วิธีเลือกปั๊มน้ำอัตโนมัติพร้อมข้อดี ข้อเสีย


มาครับหลังจากเฮียพูดถึงปัญหาของ ปั๊มน้ำ มาเสียยืดยาวกันแล้วเดี๋ยวเพื่อนๆจะเบื่อกันเอา เฮียศึกษาหาความรู้ มาฝากเพื่อนๆเกี่ยวกับการเปรียบเทียบหลักการ การทำงานต่างๆ ของตัวเครื่องของปั๊มน้ำระหว่าง ปั๊มน้ำถังกลม ชื่อทางการ ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ถังความดัน (Automatic Water Pump with Pressure Tank) ปั๊มน้ำถังเหลี่ยม ชื่อทางการ ปั๊มน้ำแรงดันคงที่ (Constant Pressure Water Pump) ปั๊มน้ำหอยโข่ง (centrifugal pump)


โดย ปั้มน้ำ นั้นมีอยู่2ชนิดก็คือ                                       

1.Shallow Well Pump(สำหรับน้ำตื้น) เหมาะสําหรับบ้านพักอาศัยทั่วไป ที่ใช้น้ำประปาและบ่อน้ำตื้นระยะดูด 8-9 เมตร
2.Deep Well Pump(สำหรับน้ำลึก) เหมาะสําหรับบ่อน้ำลึก ระยะดูด 18-24 เมตร ได้แก่ น้ำบาดาลซึ่งยังใช้กันอยู่ตามต่างจังหวัด เช่น ภาคเหนือ อีสาน เป็นต้น


ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ถังความดัน หรือบางบุคคลเรียกว่า ปั๊มน้ำถังกลม นับว่าเป็นปั๊มน้ำสมัยเดิมที่จะมีปั๊มน้ำเลยนะครับ โดยปั๊มน้ำที่คนเริ่มประยุกต์ใช้งานในตอนสมัยแรกๆก็คือตัวนี้เลยนะครับ ซึ่งหน้าที่ของปั๊มตัวนี้ก็คือ จะดูดน้ำเข้ามาพักเก็บเอาไว้ที่ถังเหล็ก (บางแบรนด์อาจทำมาจากสแตนเลส) ที่อยู่ข้างล่างของตัวเครื่อง โดยมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ เรียกว่า “ถังความดัน” หรือผู้ผลิต บางเจ้าเรียก “ถังแรงดัน” (Pressure Tank) แล้วแต่แบรนด์จะเรียกกันว่าอะไร
     รูปแบบการทำงานของ ปั๊มน้ำอัตโนมัติถังความดันตัวนี้เป็นปั๊มจะทำดูดน้ำเข้าไปในถังความดัน เพื่อน้ำเข้าไปแทนที่อากาศที่อยู่ในถังความดัน (โดยเฉลี่ยแล้ว จะได้ราวครึ่งนึง ในถังความดัน) เมื่อน้ำรวมทั้งอากาศอัดอยู่ร่วมกัน (ราวกับบอล หรือ ลูกโป่ง ที่สูบลมไปเต็มๆจวนเจียนเกือบจะแตก) เวลาพวกเราเปิดก๊อกน้ำ หรือ กดชักโครก น้ำก็จะถูกปลดปล่อยออกมา ไปยัง จุดใช้น้ำต่างๆในบ้านพวกเรา หรือ ตึกต่างๆโดยความแรงจากแรงกดดันที่อัดไว้ภายในถังแรงกดดันทำให้น้ำมีแรงกดดันเยอะขึ้น เนื่องจาก น้ำที่เข้าไปอยู่ในถังความดัน จะถูกอากาศที่อยู่ข้างบนของถังบีบอัดต่อลงมาให้น้ำไหลออกแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทำให้น้ำส่งไปถึงสถานีปลายทางได้ตลอดและก็น้ำออกมาได้แรงนั่นเอง

และก็นี่ก็คือภาพองค์ประกอบของปั๊มน้ำแบบกลมครับผมเพื่อนๆ
1. มอเตอร์ทําหน้าที่หลักสำหรับเพื่อการ เพิ่มกําลังการขับคุณภาพของปั๊มน้ำและก็มีส่วนประกอบที่สําคัญ ด้านในตัวมอเตอร์เพื่อป้องกันอุณหภูมิขณะมอเตอร์กำลังดำเนินการเพื่อไม่ให้มอเตอร์ร้อนจนเกินไป ป้องกันมอเตอร์ไหม้ รวมทั้งเมื่ออุณหภูมิเย็นตัวลง มอเตอร์จะทํางานเองขึ้นมาอีกรอบ

2. Air Charger การทํางานของตัวป้อนอากาศอัตโนมัติก็คือ เมื่อปั๊มน้ำเริ่มทํางานแผ่นไดอะแฟรมจะหดตัวโดยทันที ที่เป็นอย่างนี้เนื่องมาจากแรงกดดันทางท่อด้านดูดน้อยลงก็เลยทําให้อากาศถูกดูดเข้ามาจากวาล์วจ่ายอากาศ เสริม (ขณะปั๊มน้ำเริ่มทํางาน)

3.หน้าที่ของถังแรงกดดัน (Pressure tank) Pressure tank เป็นพื้นที่เก็บกักน้ำแล้วก็ส่งน้ำที่มีความดันไปสู่ก็อกน้ำหรือเครื่องไม้เครื่องมืออื่นๆที่ปรารถนาใช้น้ำโดยทํางานพร้อมกันกับ Pressure switch

ซึ่งปัญหาที่เป็นปัญหาส่วนใหญ่ของ ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ถังความดันนี้ที่ที่เฮียได้เกริ่นไว้ข้างบนนู้นนั่นก็คือ ตรงถังความดันนั้นจะมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะรั่วออกมา เพราะถังความดันเองตัวถังนั้นจะมีความดันอยู่ตลอดเวลา (แม้จะเป็นในขณะที่เราปิดปั๊มน้ำไม่ได้ใช้น้ำ อยู่ก็ตาม) ประกอบกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยเรานั้น ที่มีอากาศทั้งแบบ ร้อนชื้น แถมมีทั้ง ฝนตก แดดออก  ลมกระโชกแรงจากพายุ รวมถึงปัจจัยทางธรรมชาติอื่นๆอีกมากมาย ส่งผลให้เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ ตัวถังความดันซึ่งภายในเก็บทั้งน้ำ เก็บทั้งอากาศ นี้ก็ย่อมมีวันผุกร่อน แหลกสลายไปในที่สุด แล้วเหตุการณ์ที่จะตามมาต่อไปก็คือจะมีน้ำซึมและมีน้ำรั่วออกมาตามรอยที่ผุกร่อนไป ซึ่งหากเป็นถังเหล็กก็ยิ่งจะมีความเสี่ยงทั้งสนิมและน้ำรั่วซึมตามตะเข็บต่างๆตามมาอีก หากเป็นแบบสแตนเลส ก็จะเจอเหตุการณ์ที่ไม่ต่างจากแบบเหล็กเลยก็คือจะเสี่ยงในเรื่องของการรั่วซึมตามตะเข็บด้วยเช่นกัน (สรุปว่าเสี่ยงทั้งคู่ จะเสี่ยงมากเสี่ยงน้อย ก็เท่านั้นเอง)

แต่ว่า!!! ในปัจจุบันปั๊มน้ำอัตโนมัติถังความดันหรือปั๊มน้ำถังกลมประเภทนี้นั้น มีการปรับปรุงและพัฒนา แก้ไขข้อบกพร่องและข้อเสียต่างๆจากในอดีตที่ผ่านมาไปแล้วมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนวัสดุถังจากที่เป็นเหล็กไปเป็นสแตนเลสและทำให้มันไร้รอยเชื่อมต่อหรือไร้รอยตะเข็บแบบเนียนกริ๊บๆเพื่อป้องกันการรั่วซึมตามตะเข็บที่เกิดขึ้นในอดีต

   และแล้วเราก็มาพูดถึงข้อดี-ข้อเสียของปั๊มแบบนี้กันเถอะครับ เพราะของทุกอย่างย่อมมีทั้งด้านดีและด้านที่ไม่ดีใช่มั้ยครับ เปรียบเหมือนดาบสองคมซึ่งมีทั้งด้านที่เป็นข้อดีและด้านที่เป็นข้อเสีย ซึ่งเพื่อนๆจะชอบหรือไม่ชอบก็ขึ้นกับเพื่อนๆนะครับว่าเพื่อนๆรับข้อดี-ข้อเสียแบบไหนได้มากกว่ากันนะครับพูดแล้วเราก็ไปชมกันเลยครับ

ข้อดี ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ถังความดัน

     - เหมาะสำหรับ บ้าน หรือ อาคาร ที่ต่อปั๊มน้ำตรงจากท่อน้ำประปานะครับเพื่อนๆ เพราะในน้ำจะมีอากาศปะปนกับน้ำเข้ามาอยู่ การที่ได้พักน้ำในถังความดันนั้นจะช่วยแยกชั้นของน้ำและอากาศที่ปะปนมาทำให้เวลาเราเปิดก็อกน้ำแล้วน้ำจะเดินได้ต่อเนื่องไม่กระตุกหรือไม่มีอาการน้ำขาดท่อนะครับ
     - ราคาตัวปั๊มถูกกว่าแบบปั๊มน้ำแรงดันคงที่ทำให้เราประหยัดเงินในกระเป๋า
     - ค่าบำรุงรักษาถูก โดยเฉพาะค่าอะไหล่ต่างๆเราจะได้ไม่ต้องมาปวดหัวเวลามมันพังขึ้นมา
     - ถังความดัน แบบสแตนเลสสามารถหาซื้ออะไหล่ได้ง่าย ในราคาที่ถูกตามร้านขายวัสดุก่อสร้างหรือร้านขายเครื่องมือช่างทั่วๆไปพูดได้ว่าเวลาเสียมาหาอะไหล่ง่ายเหมือนปลอกกล้วยเข้าปาก

ข้อเสีย ปั๊มน้ำอัตโนมัติ ถังความดัน

     - แรงดัน หรือ ความแรงน้ำ นั้นไม่ค่อยคงที่เท่าไหร่นี่เป็นข้อเสียของปั๊มแบบนี้ เพราะเครื่องจะสูบน้ำเข้ามาไว้ในถังความดันเมื่อมีความดันอยู่ในปั๊มมากพอจนถึงในระดับนึง ตัวมอเตอร์จะยังไม่ทำงานจนกว่าความดันในถังจะลดลงถึงจุดๆ ที่มีเหมาะสม มอเตอร์ของปั๊มน้ำถึงจะเริ่มทำงานสูบน้ำเข้ามาอีกรอบจึงส่งผลให้แรงดันน้ำจะมีไหลอ่อน ไหลแรงสลับกันไปในบ้างชั่วขณะนึง และการที่น้ำขาดช่วงไปชั่วขณะหนึ่งนั้นอาจจะส่งผลเสียทำให้มีปัญหากับเครื่องทำน้ำอุ่นหรือพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้น้ำในการทำงาน ยกตัวอย่างเช่นในกรณีเครื่องทำน้ำอุ่นนั้นส่งผลให้ หากเวลาเราปรับระดับความร้อนของน้ำไว้โดยไว้ถาวรไม่ปรับอีก เวลาน้ำไหลอ่อนน้ำจะร้อนมาก อาบทีเรานี่แทบจะเป็นไก่ต้มกันเลยทีเดียวและอยู่ในช่วงที่น้ำไหลแรงๆ น้ำก็อาจจะเย็นไม่มีความอุ่นตามที่เราต้องการจนบางคนคิดว่าเครื่องทำน้ำอุ่นเสียแต่ที่เป็นแบบนี้สาเหตไม่ได้มาจากเครื่องทำน้ำอุ่นสาเหตหลักที่ทำให้เป็นแบบนี้ก็เนื่องจากน้ำไหลผ่านขดลวดในเครื่องเร็วเกินไปจึงไม่มีเวลาสะสมความร้อนนั่นเอง หากเป็นถังเหล็กด้วยแล้วโอกาสที่ถังความดันจะผุกร่อนเกิดการรั่วซึมนั้นมีสูงขึ้น เพราะจะมีความดันขึ้นลงอยู่ตลอดเวลาทำให้เสื่อมสภาพได้ไวขึ้นหากเป็นถังสแตนเลสหรือเหล็กกล้าไร้สนิม แม้จะไม่เกิดสนิมมาทำให้ผุกร่อนหรือรั่ว แต่ว่าก็มีโอกาสที่น้ำจะรั่วซึมตามรอยตะเข็บรอยต่อของการเชื่อมได้เช่นกันไม่ต่างกันเลยครับเพื่อนๆ

     - มีขนาดใหญ่ ทำให้เราเสียพื้นที่บ้าน กินพื้นที่ใช้สอยสูงพอสมควร


ปั๊มน้ำแรงดันคงที่ (Constant Pressure Water Pump)

และแล้วเราก็มาถึงปั๊มน้ำตัวที่สองแล้วนะครับเพื่อนๆ มาดูกันเลยครับว่าจะมีความแตกต่างและข้อดี-ข้อเสียแตกต่างจากตัวแรกขนาดไหนกัน ไปชมกันเลยครัยเพื่อนๆ  ซึ่งปั๊มตัวที่สองนั้นเป็นปั๊มน้ำที่เรียกว่า ปั๊มน้ำแรงดันคงที่ เพื่อนๆคงจะงงๆกับชื่อนี้นะครับ โอเครเรามีอีกชื่อซึ่งภาษาชาวบ้านเรียกกันง่ายๆว่า ปั๊มน้ำถังเหลี่ยม พอเข้าใจกันแล้วใช่มั้ยครับเพื่อนๆ โดยจุดเด่นของปั๊มแบบนี้ก็ก็ตามชื่อของมันเลยครับคือ แรงดันคงที่ (Constant Pressure) เพราะปั๊มน้ำชนิดนี้นั้นจะไม่มีถังความดันที่จะต้องมาคอยให้ความดันในถังลดลงจนถึงจุดๆ นึงแล้วปั๊มน้ำถึงจะสูบน้ำเข้าไปใหม่อีกรอบ โดยปริมาณน้ำที่ถูกดูดเข้าและปล่อยออกของปั๊มน้ำชนิดนี้จะคงที่นิ่งสงบเลยครับเพื่อนๆ หากเราใช้เครื่องทำน้ำอุ่นละก็จะได้ระดับความอุ่นที่คงที่ไม่ต้องไปปรับอุณภูมิน้ำตลอดเวลาที่จะอาบน้ำอีกรอบไม่ต้องกลัวเป็นไก่ต้มกันแล้วครับเพื่อนๆ อาบได้อย่างสบายใจไม่ต้องมาเต้นระบำรำวงเป็นไก่โดนน้ำร้อนลวก ขณะอาบน้ำเพราะเดี๋ยวน้ำก็อุ่นจัด เดี๋ยวก็เย็นจัดนะครับ ชีวิตดูดีขึ้นทันตาเห็นครับเพื่อนๆ

โดยหลักการการทำงานของปั๊มนี้นั้นจะคล้ายๆ กับปั๊มน้ำอัตโนมัติถังความดันนะครับแต่จะมีความแตกต่างกันที่ว่า ปั๊มน้ำแรงดันคงที่นี้จะไม่มีถังความดันด้านล่างแค่นั้นครับ แต่ว่าความดันจะเกิดมาจากการใช้ถังโลหะ ขนาดจิ๋วๆที่ข้างในบรรจุ ก๊าซไนโตรเจน (N2) เรียกว่า แท้งค์ไนโตรเจน (Nitrogen Tank) หรือผู้ผลิตปั๊มน้ำบางเจ้าจะเว้าแบบฝรั่งๆว่า เบลดเดอร์แท้งค์ (Bladder Tank) นะครับ โดยแล้วแต่ยี่ห้อที่จะเรียกกันไปนะครับ ซึ่งก๊าซไนโตรเจน นั้นมีคุณสมบัติ ทนต่อความร้อนได้สูงและแรงดันจะเสถียรกว่า อากาศธรรมดา

โดยภายในแท้งค์ไนโตรเจนนั้นนะครับจะประกอบไปด้วยก๊าซไนโตรเจนที่ถูกอัดอยู่ภายในของถังอย่างถาวร โดยจะมียางไดอะแฟรม (Diaphragm) ที่ไม่สามารถเกิดสนิมได้คั่นกลางเอาไว้ระหว่างน้ำกับก๊าซไนโตรเจนที่อัดเอาไว้อยู่ด้านบนของตัวถังนั่นเองและแรงดันจะถูกควบคุมด้วยอุปกรณ์ควบคุมแรงดัน (Pressure Stabilized Unit) ที่จะคอยสร้างแรงดันอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนประกอบของปั๊มแรงดันแต่ละส่วนจะมีการทำงานแบบนี้

1.หน้าที่ของ Check valve ทําหน้าที่ป้องกันไม่ให้น้ำไหลกลับสู่ทางด้าน suction ด้านดูด ด้วยหลักการขณะใบพัดหมุน check valve จะเปิดโดยความดันด้านดูดและจะปิดลงเมื่อความดันด้านจ่ายย้อนกลับจากการปิดวาล์วน้ำหรือก็อกน้ำด้านจ่าย

2.หลักการทํางานของปั๊ม ส่วนประกอบที่สําคัญในหัวปั๊ม ( Pump Head ) จากภาพด้วยการหมุนของใบพัด
( Impeller ) จะดูดเอาน้ำจากทางด้านดูด ( Suction side ) ผ่านทางด้านจ่ายออก ( Discharge side ) ของ Casing และผลจากการหมุนของใบพัดนี้จะทําให้เกิดสุญญากาศเกิดขึ้นทางด้านดูดทําให้การดูดอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาที่มอเตอร์กำลังทํางานอยู่นั่นเองครับเพื่อนๆ

ข้อดี ปั๊มน้ำแรงดันคงที่

     - มีแรงดันน้ำที่ คงที่ (Constant Pressure) ตามชื่อเรียกของมันเลยครับผม เก็คือไม่ต้องรอน้ำเข้าถังความดัน และรอแรงดันให้ถึงจุดๆ ที่ปั๊มน้ำถึงจะทำงานแต่ว่ามันจะมีชุดอุปกรณ์ควบคุมแรงดันแทนทำให้ปั๊มสามารถทำงานได้ทันทีไม่ต้องมารอแรงดันจากถังความดันเหมือนถังก่อนหน้านี้
     - ไม่ต้องบำรุงรักษาอะไรมากมาย และ ไม่ต้องเติมก๊าซไนโตรเจน ตลอดอายุการใช้งานคือซื้อมาแล้วก็ใช้กันยาวๆจจนมันจะพังและจากไปอย่างสงบกันเลยครับ
     - ไม่มีถังความดัน ไม่ต้องกลัวถังความดันรั่ว อันเกิดจากสนิมหรือรั่วตามขอบตะเข็บต่างๆ ตามรอยเชื่อมที่อยู่รอบๆ ตัวถัง

ข้อเสีย ปั๊มน้ำแรงดันคงที่ 

     - หากน้ำที่ไหลเข้ามา มีอากาศปะปนอยู่มาก จะทำให้ตัวเครื่องทำงานหนักมากขึ้นและเกิดการสะสมความร้อนขึ้น
     - ราคาอะไหล่ ค่าบำรุงรักษาค่อนข้างจะสูง และบางยี่ห้อ บางรุ่น ก็หายากยังกะงมเข็มในมหาสมุทร

และแล้วเราก็มาถึงตัวปั๊มน้ำตัวสุดท้ายที่เฮียได้เตรียมมาให้ความรู้กับเพื่อนๆกันแล้วนะครับ ปั๊มน้ำตัวนี้มีชื่อว่า ปั๊มน้ำหอยโข่ง  (centrifugal pump) นั่นเองครับเพื่อนๆเดี๋ยวเราไปชมกันเลยครับว่าปั๊มน้ำตัวนี้จะมีความเจ๋งหรือด้อยกว่าปั๊มน้ำสองตัวก่อนหน้านี้อย่างไรบ้างนะครับ


ปั๊มน้ำหอยโข่ง

การส่งน้ำออกจากปั๊มน้ำชนิดหอยโข่งนั้นนะครับเพื่อนจะอาศัย “ แรงหนีศูนย์กลาง ” โดยเมื่อแรงหนีศูนย์กลางกระทำต่อน้ำในปั๊ม ความดัน บริเวณศูนย์กลางของปั๊มจะต่ำลงจนเกือบเป็นสูญญากาศเลย ส่วนความดันของบรรยากาศภายนอกนั้นจะดันน้ำจากบ่อพักน้ำเข้าไปยังบริเวณศูนย์กลางของปั๊มน้ำ ทำให้เกิดการหมุนของใบพัด ในปั๊มน้ำจะทำให้เกิดสูญญากาศและแรงหนีศูนย์กลางขึ้นพร้อมๆกัน โดยความต่อเนื่องของการหมุนนี้ทำให้น้ำเคลื่อนที่ผ่านปั๊มน้ำจากระดับที่ต่ำไปหาระดับที่สูงได้แบบนี้เองนะครับเพื่อนๆ

ต่อไปจะเป็นโครงสร้างและชิ้นส่วนของปั๊มน้ำชนิดหอยโข่งนะครับเพื่อนๆโดยปั๊มน้ำแบบหอยโข่งสามารถสูบน้ำด้วยการทำงานของส่วนประกอบเพียงแค่ 4 ส่วนเองนะครับนั่นก็คือ

1. ใบพัด (Impeller) :  เป็นส่วนที่ทำให้เกิดแรงหนีศูนย์กลางต่อน้ำที่อยู่ภายในเรือนสูบ
2. เรือนสูบ (Casing)  :  เป็นส่วนที่เปลี่ยนแรงหนีศูนย์กลางที่เกิดจากใบพัดให้เป็นแรงดันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ช่องดูด (Suction) : ทำหน้าที่เป็นท่อทางน้ำเข้าของปั๊มน้ำ
4. ช่องดูด (Discharge) : ทำหน้าที่เป็นท่อทางส่งน้ำออกของปั๊มน้ำ

โครงสร้างและชิ้นส่วนของเครื่องสูบน้ำชนิดหอยโข่ง
ใบพัด (impeller)

ใบพัดแบบเปิด (En-closed impeller)

          มีประสิทธิภาพที่สูง แต่ละเครื่องมีประสิทธิภาพเกาะกลุ่มแต่มีข้อเสียคือมีวัตถุแปลกปลอมอุดตันใบพัดได้ง่าย จึงนิยมใช้ในการดูดน้ำใสหรือน้ำสะอาดมากกว่า เพราะมีวัตถุแปลกปลอมเข้าไปอุดตันได้ง่ายนะครับเพื่อนๆ

ใบพัดแบบกึ่งเปิด (Semi-opened impeller)

          มีประสิทธิภาพที่สูงกว่าและดีกว่าทำให้มีประสิทธิภาพที่มากกว่าแบบปิด เพราะสามารถสูบน้ำที่มีวัตถุแปลกปลอมได้ดีกว่าแบบเปิดโดยไม่มีการอุดตัน แต่ไม่แนะนำให้สูบน้ำที่มีวัตถุแปลกปลอมมากๆเพราะก็ยังมีโอกาสที่จะเกิดการอุดตันได้

เรือนสูบ(Casing)


เรือนสูบแบบโวลูทเดี่ยว
จะใช้ในเครื่องสูบ ชนิดสเตจเดียว ( Single stage)


เรือนสูบแบบโวลูทคู่
จะใช้ในเครื่องสูบชนิด หลายสเตจ ( Multi stage)

เพลา (Shaft)

          เพลามีหน้าที่ถ่ายทอดกำลังหรือแรงบิดจากเครื่องฉุดไปยังใบพัดของเครื่องสูบ โดยตัวเพลานั้นสามารถรับแรงต่างๆในเครื่องสูบได้สูง โดยเพลานั้นนิยมสร้างจากเหล็กไร้สนิม (Stainless Steel)

ลูกปืน (Bearing)

          ใช้สำหรับรองรับภาระที่เกิดจากใบพัดและเพลารวมกับแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้นขณะเครื่องสูบน้ำกำลังทำงานโดยส่วนมากแบริ่งเป็นตลับลูกปืน (Ball Bearing)

.

แหวนเรือนสูบ (Casing Ring)

          เป็นแหวนที่ติดอยู่บนเครื่องสูบตรงส่วนที่อยู่ชิดกับใบพัดซึ่งจะมีช่องว่างแคบๆ (gap) เพื่อป้องกันไม่ให้ใบพัดสีกับตัวเรือน

เมคานิคอลซีล (Mechanical Seal)

ป้องกันการรั่วซึมและช่วยถนอมเพลาเพื่อเพลาจะได้ไม่สึก

ข้อต่อเพลา (Coupling)

          เป็นชิ้นส่วนที่ใช้ต่อเพลาของเครื่องสูบน้ำกับเพลาของมอเตอร์ ทำหน้าที่ถ่ายทอดแรงบิดจากเพลาของมอเตอร์ไปยังเพลาของปั๊มน้ำ

วาล์วระบายอากาศและกรวยกรอกน้ำ

          ทำหน้าที่เติมน้ำให้เต็มท่อดูดและตัวปั๊มน้ำและไล่อากาศก่อนการเดินปั๊มน้ำ เพราะปั๊มน้ำและท่อดูดจะต้องมีน้ำเต็มท่อ คือจะต้องมีการล่อน้ำเพื่อให้เกิดการไล่อากาศ โดยการไล่อากาศดังกล่าวจะทำให้เกิดสูญญากาศภายในโข่ง ทำให้ปั๊มน้ำสามารถสูบน้ำได้ ซึ่งในปั๊มน้ำหอยโข่งบางรุ่นสามารถล่อน้ำด้วยตนเองได้ครับเพื่อนๆ


คำแนะนำ การเลือกซื้อปั๊มน้ำ

จะสังเกตได้ว่าปั๊มน้ำทั้ง 3 รูปแบบ ที่เฮียได้พูดมาหลักๆ ด้านบนนั้นนะครับเพื่อนๆ มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไปเปรียบเหมือนดาบสองคมที่เฮียได้พูดเอาไว้นะครับ แต่สำหรับเพื่อนๆนั้นจะสนใจปั๊มน้ำตัวไหนก็ขึ้นอยู่ที่การเลือกใช้งาน ไลฟ์สไตร์ของเพื่อนๆ งบประมาณ และ วัตถุประสงค์ของเพื่อนๆ นั่นเองครับผมโดยไม่ว่าจะเป็นปั๊มน้ำถังกลม หรือ ปั๊มน้ำถังเหลี่ยม และแบบหอยโข่งนั้น ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อไหน นั้นก็มีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกันอยู่แล้วนะครับเพื่อนๆ แต่ส่วนมากที่แตกต่างกันออกไปก็อาจจะเป็นในเรื่องของการมีออปชั่น ลูกเล่นเสริมเข้ามา เพื่อแก้ไขจุดผิดพลาด ข้อด้อย ให้เป็นจุดแข็ง เป็นจุดขายของแบรนด์ และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของงแต่ละยี่ห้อ เพื่อเอาไว้เป็นจุดดึงดูดลูกค้านะครับเพื่อนๆ

Inverter Controller (ชุดควบคุมอินเวอร์เตอร์) : คำว่า “อินเวอร์เตอร์”นั้นมีชื่อเสียงอยู่แล้วในเรื่องของความประหยัด โดยการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เข้ามาช่วยควบคุมเพื่อลดภาระหน้าที่ของการทำงานมอเตอร์ขณะทำงานนะครับเพื่อนๆ เพื่อให้ให้มอเตอร์ใช้ไฟฟ้าน้อยลงเพิ่มความประหยัดและคุ้มค่าให้ได้มากที่สุด แต่มีข้อแม้คือขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของแต่ละบุคคลนะครับ ซึ่งการที่มีชุดควบคุมอินเวอร์เตอร์แล้วยังมีข้อดีอีกอย่างนึงนะครับก็คือคุณสมบัติอินเวอร์เตอร์นี้นั้นนอกจากจะช่วยประหยัดไฟแล้ว เสียงเครื่องขณะที่ทำงาน นั้นยังเงียบ ไม่หนวกหูชาวบ้านหลังข้างๆ ไม่ต้องกลัวกาลามังลอยมาหน้าบ้านแน่นอนครับ

Stainless Steel Tank (ถังความดันสแตนเลส) : จากในอดีตที่ผ่านมาหากใช้ถังความดันชนิดเหล็กอย่างที่เฮียได้กล่าวไปด้านบนคือเมื่อใช้ไปได้นานๆ มันมักจะมีปัญหาในเรื่องของสนิมรับประทานทำให้บางครั้งเรานำน้ำมาบริโภคเราอาจจะได้ธาตุสนิมบริโภคเข้าไปเป็นอาหารเสริมด้วยนะครับ การใช้ถังความดันแบบเหล็กกล้าไร้สนิมหรือถังสแตนเลสนั้นจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาตรงจุดนี้ได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียวครับเพื่อนๆ

Aluminum Motor (มอเตอร์อลูมิเนียม) : การใช้มอเตอร์ปั๊มน้ำที่ทำจากอลูมิเนียมจะเข้ามาช่วยเรื่องของความอึด ถึกทน แข็งแรง และที่สำคัญระบายความร้อนได้ดี เพราะหากตัวมอเตอร์ของปั๊มน้ำ สะสมความร้อนเอาไว้เยอะๆ ก็อาจจะทำให้วัสดุต่างๆ ในตัวเครื่องผิดรูป เสียกระบวนท่าไปได้หนักสุดเครื่องอาจจะมีปัญหาเสียไปเลยก็มี มิหนำซ้ำ ยังอาจทำให้อุณหภูมิน้ำสูงขึ้นกลายเป็นเครื่องทำน้ำอุ่นไปในตัวก็เป็นได้ครับเพื่อนๆ

High Quality Plastic (พลาสติกคุณภาพและประสิทธิภาพสูง) : ใช้พลาสคิกที่มีคุณภาพสูงมีความเหนียว ความคงทนต่อความร้อนของเมืองไทย หรือไม่ว่าจะเป็นฝน หรือไม่ว่าอะไรจะเป็นอะไรก็ตาม ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่ตัวเครื่องจะต้องพบต้องเจอตลอดระยะเวลาที่เราได้ใช้งานเครื่องอยู่ ถ้าเราเลือกเครื่องที่ใช้พลาสติดคุณภาพสูงนั้นจะทำให้สีจะไม่ซีดเร็ว ไม่ว่าจะเจอแดด จะเจอฝน จะเจอแดดร้อนของเมืองไทย จะหนาว พลาสติกของเราก็ยังมีสีสดใสเจิดจรัสสะดุดตาอยู่อย่างแน่นอนครับ

Water Temperature Relay (ตัดการทำงานเมื่อตัวเครื่องร้อน) : รีเลย์ที่มีหน้าที่ตัดวงจร หรือ เปิดวงจรการทำงานของตัวเครื่อง เมื่อตัวเครื่องปั๊มน้ำมีอุณหภูมิที่สูงเกินกว่าขีดจำกัดที่เครื่องจะรับไว้ไหว เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากความร้อนของตัวเครื่อง

Multiple Water Outlet (ทางออกน้ำ หลายทาง) : ปั๊มน้ำบางชนิดมีทางออกน้ำหลายทางพูดง่ายๆ คือหลายมุม ที่เป็นแบบนี้ก็เพื่อการไหลออกของน้ำที่สะดวกกว่าหากนำตัวเครื่องปั๊มน้ำไปวางในมุมที่แคบตามมุมต่างๆของบ้าน ซึ่งจะต้องต่อท่อแบบหักมุมหักเหลี่ยมออกมามายมายหลายรอยต่อ ซึ่งการที่มีท่อหักมุมจำนวนมากๆนั้นจะทำให้เสียแรงดันน้ำไปโดยใช้เหตุ การที่ปั๊มน้ำมีออปชั่นทางออกน้ำหลายทางนั้นจะทำให้น้ำตรงออกไปยังทิศทางที่ต้องการได้เลยไม่ต้องตัดแต่งให้เสียแรงดันที่เครื่องทำมาไปโดยปราวประโยชน์ครับ


ข้อควรระวัง ระหว่างการใช้ปั๊มน้ำ

ในปัจจุบันนี้มีปั๊มน้ำจำหน่ายอยู่มากมายในท้องตลาด ทั้งนี้มีข้อควรระวัง ในการเลือกซื้อปั๊มน้ำและระหว่างการใช้ปั๊มน้ำ เป็นทริคเล็กๆมาฝากให้เพื่อนๆได้ทราบกันครับผม

ควร  เลือกปั๊มน้ำ ให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานของเพื่อนๆ เพราะปั๊มน้ำนั้นจะมีทั้งปั๊มน้ำอัตโนมัติสำหรับบ่อน้ำตื้น น้ำประปา และ สำหรับดูดบ่อน้ำลึก (น้ำบาดาล)
ควร  : เลือกขนาดของวัตต์ ปั๊มน้ำ ให้เหมาะสมกับการใช้งานของเพื่อนๆ หากไม่รู้ควรปรึกษาตัวแทนจำหน่าย หรือ พนักงานขาย ให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อ เพราะการเลือกขนาดของปั๊มน้ำผิดจะทำให้เกิดปัญหาตามมานะครับ โดย
หากเลือกวัตต์น้อย : เปลืองค่าไฟ เพราะปั๊มน้ำทำงานหนัก
หากเลือกวัตต์มาก : ท่อน้ำภายในบ้าน อาจรั่ว หรือ ชำรุดเสียหาย ได้ เพราะแรงดันน้ำมีมากเกินไป
ควร  ที่จะเดินท่อของระบบน้ำในบ้าน แบบตรง (Bypass) เข้าบ้าน โดยไม่ผ่านปั๊มน้ำด้วยเพราะจะได้มีน้ำใช้ในกรณีทีไฟฟ้าดับ ซึ่งน้ำอาจจะไหลเบาหน่อยแต่ก็ยังดีที่ยังมีน้ำให้ใช้อยู่ในกรณีทีไฟฟ้าดับนะครับ อย่างน้อยก็ดีกว่าไม่มีน้ำใช้นะครับเพื่อนๆ

ควร  ติดตั้งแท้งค์น้ำ เก็บพักน้ำก่อนจะสูบเข้าปั๊มน้ำเสียก่อน เพราะนอกจากจะทำให้แรงดันน้ำคงที่แล้ว ยังจะลดโอกาสที่ให้เครื่องปั๊มน้ำจะดูดอากาศหรือสิ่งสกปรกแปลกปลอมที่ติดมากับน้ำโดยตรงจากท่อประปานะครับ เพื่อเป็นการถนอมอายุการใช้งานของปั๊มน้ำนะครับเพื่อนๆ
ควร  ติดตั้งสวิตซ์ปิดเปิดปั๊มน้ำ ใกล้กับตัวปั๊มน้ำ เผื่อในกรณีฉุกเฉินจะได้ปิดวงจรการทำงานของปั๊มน้ำได้ทันท่วงที เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นหรือเพื่อเราจะได้ควบคุมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไว้ได้ทันท่วงทีนะครับ

ไม่ควร ✕ ใช้ไขควงตั้งไฟ ของเครื่องด้วยตัวเอง เพราะนอกจากอาจจะทำให้เครื่องเสียหายมากกว่าเดิมแล้ว ยังทำให้หมดการรับประกันกับทางบริษัทผู้ผลิตในบางรุ่นบางยี่ห้อ และตัวเราเองก็เสี่ยงที่จะถูกไฟช็อตด้วย
ไม่ควร ✕ ติดตั้งปั๊มน้ำนอกหลังคา หรือ ชายคา เพราะจะทำให้เครื่องโดนแดดโดนฝน เพราะจะทำให้ตัวเครื่องเสื่อมสภาพเร็วขึ้นกว่าเดิมครับ

จบไปแล้วนะครับกับเนื้อหาสาระดีๆที่เฮียได้เตรียมมาให้เพื่อนๆได้อ่านกันในวันนี้เฮียหวังหวังว่า บทความนี้จะทำให้เพื่อนๆรู้จักกับปั๊มน้ำ ที่ใช้กันภายในครัวเรือน หรือในบ้าน ทาวน์โฮม หรือ สำนักงาน ว่ามันมีหลักการทำงานอย่างไร ชื่อก็เหมือนกันแต่ทำไมมีหลายแบบจังเพื่อนๆก็คงจะได้คำตอบและข้อคิดดีๆจากบทความนี้ที่เฮียได้เตรียมมาให้นะครับ หวังว่าบทความนี้จะช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อปั๊มน้ำให้เหมาะกับไลฟ์สไตร์การใช้ชีวิตของเพื่อนๆได้นะครับผม สำหรับวันนี้อาเฮีย iToolMart ก็ขอตัวลาไปก่อนนะครับเพื่อนแล้วเจอกันใหม่
see you again next time ครับ 

เลือก ปั๊มน้ำอัตโนมัติ เพิ่มเติม