างให้ลมผ่านในขณะเดียวกันก็จะกักลมไว้ภายใน โดยลมที่ไหลจะค่อยๆ ถูกบีบอัดไปเรื่อยๆ จากการหมุนเข้าหากันของสกรู ปริมาตรของลมก็จะลดลงสัมพันธ์กับขนาดที่ลดลงของเรือนอัดอากาศเมื่อยิ่งเข้าใกล้วาร์ลจ่าย ปริมาณของอากาศนั้นยังคงเท่าเดิม เพียงแต่จะมีปริมาตรที่ลดลง หรือกล่าวคือ มีความหนาแน่นที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งในที่นี้เรียกว่า ลมอัด หลังจากกระบวนการอัดอากาศเสร็จสิ้น ลมอัดจะถูกส่งไปกับเก็บที่ถึงลม หรือจะนำไปใช้งานต่อทันทีก็ได้เช่นกัน


กระบวนการอัดอากาศของปั๊มลมสกรู (stage)

จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นคร่าวๆ มีรายละเอียดขั้นตอนการทำงานดังต่อไปนี้

1. วาร์ลที่เปิดออกจะดูดอากาศจากภายนอกเข้าสู่ภายในเรือนอัดอากาศ ภายในเรือนอัดอากาศจะมีสกรูอยู่สองตัว คือ สกรูตัวผู้กับสกรูตัวเมีย ทำหน้าที่บีบอัดและเป็นทางผ่านให้กับอากาศ

2. ขณะที่สกรูลังหมุน อากาศที่ถูกกักไว้ระหว่างเกลียวของสกรูจะเคลื่อนที่จะปลายหนึ่งไปยังอีกปลายหนึ่งของเรือนอัดอากาศ

3.เรือนอัดอากาศจะมีขนาดที่เล็กลงเรื่อยๆ เมื่อยิ่งห่างออกจากวาร์ลขาเข้า ส่งผลให้ ปริมาตรของอากาศที่ถูกกักไว้นั้นจะลดลงเรื่อยๆ แต่ปริมาณขออากาศจะยังคงเท่าเดิม ตรงกันข้ามกับสภาวะปกติที่ อุณหภูมิ ปริมาตร และแรงดันจะมีความสัมคัญกัน กล่าวคือ เมื่อปริมาตรของอากาศลดลง ความดันก็จะลดลงตามเช่นกัน

4. การบีบอัดอากาศจึงหมายถึง การทำให้อากาศมีความหนาแน่นหรือมีความดันในที่ปิดมากกว่าอากาศที่อยู่ภายนอก

5. ด้วยแรงดันของอากาศที่พึ่งถูกบีบอัด หรือ ลมอัด จะทำให้วาร์ลจ่ายของปั๊มเปิดออก เพื่อให้ลมอัดเคลื่อนที่ไปยังถังเก็บหรือเพื่อนำไปใช้งานกับอุปกรณ์ หรือสินค้าต่อไป


ข้อควรรู้: เช่นเดียวกับปั๊มลมแบบลูกสูบ ปั๊มลมสกรูสามารถประกอบด้วยกระบวนการอัดอากาศมากกว่าหนึ่งครั้ง หมายความว่า อากาศที่เข้าไปนั้น หลังจากที่ถูกบีบจนเป็นลมอัดแลัวจะกลับเข้าสู่กระบวนการอัดอีกครั้ง แต่ละครั้งลมอัดก็จะมีความหนาแน่นที่มากขึ้นและมากขึ้นจนกระทั้งได้ ลมอัดที่มีค่า PSI สูงๆ ออกมา ซึ่งวิธีการนี้มักจะใช้กับ ปั๊มลมสกรูที่ไร้น้ำน้ำมัน เพราะไม่มีสารหล่อลื่น ลมอัดจึงจำเป็นต้องกลับเข้าสู่กระบวนการอักอีกครั้งหนึ่ง


ส่วนประกอบของปั๊มลมสกรู

ปั๊มลมสกรู มีส่วนประกอบที่ค่อนข้างซับซ้อนและแตกต่างกันขึ้นอยู่กับผู้ผลิต รุ่น และรูปแบบการใช้งาน แต่ถึงอย่างนั้น ส่วนประกอบที่เป็นพื้นฐานของปั๊มลมสกรูส่วนใหญ่ก็จะเหมือนๆ กัน มีกระบวนการทำงานที่คล้ายๆ กัน งั้นเรามาดูกันว่าส่วนประกอบที่ว่านั้น ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ส่วนประกอบพื้นฐานของปั๊มลมสกรู:

1. สกรู/เพลา (Rotors/Rollers)

2. กระบอกอัดอากาศ (Compression Cylinder)

3. วาร์ลขาเข้า หรือ วาร์ลดูด (Suction Valve)

4. วาร์ลขาออก หรือ วาร์ลจ่าย (Discharge Valve)

5. แบริ่ง (Bearings)

6. ตัวกรองอากาศ (Air Filters)

7. ตัวกรองน้ำมัน (Oil Filters)

8. อุปกรณ์แยกน้ำมัน (Separators)

9. มอเตอร์ (Motor)

10. ถังลม (Storage Tanks)


ส่วนประกอบของปั๊มลมสกรูแต่ละส่วนทำงานอย่างไร

ปั๊มลมสกรูเป็นปั๊มลมที่ต้องศึกษาให้ดีตั้งแต่การติดตั้ง การใช้งาน ไปจนถึงการบำรุงรักษา มาดูกันต่อว่า แต่ละส่วนประกอบที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านั้นคืออะไร และมีหน้าที่อะไรในกระบวนการอัดอากาศของปั๊มลมสกรู

1. สกรู หรือ เพลา

สกรู หรือ เพลา อย่างที่ได้บอกไปในขั้นตอนการทำงานว่า สกรูจะมีอยู่ด้วยกันสองตัว คือ ตัวผู้ กับตัวเมีย ทำหน้าที่เป็นทางผ่านและบีบอัดกับอากาศ สกรูตัวผู้จะเชื่อมต่อกับมอเตอร์ด้วยแกนหมุน เมื่อมอเตอร์เริ่มหมุน สกรูตัวผู้ก็จะหมุนตามและเริ่มกระบวนการอัดอากาศ

2. กระบอกอัดอากาศ

กระบอกอัดอากาศ หรือเรือนอัดอากาศ มีบทบาทสำคัญในการเป็นสถานที่ที่ให้กระบวนการอัดอากาศเกิดขึ้น เมื่อสกรูเริ่มหมุนโดยมอเตอร์ แรงดูดจะถูกสร้างขึ้นภายในกระบอกอัดนี้ อากาศจะถูกดูดและเข้ามาอยู่ภายใน โดยปริมาตรของกระบอกอัดอากาศจะลดลงเรื่อยๆ เมื่อยิ่งใกล้กับวาร์ลจ่าย นอกจากนี้ ปั๊มลมสกรูหนึ่งเครื่องสามารถประกอบด้วยกระบอกอัดอากาศมากกว่าหนึ่งกระบอก ซึ่งหมายความว่า ปั๊มลมสกรูนี้มีกระบวนการอัดอากาศมากกว่าหนึ่งกระบวนการ (stage)

3. ตัวกรองอากาศ

ตัวกรองอากาศมีลักษณะเป็นทรงกระบอก ติดตั้งไว้ที่ภายในวาร์ลขาเข้าของปั๊มลมสกรู ทำหน้าที่กรองไม่ให้อนุภาค ฝุ่น ความชื้น และสารเจือปนในอากาศอื่นๆ ผ่านเข้าไปสู่ภายในกระบอกอัดอากาศ แผ่นกรองจะต้องรับการบำรุงรักษาและทำความสะอาดอย่างสม่ำ หรือเปลี่ยนเมื่อใช้งานถึงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้ตัวปั๊มสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพต่อไปได้

4. ตัวกรองน้ำมัน

ตัวกรองน้ำมันมีลักษณะเป็นทรงกระบอกเหมือนกับตัวกรองอากาศ แต่จะมีขนาดที่ใหญ่กว่า ทำหน้าที่กรองน้ำมันออกจากลมอัดในปั๊มลมสกรูแบบใช้น้ำมัน แผ่นกรองน้ำมันจะถูกติดตั้งอยู่รอบวาร์ลจ่าย นอกจากเป็นตัวกรองแล้ว ยังทำหน้าที่คอยส่งสัญญาณเตือนไปยังระบบควบคุมของเครื่องว่า อุณหภมิภายในนั้นยังปกติอยู่หรือเปล่า หรือว่าตัวกรองมีวัตถุที่ผิดปกติเข้าไปติดอยู่หรือไม่

5. แบริ่ง

เป็นส่วนประกอบที่ถูกติดตั้งไว้ที่ปลายทั้งสอด้านของสกรูตัวผู้และตัวเมีย หน้าที่ของแบริ่งคือช่วยลดแรงเสียดทานและสร้างเสถียรภาพให้กับการขยับหรือหมุนของสกรู เมื่อแรงเสียดทานลดลง ความร้อนที่เกิดขึ้นก็จะลดลงด้วย ป้องกันชิ้นส่วนไม่ให้เสียหาย ซึ่งทั้งหมดนี้สำคัญต่อการยืดอายุการใช้งานของสกรู ตัวของแบริ่งเองจะมีความทนทานเป็นอย่างมาก โดยออกแบบให้ต้านการสึกกร่อนแม้มีแรงเสียดทานเกิดขึ้น

6. วาร์ลขาเข้า 

หลักจากที่แรงดูดถูกสร้างขึ้นในกระบอกอัดโดยสกรู อากาศจะถูกดูดผ่านวาร์ลขาเข้า

7. วาร์ลจ่าย

เป็นส่วนที่อยู่ท้ายสุดของกระบวนการอัดอากาศ ทำหน้าที่จ่ายอากาศที่ถูกอัดไปยังถังลม หรือเพื่อนำไปใช้งานต่อไป

8. มอเตอร์

มอเตอร์ไฟฟ้าทำหน้าที่ในการสร้างแรงหทุนให้กับสกรูตัวผู้

9. ถังลม

ไม่ใช่แค่ ปั๊มลมสกรู เท่านั้นแต่รวมถึงสกรูประเภทอื่นๆ ด้วยที่จะต้องมาพร้อมกับถังลม ความจุของถังพักลมจะแตกต่างกันตามขนาดและความต้องการการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น ในงานอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ ถังลมจะมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ ไม่ใช่แค่เพื่อให้มีลมอัดเพียงพอพร้อมใช้งานเท่านั้น แต่ยังหมายถึง การลดจำนวนกระบวนการอัดอากาศที่จะต้องเกิดขึ้นด้วย หรือจะบอกว่าขนาดของถังลมส่งผมต่ออายุการใช้งานของปั๊มโดยอ้อมก็ว่าได้

10. ตัวแยกน้ำมัน

ปั๊มลมสกรูส่วนใหญ่ที่ใช้กันเป็นแบบใช้น้ำมัน โดยน้ำมันจะถูกใช้ตั้งแต่เริ่มไปจนจบกระบวนการอัดอากาศ ทำหน้าที่เป็นสารหล่อลื่นลดแรงเสียดทานให้กับชิ้นส่วน เป็นกันรั่ว และสารหล่อเย็นเมื่อมีความร้อนสูงเกิดขึ้น แต่น้ำมันไม่ใช้ผลผลิตที่ต้องการจากกระบวนการ จึงจำเป็นต้องถูกแยกออกโดยตัวแยกน้ำมันนี้


สามารถเลือก เครื่องมือช่าง เพิ่มเติม