เครื่องมือช่างทั่วไป ที่คุณจะต้องมีติดบ้านไว้

เครื่องมือช่างทั่วไป ที่คุณจะต้องมีติดบ้านไว้

เครื่องมือช่างทั่วไป นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากที่ต้องใช้ใน การช่วยปฏิบัติงานสำหรับช่างอุตสาหกรรมทุกสาขา เช่น งานผลิต และงานซ่อมบำรุง ให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็ว ผู้ปฏิบัติงานช่างต้องเข้าใจถึงลักษณะและวิธีการใช้ให้ถูกต้อง เพื่อให้สามารถใช้งานเครื่องมือช่างขนาดเล็กได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และยังเพิ่มอายุการใช้งานของเครื่องมืออีกด้วยเครื่องมือที่ใช้งานทั่วไปและเครื่องมือกลเบื้องต้นในงานช่างอุตสาหกรรมมีด้วยกันหลายชนิด ดังนี้

- เครื่องมือช่างทั่วไป

ค้อน (Hammer)
ค้อนเป็นเครื่องมือช่างที่ใช้ตอกตีวัสดุขึ้นรูปโลหะ ค้อนถูกออกแบบเพื่อจุดประสงค์เฉพาะและมีรูปร่างตามลักษณะการใช้งาน ส่วนที่สำคัญของค้อนมี 2 ส่วนคือ ส่วนห้วค้อน ซึ่งอาจเป็นวัสดุแข็งหรือวัสดุอ่อน ตามแต่ลักษณะของการนำไปใช้งาน และ ส่วนที่เป็นด้ามจับทำด้วยไม้ พลาสติก ยาง หรือไฟเบอร์กลาส ค้อนที่ใช้ในงานช่าง แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ชนิดคือ

** ค้อนห้วแข็ง (Hard Hammer) ทำจากเหล็กกล้าชุบแข็งทนต่อแรงอัดและแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี แต่ละประเภทมีรูปร่างและลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันดังนี้มีลักษณะกลม ผิวหน้าของค้อนจะนูนโค้งเล็กน้อย ส่วนหงอนจะมีลักษณะเป็นทรงกลม นิยมเช่น ใช้กับสกัด การนำศูนย์ การดัดเหล็กเส้นกลม

1. ค้อนหัวกลม(Ball PeenHammer)หน้าค้อนเหมาะสำหรับการตอกนำมาใช้สำหรับการตอกตีทั่วไปแบบ การย้ำหมุด และเคาะสำหรับขึ้นรูปงานทัวไปกับค้อนหัวกลมและค้อนตรง โดยหงอนด้านบนมีลักษณะแบน ใช้สำหรับเคาะขึ้นรูปงานใน
งานโลหะ แต่อยู่ในตำแหน่งขวางกับด้ามจับ 

2.ค้อนหัวขวาง (Cross Peen Hammer) ค้อนชนิดนี้มีลักษณะการใช้งานคล้ายกับค้อนหัวกลมและค้อนตรง โดยหงอนด้านบนมีลักษณะแบน ใช้สำหรับเคาะขึ้นรูปในงานโลหะแต่อยู่ในตำแหน่งขวางกับด้านจับ


3. ค้อนช่างไม้ (Carpenter Hammer) ใช้ตอกหรือถอนตะปูจากชิ้นงานในงานช่างก่อสร้าง ค้อนชนิดนี้เหมาะกับงานช่างไม้ เพราะว่าหัวค้อนส่วนหงอนจะมีลักษณะเป็นง่ามคล้ายเขาแพะ ซึ่งใช้สำหรับถอนตะปู ด้ามค้อนอาจทำด้วยไม้หรือพลาสติกก็ได้ 


4. ค้อนเดินสายไฟ ค้อนชนิดนี้ผิวหน้าของค้อนจะเรียบ เพื่อที่จะได้ใช้ตอกตะปูเดินสายไฟโดยไม่ลื่น ค้อนเดินสายไฟนี้จะมีขนาดเล็ก ขนาดที่ใช้กันทั่วไปคือ น้ำหนัก 150 กรัมและ 200 กรัม

5. ค้อนปอนด์ (Pound Hammer) เป็นค้อนที่ใช้งานสำหรับงานหนักทั่วๆ ไป หน้าตัดมีรูปร่างเป็นแปดเหลี่ยม ผิวหน้าจะนูนและลาดเอียงไปทางขอบ มีตั้งแต่ขนาดกลางถึง ขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับงานที่ต้องการแรงกระแทกสูง เช่น ใช้ทุบกำแพง ใช้ตีเหล็ก งาน ทุบตี และงานดัดงอทั่วไป


**ค้อนหัวอ่อน (Soft Hammer) เป็นค้อนที่ทำจากวัสดุอ่อน เหมาะสำหรับใช้ตีเคาะงานที่ผิวชิ้นงานมีผิวอ่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหน้าของโลหะเป็นรอยหรือโลหะที่เคลือบผิว อยู่หลุดล่อนหรือลอกออก คัอนชนิดนี้มีหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่

1. ค้อนทองเหลือง (Brass Hammer) หัวค้อนทำจากทองเหลืองซีงมีส่วนผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี ผิวหน้าของค้อนมีลักษณะโค้งเล็กน้อย ใช้สำหรับเคาะถอดประกอบเครื่องจักรกลหรือแผ่นโลหะที่ทำจากโลหะที่มีเนื้ออ่อน เช่น ทองแดง อะลูมิเนียมและตะกั่ว เป็นตัน

2.ค้อนทองแดง (Copper Hammer) หัวคัอนทำมาจากทองแดง เหมาะสำหรับการเคาะเพื่่อถอดหรือประกอบเครื่องจักรกลซึ่งจะไม่ทำให้ขึ้นผ่านได้รับความเสียหายจากการตอกตี ที่ม
 

3. ค้อนพลาสติก (Plastic Hammer) หัวค้อนท้าด้วยพลาสติกแข็งหน้าตัด มีลักษณะกลม ผิวหน้านูนเล็กน้อย บริเวณขอบมน ห้วพลาสติกทั้งสองข้างติดอยู่กับแกนเกลียวของอะลูมิเนียมหล่อ เมื่อหัวค้อนเยินหรือแตก สามารถถอดเปลี่ยนใหม่ได้เหมาะสำหรับใช้ในการเคาะขึ้นรูปงานโลหะแผ่น 

4. ค้อนยาง (Rubber Hammer) หัวค้อนท้าด้วยยางพาราเหมาะสำหรับใช้เคาะขึ้นรูปชิ้นงานที่มีเนื้ออ่อนหรือโลหะแผ่นเคลือบที่บางมาก เพื่อช่วยในกรรมวิธีทางเคมีการรักษาผิวงาน


5. ค้อนไม้ (Wooden Hammer) เป็นค้อนที่ไม่ได้ทำจากโลหะ แต่ทําจากไม้เนื้อแข็งซึ่งอาจจะทำเป็นแท่ง กลมตันโดยลบคมบริเวณขอบทั้งสองช้าง หรืออาจทำเป็นแท่งสี่เหลี่ยมโดยลบคมบริเวณมุ่มทั้ง 4 ด้าน ใช้เคาะ ตัด หรือตีวัสดุหรือโลหะที่มีผิวอ่อนและโลหะแผ่นเคลือบผิว

การบำรุงรักษาค้อน
1. ใช้ค้อนให้ถูกต้องกับลักษณะของงานที่ปฏิบัติ
2. การจับค้อนให้จับบริเวณปลายด้ามค้อน
3. อย่าใช้ค้อนที่ด้ามหลวม เพราะอาจหลุดมือไปโดนผู้อื่นได้
4. เวลาใช้งานพยายามตี ตอก โดยใช้หน้าค้อนตีให้ให้เต็มหน้า
5.เก็บรักษาไว้ให้เป็นที่ หลังการใช้งานแล้ว
6. หน้าค้อนเองมีผิวเรียบอยู่เสมอ ค้อนที่ใช้ต้องสะอาด อย่าให้เปี้อนน้ำมัน

ประแจ (wrenches)
ประแจเป็นเครื่องมือช่างที่ใช้แรงบิด เพื่อหมุนโบลต์หรือน็อต หรือวัตถุอื่นๆ ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ร่วมกับประแจ ประแจผลิตขึ้นมาจากเหล็กผสมโครเมียม และวาเนเดียมอัดขึ้นรูป และชุบโครเมียม เพื่อป้องกันการกัดกร่อน ประแจที่ใช้งานทั่วๆ ไปมีหลายชนิดดังนี้

ประแจปากตาย (Open End wrenches)เป็นประแจที่ปากมีลักษณะคล้ายรูปตัวยู ที่ปลายทั้งสองด้านของประแจมีขนาดต่างกัน โดยปกติปากของประแจปากตายชนิดนี้จะเอียง 15 องศา ทำให้สามารถใช้ขันหรือคลาย
สลักเกลียวได้ในที่จำกัด โดยการพลิกประแจกลับด้าน ขนาดของประแจที่นิยมใช้กันในระบบเมตริกคือ 6 ตัว/ชุด (8-19 มิลลิเมตร), 8 ตัว/ซุด (6-12 มิลลิเมตร) และ 12 ตัว/ชุด
(6-32 มิลลิเมตร) และระบบอังกฤษ 1/4 5/16 ถึง 15/lex 1 1/2 นี้ เป็นตัน 

ประแจแหวน (Box wrenches)
เป็นประแจที่มีลักษณะคล้ายวงแหวนทั้งสองด้านของประแจและภายในวงแหวนมีร่องเป็นฟันแบบ 6 ฟัน หรือ 12 ฟัน เพื่อช่วยในการคลายน๊อตหรือโบลต์ที่มีหัวหกเหลี่ยม ส่วนร่องแหวนที่มีร่อง 8 ฟัน ใช้ขันหรือคลายน๊อตหรือโบลต์ที่มีหัวสี่เหลี่ยม โดยขนาดที่นิยมใช้มีตั้งแต่ 6 ตัว/ชุด (8-9 มิลลิเมตร) ถึง (18-19 มิลลิเมตร) และ 10 ตัว/ชุด (8-9มิลลิเมตร) ถึง (30-32) mm.

ประแจแหวนข้างปากตาย ผสม (Combination Wrenches)
เป็นประแจที่มีลักษณะปลายด้านหนึ่งเป็นแบบประแจปากตาย และปลายอีกด้านหนึงเป็นประแจ แหวน จึงจัดได้ว่าเป็นประแจอเนกประสงค์ ซึ่งมีคุณสมบัติ เหมือนประแจปากตายกับประแจ แหวน ช่วยให้การขันหรือคลายสลักเกลียวได้สะดวกรวดเร็ว 

ประแจลูกบล็อคกระบอก (Socket Wrenches)
มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกและมีด้ามต่อใช้งานได้หลายแบบ เช่น ตัวที แบบกรอกแกรกและแบบอ่อนตัวได้ จึงทำให้สะดวกในการใช้งานในที่แคบที่ประแจชนิดอื่นไม่สามารถทำงานได้ เช่น งานถอดประกอบล้อรถยนต์ เป็นต้น

ประแจหักเหลี่ยม แอล (Allen wrenches)
มีรูปร่างเป็นรูปตัวแอล และมีลักษณะหน้าตัดเป็นรูปหกเหลี่ยม ใช้สำหรับสกรูหัวฝังหรือสกรูตัวหนอน

ประแจเลื่อน (Adjustable wrenches)
เป็นประแจที่มีปากด้านหนึ่งยึดแน่นกับลำตัวและปากอีกด้านหนึ่งเลื่อนเข้าออกได้สะดวกต่อการใช้งาน ประแจเลื่อน ออกแบบมาเพื่อใช้กับหัวน๊อตที่มีขนาดไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ดังนั้นจึงไม่ได้หมายความว่าเราจะใช้ประแจเลื่อนแทนการใช้ประแจปากตายหรือประแจอื่นๆ ได้ เนื่องจากประแจเลื่อนไม่ได้ออกแบบมาสำหรับ การขันหรือคลายที่ต้องใช้แรงมาก การใช้ประแจเลื่อนต้องระมัดระวังเมื่อต้องการขันหรือคลาย โดยให้ปากประแจด้านยึดแน่นอยู่กับที่รับแรงกระทำการทำงาน


ประแจตะขอ (Supanner wrenches)
ประแจตะขอเป็นประแจพิเศษที่ให้มาพรอมกับเครื่องมือ-เครื่องจักร โดยใช้สำหรับขันหรือคลายชิ้นส่วนของเครื่องจักรเพื่อช่อมบำรุงหรือเปลี่ยนใบหินเจียระไน  เป็นหนึ่งในเครื่องมือช่าง ที่ขาดไม่ได้เลย

การบำรุงรักษาประแจ
1. เลือกใช้ประแจให้เหมาะสมกับงาน ขนาดปากประแจต้องพอดีกับสลักเกลียว
2. ประแจต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ปากประแจไม่สึก บิ่น หรือแตกร้าว
3. การขันหรือคลายสลักเกลียว ควรดึงประแจ เข้าหาตัวเสมอ
4. อย่าใช้ประแจ แทนเครื่องมืออื่น เช่น ใช้ตอกแทนคอน

5. เมื่อเลิกใช้งานต้องทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
6. ห้ามใช้ท่อเหล็กต่อก้านประแจเพื่อคลายหัวสลักเกลียว

 คีม (Pliers)
คีม เป็นเครื่องมือช่าง พื้นฐานที่ใช้สำหรับจับยึด บีบ ตัด ล็อคชิ้นงานและช่วยในการถอด หรือการประกอบชิ้นส่วน ทำให้การปฏิบัติงานมีความสะดวก คีมที่ใช้ในการปฏิบัติงานช่าง อุตสาหกรรมมีหลายชนิดหลายขนาดให้เลือกใช้ตามความเหมาะกับลักษณะของงานของคมมีดังนี้

คีมตัดด้านข้าง (Side Cutting Pliers)
เป็นคีมสำหรับใช้ตัดเส้นลวดต่างๆ เหมาะสำหรับใช้ตัดเส้นลาดขนาดเล็กๆ หรือใช้สำหรับถ่าง และพับปิ๊นเข้ากับหัวนัต แต่ห้ามตัดลวดขนาดใหญ่ หรือลวดชุบแข็ง เช่น ลวดสปริง เพราะจะทำให้ปากคมได้รับความเสียหาย


คีมปากจิงจก (Side Cutting Pliers) หรือคีมปากแหลมใช้สำหาบจับชิ้นงานขนาดเล็กที่อยู่ในช่องแคบๆ และช่วยในการถอดประกอบชิ้นส่วนหรืองานดัดสายไฟฟ้า เป็นตัน

คีมปากขยาย (Slip Join Pliers)
เป็นคีมที่ปาก สามารถขยับจุดหมุนเพื่อให้สามารถจับชิ้นงานที่มีขนาดหนาได้ ใช้สำหรับงานทั่วๆ ไป


คีมปากผสม (Universal Cutting Pliers)
เป็นคีมอเนกประสงค์ที่ออกแบบมาให้สามารถทำงานได้หลายอย่างคือ สามารถตัดลวดได้ จับพับชิ้นงานได้ ปากด้านในมีร่องฟันท้าให้จำยึดชิ้นงานได้มั่นคง สามารถตัดลวดพลาสติกไว้เป็นฉนวนบัองกันไฟฟ้า เป็นคีมที่ข่างไฟฟ้านิยมใช้กันมาก

คีมล็อค (Vise Grip Pliers)เป็นคีมที่มีลักษณะพิเศษ สามารถจับงานได้อย่างมั่นคงที่สุด โดยขยายความกว้างของปากคีมให้เหมาะสมกับความหนาของงานด้วยการหมุนเกลียวท้ายปรับระยะจับ ซึ่งสกรูบริเวณท้ายสุดของด้ามจะบีบและล็อคแน่นอยู่กับที่ แม้ปล่อยมือก็จะไม่หลุด นิยมใช้มากในงานช่างอุตสาหกรรม 

การบำรุงรักษาคีม
1. เลือกใช้คีมให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ
2. การใช้คีมตัดลวด ไม่ควรใช้ค้อนตีปากคีมเพื่อเพิ่มกำลังตัด
3. อย่าใช้คีมขันหรือคลายสลักเกลียว เพราะเหลี่ยมสลักเกลียวจะสึกกร่อน
4. หยอดน้ำมันหล่อลื่นที่จุดหมุนเป็นครั้งคราว
5. ห้ามใช้คีมเคาะชินงานแทนค้อน
6. เมื่อเลิกใช้งานต้องทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย


ไขควง (Screwdriver)
ไขควงเป็นเครื่องมือช่างสำหรับขันและคลายสกรูชนิดหัวผ่า ขนาด และรูปทรงของไขควงถูกออกแบบให้เป็นไปตามลักษณะการใช้งาน

ไขควงประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วนคือ

1. ด้ามไขควง ทำจากไม้ พลาสติก หรือโลหะ ซึ่งแล้วแต่บริษัทผู้ผลิตที่ได้ออกแบบเพื่อให้เหมาะสมกับงาน แบบที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ แบบพลาสติก

2. ก้านไขควง เป็นโลหะที่ผ่านการชุบแข็ง ซึ่งก้านของไขควงจะมีอยู่ 2 แบบคือแบบก้านกลม เหมาะสำหรับใช้งานทั่วๆ ไปแบบก้านเหลี่ยม เหมาะสำหรับใช้งานหนัก เช่น งานที่ต้องใช้แรงบิดสูง ก้าน ของไขควงจะเป็นสี่เหลี่ยมสำหรับใช้ประแจจับ เพื่อช่วยเพิ่มแรงในการขันสกรู

3.ปากไขควง (Tip)เป็นส่วนที่ใช้ขันหรือคลายสกรู มีอยู่ 2 แบบคือ แบบปากแบนและแบบปากร่องสี่แฉก

ชนิดของไขควง

ไขควงใช้งานในอุตสาหกรรมถูกออกแบบมาให้มีรูปร่างลักษณะต่างๆ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยทั่วๆ ไป แบ่งออกได้ดังนี้

1.ไขควงมาตรฐาน (Standard Screwdriver) เป็นไขควงที่ใช้งานทั่วๆ ไปใช้ลำหรับการขันหรือคลายสกรูต่างๆ โดยแบ่งออกได้ดังนี้

1.ไขควงปากแบน (Fat Screwdriver) ปากไขควงจะมีลักษณะแบนลาดเอียง
ยังปลายสุดของไขควง ใช้สำหรับขันหรือคลายสกรูร่องหัวผ่า


2.ไขควงปากแฉก (Philips Screwdriver) ไขควงชนิดนี้ที่ส่วนปลายของไขควงปากแฉกหรือลักษณะปากจีบ จะผ่าหัวเป็นแฉก ใช้สำหรับขันสกรูหัวแฉก

3. ไขควงเยี้องศูนย์ (Offset Screwdriver) หรือไขควงออฟเซต ใช้สำหรับงานที่อยู่ในที่แคบที่ยากจะใช้ไขควงตรงเข้าไปขันได้ ไขควงเยื้องศูนย์สามารถขันสกรูได้อย่างรวดเร็ว แต่ต้องระวัง เพราะไขควงจะหลุดจากร่องสกรูได้ง่ายทำให้หัวสกรูเสีย

4.ไขควงตลับบี้ (Stub Screwdriver) มีลักษณะเหมือนกับไขควงทั่วๆ ไป แต่มีลักษณะสั้นมาก มีความยาวประมาณ 1.5-2 นี้ เท่านั้น จึงเหมาะสำหรับใช้ขันหรือคลายสกรูในสถานที่แคบๆ ซึ่งไขควงปกติไม่สามารถใช้งานได้ บางครั้งอาจใช้แทนไขควงแบบเยื้องศูนย์ได้

การบำรุงรักษา ไขควง
1.เลือกขนาดของไขควงให้เหมาะสมกับหัวสกรูที่ต้องไข
2. วิธีขันไขควง ให้ใช้มือขวาก่าด้ามไขควงขณะมือช้ายจ้บก้านไขควงลงทีบ่าสกรูพอดีใช้มือช้ายประคองก้านไขควงให้ใบไขควงสัมผัสกับร่องสกรูตลอดเวลา
3. ทั้งการขัน และคลายให้กดไขควงลงกลางสารู้ให้แน่น ตัองมั่นใจว่าใบไขควงสัมผัสกับร่องของสารตลอดเวลา เพื่อไม่ให้หัวสกรูเยิน
4. ห้ามใช้ไขควงแคะ แกะ หรืองัดชินงานทุกชนิด หรือใช้ไขควงแทนสกัด 

กรรไกร (Snips)กรรไกรทำมาจากเหล็กกล้าทีผ่านการขึ้นรูป กรรไกรเป็นเครื่องมือตัดที่ใช้งานเกียวกับ
โลหะแผ่นเท่านั้น และมีด้ามยาวเพื่อช่วยผ่อนแรง อย่างไรก็ตาม กรรไกรก็มีข้อจำกัด ในการตัดโลหะแผ่น ซึ่งผู้ปฏิบัติ งานจะตัองเลือกใช้กรรไกรให้ถูกต้องและเหมาะสมกับลักษณะของงาน โดยกรรไกรที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมมีดังนี้


กรรไกรตัดตรง (Straight Snips)
เป็นกรรไกรที่มีใบมีดตัดตรง ใช้สำหรับตัดแผ่นโลหะตามแนวเสันตรงเท่านั้น มีความยาวของใบมีดตัดตั้งแต่ 2-4 1/2 นี้ว ส่วนความยาวตลอดลำตัวมีขนาดตั้งแต่ 7 นิ้ว 15 3/4 นี้ว โดยสามารถตัดโลหะแผ่นได้หนาถึงเบอร์ 18
 


 กรรไกรตัดโค้ง
(Circular Snips)
เป็นกรรไกรที่ออกแบบคมตัดโค้งสำหรับตัดโลหะแผ่นตามเส้นโค้งหรือวงกลมเท่านั้นขนาดความยาวของขอบคมตัด และลำตัวเหมือนกับกรรไกรตัดตรง


กรรไกรตัดผสม (Combination Blade Snips)
เป็นกรรไกรที่สามารถตัดได้ทั้งแนวเส้นตรง และแนวเสันโค้ง ขนาดของกรรไกรเหมือนกับกรรไกรตัดตรง กรรไกรตัดผสม สามารถตัดโลหะแผ่นได้หนาถึงเบอร์ 20


 กรรไกรอะเวียชั่น (Aviation Snips)เป็นกรรไกรที่นิยมใช้มาจนถึงปัจจุบัน มีจุดหมุน 2 จุดเพื่อช่วยผ่อนแรงในการตัดคมตัดของกรรไกรมีลักษณะเหมือนฟันปลา มีน้ำหนักเบาและขนาดเล็กกะทัดรัด สามารถตัด
โลหะแผ่นได้หนาถึงเบอร์ 18 กรรไกรชนิดนี้มีความยาวตลอดลำตัวเพียง 8 นิ้ว และมีขนาดคมตัดยาวประมาณ 2 นิ้ว แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ 3 ชนิดคือ กรรไกรชนิดตัดโค้งช้าย กรรไกรชนิดตัดตรง และ กรรไกรตัดโค้งขวา กรรไกรตัดโค้งช้าย

การบ้ารุงรักษากรรไกร
1. เลือกใช้กรรไกรให้เหมาะสมกับความหนาของแผ่นโลหะงาน
2 หยอดน้ำมันหล่อลื่นที่จุดหมุนเป็นครั้งคราว
3. ขณะตัดชิ้นงานอย่าบิดหรือเอียงกรรไกร ตัองให้กรรไกรได้ฉากกับชิ้นงาน
4. ถ้ากรรไกรตัดแผ่นโลหะงานไม่เข้า อย่าใช้ค้อนตอกด้ามกรรไกรหรือใช้ท่อต่อเพื่อ
เพิ่มแรงในการตัด
5. ทำความสะอาดหลังเลิกใช้งานและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย

อุปกรณ์จับยึด ( Figtures) อุปกรณ์จับยึดคือ เครื่องมือจับยืดชิ้นงานชึ่งช่วยให้สามารถจับชิ้นงานได้อย่างแน่นหนา โครงสร้างทำจากเหล็กหล่อ ปากจับงานทำาจากเหล็กแข็ง ต้องติดตั้งกับโต๊ะงานให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อการเลื่อย การตะไบ การเจาะ และการทำเกลียว เป็นตัน ซึ่งแบ่งเป็นประได้ดังนี้

ปากกาจับชินงาน (Vise) เป็นปากกาที่มีความแข็งแรง สามารถใช้ทำงานหนักได้ดี เช่น งานตะไบ งานเลื่อย
หรือจับงานเพื่อทำเกลียว เป็นต้น

ปากกาจับเจาะ (Drilling Vise)
สำหรับจับยึดชิ้นงานสำหรับงานเจาะ ใช้งานร่วมกับสว่านตั้งโต๊ะหรือสว่านแบบตั้งพื้น

ชีแคลมป์ (C-Clamp)
เป็นอุปกรณ์จับยืดชิ้นงาน มีลักษณะเป็นรูปตัว C นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลาย เช่น
จับงานที่มีขนาดความยาวมากๆ เพื่อทำการเจาะ หรือจับยึดชิ้นงานเพื่อทำการเชื่อมประกอบ
เป็นต้น


แคลมป์ปากขนาน หรือ F-แคลมป์ (Parallel Clamp)
เป็นแคลมป์ที่ออกแบบไว้สำหรับจับยืดที่มีขนาดเล็ก เช่น จับยึดชิ้นงานเพื่อช่วยในการร่างแบบ หรือเพื่อทำการเจาะรูร่วม

การบำารุงรักษาอุปกรณ์จับยึดชิ้นงาน
1. ห้ามตอกด้ามขันเกลียวของปากกาจับยึดชิ้นงาน เพราะจะทำให้ด้ามขันเกลียวคดงอและห้กได้
2. ห้ามใช้ค้อนหรือวัตถุอื่นตอกปากของปากกาจับยืดชิ้นงานเพราะจะทำให้ช้ารุดเสียหายได้
3. การเลื่อยชิ้นงานบนปากกาจับชิ้นงาน ต้องระวังไม่ให้ฟันเลื่อยตัดเฉือนปากกาจับงาน
4. เมื่อตรวจสอบพบว่าปากกาจับชิ้นงานมีรอยร้าวไม่ควรใช้งาน
5. ควรหยอดน้ำมันบริเวณจุดหมุน และทาน้ำมันบริเวณที่เคลื่อนที่อยู่เสมอ
6. เมื่อเลิกใช้งาน ควรถอดชิ้นงานออกจากปากกาทุกครั้ง

เราได้เรียนรู้เครื่องมือช่างที่ทุกท่าน ควรจะมีติดบ้านกันแล้วนะครับ ไว้พบกันโอกาศหน้า กับสาระดีๆเกี่ยวกับเครื่องมือช่างได้ที่นี่ itoolmart.com