11 ข้อควรพิจารณาในการเลือก รอก

Customers Also Purchased

การเลือก รอก นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะคุณจะต้องพิจารณาหลายๆ อย่างเพื่อประกอบการตัดสินใจ บทความนี้จะบอกกับคุณว่า อะไรบ้างที่คุณควรรู้หากคุณต้องเลือกรอกสักตัว

1. ความสามารถในการยก

ข้อแรกและสำคัญที่สุดที่คุณควรพิจารณาในการเลือกซื้อรอกคือ ความสามารถในการยก (lifting capacity) โดยอย่างน้อย ควรมีค่าเท่ากับน้ำหนักของของที่จะถูกยก แต่จะต้องไม่สูงกว่าความสามารถในการยกของของอายโบลต์ ระบบราง และโครงสร้างอื่นๆ ที่รอกแขวนอยู่ หรือในอีกทางหนึ่ง ความสามารถในการยกของรอกควรมีค่ามากกว่าอย่างน้อย 1.1 เท่าของความสามารถในการยกในขณะทำการทดสอบแบบ dynamic load และอย่างน้อย 1.25 เท่า ในการทดสอบแบบ static load เพื่อให้ได้รอกที่มีประสิทธิภาพการทำงานเพียงพอต่อการใช้งาน


2. รูปแบบการแขวน

คุณสามารถเลือกได้ว่า คุณจะให้รอกนั้นติดตั้งอยู่กับที่ หรือในขณะใช้งานจะให้รอกเคลื่อนที่บนรางไปด้วย สำหรับ รอกวิ่งบนราง นั้น ก็จะแยกย่อยต่อได้อีก 3 แบบ ได้แก่ รอกวิ่งมือผลัก (plain trolley) รอกวิ่งแบบมีเกียร์ (geared trolly) และ รอกวิ่งแบบมอเตอร์ (motorized trolly)

3. ความสูงการยก, ความสูงเหนือหัว, ความสูงโดยรวม

ทั้ง 3 ปัจจัยนี้ ถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน เนื่องจากมีความสัมพันธ์กัน ดังนี้

ความสูงการยก: ความสูง หรือระยะในแนวดิ่งที่ตะขอยกของรอกเคลื่อนที่ขึ้นหรือลง

ความสูงเหนือหัว: ความสูง หรือระยะในแนวดิ่งระหว่างจุดแขวนของรอกกับตะขอยก หรือในกรณีของรอกที่มีตะขอแขวน จะหมายถึง ยะระในแนวดิ่งตั้งแต่ตะขอแขวนของรอกลงมาจนถึงชุดตะขอยก 

ความสูงโดยรวม: ความสูง หรือระยะในแนวดิ่งระหว่างจุดแขวน (อายโบลต์ หรือใต้ท้องคานในกรณีของรอกวิ่งบนราง) กับตะขอแขวนที่ระดับความสูงต่ำที่สุด

ในก่อนการเลือกซื้อรอก คุณจึงจำเป็นต้องทราบความสูงของพื้นที่ที่ที่รอกจะถูกติดตั้ง เช่น ถ้าคุณต้องการให้ระยะในการยกของรอกนั้นสูงที่สุด รอกที่มีพื้นที่เหนือหัวน้อย ก็จะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด

4. ประเภทของรอก

รอกถูกแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ตามรูปแบบของพลังงานที่ใช้หรือวิธีการที่ทำให้รอกทำงาน โดยจะแบ่งเป็น รอกมือ (รอกโซ่ และ รอกโยก) รอกไฟฟ้า และรอกลม รอกแต่ละประเภทก็จะเหมาะกับงานต่างประเภทกัน แต่ในความเป็นจริงนั้น การตัดสินใจเลือกรอก บางทีคุณอาจต้องดูปัจจัยเพิ่มเติม อื่นๆ ด้วย เช่น คุณจำกัดงบประมาณไว้ที่เท่าไหร่ รอกรุ่นที่คุณต้องการอยู่ในตลาดหรือไม่ รอบการใช้งานของรอก สภาพแวดล้อม/อากาศของสถานที่ติดตั้ง ฯลฯ ซึ่งบางสว่นจะกล่าวในส่วนถัดไปของบทความ

ในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะ รอกมือ และ รอกไฟฟ้า เนื่องจากเป็นรอกที่ใช้เป็นส่วนใหญ่

• รอกมือ: ส่วนใหญ่ จะหมายถึง รอกโซ่ และ รอกโยก มีราคาที่ไม่แพงมาก เหมาะกับการใช้งานชั่วคราว หรือการใช้งานที่ไม่บ่อยครั้ง และเนื่องจากเป็นรอกที่ใช้มือ ความสามารถในการยก และระยะการยกจึงไม่สูงมาก

• รอกไฟฟ้า: สามารถยกของขึ้น-ลงได้รวดเร็ว ถูกออกแบบมาให้ใช้ทำงานหนัก มีความสามารถในการยกและระยะการยกที่สูง และเมื่อเทียบกับรอกลมที่จำเป็นต้องติดตั้งแอร์คอมเพรสเซอร์แล้ว จะมีราคาที่ถูกว่าและทำงานได้เงียบกว่า รอกไฟฟ้า จึงเป็นตัวเลือกที่คนสว่นใหญ่เลือกกัน หากสถานที่ติดตั้งนั้นมีแหล่งจ่ายไฟฟ้าที่เหมาะสม

5. ความเร็วการยก

แน่นอนว่า ถ้าหากต้องการยกของขึ้น-ลง ได้รวดเร็ว คุณจะต้องเลือกรอกที่มีความเร็วสูงๆ แต่หกาคุณแค่ใช้งานรอกเป็นบางครั้ง การเลือกรุ่นที่มีความเร็วรองลงมา - กลาง จะเหมาะกับคุณมากกว่า ในการใช้งานนั้น รอกที่ทำความเร็วได้สูงมักจะถูกใช้กับงานที่มีระยะในการยกมากๆ หรือไม่ก็งานที่มีระยะในการยกน้อยแต่มีปริมาณของของที่จะถูกยกมาก 

ความเร็วในการยกของรอก โดยทั่วไปจะอยู่ในช่วง 8 และ 32 ฟุตต่อนาที หรือประมาณ 0.04 และ 0.16 เมตรต่อวินาที ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับผู้ผลิตด้วยและรุ่นด้วย โดยบางรุ่นสามารถทำความเร็วได้มากถึง 64 ฟุตต่อวินาที หรือ 0.32 เมตรต่อวินาทีเลยทีเดียว


6. ความถี่ของการใช้งาน

นอกจากรอกจะถูกแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ในข้อก่อนหน้าแล้ว รอกยังสามารถแบ่งระดับตามความถี่ของการใช้งานได้อีก โดยดูจากหลายๆ ปัจจัยประกอบ ได้แก่ 

จำนวนการยกที่รอกทำได้ภายใน 1 ชั่วโมง 

ค่าเฉลี่ยน้ำหนักและน้ำหนักสูงสุดที่รอกยกได้ 

จำนวนครั้งที่ใช้งานเมื่อยกของที่น้ำหนักสูงสุด 

ระยะในแนวดิ่งโดยเฉลี่ยในการยกขึ้นและลง 

จำนวนครั้งสูงสุดในการให้เครื่องหยุดและทำงานใหม่ภายใน 1 ชั่วโมง 

โดยด้านล่างนี้จะเป็นตัวอย่างตาราง เพื่อช่วยให้เห็นว่าการแบ่งรอกตามอัตราความถี่การใช้งานเป็นอย่างไร (อาจมีความแตกต่างกันในแต่ละผู้ผลิต)

7. แหล่งจ่ายไฟฟ้า

หาก รอกไฟฟ้า เป็นตัวเลือกของคุณ สิ่งที่คุณควรพิจารณาต่อมา คือ คุณจะใช้งานรอกกับไฟฟ้าเฟสอะไร และแรงดันไฟฟ้าที่เท่าไหร่? โดยในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จะใช้ไฟฟ้า 3 เฟส มีแรงดันไฟฟ้าอยู่ในช่วง 220 ถึง 575 โวลต์ ซึ่งรอกไฟฟ้าสว่นใหญ่จะถูกออกแบบมาให้ใช้ไฟฟ้า 3 เฟส อยู่แล้ว เพื่อให้สามารถใช้ยกของหนักๆ ในงานอุตสาหกรรมได้ แต่สำหรับเวิร์คชอป ร้านซ่อมรถ หรือโรงงานผลิตขนาดเล็ก ที่ใช้ไฟฟ้า 2 นั้น ก็จะมี รอกไฟฟ้าแบบ 1 เฟส ให้คุณเลือกซื้อเช่นกัน ความสามารถในการยกของ รอกไฟฟ้าแบบ 1 เฟส นั้น จะอยู่ที่ประมาณ 500 - 5000 กิโลกรัม แม้ว่าจะดูเหมือนไม่มากเท่าไหร่ แต่ก็นับว่าเพียงพอกับการทำงานแล้ว


8. ระบบควมคุม

เพื่อลดความเสี่ยงการบาดเจ็บ และอันตรายจากการใช้งาน  ระบบควบคุมของรอกไฟฟ้าส่วนใหญ่จะไม่ใช้แรงดันไฟฟ้าสูงสุดจากแหล่งจ่ายไฟฟ้า แต่จะใช้ตัวแปลงให้แรงดันไฟฟ้าต่ำลงอยู่ที่ 120 โวลต์ หรือ 24 โวลต์ 

ระบบที่ใช้ในากรควบคุมรอกไฟฟ้ามีด้วยกันหลายแบบ โดยที่เห็นส่วนใหญ่จะเป็น แบบความเร็วเดียว (single-speed) และแบบสองความเร็ว (two-speed) โดยแบบหลังจะต้องการมอเตอร์แบบพิเศษที่มาพร้อมกับขดลวดสำหรับสองความเร็ว

ระบบควบคุมอื่นๆ ได้แก่

• VFD (Variable speed drive): เป็นระบบที่ปรับแรงบิดและความเร็วของมอเตอร์โดยการเปลี่ยนรอบการหมุนและแรงดันไฟฟ้า ยกตัวอย่างเช่น รอกมีความเร็วที่ 20 fpm มีรอบการหมุน 60 Hz จะมีความเร็ว 10 fpm ถ้ารอบการหมุนลดลงมาเหลือ 30 Hz 

• Closed-loop VFD: เป็นระบบที่ใช้ เอ็นโคดเดอร์ (Encoder) กับมอเตอร์ เช่น เอนโค๊ดเดอร์แบบแกนหมุน ซึ่งจะทำหน้าที่เข้ารหัส และแปลงรหัสออกมาในรูปแบบสัญญาณไฟฟ้า รหัสที่ว่านี้จะบอกค่าต่างๆ เช่น ความเร็วหรือรอบของการหมุน กล่าวคือระบบ closed-loop จะทำให้ระบบสามารถกำหนดความเร็วและตำแหน่งของสิ่งของที่ยกได้อย่างแม่นยำ และยังสามารถให้รอกทำงานนร่วมกับโปรแกรมเพื่อตั้งค่าให้รอกทำงานอัตโนมัติได้อีกด้วย


9. สวิทช์ควบคุม

รอกไฟฟ้า มีสวิทช์ควบคุม 2 แบบ คือ แบบมีสาย ที่คนสว่นใหญ่เรียกว่า สวิทช์รอกไฟฟ้า และแบบรีโมตคอนโทรล (remote control) รอกไฟฟ้าส่วนใหญ่จะใช้แบบมีสายเป็นพื้นฐานในการควบคุม ซึ่งอาจใช้งานได้ไม่สะดวกเท่าไหร่ โดยเฉพาะ เมื่อใช้กับรอกราง แต่หากเป็นแบบรีโมตคอนโทรล ไม่เพียงคุณสามารถควบคุมรอกจากระยะไกลได้ คุณยังสามารถใช้งานได้สะดวกสบายมากขึ้น เนื่องจากมีขนาดเล็กกว่า และน้ำหนักที่เบากว่า

10. ประเภทของคาน

ในกรณีของ รอกวิ่งบนราง คานเหล็กที่ใช้กับรอกรางจะมีอยู่ 2 แบบคือ I-beam และ H-beam สำหรับงานอุตสหกรรมที่มีเครื่องจักขนาดใหญ่ ตามหลักแล้ว คานเหล็กที่ใช้จะเป็น I-beam เนื่องจากสามารถรับน้ำหนักที่มากของเครื่องจักรได้ แต่หากเป็นงานที่ไม่ได้อยู่ในระดับอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ การใช้เหล็ก H-beam ก็จะเพียงพอแล้ว ดังนั้น คุณจำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า เหล็กที่คุณใช้ทำคานเพื่อแขวนรอกนั้นเป็นแบบไหน และต้องบอกให้ตัวแทนจำหน่ายทราบด้วยว่า ความกว้าง ความสูง ความหนาของคานนั่นเท่าไหร่ เพื่อให้ได้ รอกวิ่งบนราง ที่เหมาะกับคานและการใช้งาน


11. ความปลอดภัย

ไม่ว่าจะเครื่องมือนั้นจะเป็น รอกไฟฟ้า หรือไม่ สิ่งสำคัญคือ คุณจะต้องไม่ลืมตรวจสอบให้แน่ใจว่า ฟังก์ชันความปลอดภัยที่ให้มากับเครื่องมือนั้นมีอะไรบ้าง สำหรับรอกไฟฟ้าอย่างน้อยๆ จะต้องมี ดังนี้

• overload limiter:ระบบจำกัดน้ำหนักที่ยก

• lifting limit: ระบบจำกัดความสูงที่ยก

• thermal overload protection: ระบบป้องกันความร้องสูงขณะใช้งาน

• electrical protection device: อุปกรณ์ป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร


หลังจากที่คุณรู้แล้วว่า คุณต้องการรอกแบบไหน การอ่านข้อควรพิจารณาในบทความนี้ประกอบ ก็จะช่วยให้คุณตัดสินใจเลือก รอก ที่ตรงกับการใช้งานของคุณได้ง่ายขึ้น