วิธีเชื่อมที่แตกต่างกัน .....ของเครื่องเชื่อมและตู้เชื่อม

วิธีการเชื่อม โดยใช้ตู้เชื่อม / เครื่องเชื่อม และวิธีการเลือกแบบมือโปร
จุดเริ่มต้นก่อนที่เราจะลงมือเลือกเครื่องเชื่อมเราจะมาบอกถึงขอบเขต และข้อกำหนดในการใช้งาน เพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าใจและใช้เครื่องเชื่อมได้อย่างถูกต้อง เราจำเป็นต้องรู้จักพื้นฐานเสียก่อน

รายละเอียด NAME PLATE ของตัวอย่างตู้เชื่อม
1. ชื่อรุ่นสินค้าของตู้เชื่อม
2. สัญลักษณ์เครื่องเชื่อม : ระบบ INVERTER     
3. มาตรฐานเครื่องใช้ไฟฟ้า IEC
4. สัญลักษณ์ของตู้เชื่อมชนิดของเครื่องเชื่อม CC (Constant Current)      
5. สัญลักษณ์กระบวนการของตู้เชื่อม
6. ขอบเขตกระแสไฟและแรงดันไฟเชื่อม       
7. ค่า Duty Cycle และกำลังไฟที่ใช้ของตู้เชื่อม
    (X = ค่าภาระรอบการทำงานของเครื่อง , I2 = ค่ากระแสไฟเชื่อม , U2 = แรงดันไฟขณะเชื่อม , S1 = กำลังไฟสูงสุดที่ใช้)
8. แรงดันขณะไร้ภาระ(ไฟฟ้า)     
9. สัญลักษณ์จำนวนเฟส , ชนิดกระแสไฟ , ความถี่ที่ใช้งานกับเครื่องของตู้เชื่อม
10. ค่า Power Factor ของตู้เชื่อม   
11. ค่ากระแสไฟขณะใช้งาน (I1 max = ค่ากระแสไฟเข้า ณ กระแสเชื่อมสูงสุด , I1 eff =  ค่ากระแสไฟเข้า ณ กระแสเชื่อมต่ำสุด)       
12. ค่าระดับความเป็นฉนวนของเครื่องเชื่อม       
13. การระบายความร้อนของเครื่องของตู้เชื่อม         
14. ค่าระดับการป้องกันสิ่งแปลกปลอมของตู้เชื่อม

การเลือกประเภทเครื่องเชื่อมแต่ละระบบ

วิธีการ \ระดับ

MMA

MIG

TIG

น้อย

กลาง

มาก

น้อย

กลาง

มาก

น้อย

กลาง

มาก

1. ความแข็งแรงของแนวเชื่อม

ü

ü

ü

2. ความเร็วในขณะทำการเชื่อม

ü

ü

ü

3. ความสวยงานของแนวเชื่อม

ü

ü

ü

4. ความสะดวกในการเชื่อม

ü

ü

ü

5. ความสวยงามในการเชื่อม

ü

ü

ü

6. ความหลากหลายของวัตถุดิบที่เชื่อม

ü

ü

ü

7. การลงทุนครั้งแรกในการซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์

ü

ü

ü


สัญลักษณ์ของกระบวนการเชื่อม

รูป สัญลักษณ์กระบวนการเชื่อม


เครื่องเชื่อมแบบ MMA

การทำงานของตู้เชื่อม MMA
ระบบการเชื่อมไฟฟ้าด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ คือการให้ความร้อนจากลวดเชื่อมถ่าย ไปชิ้นงาน เพื่อก่อให้เกิดการหลอมละลาย โดยจะต้องรักษาระยะระหว่างลวดเชื่อม และชิ้นงานให้พอเหมาะ เพื่อให้เกิดการอาร์กที่สมบูรณ์ ข้อสำคัญของการเชื่อม คือ การใช้ลวดเชื่อมที่ตรงกับชนิดของชิ้นงานที่จะเชื่อม เพื่อให้ได้แนวเชื่อมที่สมบูรณ์แข็งแรง

ข้อดีและข้อเสียของเครื่องเชื่อม MMA

แนวเชื่อมมีความแข็งแรง

ความเร็วปานกลางในขณะทำการเชื่อม

แนวเชื่อมมีความสวยงานน้อย

ใช้เวลาน้อยในการติดตั้ง อุปกรณ์ไม่ซับซ้อน

เชื่อมได้ง่าย ไม้ต้องใช้ทักษะในการเชื่อมมาก

สามารถเชื่อมวัสดุชิ้นงานได้เพียงบางชนิด

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้มีราคาไม่สูงเปรียบเทียบกับราคาเครื่องและอุปกรณ์ ไม่รวมวัสดุสิ้นเปลือง

เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียแต่ละประเภทของ เครื่องเชื่อม

การปรับตั้งค่าในการเชื่อม / Setting Parameter

การเชื่อม MMA

ความหนาชิ้นงาน

ขนาดลวดเชื่อม

กระแสเชื่อม

2.0 – 3.0 mm.

2.6 mm.

70 – 120 A

3.0 – 5.0 mm.

3.2 mm.

110 -150 A

5.0 – 10 mm.

4.0 – 5.0 mm.

140 – 260 A


เครื่องเชื่อม MIG

การทำงานของตู้เชื่อม MIG
ระบบการเชื่อมมิก ใช้วิธีการป้อนเนื้อลวดลงที่ชิ้นงาน เพื่อให้เกิดการหลอมละลาย อย่างต่อเนื่อง โดยมีแก๊สปกคลุมแนวเชื่อมคอยทำหน้าที่ป้องกันอากาศจากภาย นอกเข้าไปที่บ่อหลอมละลาย โดยการเชื่อมมิก เป็นการเชื่อมกึ่งอัตโมัติ โดยสามารถเชื่อมโลหะได้หลายชนิด

ข้อดีและข้อเสียของเครื่องเชื่อม MIG

แนวเชื่อมมีความแข็งแรงปานกลาง

ความเร็วสูงในขณะทำการเชื่อม

แนวเชื่อมมีความสวยงามปานกลาง

ใช้เวลาสูงในการติดตั้ง

ต้องใช้ทักษะและความชำนาญปานกลางในการเชื่อม

สามารถเชื่อมวัสดุชิ้นงานได้บางชนิด

ราคาเครื่องมือแลอุปกรณ์ที่ใช้สูง เปรียบเทียบ จากราคาเครื่องและอุปกรณ์ ไม่รวมวัสดุสิ้นเปลือง

การปรับตั้งค่าในการเชื่อม / Setting Parameter

การเชื่อม MIG

ความหนาชิ้นงาน (mm.)

ขนาดลวดเชื่อม (mm.)

กระแสเชื่อม DC (A)

แรงดันไฟ (V)

ความเร็วลวด (cm/min)

อัตราการไฟของแก๊ส (l/min.)

0.8

0.8 – 0.9

 60 – 70

16 – 16.5

50 – 60

8 - 10

1.0

0.8 – 0.9

75 - 85

17 – 17.5

50 – 60

8 - 15

1.2

0.8 – 0.9

80 - 90

17 – 18

50 - 60

8 - 15

1.6

0.8 – 0.9

95 - 105

18 -19

45 – 50

8 - 15

2.0

1.0 – 1.2

110 -120

19 – 19.5

45 – 50

10 - 15

2.3

1.0 – 1.2

120 - 130

19.5 - 20

45 - 50

10 - 15

3.2

1.0 - 1.2

140 – 150

20 – 21

45 -50

10 – 15

4.5

1.0 - 1.2

170 – 185

22 – 23

45 -50

10 – 15

6.0

1.2

230 – 260

24 – 26

45 -50

12 – 20

9.0

1.2

320 - 340

32 - 34

45 -50

12 – 20


เครื่องเชื่อม TIG

การทำงานของตู้เชื่อม TIG
ระบบการเชื่อมทิก อาศัยการนำกระแสที่ปลายลวดทังสเตน ส่งผ่านไปที่แนวเชื่อม เพื่อให้เกิดการหลอมละลายของชิ้นงาน โดยใช้แก๊สเฉื่อย กันบรรยากาศภายนอก เข้าทำปฏิกิริยากับบ่อหลอมละลาย การเชื่อมวิธีนี้ในเบื้องต้นจะเชื่อมโดยไม่ต้องมี เนื้อลวดแต่ใช้ความร้อนเป็นตัวหลอมเนื้องานให้ติดกัน หรืองานบางชนิดอาจจะ ต้องมีลวดเติม เพื่อให้ได้แนวเชื่อมที่ต้องการ

ข้อดีและข้อเสียของเครื่องเชื่อม TIG

แนวเชื่อมมีความแข็งแรงสูง

ความเร็วต่ำในขณะทำการเชื่อม

แนวเชื่อมมีความสวยงามมาก

ใช้เวลาปานกลางในการติดตั้ง

ต้องใช้ทักษะในการเชื่อมสูบ

สามารถเชื่อมวัสดุชิ้นงานได้หลากหลาย

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้มีราคาสูง เปรียบเทียบ กับราคาเครื่องและอุปกรณ์ ไม่รวมวัสดุสิ้นเปลือง

การเชื่อม TIG

ความหนาชิ้นงาน (mm.)

ขนาดลวดทังสเตน (mm.)

กระแสเชื่อม DC (A)

ขนาดNozzle (No.)

อัตราการไหลของ Argon(l/min.)

ขนาดลวดเติม (mm.)

1.0

1.6

15 – 80

4.0

5 - 6

1.6

2.0

1.6

70 - 150

4.0 - 6.0

5 – 6

2.0

3.0

1.6 – 2.4

150 - 250

6.0

5 – 6

2.4

4.0

2.4

150 - 250

6.0 – 8.0

6 – 7

3.0

5.0

2.4 – 3.2

250 - 400

6.0 – 8.0

7 - 8

3.2