ข้อควรรู้ ในการติดตั้งและใช้งาน ปั๊มลมสกรู

Customers Also Purchased

ปั๊มลมเป็นเครื่องที่ใช้ในการเติมลมให้กับอุปกรณ์หรือบานพาหนะต่างๆ และเมื่อพูดถึงปั๊มลม หลายคนคงจะนึกถึงปั๊มหน้าตาคุ้นเคยอย่าง ปั๊มลมแบบลูกสูบ แต่คุณรู้หรือไม่ว่า จริงๆ แล้ว มีปั๊มลมอีกมากมายหลายประเภทที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับงานที่ต่างกัน ตั้งแต่ งาน DIY ในเวิร์คชอปขนาดเล็กไปจนถึงงานผลิตในโรงงานขนาดใหญ่ ในบทความนี้ เราจะมาดูว่าปั๊มลมประเภทสกรูว่าคืออะไร ใช้กับงานอะไรบ้าง และข้อมูลอื่นๆ ที่คุณควรรู้

ปั๊มลมสกรู (screw compressor)

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น คงต้องพูดถึง ปั๊มลมแบบลูกสูบก่อน โดยปั๊มลมแบบลูกสูบมีกระบวนการอัดลลมโดยการใช้ลูกสูบที่ดันให้ปริมาตรของลมที่ในกระบอกสูบนั้นลดลง เพื่อให้ได้ลมที่มีความหนาแน่นและแรงดันที่สูงขึ้น ส่วนปั๊มลมสกรูจะมีกระบวนการอัดลมที่ต่างออกไป ลมจะถูกกักไว้ในช่องระหว่างสกรูสองตัวที่กำลังหมุนอยู่ (screw หรือ rotor) ปริมาตรของลมจะค่อยๆ ลดลงทุกๆ จุดที่ลมเคลื่อนที่ผ่านสกรู จนกระทั่งลมนั้นกลายเป็นลมอัด จากนั้นลมอัดจะถูกจ่ายเพื่อไปเก็บยังถังเก็บหรือจะนำไปใช้งานทันทีก็ทำได้


ปั๊มลมสกรูแบบใช้น้ำมัน และไร้น้ำมัน

ปั๊มลมสกรูแบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย ดังนี้

• ปั๊มลมสกรูแบบใช้น้ำมัน (oil-injected screw compressor)

เป็นปั๊มลมสกรูที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ มีน้ำมันทำหน้าที่เป็นสารหล่อลื่นและหล่อเย็นให้กับสกรูช่วยให้กระบวนการอัดลมทำได้อย่างรวดเร็วและจบในชั้นตอนเดียว หลังจากที่ลมถูกอัดแล้ว น้ำมันจะถูกแยกออกจากลมอัดผ่านตัวแยกน้ำมัน (oil separator) และจะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการอัดลมครั้งต่อไป ข้อดีของปั๊มลมสกรูแบบใช้น้ำมัน รวมถึงแบบไม่ใช้น้ำมันที่กำลังจะพูดถึงด้วย คือ สามารถสร้างลมอัดปริมาณมากได้อย่างต่อเนื่อง หรือก็คือ มีค่า CFM [1] และ PSI [2] ที่สูงนั่นเอง

• ปั๊มลมสกรูแบบไร้น้ำมัน (oil-free screw compressor)

ปั๊มลมสกรูแบบไม่ใช้น้ำมันจะถูกใช้ในงานที่ไม่ต้องการให้มีน้ำมันเข้าไปปะปนอยู่กับลมอัด เช่น งานผลิตอาหารและเครื่องดื่ม งานในโรงพยาบาล มีราคาที่สูงกว่าปั๊มลมสกรูแบบใช้น้ำมัน เพราะลมจะต้องผ่านกระบวนการอัดมากกว่าหนึ่งขั้นตอนเพื่อให้ได้ลมอัดที่มีคุณภาพเท่ากับปั๊มลมสกรูแบบใช้น้ำมัน และยังไม่รวมเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ต้องใช้เพื่อลดการสึกกร่อนของชิ้นส่วนและอุณภูมิขณะใช้งาน เนื่องจากไม่มีน้ำมันทำหน้าที่เป็นสารหล่อลื่น ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงเลือกใช้ปั๊มลมแบบไร้น้ำมันเฉพาะกับงานที่จำเป็นเท่านั้น เช่น การใช้ปั๊มลมแบบไร้น้ำมันกับยานพาหนะ จะดูเป็นการสิ้นเปลืองเสียมากกว่า


[1] CFM ย่อมาจาก cubic feet per minute เป็นหน่วยวัดปริมาตรการไหลของของไหล (อากาศและของเหลว) ที่มีหน่วยเป็น ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที หากเขียนให้อยู่ในรูปมาตรฐาน SI ก็จะเป็น CMM - cubic meters per minute หรือ ลูกบาศก์เมตรต่อนาที ซึ่งบางคนจะคุ้นเคยกีบอย่างหลังมากกว่า

[2] PSI ย่อมาจาก pound per square inch เป็นหน่วยวัดแรงดันที่กระทำบนพื้นที่หนึ่งตารางนิ้ว


ข้อดีของปั๊มลมสกรู

• จากที่ได้กล่าวไปข้างต้น คุณคงพอเดาได้ว่า ปั๊มลมสกรู คงมีข้อดีอยู่ไม่น้อย งั้นเรามาดูกันต่อว่าปั๊มลมสกรูมีข้อดีอะไรบ้าง แล้วทำไมถึงได้เป็นปั๊มลมที่อุตสาหกรรมส่วนใหญ่เลือกใช้

• ปั๊มลมสกรูสามารถทำงานได่อย่างต่อเนื่อง คุณไม่จำเป็นต้องปิดเพื่อพักเครื่องและเปิดให้เครื่องทำงาน

• ไม่มี duty cycle [3] เหมือนปั๊มลมแบบลูกสูบ

• สามารถทำงานได้เงียบกว่าปั๊มลมแบบลูกสูบ

• ปั๊มลมสกรูสามารถทำงานในสภาพแวดล้อมที่อุณหภมิต่ำหรือสูงกว่าปกติได้ เนื่องจากมีอัตราการไหลของลมที่สูงอยู่แล้ว

• สามารถจัดการพลังงานได้ดี

• ไม่มีการสูญเสีย ความสามารถหรือประสิทธิภาพ เมื่อเครื่องมือมีอายุการใช้งานที่มากขึ้น

• ปั๊มลมสกรูมีประสิทธิภาพที่สูงมาก โดยเฉพาะแบบใช้น้ำมัน

เหตุผลหลักๆ ที่หลายคนเลือกใช้ ปั๊มลมสกรู เพราะเครื่องมือมีอายุการใช้งานที่ยาวนานและมีเสถียรภาพสูง ลมอัดที่ได้สามารถนำไปใช้งานกับอุปกรณ์หรือยานพาหนะได้ทันที ไม่จำเป็นต้องรอให้ผ่านถังลมก่อน


[3] duty cycle หรือ อัตราการใช้งาน หมายถึง ระยะเวลาที่เครื่องมือชิ้นหนึ่งทำงานได้ภายในหนุ่งชั่วโมง ฝนกรณีของปั๊มลมสกรูจะมี duty cycle อยู่ที่ 100 เปอร์เซ็นต์ หรือกล่าวคือ สามารถทำงานได้เต็มหนึ่งชั่วโมง ซึ่งดีกว่าปั๊มลมแบบลูกสูบที่มี duty cycle อยู่ที่ 50 เปอร์เซนต์โดยเฉลี่ย


ข้อเสียของปั๊มลมสกรู

ปั๊มลมสกรู มีข้อดีมากมายอยู่ก็จริง แต่ใช่ว่าจะไม่มีข้อเสียเลย คุณควรชั่งใจให้ดีว่า ช้อเสียที่กำลังจะพูดถึงนี้จะส่งผลกระทบต่อคุณหรือไม่

• ปั๊มลมสกรูมีค่าใช้ค่าในการติดตั้งสูง

• เมื่อมีอายุการใช้งานที่มากขึ้น ค่าใช้จ่ายในการซ่อมและบำรุงรักษามักสูงขึ้น

• ค่าบริการค่อนข้างสูง

• ต้องการความรู้และประสบการณ์การในการซ่อมและบำรุงรักษาปั๊มลมสกรู

สาเหตุหนึ่งที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้ปั๊มลมแบบลูกสูบ ก็เพราะค่าใช้จ่ายหลายๆ อย่างของ ปั๊มลมสกรู นั้นสูงเกินไป หากนำไปใช้กับงานเล็กๆ จึงดูไม่ค่อยคุ้มค่าเสียเท่าไหร่ ดังนั้น ปั๊มลมสกรู จึงมักพบเห็นการใช้งานในโรงงาน ในโรงพยาบาล หรือแค่ในงานที่จำเป็นต้องใช้เท่านั้น 

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ใช่ว่าคนทั่วไปจะใช้ ปั๊มลมสกรู ไม่ได้ เพียงแต่อาจจะต้องใช้เวลาบวกลบคูณหารกันเสียหน่อย แม้จะมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งที่สูง โดยทั่วไปแล้ว ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งของปั๊มลมสกรูจะมากกว่าปั๊มลมแบบลูกสูบประมาณ 2 เท่า แต่สิ่งที่จะได้คือ อายุการใช้งานของเครื่องมือที่ยาวนานกว่าอย่างน้อยๆ 4 เท่า และกระบวนการอัดลมที่มีประสิทธิภาพมากกว่า ดังนั้น หากการลงทุนระยะเป็นเรื่องสำคัญ การเลือก ปั๊มลมสกรู ก็จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะกว่า


การบำรุงรักษาปั๊มลมสกรู 

ข้อเสียข้อหนึ่งของปั๊มลมสกรูคือ ต้องการคนที่มีความรู้และประสบการณ์ในการบำรุงรักษา แม้ในการใช้งานจริง คุณอาจจะจ้างช่างหรือบริการจากผู้ผลิตให้มาทำงานส่วนนี้ให้คุณได้ แต่คงจะดีเหมือนกันถ้างานบำรุงบางอย่างคุณสามารถทำด้วยตัวเองได้ โดยสิ่งคุณควรตรวจสอบของปั๊มลมสกรูมีดังนี้

• ทำความสะอาดตัวกรองอากาศ: เป็นชิ้นส่วนที่เปรียบเสมือนด่านหน้าที่ให้ลมผ่านเข้าสู่ตัวเครื่อง จึงเป็นชิ้นส่วนที่เปลี่ยนอยู่บ่อยๆ ในการทำความสะอาดตัวกรองอากาศ คุณไม่จำเป็นต้องทำทุกวัน อย่างน้อยๆ สัปดาห์ละครั้งก็เพียงพอแล้วเพื่อให้เครื่องทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพต่อไปได้

• ตรวจสอบตัวกรองน้ำมันและอุปกรณ์แยกน้ำมัน: หากปั๊มลมสกรูเป็นแบบใช้น้ำมัน คุณจำเป็นต้องหมั่นตรวจสอบระดับน้ำมันที่ใช้หล่อลื่น เพื่อป้องกันการสึกกร่อนจากการเสียดสีของชิ้นส่วนและอุณภมิสูงจากกระบวนการอัดลม

• ทดสอบระบบควบคุม: ระบบควบคุมให้คุณติดตามการทำงานและดูรายละเอียดด้านความปลอดภัยของ ปั๊มลมสกรู โดยบอกเป็นค่าต่างๆ เช่น ความจุของแทงค์ ความเร็ว และอุณหภมิ ตัวเครื่องจะคอยควบคุบค่าเหล่านี้ให้เหมาะสมอัติโนมัติ แต่ถึงอย่างนั้น การคอยตรวจสอบว่าค่าต่างๆ ถูกต้องตรงตามคู่มือก็มีความสำคัญ เพื่อให้แน่ใจว่า ปั๊มลมสกรู ยังทำงานปกติอยู่ 

ตรวจสอบสกรู: เนื่องจากสกรูเป็นหัวหัวใจสำคัญของ ปั๊มลมสกรู การตรวจสอบเพลาสกรูอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องที่ข้ามไปไม่ได้

• วางแผนการบำรุงรักษาและทำความสะอาดของคุณเอง: คุณควรบำรุงรักษา ปั๊มลมสกรู และทำความสะอาดอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์

ทุดท้าย คือ การวางแผนการจ้างบริการจากผู้ผลิต อย่างน้อยๆ หนึ่งครั้งต่อไป อย่างไรก็ตาม คำตอบที่ว่า คุณต้องจ้างบริการบ่อยแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับการใช้งานและรุ่นของปั๊มลมสกรู คุณอาจต้องจ้างบริการเมื่อปั๊มลมสกรูใช้งานมาแล้ว 2000 ชั่วโมง หรือบางทีอาจจะยังจนกว่าจะครบ 4000 ชั่วโมง การปรึกษาผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายก่อนการติดตั้งก็จะช่วยให้คุณได้คำตอบในส่วนนี้โดยการจัดทำเป็นตารางบำรุงรักษาขึ้นมา